การค้นพบนิวตรอน
สุรศักดิ์  พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
เป็นที่น่าสังเกตว่าเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford) ค้นพบนิวเคลียสของอะตอมตั้งแต่ ค.ศ. 1911 แต่ไม่มีใคร ค้นพบนิวตรอนที่เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของนิวเคลียสนอกเหนือไปจากโปรตอนจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1932 ซึ่งเป็นเวลา ห่างกันถึง 21 ปีทีเดียว กว่าที่เจมส์ แชดวิก (James Chadwick) จะประกาศการค้นพบนิวตรอนได้สำเร็จโดยต้องใช้เวลาค้นหา นานกว่า 10 ปีทีเดียว
(ซ้าย) เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด และ (ขวา) เจมส์ แชดวิก

เมื่อแรกที่ค้นพบนิวเคลียส ทำให้ภาพของอะตอมปรากฏขึ้นมาว่า ประกอบด้วยนิวเคลียสประจุบวกที่เป็นมวลเกือบทั้งหมด ของอะตอม ที่โคจรโดยรอบด้วยอิเล็กตรอนจำนวนหนึ่งที่ให้ประจุพอดีหักล้างกับประจุบวกของนิวเคลียส และทำให้ประจุของ อะตอมเป็นกลาง ทว่าในเวลาต่อมา การตรวจวัดมวลของอะตอมชี้ว่า ยกเว้นก็แต่อะตอมไฮโดรเจนเท่านั้นที่มีเลขมวล (mass number: A) เท่ากับเลขเชิงอะตอม (atomic number: Z) หรือาจเรียกว่าเลขประจุ โดยมีเลขมวลเท่ากับ 1 และเลขประจุ เท่ากับ +1 และอะตอมทุกชนิดนอกนั้นล้วนมีเลขมวลมากกว่าเลขประจุและเป็นเลขจำนวนเต็มทั้งสิ้น เช่น นิวเคลียสของ อะตอมฮีเลียมมีประจุเท่ากับ +2 แต่มีเลขมวลเท่ากับ 4 ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่า นิวเคลียสของอะตอมคงต้องประกอบขึ้นด้วย อนุภาคหลายอย่างที่มีมวลเท่า ๆ กัน

อนุภาคองค์ประกอบของนิวเคลียสอย่างแรกก็คือ โปรตอน ที่มีประจุบวกและทำให้นิวเคลียสมีประจุบวกไปด้วย โดยการค้นพบ โปรตอนมีมาก่อนหน้านี้แล้ว จากการทำให้อะตอมไฮโดรเจนซึ่งเป็นอะตอมที่เบาที่สุดประกอบด้วยโปรตอนและอิเล็กตรอน อย่างละ 1 อนุภาค ให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนซึ่งทำให้อิเล็กตรอนถูกแยกออกไปคงเหลือไว้แต่โปรตอน

ดังนั้นการที่อะตอมอื่น ๆ มีเลขมวลมากกว่าเลขประจุ ทำให้รัทเทอร์ฟอร์ดเกิดความคิดว่า นิวเคลียสคงต้องประกอบขึ้นจาก โปรตอนกับ “ คู่เหมือนที่เป็นกลาง” (neutral doublet) ที่เกิดจากการรวมตัวกันของโปรตอนกับอิเล็กตรอนทำให้ไม่มีประจุ ุและมีมวลพอ ๆ กับโปรตอน (อิเล็กตรอนมีมวลน้อยกว่าโปรตอนเกือบ 2 พันเท่าตัว) แนวคิดนี้อธิบายได้ทั้งประจุและมวล ของอะตอม เช่น อธิบายว่านิวเคลียสของฮีเลียมประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาคจึงมีประจุเท่ากับ +2 กับอนุภาคคู่เหมือนท ี่เป็นกลางอีก 2 อนุภาคทำให้มีเลขมวลเท่ากับ 4

