Nuclear STKC
บทความปี
l
l
l
l
l
บทความ Nuclear STKC ปี 2552
  • นักประดิษฐ์คิดค้นและนักพัฒนา พระมหากษัตริย์ผู้มีพระอัจฉริยภาพสูงส่ง
    ดร. ฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (ไวโป) ซึ่งสำนักงานอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา (Wipo Global Leaders Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงมีพระราชกรณียกิจเป็นที่ประจักษ์ในการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อการพัฒนาประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552
1.
ยุคคลั่งไคล้รังสี: ค.ศ. 1895 เมื่อแรกที่เรินต์เกนค้นพบรังสีเอกซ์นั้น เขาเผยแพร่ผลงานโดยไม่จดสิทธิบัตร ทำให้ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แพทย์พากันเห่อและได้นำรังสีเอกซ์ไปใช้รักษาผู้ป่วยแทบทุกโรคเท่าที่จะนึกหาวิธีกันได้ เช่น การฉายเพื่อรักษาโรคผิวหนัง...
2.
การใช้เทคนิคสารรังสีตามรอยเพื่อการค้นหารอยรั่วที่เกิดขึ้นในท่อที่ฝังอยู่ใต้ดิน เป็นอีกกระบวนการหนึ่งสามารถบ่งบอกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายในท่อส่งน้ำมัน ว่าเกิดการรั่วที่จุดใดหรือไม่ โดยอาศัยการผสมสารรังสีตามรอยเข้าไปในระบบ โดยสารรังสีตามรอยนั้นจะต้องมีสมบัติเข้ากันได้กับของไหลที่อยู่ภายในระบบ จากนั้นสารรังสีตามรอยจะผสมไปกับของไหลจนกระทั่งถึงปลายทาง ถ้าหาก...
3.
การประชุม Fusion Energy Conference 2008 เป็นการประชุมที่จัดโดยทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ที่เน้นเรื่องพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชัน เป็นงานที่สำคัญที่สุดของวงการวิจัยฟิวชัน จัดขึ้นทุกสองปี โดยในปี ค.ศ. 2008 นี้ จัดขึ้นในเดือนตุลาคม ที่ สำนักงานองค์การสหประชาชาติ (United Nations, UN) ณ กรุงเจนีวา เป็นครั้งที่ต่อมาจากปี ค.ศ. 2006 ที่จัดที่ เฉินตู (Chengdu) ประเทศจีน...
4.
โอโกล: เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ธรรมชาติ :
ค.ศ. 1972 มีการค้นพบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หรือเตานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ทางแอฟริกาตะวันตก คือที่ “โอโกล” (Oklo) ในสาธารณรัฐกาบอง ซึ่งมีสภาวะวิกฤตเมื่อประมาณ 1.7 พันล้านปีก่อน พลังงานที่ปล่อยออกมาประมาณว่า 15,000 เมกะวัตต์-ปี จากยูเรเนียมที่ใช้ไปราว 6 ตัน โดยมันน่าจะทำงานนานอยู่หลายแสนปี
5.
สถิติรางวัลโนเบลในแวดวงนิวเคลียร์
ก่อนอื่นต้องขอให้นิยามก่อนว่า “แวดวงนิวเคลียร์” ในที่นี้จะกินความหมายครอบคลุมกว้างขวางเพียงใด เพราะถ้าจะว่าโดยเคร่งครัดแล้ว คำว่านิวเคลียร์จะหมายถึงเพียงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียสของอะตอมโดยตรงเท่านั้น เช่น ปฏิกิริยานิวเคลียร์ก็มี ฟิชชัน ฟิวชัน การจับยึดนิวตรอน ถ้าเป็นรังสีก็มีรังสีแอลฟา บีตา แกมมา ที่ปล่อยออกมาจากนิวเคลียสของอะตอม แต่ไม่รวมถึงรังสีเอกซ์ซึ่งเกิดขึ้นภายนอกนิวเคลียส แต่ก็ยังเกิดอยู่ภายในอะตอมในชั้นของอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียส
6.
ซีฟูด ไม่แปลกปลอม
บ่อยครั้งที่อาหารเป็นพิษจากการปนเปี้อนปรากฎเป็นข่าวอยู่เนื่อง ๆ แม้เมื่อเร็ว ๆ นี้ ข่าวการปนเปี้อนสารเมลามีน ในผลิตภัณฑ์อาหารหลากหลายชนิด ได้ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกอยู่ไม่น้อย และยังเป็นข่าวครึกโครมไปทั่วโลก การปนเปื้อนในอาหารไม่เพียงเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตเท่านั้น ไม่ว่าจะด้วยความจงใจ ตั้งใจ หรือความพลั้งเผลอ ของผู้ผลิตก็ตาม แต่การปนเปื้อนยังอาจเกิดขึ้นเองในกระบวนการตามธรรมชาติได้ด้วย
7.
เฟทาคองพลีนิวเคลียร์
ปลายปีที่แล้ว (พ.ศ. 2551) มีข่าวเล็ก ๆ ข่าวหนึ่ง [1] ในประเทศอังกฤษ ความโดยย่อมีว่า มีสภาเมืองหลายเมือง ห้ามใช้วลีภาษาละตินในหนังสือราชการ และสำหรับเมืองซอลส์เบอรี ( Salisbury) อันเป็นที่ตั้งของสโตนเฮนจ์ (stonehenge) สภาเมืองนี้ให้เลิกใช้คำ “in lieu” และ “fait accompli”
8.
รังสี การแผ่รังสี กัมมันตรังสี และกัมมันตภาพรังสี
คำว่า “ รังสี” มาจากภาษาบาลี ตรงกับในภาษาสันสกฤตว่า “ รัศมี” และในภาษาละตินคือ “ray” ซึ่งมีรากศัพท์เดียวกัน กับคำว่า “radius” ซึ่งในภาษาละตินหมายถึง ซี่ล้อรถ (หรือเกวียน) และในภาษาอังกฤษใช้หมายถึง เส้นรัศมีของวงกลม ซึ่งถ้ามีเส้นรัศมีหลาย ๆ เส้นลากออกมาทุกทิศทาง คำนี้ก็ต้องใช้เป็นรูปพหูพจน์ว่า “radii” และกิริยาอาการที่พุ่งออกจาก จุดกึ่งกลางของเส้นรัศมีเหล่านี้ก็เรียกว่า “radiate” ซึ่งคำนามใช้ว่า “radiation” ดังนั้นคำว่า รังสี ในภาษาไทย จึงตรงกับคำภาษาอังกฤษ 2 คำ คือ ray และ radiation ใช้หมายถึง...
9.
TILLING กับการค้นหาสายพันธุ์กลาย
ในภาษาอังกฤษ คำว่า ‘ till’ เป็นคำกริยา แปลว่า เตรียมดินเพื่อเพาะปลูก เช่น ไถนา ไถกลบ ไถดะ แต่สำหรับ นักอณูพันธุศาสตร์ ‘TILL’ ซึ่งเป็นกริยาเช่นกัน มีความหมายแตกต่างจากการเตรียมดินมากนัก แม้จะไม่ใช่ภาษาเขียน ตามพจนานุกรม ในวงการพันธุศาสตร์เชิงโมเลกุล ‘TILL’ คือ การค้นหาสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์กลาย ที่มีการเปลี่ยนแปลง ของลำดับดีเอ็นเอในยีนที่ต้องการด้วยวิธีการ TILLING หรือ Targeting Induced Local Lesions in Genomes
10.
จะผลิตไอโซโทปรังสีชนิดใดดีิ
ศูนย์ไอโซโทปรังสีซึ่งได้ประมาณการรวบรวมรายการไอโซโทปรังสีกับค่าของนิวตรอนฟลักซ์ที่ต้องการ จากคู่มือ การผลิตไอโซโทปรังสีของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) โดยดูความเป็นไปได้จากค่าของ นิวตรอนฟลักซ์ที่อยู่ในช่วงกลาง ๆ (medium neutron flux density) คือ ไอโซโทปรังสีที่ต้องการฟลักซ์มากกว่า 1014 n/cm2s จำนวน 17 ชนิด หลังจากนั้นก็นำมาพิจารณาถึงความเป็นไปได้และความต้องการใช้ของไอโซโทปรังสี แต่ละชนิด และคัดกรองเอาไอโซโทปรังสีที่เหมาะสมที่สุด
11.
หนาวที่สุดในจักรวาล
ในช่วงฤดูหนาว เราสามารถสัมผัสถึงลมหนาวได้ทั้งในเวลายามเช้า และยามค่ำคืน หน้าหนาวเป็นฤดูที่โลกอยู่ห่างดวงอาทิตย์ มากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกฤดู พูดได้ว่า พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้บรรเทาลงไปเล็กน้อยกว่าจะมาถึงเรา เมื่อเรา พูดถึงหน้าหนาวในกรุงเทพ ก็คงเป็นอุณหภูมิราว 20- 25 องศาเซลเซียส หากไปประเทศที่ห่างเส้นศูนย์สูตรไปหน่อย ก็อาจจะ เย็นลงเข้าไปใกล้ศูนย์องศาเซลเซียส หากไปในจักรวาล ในบริเวณที่ไม่มีดาวฤกษ์อยู่ใกล้ ๆ หน้าหนาวก็จะยิ่งมีอุณหภูมิ ต่ำลงไปอีก
12.
