STKC
การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งที่ 11 (วทน. 11)

"เทคโนโลยีนิวเคลียร์สู่สังคมไทย"

วันที่ 2-3 กรกฎาคม 2552

ณ หอประชุมมหิศร ไทยพาณิชย์ปาร์คพลาซ่า กรุงเทพฯ

สาขาพอลิเมอร์และเคมี

PC09: การแยกยูเรเนียมจากน้ำทิ้งโดยใช้เรซินที่ชุ่มด้วยตัวสกัด TBP

* พิพัฒน์ พิเชษฐพงษ์ 1 และ อุทัยวรรณ อินทร์เจริญ 1

1 สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 0 2562 0120 โทรสาร 0 2562 0120 E-Mail: pipat@tint.or.th

บทคัดย่อ

ในกระบวนการสกัดแยกยูเรเนียมให้มีความบริสุทธิ์ และพัฒนาเป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์นั้น อาจมีการปนเปื้อนของยูเรเนียมใน น้ำทิ้ง ทำให้ต้องมีระบบบำบัดน้ำทิ้งที่เหมาะสม เพื่อกำจัดยูเรเนียมที่เป็นสารรังสีก่อนปล่อยน้ำทิ้งสู่สิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้ ได้ทำการศึกษาการใช้เรซินที่ชุ่มด้วยตัวสกัดไตรบิวทิลฟอสเฟต ( TBP ) ในการแยกยูเรเนียมออกจากน้ำทิ้งที่จำลองจาก น้ำทิ้งของกระบวนการแปรสภาพแร่โมนาไซต์ ซึ่งน้ำทิ้งดังกล่าวประกอบด้วยยูเรเนียมและสารประกอบของกรดและด่าง ที่ใช้ในกระบวนการ คือ กรดเกลือ กรดไนทริก และโซดาไฟ โดยมีความเข้มข้นของยูเรเนียมในช่วง 1-5 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีความเข้มข้นของไอออนโซเดียม คลอไรด์ และไนเทรตในช่วง 20-100 200-1000 และ 100-500 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ผลจากการศึกษาพบว่าเรซินที่ชุ่มด้วยตัวสกัดนี้สามารถดูดซับยูเรเนียมได้สูงขึ้นตามความเข้มข้นของยูเรเนียม ในน้ำทิ้งที่เพิ่มขึ้น และสามารถดูดซับยูเรเนียมได้สูงประมาณ 0.032 มิลลิกรัมต่อกรัมเรซิน โดยที่ความเข้มข้นของไอออน โซเดียม คลอไรด์ และไนเทรตในช่วงที่ศึกษานี้ มีผลค่อนข้างน้อยต่อประสิทธิภาพการแยกยูเรเนียมโดยใช้เรซินที่ชุ่มด้วย ตัวสกัดไตรบิวทิลฟอสเฟตนี้

คำสำคัญ : ยูเรเนียม น้ำทิ้ง ไตรบิวทิลฟอสเฟต เรซินชุ่มด้วยตัวสกัด

PC09: Separation of Uranium from Waste Water by TBP Impregnated Resin

* Pipat Pichestapong 1 and Uthaiwan Injarean 1

1 Thailand Institute of Nuclear Technology, Chatuchak, Bangkok 10900
Phone: 0 2562 0120, Fax: 0 2562 0120, E-Mail: pipat@tint.or.th

Abstract

In the process of uranium purification for nuclear material development, it is necessary to remove the uranium contaminated in the waste water effluent from the processing facility. For the waste water contains little amount of the polluted elements , the effective separation method must be used. In this study, tributyl phosphate (TBP) impregnated resin was used to separate uranium from the prepared waste water simulating the waste water generated from the processing of monazite ore. The prepared waste water composes of uranium and some chemical reagents such as sodium hydroxide, hydrochloric acid and nitric acid which are used in the process. The concentration of uranium in the waste water is 1-5 mg/L and the concentration of sodium, chloride and nitrate ions are 20-100, 200-1000 and 100-500 mg/L respectively. It has been found that the uranium adsorption capacity on the TBP impregnated resin increases with the increasing uranium concentration and the highest adsorption capacity is about 0.032 mg U/g resin. The concentration of sodium, chloride and nitrate ions in this study slightly affect the extraction efficiency of the impregnated resin.

Keywords: uranium, waste water, TBP, solvent impregnated resin