รัทเทอร์ฟอร์ดเสนอความคิดนี้ไว้เมื่อ ค.ศ. 1920 และเรียก “ คู่เหมือนที่เป็นกลาง” นี้ว่า “ นิวตรอน” (neutron) แต่การค้นหา นิวตรอนทำได้ยากมากเนื่องจากมันไม่มีประจุจึงไม่เกิดการผลักในสนามไฟฟ้า ทำให้มีการทะลุทะลวงได้ดีกว่าโปรตอนเป็น อันมาก จึงตรวจพบได้ยาก รัทเทอร์ฟอร์ดมอบหมายหน้าที่การค้นหานิวตรอนให้กับผู้ช่วยของเขาคือแชดวิกนั่นเอง โดย เสนอแนะให้ทดลองโดยวิธีโน้นบ้างวิธีนี้บ้าง แชดวิกมีหน้าที่สำคัญประการหนึ่งคือ การติดตามความก้าวหน้าทางฟิสิกส์และ เก็บมาเล่าให้รัทเทอร์ฟอร์ดฟัง และนี่เป็นที่มาของแรงบันดาลใจในการค้นพบนิวตรอนของแชดวิก ซึ่งเป็นความก้าวหน้าที่มา จากยุโรป

ค.ศ. 1930 นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันสองท่านชื่อว่าโบเทอ (Bothe) และเบคเคอร์ (Becker) ทำการทดลองระดมยิงโลหะ เบริลเลียมด้วยอนุภาคแอลฟาที่ปล่อยออกมาจากธาตุพอโลเนียม และสังเกตพบว่ามีรังสีที่มีการทะลุทะลวงสูงมาก ถูกปลดปล่อยออกมา เนื่องจากรังสีนี้ไม่มีประจ พวกเขาจึงเชื่อว่าเป็นรังสีแกมมา

ต่อมาใน ค.ศ. 1932 อีแรนและเฟรเดริก โชลีโย กูรีี ู่สามีภรรยาชาวฝรั่งเศส (ลูกสาว และลูกเขยของมาดามคูรี) จึงได้ศึกษาสมบัติของรังสีชนิดนี้พบว่า เมื่อปล่อยรังสีนี้พุ่งปะทะเข้าไปในก้อนขี้ผึ้งพาราฟิน (paraffin) ก้อนพาราฟินจะปล่อยโปรตอนออกมาได้ ซึ่งเมื่อวัดความเร็วของโปรตอนแล้ว รังสีแกมมาที่ว่าจะต้องมีพลังงาน สูงมากจึงจะสามารถเตะโปรตอนออกมาจากพาราฟินได้ความเร็วสูงมากขนาดนั้น
เฟรเดริกและอีแรน โชลีโย กูรี (ภาพ : www.aip.org )

แชดวิกนำเรื่องนี้มาเล่าให้รัทเทอรฟอร์ดฟังตามหน้าที่ของเขา แต่รัทเทอร์ฟอร์ดไม่เชื่อว่ารังสีแกมมาจะทำให้โปรตอนถูก ปล่อยออกมาจากพาราฟินได้ หลังจากปรึกษากันทั้งคู่เชื่อว่ารังสีที่เบริลเลียมปล่อยออกมาน่าจะเป็นนิวตรอนที่พวกเขากำลัง ค้นหาอยู่ เพราะว่านิวตรอนมีขนาดเท่า ๆ กับโปรตอน ทำให้เขี่ยโปรตอนกระเด็นออกมาจากพาราฟินได้อย่างง่ายดาย

แชดวิกทำการทดลองหามรุ่งหามค่ำเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีนิวตรอนของพวกเขา ศึกษารังสีจากเบริลเลียมด้วยเครื่องนับการแตกตัว เป็นไอออนหรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่าไกเกอร์เคาน์เตอร์ และอีกอุปกรณ์หนึ่งคือ ห้องหมอก และเขาพบว่าสามารถใช้สารเบา ชนิดอื่น (รวมทั้งเบริลเลียมเอง) แทนพาราฟินก็ให้ผลอย่างเดียวกัน คือ โปรตอนถูกปล่อยออกมา
การทดลองของแชดวิก
แชดวิกอธิบายว่า รังสีแอลฟาจากพอโลเนียมที่ระดมยิงเข้าไปชนกับนิวเคลียสของเบริลเลียม ทำให้เกิดการแปรธาตุเป็น คาร์บอนและปล่อยนิวตรอนออกมา 1 อนุภาคต่อการชนแต่ละครั้ง และเมื่อนิวตรอนนี้ผ่านเข้าไปในพาราฟิน ก็จะเข้าไป กระแทกนิวเคลียสของอะตอมไฮโดรเจนให้กระเด็นออกมาเป็นโปรตอนอิสระ การกระแทกนี้เป็นในทำนองเดียวกับการแทง ลูกบอลสนุกเกอร์สีขาวไปกระแทกลูกแดง ให้กระเด็นไปได้โดยลูกขาวหยุดนิ่งแทนตำแหน่งลูกแดง