ปลากรอบสมุนไพรฉายรังสี Sweet fired fish with herb
ผลการตรวจวิเคราะห์จำนวนจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์์ปลากรอบสมุนไพร ฉายรังสีที่ปริมาณรังสีต่ำสุด 2 กิโลเกรย์ และนำไปเก็บรักษาที่ห้องอุณหภูมิ ประมาณ 18-20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 เดือน หลังการฉายรังสี โดยการเ ป รียบเทียบกับมาตรฐานชนิดและจำนวนจุลินทรีย์ ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ์อุตสาหกรรม มอก . 700 /2530 ปลาหยอง ปลาเกล็ด และปลาแห้งป่น
13.
ปลากรอบสามรสฉายรังสี Sweet fired fish
ผลการตรวจวิเคราะห์จำนวนจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ปลากรอบสามรส ฉายรังสีที่ปริมาณรังสีต่ำสุด 2 กิโลเกรย์ และนำไปเก็บรักษาที่ห้องอุณหภูมิ ประมาณ 18-20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 เดือน หลังการฉายรังสี โดยการเ ป รียบเทียบกับมาตรฐานชนิดและจำนวนจุลินทรีย์ ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ์อุตสาหกรรม มอก . 700/2530 ปลาหยอง ปลาเกล็ด และปลาแห้งป่น
14.
มะขามคลุกน้ำตาลฉายรังสี Tamarind with crystal sugar
ผลการตรวจวิเคราะห์จำนวนจุลินทรีย์ ในผลิตภัณฑ์มะขามคลุกน้ำตาล ฉายรังสีที่ปริมาณรังสีต่ำสุด 2 กิโลเกรย์ และนำไปเก็บรักษาที่ห้องอุณหภูมิประมาณ 18- 20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 เดือน หลังการฉายรังสี โดยการเ ป รียบเทียบกับมาตรฐานชนิดและจำนวนจุลินทรีย์ ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม มอก . 919/2532 เรื่อง ผลไม้แห้ง
15.
มะขามคลุกบ๊วยฉายรังสี Tamarind dusted with plum powder
ผลการตรวจวิเคราะห์จำนวนจุลินทรีย์ ในผลิตภัณฑ์มะขามคลุกบ๊วย ฉายรังสีที่ปริมาณรังสีต่ำสุด 2 กิโลเกรย์ และนำไปเก็บรักษาที่ห้องอุณหภูมิประมาณ 18-20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 เดือน หลังการฉายรังสี โดยการเ ป รียบเทียบกับมาตรฐานชนิดและจำนวนจุลินทรีย์ ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม มอก . 919/2532 เรื่อง ผลไม้แห้ง
16.
มะม่วงกวนฉายรังสี Mango cake
ผลการตรวจวิเคราะห์จำนวนจุลินทรีย์ ในผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนฉายรังสี ที่ปริมาณรังสีต่ำสุด 2 กิโลเกรย์ และนำไปเก็บรักษาที่ห้องอุณหภูมิประมาณ 18- 20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 เดือน หลังการฉายรังสี โดยการเ ป รียบเทียบกับมาตรฐานชนิดและจำนวนจุลินทรีย์ ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม มอก . 919/2532 เรื่อง ผลไม้แห้ง
17.
หมูเส้นหอมฉายรังสี Fried crispy pork
ผลการตรวจวิเคราะห์จำนวนจุลินทรีย์ ในผลิตภัณฑ์หมูเส้นหอมฉายรังสี ที่ปริมาณรังสีต่ำสุด 2 กิโลเกรย์ และนำไปเก็บรักษาที่ห้องอุณหภูมิประมาณ 18- 20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 เดือน หลังการฉายรังสี โดยการเปรียบเทียบกับมาตรฐานชนิดและจำนวนจุลินทรีย์ ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช . 150/2546- หมูปรุงรสพร้อมบริโภค
18.
แหนมฉายรังสี Fermented Pork Sausage
แหนม บรรจุในถุงโพลีโพรไพลีน ห่อด้วยใบตอง พันด้วยพลาสติกห่อหุ้มอาหาร บรรจุลงกล่องโฟม นำมาฉายรังสี ที่ปริมาณรังสี ที่ปริมาณรังสี ต่ำสุด 2 กิโลเกรย์ เพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคและลดปริมาณปรสิต โดยนำ แหนม มาวัดการกระจายของรังสีตาม Checking Dose No. C 017
19.
การพัฒนาบุคลากร และถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์์
การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรให้เป็นผู้มีศักยภาพ และมีสมรรถนะตรงตามงานที่รับผิดชอบ เป็นหัวใจของ การดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จ สทน. จึงมุ่งมั่นในการสร้างเสริมศักยภาพของบุคลากรด้านนิวเคลียร์และรังสีของประเทศ โดยการจัดหลักสูตรฝึกอบรม สัมมนา ประชุมวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์ แบ่งออกเป็นหลักสูตรสำหรับบุคลากร ภายในสถาบัน และหลักสูตรสำหรับบุคลากรภายนอก
20.
การพัฒนาบุคลากรระดับประเทศ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ปีงบประมาณ 2522
การพัฒนาบุคลากร เป็นกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่ต้องการให้บุคลากรภายในองค์กรมีประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานมากขึ้น ช่วยเพิ่มทักษะความชำนาญในการทำงาน ปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากรทุกระดับให้เป็นไปในทิศทาง เดียวกัน ทำให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ องค์กรมีความคล่องตัว ก้าวทันโลกของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยมีจุดมุ่งหมายสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร การพัฒนาบุคลากรจึงเป็นสิ่งจำเป็น ที่จะเอื้อประโยชน์โดยตรงทั้งต่อองค์กรและบุคลากรขององค์กรนั้น ๆ
21.
การพัฒนาบุคลากรภายในสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ปีงบประมาณ 2522
การพัฒนาบุคลากร เป็นกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่ต้องการให้บุคลากรในองค์กรมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน มากขึ้น ช่วยเพิ่มทักษะความชำนาญในการทำงาน ช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากรทุกระดับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้บุคลากร สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ องค์กรมีความคล่องตัว ก้าวทันโลกของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ที่มีการพัฒนา อย่างรวดเร็ว โดยมีจุดมุ่งหมายสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร
22.
การค้นพบนิวตรอน
เป็นที่น่าสังเกตว่าเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford) ค้นพบนิวเคลียสของอะตอมตั้งแต่ ค.ศ. 1911 แต่ไม่มีใคร ค้นพบนิวตรอนที่เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของนิวเคลียสนอกเหนือไปจากโปรตอนจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1932 ซึ่งเป็นเวลา ห่างกันถึง 21 ปีทีเดียว กว่าที่เจมส์ แชดวิก (James Chadwick) จะประกาศการค้นพบนิวตรอนได้สำเร็จโดยต้องใช้เวลาค้นหา นานกว่า 10 ปีทีเดียว
23.
อะตอมสองศตวรรษ
กว่าสองพันปีก่อน อะตอมเป็นเพียงหลักปรัชญาของชาวกรีก และเป็นเช่นนั้นมาจนราวสี่ร้อยปีก่อน ที่ “ วิทยาศาสตร์” เริ่มต้นขึ้นในช่วงชีวิตของกาลิเลโอเมื่อราวสี่ร้อยปีก่อน จากนั้นอะตอมก็เริ่มเป็นสิ่งที่จับต้องได้ และเริ่มเชื่อกันว่า อะตอมมีอยู่จริง นั่นคือจุดเริ่มต้นของ ทฤษฎีอะตอมสมัยใหม่
24.
ฮอร์มีซิสรังสีีี
คำว่า ฮอร์มีซิส (hormesis) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ hormaein แปลว่า “ กระตุ้น” คำนี้ C. Southam กับผู้ร่วมงานชื่อ J. Erlish ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1943 โดยดัดแปลงมาจาคำว่า ฮอร์โมน ทั้งนี้มีจุดเริ่มต้นจากการศึกษาพบว่าสารสกัด จากเปลือกต้นโอ๊ก
25.
การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในเตาถลุงเหล็ก Application of Nuclear Technology in Blast Furnace
ในอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กจากแร่เหล็ก กระบวนการถลุงเหล็กส่วนใหญ่ ยังคงใช้เตาถลุงเหล็กทรงสูงที่มีลมร้อนเป่าเข้าทาง ด้านล่างเตา ซึ่งรียกว่า blast furnace นั้น ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในเตาเผามีอุณหภูมิสูงถึง 1700 องศาเซลเซียส
26.
ยูเรเนียม 220 ปี
ผู้ค้นพบธาตุยูเรเนียมเป็นนักเคมีชาวเยอรมันชื่อมาร์ติน คลัพโรท (Martin Klaproth) เมื่อ ค.ศ. 1789 ก็คือเมื่อ 220 ปีมาแล้ว เขาพบธาตุนี้จากในสินแร่พิตช์เบลนด์ ที่เป็นแร่หนักสีดำซึ่งคนในสมัยนั้นยังสับสนปนเปกับแร่นี้ บ้างก็ว่าเป็นแร่สังกะสี บ้างก็ว่า เป็นแร่เหล็ก หรือบ้างก็ว่าเป็นแร่ทังสเตน
27.

