การพัฒนาบุคลากรระดับประเทศ
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ปีงบประมาณ 2522

 

การพัฒนาบุคลากร เป็นกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่ต้องการให้บุคลากรภายในองค์กรมีประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานมากขึ้น ช่วยเพิ่มทักษะความชำนาญในการทำงาน ปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากรทุกระดับให้เป็นไปในทิศทาง เดียวกัน ทำให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ องค์กรมีความคล่องตัว ก้าวทันโลกของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยมีจุดมุ่งหมายสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร การพัฒนาบุคลากรจึงเป็นสิ่งจำเป็น ที่จะเอื้อประโยชน์โดยตรงทั้งต่อองค์กรและบุคลากรขององค์กรนั้น ๆ แต่ละองค์กรจึงควรจัดให้มีการพัฒนาบุคลากร อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การพัฒนาบุคลากรสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การฝึกอบรม ปฐมนิเทศ ศึกษาต่อ ดูงาน ประชุม สัมมนาทั้งในและนอกสถานที่ ในการพัฒนาบุคลากรของแต่ละองค์กรจำป็นต้องวิเคราะห์ความต้องการที่จะพัฒนา โดยพิจารณาจากลักษณะของงานที่ทำเป็นหลัก เมื่อบุคลากรได้รับการพัฒนาแล้วจะต้องมีการประเมินและติดตามผล เพื่อนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงการพัฒนาบุคลากรครั้งต่อ ๆ ไป

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรด้านนิวเคลียร์และรังสี ในหน่วยงานต่างๆ ของประเทศ โดย สทน. มุ่งหวังให้หน่วยงานที่มีการใช้ประโยชน์จากรังสีและสารกัมมันตรังสี สามารถดำเนินงานของตนได้อย่างปลอดภัย ทั้งต่อผู้ปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อม และประชาชน สทน.จึงจัดให้มี การพัฒนาบุคลากรระดับประเทศขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปีงบประมาณ 2522 สทน. โดยหน่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ร่วมกับศูนย์/กลุ่มงาน/หน่วยงานต่างๆ ของสถาบัน จัดให้มีการพัฒนาบุคลากรระดับประเทศ จำนวน 17 หลักสูตร รวม 35 ครั้ง สทน. คาดว่าจะมีบุคลากรด้านนิวเคลียร์และรังสีของประเทศที่ได้รับการพัฒนาในสาขาวิชาต่างๆ รวมประมาณ 1 , 300 คน

 

 

การประชุม สัมมนา และฝึกอบรมระดับประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2552

โดย หน่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ร่วมกับ ศูนย์/กลุ่มงาน/หน่วยงานใน สทน.

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ( องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ผลผลิตวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีนิวเคลียร์

โครงการ / หลักสูตร / วันที่ขอจัด

จำนวน(ครั้ง)

จำนวน (วัน/ครั้ง)

จำนวน (คน)

ผลที่ได้รับและคาดว่าจะได้รับ

1. - 9. การฝึกอบรมเรื่อง การป้องกัน อันตรายจากรังสี ระดับ 1 / วันที่ 3-7 และวันที่ 24-29 พฤศจิกายน 2551, วันที่ 15-19 ธันวาคม 2551, วันที่ 12-16 มกราคม 2552, วันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2552, วันที่ 27 เมษายน- 1 พฤษภาคม 2552, วันที่ 18-22 พฤษภาคม 2552, วันที่ 15-19 มิถุนายน 2552 และวันที่ 13-17 กรกฎาคม 2552

9

5

50x9=450

เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ของต้นกำเนิดรังสี ชนิดปิดผนึก และเครื่องกำเนิดรังสี รวมทั้งสร้างเสริมให้บุคลากรทางรังสีของประเทศ ให้มีความตระหนักถึงการปฏิบัติงาน กับสารกัมมันตรังสีอย่างถูกต้อง มีความปลอดภัยต่อตนเอง ผู้ที่เกี่ยวข้อง และสิ่งแวดล้อม

10. - 11. การฝึกอบรม เรื่องการตรวจสอบ โดยวิธีถ่ายภาพด้วยรังสี ระดับ 1 วันที่ 5-10 มกราคม 2552 และวันที่ 25-30 พฤษภาคม 2552

