STKC

ชื่อนี้มีที่มา (13)
อาร์เอสโอ (RSO)

สุรศักดิ์  พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

อาร์เอสโอ (RSO) เป็นตัวย่อของคำว่า radiation (หรือ radiological) safety officer ซึ่งในพากย์ไทยเรียกว่า “เจ้าหน้าที่ ความปลอดภัยทางรังสี”

คำว่า radiological safety officer นี้ ใช้เรียกเจ้าหน้าที่ทหารที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยทางรังสีในระหว่างการทดสอบ อาวุธอะตอม (atomic weapon) ของสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิกช่วงตอนปลายคริสต์ทศวรรษ 1940

พอล ดับเบิลยู. เฟรม ( Paul W. Frame ) เล่าว่า เท่าที่เขารู้จากประสบการณ์ส่วนตัวเขาเอง คำนี้ใช้ครั้งแรกในคณะทำงาน- เฉพาะกิจร่วม 7 (Joint Task Force 7) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1974 เพื่อกำกับปฏิบัติการแซนด์สโตน (Operation Sandstone) ที่เกาะปะการังในมหาสมุทรแปซิฟิกชื่อว่าเอนิวีท็อก (Enewetak atoll) โดยข้อบังคับสำหรับปฏิบัติการแซนด์สโตนตอนหนึ่ง มีใจความว่า...

“การรับปริมาณรังสีที่ยอมรับได้ กำหนดให้เท่ากับ 0.1 เรินต์เกนต่อยี่สิบสี่ ( 24) ชั่วโมง ภายใต้สถานการณ์ไม่ปกติ ผู้อำนวยการด้านเทคนิคและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี อาจรับปริมาณรังสีทั้งหมดได้ถึงสาม (3) เรินต์เกน”

ที่เกาะปะการังเอนิวีท็อกในมหาสมุทรแปซิฟิกมีการทดสอบอาวุธอะตอมประมาณ 43 ครั้ง

บาร์ตัน แฮกเกอร์ (Barton Hacker) เขียนไว้ในหนังสือชื่อ Elements of Controversy เมื่อปี 1994 ว่า ข้อบังคับนี้เลือกใช้คำ อย่างระมัดระวัง เพื่อให้ครอบคลุมความต้องการที่บางครั้งขัดแย้งกัน ระหว่างผู้ร่วมการทดสอบลูกระเบิดอะตอมฝ่ายทหาร และฝ่ายเทคนิค กล่าวคือ อำนาจสูงสุดด้านความปลอดภัยทางรังสีเป็นของทหาร ใช้บังคับโดยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ทางรังสี แต่ในฝ่ายนักวิทยาศาสตร์พลเรือน ที่มีตัวแทนคือผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ ก็สามารถเข้าไปในพื้นที่ปนเปื้อน สารรังสีได้เป็นประจำ เพื่อดำเนินการทดลองและตรวจวัดปริมาณรังสี

นักฟิสิกส์ชื่อว่าแคโรล โฟรแมน (Karol Froman) ปฏิบัติงานเป็นผู้อำนวยการในคณะทำงานเฉพาะกิจร่วม 7 และพันเอก เจมส์ คูนีย์ (Col. James Cooney) ของเหล่าทหารแพทย์ (Army Medical Corps) ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ทางรังสี ตำแหน่งของคูนีย์นั้นเทียบเท่ากับพันเอก สแตฟฟอร์ด วอร์เรน (Col. Stafford Warren) จากคณะทำงานเฉพาะกิจ ร่วม 1 ระหว่างปฏิบัติการครอสส์โรด (Cross Roads) ที่เกาะบิกินี (Bikini atoll) ในมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อปี 1946 ซึ่งมีชื่อ ตำแหน่งว่า ที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยทางรังสี (Radiological Safety Officer)

ความแตกต่างของการปฏิบัติงานก็คือ การตรวจวัดรังสีของฝ่ายทหารก็เพื่อความปลอดภัย ในขณะที่ฝ่ายพลเรือนตรวจวัดรังส ีเพื่อเป้าหมาย (การทดลอง) ทางวิทยาศาสตร์ ภายหลังภารกิจการทดสอบลูกระเบิดอะตอมในมหาสมุทรแปซิฟิกเสร็จสมบูรณ ์มานานแล้ว ฝ่ายทหารก็ยังนิยมใช้คำว่า "radiological" มากว่า "radiation"

 

เรียบเรียงจาก The Origin of Selected Radiological and Nuclear Terms: RSO โดย Paul W. Frame (Oak Ridge Associated Universities )

(เผยแพร่ : 28 เมษายน 2552)