ยูเรเนียม
ยูเรเนียมเป็นธาตุโลหะสีเงิน มีจุดหลอมเหลว 1,132.3+0.8 oC (2,070.1+1.4 oF) จุดเดือด 2,818 oC (5,104 oF) และมีความหนาแน่นประมาณ 18.95 กรัม/ ลูกบาศก์เซนติเมตร (~1,183.01 ปอนด์/ ลูกบาศก์ฟุต) ค้นพบเมื่อ ค.ศ. 1789 โดยชาวเยอรมันชื่อ มาร์ติน คลัพโรท (Martin Klaproth)

28. ชื่อนี้มีที่มา (1) รังสีแอลฟา รังสีบีตา และรังสีแกมมา
รังสีแอลฟา (alpha rays หรือ a-rays) เป็นกระแสของอนุภาคแอลฟาที่มีประจุบวก ประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาค และ นิวตรอน 2 อนุภาค ซึ่งเหมือนกับนิวเคลียสของฮีเลียม-4 มีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำ ผ่านอากาศได้เพียง 2- 3 เซนติเมตร และไม่สามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษหรือผิวหนังได้ อนุภาคแอลฟาเกิดจากการสลายของสารกัมมันตรังสีบางชนิด เช่น ยูเรเนียม และทอเรียม
29. ชื่อนี้มีที่มา (2) บาร์น (barn)
คำว่า barn เป็นภาษาอังกฤษแปลว่า “ โรงนา” แต่ถูกนำมาใช้ในทางนิวเคลียร์ ก็คือ บาร์น หรือ barn ซึ่งย่อว่า b นี้ เป็น หน่วยพื้นที่ภาคตัดขวางของอะตอม นิวเคลียส อิเล็กตรอน และอนุภาคอื่น ๆ ที่แสดงโอกาสในการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ โดย 1 บาร์น มีค่าเท่ากับ 10–24 ตารางเซนติเมตร
30. ชื่อนี้มีที่มา (3) เบ็กเคอเรล (becquerel)
เบ็กเคอเรล (becquerel ย่อว่า Bq) เป็นชื่อพิเศษของระบบหน่วยสากลหรือหน่วยเอสไอ (International System of units ย่อว่า SI) สำหรับใช้วัดกัมมันตภาพ (activity) มีค่าเท่ากับการสลายของนิวไคลด์กัมมันตรังสี 1 ครั้งต่อวินาที หรือ 1 ดีพีเอส (dps ย่อมาจาก disintegration per second)
31.
ชื่อนี้มีที่มา (4) คูรี (curie)
คูรี (curie, Ci ) เป็นหน่วยเดิมที่ใช้วัดกัมมันตภาพ (activity) โดย 1 คูรี หมายถึง การสลายของนิวไคลด์กัมมันตรังสี 3.7x1010 ครั้งต่อวินาที ซึ่งมาจากอัตราการสลายโดยประมาณของธาตุเรเดียมหนัก 1 กรัม หน่วยคูรีนี้ตั้งขึ้นตามชื่อของมารี และปีแอร์ กูรี (Marie and Pierre Curie) ผู้ค้นพบธาตุเรเดียม เมื่อ ค. ศ. 1898
32.
ชื่อนี้มีที่มา (5) คิวทีพาย (cutie pie)
คิวทีพาย (cutie pie) เป็นเครื่องสำรวจรังสี (survey meter) แบบแรกที่ออกแบบมือจับแบบด้ามปืน มีทำออกมาใช้กันหลายรุ่น และพบว่ามีใช้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1944 ทั้งที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติโอกริดจ์ หรือ โออาร์เอ็นแอล (Oak Ridge National Laboratory หรือ ORNL
33.
ชื่อนี้มีที่มา (6) ฟิชชัน (Fission)
ปลาย ค.ศ. 1938 ลิเซอ ไมท์เนอร์ (Lise Meitner) และ ออทโท ฟริช (Otto Frisch) เชื่อว่าเป็นไปได้อย่างยิ่งว่าอะตอม ยูเรเนียมแบ่งแยกออกเป็นสองเสี่ยงได้เมื่อกระแทกด้วยนิวตรอน เพื่อจะตรวจสอบปรากฏการณ์นี้ ฟริชทดลองเพื่อพิสูจน์ ์แนวคิดของเขาอยู่ในห้องใต้ถุนของสถาบันฟิสิกส์ทฤษฎีนีลส์โบร์ (Niels Bohr’s Institute) ในเมืองโคเปนเฮเกน
34.
ชื่อนี้มีที่มา (7) เกรย์ (Gray)
เกรย์ (gray, Gy) เป็นชื่อพิเศษของระบบหน่วยสากลหรือหน่วยเอสไอ (International System of units ย่อว่า SI) สำหรับ หน่วยของปริมาณรังสีดูดกลืน (absorbed dose) โดยมีค่าเท่ากับ 1 จูล/กิโลกรัม หน่วยเกรย์นี้เป็นหน่วยที่มาแทนหน่วยแร็ด (rad)
35.
ชื่อนี้มีที่มา (8) ฟิสิกส์สุขภาพ (Health Physics)
ฟิสิกส์สุขภาพ (Health Physics) เป็นสาขาของการป้องกันรังสี แอล. เทเลอร์ (L. Taylor) ได้เขียนบทความเรื่อง Who is the Father of Health Physics? ลงในวารสาร Health Physics เมื่อ ค.ศ. 1982 โดยได้วิสัชนาความเหมาะสมของการใช้ชื่อนี้ ในทำนองนี้...
36.
ชื่อนี้มีที่มา (9) เค -25 (K-25)
เค -25 (K-25) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นใช้กับโรงงานแบบแพร่แก๊ส (gaseous diffusion facility) ตั้งอยู่ที่โอกริดจ์ ( Oak Ridge) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงงานนี้เป็นหน่วยเสริมสมรรถนะยูเรเนียม (uranium enrichment) ในขณะนั้นโรงงานนี้มีขนาด ใหญ่โตที่สุดภายใต้หลังคาเดียว บนเนื้อที่ถึง 47 เอเคอร์
37.
ชื่อนี้มีที่มา (10) โครงการแมนแฮตตัน (Manhattan Project)
แม้ว่าชื่ออย่างเป็นทางการและตามกฎหมายของโครงการลูกระเบิดอะตอมจะมีชื่อว่า “มณฑลทหารแมนแฮตตัน” (Manhattan District) ทว่าชื่อที่มักเรียกกันมากกว่าก็คือ “มณฑลทหารช่างแมนแฮตตัน” (Manhattan Engineer District ย่อว่า MED) และคำว่า “โครงการแมนแฮตตัน” ก็เป็นชื่อทางการอีกชื่อหนึ่งที่แพร่หลาย
38.
ชื่อนี้มีที่มา (11) แร็ด (rad)
“แร็ด” (rad) เป็นหน่วยเดิมที่ใช้วัดปริมาณรังสีดูดกลืน (absorbed dose) โดย 1 แร็ด มีค่าเท่ากับ 100 เอิร์ก (erg) ต่อกรัม ของมวลสาร อันที่จริงหน่วย “แร็ด” นี้เดิมก็เคยมาแทนที่หน่วย “เร็ป” (rep) มาก่อน แต่ในปัจจุบันหน่วย “แร็ด” กลับถูกหน่วย “เกรย์” มาแทนที่อีกต่อหนึ่ง โดย 1 เกรย์ เท่ากับ 100 แร็ด
39
ชื่อนี้มีที่มา (12) เรดิแอ็ก (RADIAC)
เรดิแอ็ก ( RADIAC) เป็นศัพท์ทางทหารจากปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 คำอธิบายอย่างเป็นทางการโดย ดี.ซี. แคมป์เบลล์ (D.C. Campbell) เขียนไว้ในหนังสือ Radiological Defense, Volume IV, Armed Forces Special Weapons Project เมื่อ ค.ศ. 1950 ก็คือ “สาขาเกี่ยวกับอุปกรณ์ตรวจวัดรังสี ที่ใช้กับการป้องกันที่ตั้ง โดยเรียกว่า RADIAC
40.
ชื่อนี้มีที่มา (13) อาร์เอสโอ (RSO)
อาร์เอสโอ (RSO) เป็นตัวย่อของคำว่า radiation (หรือ radiological) safety officer ซึ่งในพากย์ไทยเรียกว่า “เจ้าหน้าที่ ความปลอดภัยทางรังสี”
41.
ชื่อนี้มีที่มา (14) เร็ม (REM)
“เร็ม” (rem) เป็นหน่วยเดิมที่ใช้วัดปริมาณรังสีสมมูล โดยป็นผลคูณระหว่างปริมาณรังสีดูดกลืน (absorbed dose) ที่มีหน่วย เป็น “แร็ด” กับค่าปรับเทียบที่แตกต่างกันตามชนิดและพลังงานของรังสี (relative biological effect)
42.
ชื่อนี้มีที่มา ( 15 ) สแกรม (Scram)
“สแกรม” (scram) หมายถึง การดับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในทันทีทันใด ตามปกติใช้วิธีสอดแท่งควบคุม (control rods) เข้าไปในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (reactor core) อย่างรวดเร็ว อาจโดยอัตโนมัติหรือเจ้าหน้าที่เดินเครื่องปฏิกรณ์บังคับ ด้วยมือ อนึ่ง “สแกรม” มีความหมายเหมือนกับ “reactor trip” ด้วย
43.
ชื่อนี้มีที่มา ( 16 ) ซีเวิร์ต (Sivert)
ซีเวิร์ต (sievert, Sv) เป็นชื่อหน่วยพิเศษของหน่วยเอสไอสำหรับการวัด ปริมาณรังสีสมมูล (equivalent dose) โดยเป็น ผลคูณระหว่างปริมาณรังสีดูดกลืน (absorbed dose) ที่มีหน่วยเป็นเกรย์ กับค่าปรับเทียบที่แตกต่างกันตามชนิดและพลังงาน ของรังสี (relative biological effect ย่อว่า RBE)
44.