2

6

20x2=40

เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากร ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการปฏิบัติงาน ด้านการตรวจสอบ โดยวิธีถ่ายภาพด้วยรังสี ให้สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ ไปพัฒนา ปรับปรุง และประยุกต ใช้กับงาน ในหน่วยงานของตนได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย

12. - 13. การสร้างเสริม ความชำนาญเฉพาะด้าน สำหรับการจัดการ ด้านความปลอดภัยทางรังสี : การใช้เครื่องมือวัดรังสีชนิดต่างๆ (แอลฟา บีตา แกมมา และ นิวตรอน)/ ระหว่างวันที่ 16-20 กุมภาพันธ์ 2552 และวันที่ 17-20 สิงหาคม 2552

2

1

12x2=24

เพื่อสร้างเสริมความเชี่ยวชาญในงานรับผิดชอบ ของเจ้าหน้าี่ที่่ควบคุมดูแลความปลอดภัย ทางรังสี ของภาครัฐ-เอกชน ผู้ประสงค์จะเป็น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี หรือ ผู้ที่ต้องการสร้างเสริมความเชี่ยวชาญ เพื่อจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี เรื่อง การใช้เครื่องมือวัดรังสีชนิดต่าง ๆ (แอลฟา บีตา แกมมา และ นิวตรอน) เพื่อให้สามารถแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

14. - 15. การสร้างเสริม ความชำนาญเฉพาะด้าน สำหรับการจัดการ ด้านความปลอดภัยทางรังสี : การปรับเทียบเครื่องมือวัดรังสี และการตรวจวัดอัตราปริมาณรังสี/ ระหว่างวันที่ 16-20 กุมภาพันธ์ 2552 และวันที่ 17-20 สิงหาคม 2552

2

1

12x2=24

เพื่อสร้างเสริมความเชี่ยวชาญในงานรับผิดชอบ ของเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลความปลอดภัย ทางรังสี ของภาครัฐ-เอกชน ผู้ประสงค์จะเป็น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี หรือผู้ที่ต้องการ สร้างเสริมความเชี่ยวชาญ เพื่อจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี เรื่อง การปรับเทียบเครื่องมือวัดรังส และการตรวจวัด อัตราปริมาณรังสี เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

16. - 17. การสร้างเสริม ความชำนาญเฉพาะด้าน สำหรับการจัดการ ด้านความปลอดภัยทางรังสี : การสำรวจ การตรวจวัด ความเปรอะเปื้อนทางรังสี และการชำระล้าง/ ระหว่างวันที่ 16-20 กุมภาพันธ์ 2552 และวันที่ 17-20 สิงหาคม 2552

2

1

12x2=24

เพื่อสร้างเสริมความเชี่ยวชาญในงานรับผิดชอบ ของเจ้าหน้าที่ ควบคุมดูแลความปลอดภัย ทางรังสี ของภาครัฐ-เอกชน ผู้ประสงค์จะเป็น เจ้าหน้าที่ ความปลอดภัยทางรังสี หรือ ผู้ที่ต้องการสร้างเสริมความเชี่ยวชาญ ในการจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี เรื่อง การสำรวจ การตรวจวัดความเปรอะเปื้อนทางรังสี และการชำระล้าง เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

18. - 19. การสร้างเสริม ความชำนาญเฉพาะด้าน สำหรับการจัดการ ด้านความปลอดภัยทางรังสี : การฝึกปฏิบัติการ ในภาวะฉุกเฉิน และอุบัติเหตุทางรังสี/ ระหว่างวันที่ 16-20 กุมภาพันธ์ 2552 และวันที่ 17-20 สิงหาคม 2552

2

1

12x2=24

เพื่อสร้างเสริมความเชี่ยวชาญในงานรับผิดชอบ ของเจ้าหน้าที่ ควบคุมดูแลความปลอดภัย ทางรังสี ของภาครัฐ-เอกชน ผู้ประสงค์จะเป็น เจ้าหน้าที่ ความปลอดภัยทางรังสี หรือ ผู้ที่ต้องการสร้างเสริมความเชี่ยวชาญ ในการจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี เรื่อง การฝึกปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉิน และอุบัติเหตุทางรังสี เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

20. - 21. การสร้างเสริม ความชำนาญเฉพาะด้าน สำหรับการจัดการ ด้านความปลอดภัยทางรังสี : การปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย กับสารกัมมันตรังสี ชนิดไม่ปิดผนึก/ ระหว่างวันที่ 16-20 กุมภาพันธ์ 2552 และวันที่ 17-20 สิงหาคม 2552

