STKC
การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งที่ 11 (วทน. 11)

"เทคโนโลยีนิวเคลียร์สู่สังคมไทย"

วันที่ 2-3 กรกฎาคม 2552

ณ หอประชุมมหิศร ไทยพาณิชย์ปาร์คพลาซ่า กรุงเทพฯ

สาขาสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

ES05: ความถี่การเกิดไมโครนิวเคลียสในผู้ปฏิบัติงานรังสี

*วันวิสา สุดประเสริฐ อมรรัตน์ จังธนสมบัติ และ พรรณี พักคง
ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
50 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900
โทรศัพท์ 0 2562 5444 ต่อ 1202 โทรสาร 0 2579 5530 E-Mail: fsciwasu@ku.ac.th

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความถี่การเกิดไมโครนิวเคลียส (MN) ในเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ของผู้ปฏิบัติงานรังสีใน สถานปฏิบัติงานหนึ่ง จำนวน 31 คน เปรียบเทียบผลกับกลุ่มควบคุม จำนวน 24 คน โดยศึกษาผลของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีต่อ ความถี่การเกิดไมโครนิวเคลียส ได้แก่ เพศ อายุ การดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มชาและ/ หรือกาแฟ และการได้รับรังสีสะสม ผลการศึกษาพบว่าความถี่การเกิดไมโครนิวเคลียสในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานรังสี มีค่ามากกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ทางสถิติ (p = 0.000) โดยกลุ่มควบคุมมีค่าเท่ากับ 39.1 ? 3.7 MN/1000 BN ส่วนกลุ่มผู้ปฏิบัติงานรังสี มีค่าเท่ากับ 60.9 ? 12.3, 61.6 ? 13.0 และ 62.6 ? 11.8 MN/1000 BN สำหรับช่วงปริมาณรังสีที่ได้รับสะสม 0.01-3.00, 3.01-6.00 และ 6.01-9.00 mSv ตามลำดับ ทั้งนี้ความถี่การเกิดไมโครนิวเคลียส มีความสัมพันธ์กับปริมาณรังสีที่ได้รับในแบบสมการเชิงเส้น กำลังสอง (R 2= 0.4754) ปัจจัยเนื่องจากเพศ อายุ การดื่มแอลกอฮอล์ ไม่มีอิทธิพลต่อความถี่การเกิดไมโครนิวเคลียสของ ทั้งสองกลุ่ม ส่วนปัจจัยเนื่องจากการดื่มชาและ/ หรือกาแฟ มีอิทธิพลต่อความถี่การเกิดไมโครนิวเคลียสเฉพาะกลุ่ม ผู้ปฏิบัติงานรังสีเท่านั้น (t-test = -2.018, sig. (2-tailed) = 0.030) ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการได้รับรังสี ก่อไอออน ปริมาณต่ำสะสมจากการประกอบอาชีพ สามารถเพิ่มความถี่การเกิดไมโครนิวเคลียส ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของความเสียหาย ของโครโมโซม

คำสำคัญ : ความถี่การเกิดไมโครนิวเคลียส การรับรังสีจากอาชีพ ความเสียหายของโครโมโซม รังสี ก่อไอออนปริมาณต่ำ

ES05: Micronuclei Frequency in Radiation Worker

*Wanwisa Sudprasert, Amornrat Jungtanasombut and Pannee Pakkong
Department of Applied Radiation and Isotopes, Faculty of Science, Kasetsart University
50 Phahon Yothin Rd. , LadYao, Chatuchak, Bangkok 10900
Phone: 0 2562 5444 ext. 1202, Fax: 0 2579 5530, E-Mail: fsciwasu@ku.ac.th

Abstract

The purpose of this study is to determine the micronuclei (MN) frequency in peripheral blood lymphocytes of 31 individuals occupationally exposed to radiation compared to 24 controls. The effect of donor gender, age, alcoholic consumption, tea/coffee consumption and radiation burden on MN frequency was studied. The results showed that MN frequencies observed for exposed employees were significantly higher than in controls (p = 0.000). The average MN frequency in control was 39.1 ? 3.7 MN/1000 BN while those of exposed group were 60.9 ? 12.3, 61.6 ? 13.0 and 62.6 ? 11.8 MN/1000 BN for the range of accumulative doses at 0.01-3.00, 3.01-6.00 and 6.01-9.00 mSv, respectively. Moreover, MN frequency showed a positive trend with increased accumulative doses as a linear-quadratic relation (R 2 = 0.4754). No correlation of MN frequency with gender, age and alcoholic consumption could be observed in both exposed and control groups. However, the effect of tea/coffee consumption on MN frequency was clearly observed in the exposed individuals (t-test = -2.018, sig. (2-tailed) = 0.030). These results indicate that the increased MN frequency, an indicator of chromosomal aberration, is associated with occupational exposure to low doses of ionizing radiation.

Keywords: Micronuclei Frequency , Occupational Radiation Exposure, Chromosome Aberration, Low Doses of Ionizing Radiation