ชื่อนี้มีที่มา ( 17 ) เอกซ์-10 (X-10)
เอกซ์ -10 (X-10) เป็นชื่อของหน่วยงานที่ปัจจุบันเรียกว่า “ห้องปฏิบัติการแห่งชาติโอกริดจ์” (Oak Ridge National Laboratory) โดยตัวอักษร “เอกซ์” อาจจะมาจากข้อเท็จจริงที่ว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น โอกริดจ์มีชื่อว่า “ไซต์เอกซ์” (site X) ในขณะที่ ลอสอะลาโมส (Los Alamos) ก็คือ “ไซต์วาย ” (site Y) และ แฮนฟอร์ด (Hanford) ได้แก่ “ไซต์ดับเบิลยู” (site W)
45.
ชื่อนี้มีที่มา ( 18 ) รังสีเอกซ์ (X-rays)
รังสีเอกซ์ (X-rays) คือ รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูง ไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงาน ส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์
46.
10 อันดับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่งดงามที่สุด (1) ความเป็นมา
รอเบิร์ต พี. ครีส (Robert P. Crease) จากภาควิชาปรัชญาของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก (State University of New York ) วิทยาเขต Stony Brook (เขายังเป็นนักประวัติศาสตร์ของห้องปฏิบัติการแห่งชาติบรูกเฮเวน (Brookhaven National Laboratory) อีกด้วย) ได้ทำโพลผู้อ่าน Physics World ให้ช่วยกันออกเสียงเลือกการทดลองทางฟิสิกส์ ที่งดงามที่สุด
47.
10 อันดับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่งดงามที่สุด (2) เอราตอสทีนีสวัดเส้นรอบวงโลก
วัน “ อายัน” (solstice) เป็นวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลจากเส้นศูนย์สูตรของโลกมากที่สุด วันอย่างนี้ในหนึ่งปีมีอยู่ 2 ครั้ง คือ วันของการมาถึงฤดูร้อนเรียกว่าวัน “ ครีษมายัน” (summer solstice) ซึ่งตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน กับวันของ การมาถึงฤดูหนาวเรียกว่าวัน “ เหมายัน”
48.
10 อันดับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่งดงามที่สุด (3) กาลิเลโอทดลองทิ้งวัตถุลงมาจากที่สูง
เมือง “ปีซา” อยู่ในแคว้นทัสคานี (Tuscany เป็นสำเนียงอังกฤษ สำเนียงอิตาลีคือ ทอสกานา หรือ Toscana ) ทางตอนกลางของประเทศอิตาลี เป็นเมืองท่าปากแม่น้ำอาร์โน (Arno) เป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่ราวห้าร้อยปี ก่อนคริสต์ศักราช เข้าใจว่าเป็นเมืองของประเทศบารณชื่อ “ อีทรูเรีย” (Etruria) ต่อมาตกเป็นอาณานิคมของโรมันเมื่อ 180 ปีก่อนคริสต์ศักราช
49.
10 อันดับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่งดงามที่สุด (4) กาลิเลโอกลิ้งลูกบอลลงตามพื้นเอียง
ชื่อเสียงทางวิทยาศาสตร์ของกาลิเลโอ (Galileo) มาจากความรู้เกี่ยวกับ “วัตถุเคลื่อนที่” (moving object) เช่น ลูกกระสุนปืนใหญ่ที่ยิงออกไปแล้วเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ (projectile) วัตถุที่ตกลงจากที่สูง (falling object) รวมทั้ง การแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกา (pendulum)
50.

10 อันดับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่งดงามที่สุด (5) นิวตันทดลองแยกแสงอาทิตย์ด้วยปริซึม
ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) เกิดในวันคริสต์มาสที่เมืองวูลสทอร์ปเมื่อ ค.ศ. 1642 อันเป็นปีที่กาลิเลโอถึงแก่กรรม เขาจบการศึกษาจากทรินิตีคอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เมื่อ ค.ศ. 1665 แล้วก็จมอยู่กับบ้านแม่ที่วูลสทอร์ปเป็นเวลา สองปี รอให้โรคระบาดซาลง แต่เขาไม่มีปัญหาในการทำตัวให้ไม่ว่าง

51.
10 อันดับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่งดงามที่สุด (6) คาเวนดิชชั่งน้ำหนักโลก
นอกจากเรื่องของแสงแล้ว คุณูปการอีกประการหนึ่งของนิวตันก็คือ “ทฤษฎีว่าด้วยความโน้มถ่วง” ที่ว่าด้วย "แรงดึงดูดระหว่างวัตถุสองชนิดเพิ่มขึ้นตามมวลของวัตถุทั้งสอง และลดลงตามระยะทางระหว่างวัตถุทั้งสอง นั้นยกกำลังสอง”
52.
10 อันดับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่งดงามที่สุด (7) การแทรกสอดของแสง
“การแทรกสอด” (interference) เป็นสมบัติของคลื่น (wave property) ดังนั้นการทดลอง “การแทรกสอดของแสง” ที่กำลังจะพรรณนาต่อไปนี้ ย่อมแสดงว่า “แสงเป็นคลื่น” กระนั้นหรือ ? แล้วหากว่าแสงเป็นคลื่น ก็จะเป็นไร ?
53.
10 อันดับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่งดงามที่สุด (8) ลูกตุ้มฟูโกล์พิสูจน์โลกหมุนรอบตัวเอง
คนโบราณสังเกตเห็นดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์อื่น ๆ และดาวฤกษ์ โคจรขึ้นทางทิศตะวันออกไปทางทิศ ตะวันตกอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน (เรียกง่าย ๆ ว่า ดาวเคลื่อนเดินหน้า) จนเชื่อกันว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล (geocentric) ที่มีดวงดาวทั้งหลายโคจรอยู่โดยรอบ
54.
10 อันดับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่งดงามที่สุด (9) รัทเทอร์ฟอร์ดค้นพบนิวเคลียส
ค.ศ. 1911 เป็นช่วงที่รัทเทอร์ฟอร์ดกำลังทดลองเกี่ยวกับปรากฏการณ์กัมมันตภาพรังสี (radioactivity) ที่มหาวิทยาลัย แมนเชสเตอร์ และเป็นช่วงเวลาที่กำลังเชื่อกันว่า “อะตอม” เป็นก้อนประจุบวกฟ่าม ๆ โต ๆ ที่มีอนุภาคอิเล็กตรอน กระจัดกระจายฝังอยู่ข้างใน เรียกกันว่าแบบจำลอง “ขนมแป้งต้มใส่ลูกเกด” (plum pudding model)
55.
10 อันดับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่งดงามที่สุด (10) การทดลองหยดน้ำมันของมิลลิแกน
นับแต่โบราณกาลมา มนุษย์ศึกษากระแสไฟฟ้าที่มาจากฟากฟ้า คือ “ฟ้าแลบฟ้าผ่า” หรือไม่ก็ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นขณะ กำลังใช้แปรงหวีผม คือ “ไฟฟ้าสถิต” จนเมื่อ ค.ศ. 1897 นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษชื่อ เจ.เจ. ทอมสัน (J.J. Thomson) ก็ค้นพบว่ากระแสไฟฟ้าประกอบขึ้นจากอนุภาคประจุลบที่เรียกว่า “อิเล็กตรอน”
56.
10 อันดับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่งดงามที่สุด (11) การแทรกสอดของอิเล็กตรอน
ทั้ง เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) และ ทอมัส ยัง (Thomas Young) ไม่ได้ถูกต้องทั้งหมดเกี่ยวกับ ธรรมชาติของแสง เพราะจะบอกง่าย ๆ อย่างนิวตันว่าแสงเป็นอนุภาค ก็พูดไม่ได้เต็มปาก หรือจะอธิบายแท้ ๆ อย่าง ทอมัส ยัง ว่าแสงเป็นคลื่น ก็ไม่ได้อีกเช่นกัน
57.
ไอโซโทปรังสี กับ Nuclear Medicine (1) Medical Isotope
ไอโซโทปรังสี (radioisotope/radioactive isotope) เป็นชื่อเรียกธาตุต่าง ๆ ที่มีรังสีทั้งที่มีอยู่ในธรรมชาติ และที่ี่เกิดขึ้นจาก กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คำว่า radioisotope/radioactive isotope บางครั้งจะถูกเรียกสั้น ๆ ว่า isotope ก็มี
58.
ถั่วเหลืองสายพันธุ์กลายโปรตีนสูงโดยการฉายรังสี
ทำการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่สำคัญ (เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีปริมาณโปรตีนในเมล็ดสูง) โดยใช ้เทคนิคการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยวิธีการฉายรังสี นำเมล็ดถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 จำนวน 5,00 0 เมล็ด ไปฉาย รังสีแกมมาปริมาณ 200 เกรย์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
59.
การเพิ่มความสามารถในการผลิตแคโรทีนอยด์ของ Xanthophyllomyces dendrorhous โดยนิวตรอนร่วมกับอัลตราไวโอเลต
ได้ศึกษาการชักนำ Xanthophyllomyces dendrorhous TISTR 5730 ให้กลายพันธุ์ด้วยการอาบนิวตรอนร่วมกับการฉายรังสี อัลตราไวโอเลตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารแคโรทีนอยด์ โดยนำ Xanthophyllomyces dendrorhous มาอาบ นิวตรอนที่นิวตรอนฟลักซ์ 10 10 นิวตรอนต่อตารางซม.ต่อวินาที เป็นเวลา 1 นาที
60.