รัทเทอร์ฟอร์ดอธิบายว่านิวตรอนเป็นอนุภาคไม่มีประจุที่มีการทะลุทะลวงสูงและมีมวลใกล้เคียงกับโปรตอน ปัจจุบันเป็นที่ ทราบกันแล้วว่านิวตรอนไม่ได้เกิดจากการรวมตัวกันของโปรตอนกับอิเล็กตรอน เพราะตามหลักกลศาสตร์ควอนตัมแล้ว อิเล็กตรอนกับโปรตอนไม่สามารถเข้ามาใกล้กันจนรวมกันได้ และนอกจากนี้การวัดนิวเคลียร์สปิน ของนิวตรอนได้เป็นเลขคู่ ก็ชี้ว่านิวตรอนไม่ได้มีอิเล็กตรอนเป็นองค์ประกอบซึ่งสปินต้องเป็นเลขคี่ กล่าวคือ นิวเคลียร์สปินก็คือการที่อนุภาคมีการหมุน รอบตัวเองแบบเดียวกับที่โลกหมุนรอบตัวเองตามเข็มหรือทวนเข็มนาฬิกาก็ได้ เรียกว่ามี โมเมนตัมเชิงมุม เมื่อคิดว่านิวตรอน เกิดจากการรวมตัวกันของโปรตอนกับอิเล็กตรอน ก็เอาโมเมนตัมเชิงมุมมารวมกันหรือหักล้างกันก็ตาม ซึ่งจะต้องได้ผลลัพธ์ ์เป็นเลขคี่เท่านั้น

แชดวิกเองมั่นใจแต่แรกว่านิวตรอนไม่ได้เกิดจากการรวมกันของโปรตอนกับอิเล็กตรอน แต่จะเกิดจากอะไรก็ต้องมี ีเครื่องไม้เครื่องมือที่ดีกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้น ซึ่งในปัจจุบันเชื่อว่าไม่ว่านิวตรอนหรือโปรตอนก็ตาม เกิดจากเกิดจากการรวมกัน ของอนุภาคที่เล็กกว่าที่เรียกว่า ควาร์ก

จากผลงานนี้ทำให้แชดวิกได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เมื่อ ค.ศ. 1935 ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าการที่อีแรนและเฟรเดริก โชลีโย กูรีตีความผิดพลาดว่านิวตรอนเป็นรังสีแกมมา ทำให้พวกเขาถึงกับพลาดรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ไป แต่ก็ไม่ต้องเสียดายแทน คนเก่งอย่างสามีภรรยาคู่นี้ เพราะปีเดียวกันนั้นเอง พวกเขาก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีจากการค้นพบปรากฏการณ์ กัมมันตภาพรังสีประดิษฐ์ (artificial radioactivity) หรือเรียกว่าเป็นการสังเคราะห์สารกัมมันตรังสีได้สำเร็จ โดยการระดมยิง ธาตุเบา เช่น อะลูมิเนียม แมกนีเซียม และโบรอนด้วยอนุภาคแอลฟา (4He ) และก็ทำให้ ธาตุเสถียรอย่างอะลูมิเนียม-27 (27Al ) แปรธาตุเป็นธาตุกัมมันตรังสีฟอสฟอรัส-30 (30P) ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

27Al + 4He -> 30P + neutron

30P -> 30Si + positron + (neutrino)

การค้นพบนี้ได้กลายเป็นวิธีหลักของการผลิตไอโซโทปรังสีสำหรับใช้ในทางการแพทย์และอุตสาหกรรมในปัจจุบัน