2

1

12x2=24

เพื่อสร้างเสริมความเชี่ยวชาญในงานรับผิดชอบ ของเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลความปลอดภัย ทางรังสี ของภาครัฐ-เอกชน ผู้ประสงค์จะเป็น เจ้าหน้าที่ ความปลอดภัยทางรังสี หรือ ผู้ที่ต้องการสร้างเสริมความเชี่ยวชาญ เพื่อจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี เรื่อง การปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย กับสารกัมมันตรังสี ชนิดไม่ปิดผนึก เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

22. - 23. การสร้างเสริม ความชำนาญเฉพาะด้าน สำหรับการจัดการ ด้านความปลอดภัยทางรังสี : การตรวจวัด และประเมินผล ความเปรอะเปื้อน ของสารกัมมันตรังสีในอากาศ/ ระหว่างวันที่ 23-27 กุมภาพันธ์ 2552 และวันที่ 24-28 สิงหาคม 2552

2

2

12x2=24

เพื่อสร้างเสริมความเชี่ยวชาญในงานรับผิดชอบ ของเจ้าหน้าที่ ควบคุมดูแลความปลอดภัย ทางรังสี ของภาครัฐ-เอกชน ผู้ประสงค์จะเป็น เจ้าหน้าที่ ความปลอดภัยทางรังสี หรือ ผู้ที่ต้องการสร้างเสริมความเชี่ยวชาญ ในการจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี เรื่อง การตรวจวัดและประเมินผลความเปรอะเปื้อน ของสารกัมมันตรังสีในอากาศ เพื่อให้สามารถ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

24. - 25. การสร้างเสริม ความชำนาญเฉพาะด้าน สำหรับการจัดการ ด้านความปลอดภัยทางรังสี : การตรวจวัดและประเมินผล ด้วยเครื่องลิควิดซินติเลชัน เพื่อการปล่อยทิ้ง กากของเหลวกัมมันตรังสี/ ระหว่างวันที่ 23-27 กุมภาพันธ์ 2552 และวันที่ 24-28 สิงหาคม 2552

2

2

12x2=24

เพื่อสร้างเสริมความเชี่ยวชาญในงานรับผิดชอบ ของเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลความปลอดภัย ทางรังสี ของภาครัฐ-เอกชน ผู้ประสงค์จะเป็น เจ้าหน้าที่ ความปลอดภัยทางรังสี หรือ ผู้ที่ต้องการสร้างเสริมความเชี่ยวชาญ เพื่อจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี เรื่อง การตรวจวัดและประเมินผลด้วยเครื่อง ลิควิดซินติเลชัน สำหรับการปล่อยทิ้งกาก ของเหลวกัมมันตรังสี เพื่อให้สามารถแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

26. - 27. การสร้างเสริม ความชำนาญเฉพาะด้าน สำหรับการจัดการ ด้านความปลอดภัยทางรังสี : การตรวจวัดและประเมินผล ด้วยแกมมาสเปกโทรมิเตอร์ เพื่อการปล่อยทิ้ง กากของเหลวกัมมันตรังสี/ ระหว่างวันที่ 23-27 กุมภาพันธ์ 2552 และวันที่ 24-28 สิงหาคม 2552

2

2

12x2=24

เพื่อสร้างเสริมความเชี่ยวชาญในงานรับผิดชอบ ของเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลความปลอดภัย ทางรังสี ของภาครัฐ-เอกชน ผู้ประสงค์จะเป็น เจ้าหน้าที่ ความปลอดภัยทางรังสี หรือ ผู้ที่ต้องการสร้างเสริมความเชี่ยวชาญ ในการจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี เรื่อง การตรวจวัดและประเมินผล ด้วยแกมมาสเปกโทรมิเตอร์ เพื่อการปล่อยทิ้งกากของเหลวกัมมันตรังสี เพื่อให้ ้สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

28. - 29. การฝึกอบรม เรื่องการตรวจสอบ โดยวิธีใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ระดับ 1/ วันที่ 23 - 28 กุมภาพันธ์ 2552 และวันที่ 22 - 27 มิถุนายน 2552

2

6

20x2=40

เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากร ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการปฏิบัติงาน ด้านการตรวจสอบ โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ให้สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ ไปพัฒนา ปรับปรุง และประยุกต์ใช้กับงาน ในหน่วยงานของตน ได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย

30. การฝึกอบรมเรื่อง การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 2/ วันที่ 2-13 มีนาคม 2552

1

10

40

เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ ของต้นกำเนิดรังสี ีชนิดไม่ปิดผนึก และชนิดปิดผนึก ที่มีระดับรังสี ต่าง ๆ กัน รวมทั้งสร้างเสริมให้บุคลากรทางรังสี ีของประเทศ มีความตระหนักถึงการปฏิบัติงาน กับสารกัมมันตรังสีอย่างถูกต้อง มีความปลอดภัย ต่อตนเอง ผู้ที่เกี่ยวข้อง และสิ่งแวดล้อม

31. การอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี การฉายรังสีปลาหมักพื้นบ้าน/ วันที่ 24-25 มีนาคม 2552

1

2

40

เพื่อให้เกษตรกร และผู้ผลิตปลาหมักพื้นบ้าน ได้รับความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับเชื้อจุลินทรีย์ การป้องกันและควบคุม การลดการปนเปื้อน สุขอนามัยของวัตถุดิบ การกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ การฉายรังสีอาหาร กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ อาหารและยา

32. การสัมมนาเชิงรุก ในการให้บริการสารเภสัชรังสี ของศูนย์ไอโซโทปรังสี/ วันที่ 10 มิถุนายน 2552

1

1

80

เพื่อสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจในงานบริการ ของศูนย์ไอโซโทปรังสี เป็นการประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ใหม่ สารเภสัชรังสีพร้อมใช้ (Unit dose) และทราบถึงความต้องการของผู้รับบริการ เกี่ยวกับชนิดของสารรังสีพร้อมใช้ เพื่อใช้เป็น ข้อมูลสำหรับการวางแผนระบบงานผลิต และบริการ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมให้มีการ แลกเปลี่ยนทัศนคติ มุมมองระหว่างกลุ่ม ผู้รับบริการ รวมทั้ง สามารถแสดงความคิดเห็น เรื่องผลิตภัณฑ์สารเภสัชรังสีและงานบริการ เพื่อใช้เป็นข้อมูล ในการปรับปรุง และพัฒนางานต่อไป

33. การสัมมนา เพื่อพบปะผู้ใช้บริการฉายรังสี และเครือข่ายผู้ให้บริการฉายรังสี/ วันที่ 21 กรกฎาคม 2552

1

1

80

เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ใช้บริการฉายรังส เกี่ยวกับ ประโยชน์ของการฉายรังสีแกมมา ในผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ ความรู้ทั่วไปของการฉายรังสี กฎระเบียบ การขอรับบริการ รวมทั้งเป็นการพบผู้ประกอบการ เพื่อแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็น เกี่ยวกับทิศทาง อุตสาหกรรมการฉายรังสีแกมมา ในประเทศไทย

34. การฝึกอบรมเรื่อง การเตรียมความพร้อม กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสี สำหรับเจ้าหน้าที่ บรรเทาสาธารณภัย จังหวัดนครนายก/ วันที่ 23-24 กรกฎาคม 2552

1

2

25-30

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ของบุคลากรในพื้นที่ ่ที่รับผิดชอบ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง กรณีเกิด ภาวะฉุกเฉินทางรังสี ให้สามารถรองรับ สถานการณ์ แก้ไขปัญหา และปฏิบัติงานในหน้าที่ ได้อย่างถูกต้องเป็นระบบ โดยได้ฝึกปฏิบัติจริง รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่าง สทน. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด นครนายก

35. การประชุมวิชาการ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งที่ 11/ วันที่ 2-3 กรกฎาคม 2552

1

2

300

เพื่อส่งเสริม เผยแพร่ผลงานวิจัยพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ของประเทศ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ในงานศึกษาวิจัย วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ทุกสาขา เพิ่มพูนความรู้ด้านพลังงานนิวเคลียร์ และการประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ รวมทั้งก่อให้เกิดการประสานงาน ระหว่างบุคลากร และหน่วยงานต่างๆ ทำให้มีการนำพลังงานนิวเคลียร์ ไปใช้อย่างกว้างขวาง

รวม 17 หลักสูตร

35 ครั้ง

 

1,292 คน

เพื่อพัฒนาศักยภาพ และเสริมสร้างความรู้ของบุคลากรด้านนิวเคลียร์และรังสีของประเทศ