การใช้รังสีแกมมาเพื่อกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนในวัสดุพาหะ ที่ใช้ในการผลิตหัวเชื้อปุ๋ยชีวภาพ
การฉายรังสีถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเพื่อกำจัดเชื้อปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ และส่งผลให้สินค้ามีคุณภาพสูงขึ้น เช่นเดียวกับ ผลิตภัณฑ์หัวเชื้อปุ๋ยชีวภาพ หากมีการกำจัดเชื้อปนเปื้อนในวัสดุพาหะ ก่อนนำไปผลิตก็จะได้ปุ๋ยชีวภาพที่มีคุณภาพสูงขึ้น วัตถุประสงค์ของการทดลองครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ
61.
การปรับปรุงคุณภาพปลากรอบปรุงรสทางด้านจุลินทรีย์ และประสาทสัมผัสโดยการฉายรังสีแกมมา
การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพปลากรอบปรุงรสโดยการฉายรังสีแกมมาในเชิงการค้า แบ่งการทดลองเป็น 3 กลุ่ม ปลากรอบ กลุ่มที่ 1 บรรจุในถุงพลาสติกพีอีปิดสนิทแบบสุญญากาศเก็บที่อุณหภูมิห้อง กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 บรรจุในถุงพลาสติกพีอี แบบมีอากาศแล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องและที่อุณหภูมิ 18 o ซ. ตามลำดับ
62.
ผลของแร่องค์ประกอบต่อการวิเคราะห์สัญญาณเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ของกระเทียมฉายรังสี
เทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ (TL) เป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมใช้ตรวจพิสูจน์อาหารฉายรังสี ประเภทเครื่องเทศ สมุนไพร และผลไม้แห้ง ตามมาตรฐานโคเด็กซ์ อาศัยหลักการตรวจวัดสัญญาณ TL ของแร่ที่เป็นองค์ประกอบ หรือปนเปื้อนอยู่ใน อาหาร
63.
การถ่ายทอดลักษณะกลายต้านทานโรคเส้นใบเหลือง จากการฉายรังสีแกมมาในกระเจี๊ยบเขียว
การระบาดของโรคเส้นใบเหลือง (YVMD) มีผลกระทบต่อการส่งออกกระเจี๊ยบเขียวห้าเหลี่ยมของประเทศไทย สายพันธุ์กลาย B4610 แสดงลักษณะต้านทานต่อโรคได้รับการพัฒนาขึ้นจากการกลายพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวพันธุ์ Okura ด้วยรังสีแกมมา
64.
ผลของการฉายรังสีแกมมาต่อสารสำคัญในน้ำมันหอมระเหยของอบเชยเทศ
การฉายรังสีแกมมาเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการลดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในยาจากสมุนไพร เนื่องจากรังสีที่ใช้ อาจมีผลต่อ สารสำคัญของสมุนไพร จุดประสงค์ของการวิจัยนี้ได้แก่ การศึกษาผลของรังสีแกมมา (10 และ 25 กิโลเกรย์) จากโคบอลต์-60 ต่อสารสำคัญในน้ำมันหอมระเหยของอบเชยเทศ
65.
รังสีแกมมาไม่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งในสมุนไพรที่ได้รับการฉายรังสี
การปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในยาจากสมุนไพรสามารถลดได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการฉายรังสีแกมมา เนื่องจากการฉาย รังสีอาจก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งในสมุนไพรที่ได้รับรังสี จุดประสงค์ของการวิจัยนี้ได้แก่ การศึกษาผลของรังสีแกมมา (10 และ 25 กิโลเกรย์) จากโคบอลต์-60 ต่อการเกิดสารก่อมะเร็งของสมุนไพร 12 ชนิด
66.
การปรับปรุงคุณภาพด้านสุขอนามัยของปลาส้มฟักด้วยรังสีแกมมา
ได้สำรวจคุณภาพทางจุลินทรีย์และเคมีของปลาส้มฟักจากแหล่งผลิตต่าง ๆจำนวน 32 ตัวอย่าง พบว่ามีการปนเปื้อนของ Escherichia coli เกินมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของปลาส้ม (มผช. 26/2548) ในปลาส้มฟักจำนวน 2 ตัวอย่าง ( ร้อยละ 6.25)
67.
การทดลองวางตลาดเครื่องเทศฉายรังสี
วัตถุประสงค์ของการทดลองเพื่อเผยแพร่ผลิตภัณฑ์อาหารฉายรังสีให้มีจำหน่ายปลีกในตลาดภายในประเทศ และทดสอบ การยอมรับของผู้บริโภคพริกป่นและพริกไทยฉายรังสี โดยทดลองวางตลาดพริกป่นและพริกไทยป่นฉายรังสีที่ตลาด 2 แห่งและซูเปอร์มาร์เกต 4 แห่งในกรุงเทพมหานครและนนทบุรี
68.
การพัฒนากระบวนการเรียนรู้และยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชันทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน เรื่อง พลังงานนิวเคลียร์ ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสังคม
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และยุทธศาสตร์การควบคุมการรู้คิด (metacognition) ในเรื่อง พลังงานนิวเคลียร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 48 คน ตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (STS)
69.
การวัดปริมาณกัมมันตภาพรังสีรวมแอลฟาในน้ำทะเลจากอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ด้วยวิธีการตกตะกอนร่วม
ทำการศึกษาปริมาณกัมมันตภาพรังสีรวมแอลฟาในน้ำทะเล โดยเก็บตัวอย่างน้ำทะเลจากอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จำนวน 100 ตัวอย่าง (50 สถานี) ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน มาทำการวิเคราะห์ปริมาณกัมมันตภาพรังสีรวมแอลฟาด้วยวิธีการ ตกตะกอนร่วม
70
การประเมินค่ากัมมันตภาพรังสีในดินบริเวณจังหวัดตรัง
ทำการตรวจวัดปริมาณกัมมันตภาพจำเพาะของนิวไคลด์รังสีเริ่มต้น 226 Ra 232Th และ 40K ในตัวอย่างดินจำนวน 88 ตัวอย่างที่เก็บจากทุกตำบลใน 10 อำเภอของจังหวัดตรังโดยใช้หัววัดรังสีแบบเจอร์เมเนียมบริสุทธิ์ และระบบวิเคราะห์แบบ แกมมาสเปกโทรเมตรี และใช้ต้นกำเนิดมาตรฐานดินแบบปริมาตร IAEA 375-soil
71.
การตรวจวัดเบริลเลียม-7 ในผักตบชวาโดยวิธีแกมมาสเปกโทรเมตรี
เบริลเลียม-7 ( 7Be) เป็นนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เกิดจากปฏิกิริยาของรังสีคอสมิกในบรรยากาศเบื้องบน และเข้ามาสู่บรรยากาศ ด้านล่างโดยกระบวนการหมุนเวียนของบรรยากาศ ประมาณร้อยละ 90 ของเบริลเลียม-7 สลายตัวโดยการจับอิเล็กตรอน เกิดเป็นลิเทียม-7 ที่สภาวะพื้นโดยตรง
72.
การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่ากัมมันตภาพจำเพาะของ 226Ra 232Th และ 40K ในทรายชายหาดบริเวณชายหาดเฉวง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทำการตรวจวัดปริมาณและวิเคราะห์ค่ากัมมันตภาพจำเพาะของนิวไคลด์รังสีเริ่มต้น 226 Ra, 232Th และ 40K ในตัวอย่าง ทรายชายหาดจำนวน 40 ตัวอย่างที่เก็บจากชายหาดเฉวง อำเภอเกาะสมุย ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยใช้หัววัดรังสีแบบ เจอร์เมเนียมบริสุทธิ์ และระบบวิเคราะห์แบบแกมมาสเปกโทรเมตรี
73.
ความถี่การเกิดไมโครนิวเคลียสในผู้ปฏิบัติงานรังสี
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความถี่การเกิดไมโครนิวเคลียส (MN) ในเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ของผู้ปฏิบัติงานรังสีใน สถานปฏิบัติงานหนึ่ง จำนวน 31 คน เปรียบเทียบผลกับกลุ่มควบคุม จำนวน 24 คน โดยศึกษาผลของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีต่อ ความถี่การเกิดไมโครนิวเคลียส
74.
การวิเคราะห์นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ในมันสำปะหลัง โดยวิธีแกมมาเรย์สเปกโตรสโคปี
ได้ทำการวิเคราะห์ธาตุกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในตัวอย่างมันสำปะหลังที่เก็บจากแหล่งเพาะปลูก 5 แหล่ง ๆ ละ 3 ครั้ั้ง ในจังหวัดนครสวรรค์ กรุงเทพฯ และ นครปฐม และวัดรังสีแกมมาด้วยหัววัดรังสีแกมมาแบบเจอร์เมเนียมบริสุทธิ์สูง
75.
การวิเคราะห์ปริมาณโพแทสเซียมในปุ๋ยเคมีโดยการวัดรังสีแกมมา ด้วยหัววัดแบบสารกึ่งตัวนำชนิดเจอร์เมเนียมบริสุทธิ์สูง (HPGe)
ทำการวิเคราะห์ปริมาณโพแทสเซียมในปุ๋ยเพื่อพัฒนาวิธีการประเมินปริมาณโพแทสเซียมในปุ๋ย โดยการตรวจวัดรังสีแกมมา ด้วย หัววัดแบบสารกึ่งตัวนำชนิดเจอร์เมเนียมบริสุทธิ์สูง (HPGe) โดยวิเคราะห์ปุ๋ยที่มีปริมาณโพแทสเซียมต่างกันจำนวน 6 ตัวอย่าง
76.
ไอโซโทปกัมมันตรังสีเรเดียม-226 และการแพร่กระจาย ในบริเวณแหล่งน้ำพุร้อนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาไอโซโทปกัมมันตรังสีเรเดียม -226 และการแพร่กระจายในบริเวณแหล่งน้ำพุร้อน ของจังหวัด สุราษฎร์ธานี จากตัวอย่างน้ำพุร้อน 55 ตัวอย่าง และน้ำบ่อตื้น 17 ตัวอย่าง ใช้เทคนิคการจับเรเดียมในน้ำด้วยสารดูดจับ เรเดียมในน้ำ
77.
การเปรียบเทียบสัญญาณอิเล็กตรอนสปินเรโซแนนซ์ ของแคลไซต์ธรรมชาติก่อนและหลังฉายรังสี
จากการศึกษาสัญญาณอิเล็กตรอนสปินเรโซแนนซ์ (ESR) ของแคลไซต์ธรรมชาติ ซึ่งรวบรวมจากจังหวัดสระบุรี ทางภาคกลางของประเทศไทย พบสัญญาณ ESR ที่เด่นชัดหกตำแหน่ง ใกล้เคียงบริเวณ g = 2.0000
78.
การวิเคราะห์ปริมาณ Ra-226, Cs-137 และ K-40 ในดินตะกอนบริเวณแหลมตะลุมพุก และฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปากพนัง จังหวัด นครศรีธรรมราช
ทำการวิเคราะห์ปริมาณกัมมันตภาพของธาตุกัมมันตรังสี ในดินตะกอนจากพื้นที่แหลม ตะลุมพุก และบริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยวิธี Gamma-Ray Spectrometry โดยใช้ ้สารมาตรฐาน IAEA-Soil-6 ในการปรับเทียบปริมาณ
79.
การพัฒนาระบบสแกนด้วยรังสีแกมมาพลังงานต่ำชนิดเคลื่อนย้ายได้ สำหรับคำนวณสร้างภาพโทโมกราฟี
ได้พัฒนาระบบสแกนเก็บข้อมูลโปรไฟล์ด้วยรังสีแกมมาพลังงานต่ำ ชนิดเคลื่อนย้ายได้สำหรับการคำนวณสร้างภาพ โทโมกราฟีเพื่อใช้ในงานด้านการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย โดยใช้รังสีแกมมาพลังงาน 59.5 keV จากต้นกำเนิดรังสีแกมมา Am-241 ความแรง 100 mCi และหัววัดรังสีแกมมา CdTe ขนาด 5 มิลลิเมตร
80.
การพัฒนาระบบควบคุมเครื่องวิเคราะห์พลังงานแบบหลายช่องผ่านบลูทูธ
การพัฒนาระบบควบคุมเครื่องวิเคราะห์พลังงานแบบหลายช่องผ่านบลูทูธ มีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับ เครื่องวิเคราะห์พลังงานแบบหลายช่อง Canberra series 10 plus และเพิ่มความปลอดภัยในการวัดรังสี โดยการพัฒนา โปรแกรมบนไมโครคอมพิวเตอร์ ควบคู่ไปกับระบบควบคุมที่สร้างขึ้นจากไมโครคอนโทรลเลอร์
81.
การสร้างฮิสโตแกรมความสูงสัญญาณพัลส์นิวเคลียร์ในหน่วยความจำ ด้วยชิพ FPGA สำหรับอุปกรณ์วิเคราะห์ความสูงพัลส์แบบหลายช่อง
บทความนี้นำเสนอการสร้างฮิสโตแกรมความสูงสัญญาณพัลส์นิวเคลียร์ในหน่วยความจำด้วยชิพ FPGA (Field Programmable Gate Array) สำหรับอุปกรณ์วิเคราะห์ความสูงพัลส์แบบหลายช่อง ชนิดเวลาการแปลงผันสัญญาณคงที่ขนาด 4096 ช่องวิเคราะห์
82.
การพัฒนาระบบบันทึกข้อมูลสำหรับเครื่องวิเคราะห์สัญญาณ หลายช่องชนิดพกพาโดยใช้เอสดีการ์ด
ได้พัฒนาระบบบันทึกข้อมูลของเครื่องวิเคราะห์สัญญาณหลายช่อง ( MCA) ชนิดพกพา โดย การนำเอสดีการ์ด (SD card) มาเป็นส่วนบันทึกข้อมูลแทนส่วนบันทึกแบบเก่าที่ไม่สะดวกในการเพิ่มหรือเปลี่ยนส่วนบันทึกข้อมูลของเครื่อง
83.
ระบบนับโฟตอนชนิดตอบสนองเวลาช่วงสั้นสำหรับวัดประกายแสงจากสารอินทรีย์เรืองแสง
ระบบนับโฟตอนชนิดตอบสนองเวลาช่วงสั้นนี้ ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้วัดสัญญาณซึ่งมีความกว้างพัลส์ระดับนาโนวินาที ที่เกิดจากกระบวนการเรืองรังสีและเปล่งประกายแสงของกลุ่มสารอินทรีย์เรืองรังสี
84.
ดิสคริมิเนเตอร์ชนิดตอบสนองเวลาช่วงสั้นแบบประหยัดสำหรับนับพัลส์นิวเคลียร์
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาดิสคริมิเนเตอร์ชนิดตอบสนองเวลาช่วงสั้น (fast discriminator) แบบประหยัด แต่มี ความสามารถคัดเลือกสัญญาณพัลส์นิวเคลียร์ในระดับนาโนวินาที สำหรับใช้ร่วมกับระบบนับโฟตอนชนิดตอบสนองเวลา ช่วงสั้น
85.
การทดลองเพื่อศึกษาพฤติกรรมการไหลของน้ำจากระบบการไหลเวียนตามธรรมชาติ แบบสถานะเดียวที่สภาวะคงตัว
ระบบการไหลเวียนตามธรรมชาติมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ต่อการระบายความร้อนของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ในกรณีที่เกิด การรั่วของสารระบายความร้อนภายในระบบ หรือหลังการปิดเครื่องแบบฉุกเฉิน งานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษา พฤติกรรมการไหลของน้ำ
86.
การพัฒนาโปรแกรมบันทึกข้อมูลพร้อมแสดงผลเชิงกราฟฟิคในการวัดรังสีแกมมาพร้อมกัน 12 หัววัด สำหรับการตรวจสอบกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมโดยเทคนิคสารรังสีติดตาม
ได้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกข้อมูลความเข้มของรังสีแกมมาตามระยะเวลา พร้อมทั้งการแสดงภาพ เชิงกราฟฟิคในการวัดรังสีจำนวน 12 หัววัดพร้อมกันโดยส่งข้อมูลผ่านมาตรฐาน RS-232
87.
การพัฒนาโปรแกรมบันทึกและแสดงผลการวิเคราะห์หอกลั่นน้ำมันในโรงงานอุตสาหกรรม โดยเทคนิคการส่งผ่านรังสีแกมมา
ได้พัฒนาโปรแกรมการสื่อสารระหว่างเครื่องวัดรังสีแกมมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เพื่อจัดเก็บข้อมูลและแสดงผล การวิเคราะห์หอกลั่นน้ำมันในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเทคนิคการส่งผ่านรังสีแกมมา เมื่อติดตั้งต้นกำเนิดรังสีแกมมา และหัววัดรังสีแกมมาไว้คนละข้างของหอกลั่นฯ
88.
การวิเคราะห์สภาวะการผลิตของหอกลั่นสารอะโรเมติกส์ ด้วยเทคนิคการส่งผ่านรังสีแกมมา (2550-2552)
ระหว่าง พ.ศ. 2550-2552 ได้ทำการตรวจวิเคราะห์สภาวะการผลิตหอกลั่นสารอะโรเมติกส์ของ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์ และการกลั่น จำกัด มหาชน ในขณะที่โรงงานกำลังดำเนินการผลิตอยู่ตามปกติจำนวน 36 หอกลั่น
89.
ปริมาณรังสีที่บุคคลในครอบครัวได้รับจากผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษามะเร็งไทรอยด์ในโรงพยาบาลด้วยไอโอดีน-131: กรณีศึกษา
การรักษาผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ด้วยไอโอดีน-131 ความแรงรังสีสูงในโรงพยาบาล กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าห้องน้ำด้วย ตนเองได้ จะทำให้ผู้ให้การดูแลมีความเสี่ยงจากการแผ่รังสีจากถุงปัสสาวะของผู้ป่วย ที่ได้รับการสอดใส่สายสวนปัสสาวะ ก่อนกินไอโอดีน-131
90.
การตรวจ Oncogenic Osteomalacia ด้วย Tc-99m-HYNIC-TOC SPECT/CT
Oncogenic osteomalacia เป็นความผิดปกติที่พบได้ยาก โดยพบมีการปวดกระดูก กล้ามเนื้ออ่อนแรง และความผิดปกติ ทางชีวเคมี เช่น มีระดับฟอสเฟตในเลือดต่ำ มีการขับฟอสเฟตออกมากทางปัสสาวะ และมีระดับซีรัม อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส ต่ำ
91.
การย่อยแร่โมนาไซต์ด้วยด่าง
แร่โมนาไซต์ ซึ่งมีส่วนประกอบ คือ ยูเรเนียมประมาณ 0.3-0.5 % ทอเรียมประมาณ 5-8 % การแปรสภาพแร่โมนาไซต์ ครั้งละ 100 กิโลกรัม ประกอบด้วยกระบวนการย่อยสลายแร่ด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 50 % ตามด้วยการละลายหรือ ชะล้างด้วยกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น
92.
การพัฒนาวิธีการสกัดแร่ซิลิเกตเพื่อใช้ตรวจสอบมันฝรั่งฉายรังสี ด้วยเทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์
เทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ ( TL ) เป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมใช้ในการตรวจสอบอาหารฉายรังสี โดยในขั้นตอนของ การตรวจสอบจำเป็นต้องสกัดแยกสารประกอบอนินทรีย์เช่น แร่ซิลิเกต ออกจากตัวอย่างอาหาร โดยอาศัยความแตกต่างของ ความหนาแน่น ซึ่งปกตินิยมใช้สารละลายโซเดียมโพลีทังสเตทความหนาแน่น 2.0 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
93.
การวิเคราะห์รูปแบบการยึดจับของยูเรเนียม (VI) กับชั้นแร่ โดยเทคนิค time-resolved laser-induced fluorescence spectroscopy
การเคลื่อนย้ายของสปีชีส์ของยูเรเนียม เกิดจาก กองหินและเหมืองแร่เก่าถูกชะล้างโดยน้ำผิวดิน เป็นส่วนใหญ่ จำเป็นต้องมีการศึกษาเส้นทางการเคลื่อนที่ สปีชีส์ และปริมาณของสารประกอบยูเรเนียมที่เคลื่อนย้าย วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือการวิเคราะห์อัตรกิริยาระหว่างชั้นแร่ที่เป็นของแข็ง กับสปีชีส์ของยูเรเนียมที่เคลื่อนที่ ในรูปแบบต่าง ๆ
94.
อิทธิพลของโดสรังสีแกมมาและสารเซนซิไทเซอร์ ต่อสมบัติทางฟิสิกส์ ของน้ำยางธรรมชาติฉายรังสี
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาปริมาณรังสีแกมมาและผลของสารเซนซิไทเซอร์ต่อการวัลคาไนซ์ ในน้ำยางธรรมชาติ สารตัวอย่างน้ำยางธรรมชาติที่ผสมด้วยสารเซนซิไทเซอร์ n-butyl acrylate (n-BA) , tetrachloroethylene (C2Cl4) , trichloromethane (CHCl3)
95.
ผลของรังสีต่อความเสถียรทางความร้อนของพอลิเมอร์ผสมระหว่างพอลิแลคติคแอซิด และเซลลูโลสอะซิเตต
งานวิจัยนี้ได้ทำการผสมเซลลูโลสอะซิเตตกับพอลิแลคติคแอซิด เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะปรับปรุงความเสถียรของ พอลิแลคติคแอซิดเมื่อโดนความร้อน ในขณะที่ไม่สูญเสียความสามารถในการย่อยสลาย
96.
กราฟต์โคพอลิเมอไรเซชันของเมทิลอะคริเลต บนเส้นใยเซลลูโลสโดยการใช้รังสีแกมมา
งานวิจัยนี้ทำการเตรียมกราฟต์โคพอลิเมอร์ของเมทิลอะคริเลต ( Methyl Acrylate, MA ) บนเส้นใยเซลลูโลส โดยใช้เทคนิค Simultaneous Irradiation ซึ่งใช้รังสีแกมมาเป็นตัวริเริ่มปฏิกิริยาการกราฟต์
97.
การศึกษาการใช้เซลลูโลสไตรอะซีเตตชนิดเติมสี เพื่อใช้เป็นเครื่องวัดปริมาณรังสีที่ใช้ในงานประจำ
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการใช้เซลลูโลสไตรอะซีเตตเติมสีชนิดพีเอช อินดิเคเตอร์เพื่อเตรียมเครื่องวัดปริมาณรังสีแบบแผ่นฟิล์ม การตอบสนองของแผ่นฟิล์มเซลลูโลสไตรอะซีเตตต่อรังสีแกมมาที่ปริมาณ 1-70 กิโลเกรย์
98.
การสังเคราะห์ [ 125I] 2-aminophenylthio- 5-iodo-N,N-dimethyl benzylamine เพื่อศึกษาการทำงานของตัวขนถ่ายสารสื่อประสาทซีโรโทนิน
ตัวขนถ่ายซีโรโทนิน ( T- 5- HT) มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมปริมาณและระยะเวลาการทำงานของซีโรโทนิน ซึ่งเป็น สารสื่อประสาทที่ควบคุมวงจรการนอนหลับ การสร้างอารมณ์ขันและการเจริญอาหาร
99.
การแยกยูเรเนียมจากน้ำทิ้งโดยใช้เรซินที่ชุ่มด้วยตัวสกัด TBP
ในกระบวนการสกัดแยกยูเรเนียมให้มีความบริสุทธิ์ และพัฒนาเป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์นั้น อาจมีการปนเปื้อนของยูเรเนียมใน น้ำทิ้ง ทำให้ต้องมีระบบบำบัดน้ำทิ้งที่เหมาะสม เพื่อกำจัดยูเรเนียมที่เป็นสารรังสีก่อนปล่อยน้ำทิ้งสู่สิ่งแวดล้อม
100.
การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดแยกอิตเทรียมปริมาณน้อยให้มีความบริสุทธิ์สูง
ได้ทำการทดลองหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดแยกอิตเทรียม (Y) ปริมาณน้อยออกจากสตรอนเชียม (Sr) ปริมาณสูง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการสกัดแยกไอโซโทปรังสีอิตเทรียม-90 ออกจากไอโซโทปรังสีสตรอนเชียม-90 ตั้งต้น เพื่อให้ได้ Y ความบริสุทธิ์สูง โดยใช้ปริมาณสารเทียบเท่าความแรงรังสีของสตรอนเชียมตั้งต้น 1 คูร
101.
การศึกษาสภาวะเหมาะสมในการเตรียมไอโอดีน-131 ริทูซิแมบ โดยการไอโอดิเนชันด้วยคลอรามีน-ที
ริทูซิแมบเป็นโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่สามารถจับกับแอนติเจน CD 20 ได้ แอนติบอดีนี้ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการเริ่ม และการแบ่งตัวของเซลล์ มีการตรวจพบแอนติเจน CD 20 มากกว่าร้อยละ 90 ในคนไข้ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin’s (NHL) จึงมีการใช้ ริทูซิแมบ เป็นเคมีบำบัดสำหรับผู้ป่วย NHL

102.

การศึกษาวิธีการตรวจประเมินเทคนิคการแยกสกัดบนแผ่นโครมาโตกราฟ เพื่อการวิเคราะห์ปริมาณ Sr-90 ในผลผลิต Y- 90
อิตเทรียม - 90 (Y-90) เป็นสารกัมมันตรังสีที่ได้จากการสลายตัวของสตรอนเชียม-90 (Sr-90) ตามข้อกำหนด Sr- 90 ที่ปนเปื้อนในเภสัชรังสีของ Y- 90 ไม่ควรมีปริมาณเกิน 2 ไมโครคูรี เนื่องจากธาตุทั้งสองสลายตัวให้อนุภาคบีตาเช่นเดียวกัน
103.
การศึกษาปริมาณธาตุในถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ โดยเทคนิคเชิงก่อกัมมันตภาพรังสีด้วยนิวตรอน
ได้ทำการวิเคราะห์ปริมาณธาตุในถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ โดยใช้เทคนิค Instrumental Neutron Activation Analysis (INAA),Pseudo-Cyclic Instrumental Neutron Activation Analysis (PCINAA) และ Epithermal Instrumental Neutron Activation Analysis (EINAA)
104.
การจัดระบบวัดรังสี พรอมต์แกมมาของ 241Am-Be เพื่อหาค่าพารามิเตอร์เชิงเรขาคณิต
ในการจัดระบบวัดรังสีพรอมต์แกมมาจากการอาบนิวตรอน โดยศึกษาผลของการดูดกลืนนิวตรอน ที่เกิดขึ้นในตัวอย่างซีเมนต์ ทำการทดสอบโดยใช้ต้นกำเนิดนิวตรอน 241Am-Be ความแรงรังสี 1 คูร
105.
การศึกษาการแพร่ของอนุภาคเจือปนในเครื่องโทคาแมค ITER
ปฎิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเกิดจากการรวมตัวกันของธาตุขนาดเล็ก ซึ่งนอกจากจะเกิดธาตุที่มีขนาดใหญ่ขึ้นแล้ว ยังมีการ ปลดปล่อยพลังงานออกมาอีกด้วย แต่ธาตุขนาดใหญ่กว่าไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นในเครื่องปฏิกรณ์ เช่น ฮีเลียม นั้นจะกลายเป็น ของเสีย
106.
ารศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องโทคาแมคขนาดเล็ก ด้วยโปรแกรมแบบจำลองทางคณิตศาสตร์แบบรวม
การประยุกต์ใช้งานฟิวชันไฮบริด หรือเครื่องกำเนิดพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันขนาดเล็ก สำหรับ การผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การจัดการกากกัมมันตรังสีด้วยวิธีแปรธาตุ (transmutation) เครื่องกำเนิดไฮโดรเจนพลังงานสูง และระบบทดสอบสำหรับ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชัน
107.
การศึกษาผลการกีดกั้นการส่งผ่านภายในและบริเวณขอบ ของพลาสมาด้วยวิธีการจำลองในเครื่องปฏิกรณ์ ITER
การศึกษาผลกระทบการกีดกั้นการส่งผ่านภายในและบริเวณขอบของพลาสมา ด้วยวิธีการจำลองในเครื่องปฏิกรณ์อีเทอร์ โดยอาศัยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์แบบรวมที่ชื่อ BALDUR เพื่อทำนายผลของอุณหภูมิที่ตำแหน่งสูงสุดของเพเดสทอล
108.
การจำลองผลจากเครื่องโทคาแมค JET โดยรวมลักษณะขอบเขตการแพร่ด้านในและด้านขอบ
งานวิจัยนี้เป็นการใช้โปรแกรมจำลองแบบ 1.5 มิติ ชื่อ BALDUR เพื่อจำลองผลการทดลองหมายเลข 40542 กับ 40847 ของเครื่องปฏิกรณ์ฟิวชัน JET โดยได้รวมปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นสองอย่างเข้าไปด้วยคือ ขอบเขตการแพร่ด้านใน (Internal Transport Barrier, ITB) และด้านขอบ (Edge Transport Barrier, ETB)
109.
การวิเคราะห์ลำนิวตรอนของเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย ปปว-1/1
ท่อนำนิวตรอนสำหรับงานถ่ายภาพด้วยนิวตรอน ของเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย ปปว-1/1 สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ แห่งชาติ (องค์การมหาชน) มีลักษณะเป็นท่อที่มีปลายบานออก ปลายด้านติดตั้งชิดกับแกนเครื่องปฏิกรณ์ฯ
110.
การศึกษาการเกิด Sawtooth Oscillations ด้วยการให้พลังงานแบบ ECRH โดยใช้แบบจำลองต่าง ๆ กัน
การเกิดการสั่นแบบซอว์ทูธ (sawtooth oscillations) ซึ่งเป็นความไม่เสถียรของพลาสมาในเครื่องโทคาแมครูปแบบหนึ่ง เป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของการศึกษาพลาสมาในเครื่องโทคาแมค เนื่องจากการเกิดล่มแบบซอว์ทูธ (sawtooth crash) มีผลทำให้อุณหภูมิและความหนาแน่นที่ตรงกลางของพลาสมาลดลง
111.
การพัฒนาโปรแกรมเพื่อคำนวณการจัดการเชื้อเพลิงในแกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบสามมิติ และสองกลุ่มพลังงาน
งานวิจัยนี้ นำเสนอการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อคำนวณการจัดการเชื้อเพลิงในแกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ในระบบ พิกัดฉากแบบสามมิติ โดยอาศัยทฤษฎีการแพร่ของนิวตรอนสองกลุ่มพลังงาน ( Two group neutron diffusion theory)
112.
การประเมินสมรรถนะของเครื่องโดสคาลิเบรเตอร์ ตราสินค้า CAPINTEC รุ่น CRC-15R โดยการเปลี่ยนค่าการสอบเทียบ (Calibration Value; CV)
ได้ทำการประเมินสมรรถนะของเครื่องโดสคาลิเบรเตอร์ โดยทดลองวัดสารรังสีมาตรฐาน 131 I และ 99mTc ในภาชนะบรรจุ แบบหลอดแก้ว (Ampoule) เข็มฉีดยา (Syringe ) ขวดแก้ว (Vial) และแคปซูล (Capsule) และแปรค่าความแรงรังสีและ ตำแหน่งจัดวางที่ต่างกัน
113.
การวิเคราะห์เชิงเรขาคณิตของการชนกันของนิวเคลียสที่พลังงานสูง
งานนี้เป็นการวิเคราะห์ลักษณะของการชนกันของไอออนหนักที่พลังงานสูง ที่มีขึ้นภายในเครื่องเร่งอนุภาค โดยใช้ พารามิเตอร์จากวรรณกรรมที่วัดมาจากการทดลองมาคำนวณหาลักษณะในเชิงเรขาคณิต
114.
การศึกษาถึงผลของค่าความเป็นสามเหลี่ยม และกระแสพลาสมาต่อความสามารถของพลาสมาในโทคาแมค โดยผ่านรหัสคอมพิวเตอร์ BALDUR
การศึกษานี้เป็นการใช้แบบจำลองพลาสมา เพื่อทำนายผลของปฏิกิริยาฟิวชันในเครื่องโทคาแมค ผลของค่าความเป็น สามเหลี่ยมของพลาสมาและกระแสพลาสมาภายในเครื่องโทคาแมค ได้ถูกศึกษาโดยใช้รหัสคอมพิวเตอร์ทำนายผล เชิงคณิตศาสตร์แบบรวม BALDUR
115.
แบบจำลองการทำนายผลอุณหภูมิบริเวณ Pedestal สำหรับ Type III ELMy H-mode พลาสมา
การเพิ่มประสิทธิภาพของพลาสมาภายในเครื่องปฏิกรณ์โทคาแมคนั้น วิธีการที่ปฏิบัติคือ การทำให้พลาสมาเข้าไปสู่สภาวะ ประสิทธิภาพสูงหรือที่เรียกว่า H -mode (High confinement mode) โดยเกิดจากการสร้างความต่างของความดันที่สูงกว่า ปรกติในบริเวณเพเดสทอล
116.
อันตรกิริยาของแก้วตะกั่วบอเรตที่พลังงานรังสีแกมมา 662 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์
งานวิจัยนี้ได้มีการศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนเชิงมวล ค่าภาคตัดขวางรวม และค่าเลขอะตอมยังผลของระบบแก้ว xPbO:(100-x)B 2O 3 เมื่อ 30 ? x ? 70 (% โดยน้ำหนัก) ที่พลังงาน 662 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์บนพื้นฐานของกฎการผสม
117.
การพัฒนาแบบจำลองเงื่อนไขขอบเขตสำหรับ L-mode พลาสมา
งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาแบบจำลองของอุณหภูมิและความหนาแน่น ของไอออนและอิเล็กตรอนภายในสภาวะ L-mode พลาสมาโดยใช้ข้อมูลจาก International Pedestal Database ในการคำนวณหาอุณหภูมิและความหนาแน่นของ ไอออนพลาสมาและอิเล็กตรอนพลาสมา
118.
การวัดและประเมินค่าการกระเจิงของระดับรังสีแกมมาอ้างอิง ในห้องปฏิบัติการวัดรังสีมาตรฐานทุติยภูมิ (SSDL) ด้วยระบบวัดแบบอิมเมจจิงเพลต
งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาเทคนิคการวัดปริมาณรังสีแกมมาระดับต่ำ ด้วยระบบวัดแบบอิมเมจจิงเพลตเพื่อพิสูจน์ระดับรังสี และแผนภูมิการกระเจิงของรังสีแกมมาในขณะฉายรังสีจากเครื่องฉายรังสี OB85 สำหรับใช้อ้างอิงเพื่อการสอบเทียบมาตรฐาน ในห้องปฏิบัติการวัดรังสีมาตรฐานทุติยภูมิ (SSDL )
119.
การควบคุมคุณภาพการผลิตต้นกำเนิดรังสีมาตรฐาน
ได้พัฒนาเทคนิคการผลิต ต้นกำเนิดรังสีแกมมาไอโอดีน -131 สำหรับใช้ในการสอบเทียบระบบวิเคราะห์รังสีแกมมา สเปคโตรเมตรี โดยการชั่งสารละลายไอโอดีน -131 อ้างอิง เพื่อกำหนดปริมาณที่ต้องการ และพิสูจน์ผลการผลิต ต้นกำเนิดรังสีตามวิธี Production techniques and quality control of sealed radioactive source
120.
ไอโซโทปรังสี กับ Nuclear Medicine (1) Medical Isotope
ไอโซโทปรังสี (radioisotope/radioactive isotope) เป็นชื่อเรียกธาตุต่าง ๆ ที่มีรังสีทั้งที่มีอยู่ในธรรมชาติ และที่ี่เกิดขึ้นจาก กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คำว่า radioisotope/radioactive isotope บางครั้งจะถูกเรียกสั้น ๆ ว่า isotope ก็มี ธาตุบางชนิด อาจจะมีไอโซโทปรังสีย่อย ๆ หลายไอโซโทป
121.
ไอโซโทปรังสี กับ Nuclear Medicine (2) From Radioisotopes to Radiopharmaceuticals
จากไอโซโทปมาเป็นยา (สารเภสัชรังสี หรือ radiopharmaceuticals) ได้อย่างไร ผู้คนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยรู้จักยาประเภทนี้มากนัก แต่คนที่คุ้นเคยมากที่สุดก็คงจะเป็นผู้ป่วยที่มาพบแพทย์เพื่อตรวจ-รักษากลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบต่อมไทรอยด์ที่หมอมักจะให้ดื่มน้ำแร่ เพื่อตรวจหรือรักษาอาการผิดปกติบางอย่างของระบบต่อมไทรอยด์
122
วัตถุดิบยูเรเนียมสำหรับวัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ Uranium Raw Material for the Nuclear Fuel Cycle
การประชุม International Symposium on Uranium Raw Material for the Nuclear Fuel Cycle จัดขึ้นโดย ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency หรือ IAEA) ที่ห้องประชุม IAEA Board Room ชั้น 4 อาคาร C ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย