STKC

10 อันดับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่งดงามที่สุด (6)
คาเวนดิชชั่งน้ำหนักโลก
Cavendish's torsion-bar experiment (1798)

สุรศักดิ์  พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

นอกจากเรื่องของแสงแล้ว คุณูปการอีกประการหนึ่งของนิวตันก็คือ “ทฤษฎีว่าด้วยความโน้มถ่วง” ที่ว่าด้วย "แรงดึงดูดระหว่างวัตถุสองชนิดเพิ่มขึ้นตามมวลของวัตถุทั้งสอง และลดลงตามระยะทางระหว่างวัตถุทั้งสอง นั้นยกกำลังสอง” สมการคือ

F = Gm1m2/(r2)

เมื่อ F คือ แรงระหว่างวัตถุ 2 ชนิดที่มีมวล m1 และ m2

r คือ ระยะทางระหว่างวัตถุทั้งสอง

และ G คือ ค่าคงตัวความโน้มถ่วง (ของโลก) และเป็นค่าที่จะบอกได้ว่า ความโน้มถ่วงของโลกมีความแรง (strength) เพียงใดกันแน่

คริสต์ศักราช 1797-98 นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อว่าเฮนรี คาเวนดิช (Henry Cavendish) ทำการทดลองหนึ่งที่ สามารถคำนวณ “น้ำหนักของโลก” ได้ ซึ่งยังใช้คำนวณ “แรงความโน้มถ่วง” ของโลกได้อีกด้วย

เฮนรี คาเวนดิช ( http://www.nndb.com/people/ 030/000083778/henry-cavendish- 1.jpg )

อันที่จริงวิธีทดลองนี้เริ่มพัฒนาขึ้นก่อนโดยนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษชื่อจอห์น มิเชลล์ (John Michell) เรื่องมีว่าเมื่อ ค.ศ. 1783 คาเวนดิชเขียนจดหมายไปปรึกษามิเชลล์ซึ่งเป็นเพื่อน ว่าจะหาน้ำหนักของโลกด้วยวิธีใดดี มิเชลล์ได้ ความคิดจากการทดลองคำนวณแรงระหว่างลูกกลมโลหะสองลูกที่มีประจุไฟฟ้าของชาวฝรั่งเศสชื่อชาร์ล กูลง (สำเนียง อังกฤษคือคูลอมบ์: Charles Coulomb) มาประดิษฐ์อุปกรณ์ของเขา แต่ยังไม่ทันได้ทดลอง เขาก็เสียชีวิตไปก่อนเมื่อ ค.ศ. 1793 เครื่องมือของเขาตกทอดไปยังวอลลาสตัน (Francis John Hyde Wollaston) ซึ่งมอบต่อให้กับคาเวนดิช ซึ่งเขาได้สร้างอุปกรณ์ขึ้นใหม่ตามแบบของมิเชลล์อย่างเคร่งครัด และทำการทดลองไว้ชุดหนึ่ง ซึ่งได้รายงานผลไว้ใน Philosophical Transactions of the Royal Society เมื่อ ค.ศ. 1798 และการทดลองนี้รู้จักกันในนามว่า “การทดลองแท่งการบิด” ( torsion bar experiment ) หรือ ”การทดลองของคาเวนดิช” ( Cavendish experiment )

อุปกรณ์นี้มีชิ้นส่วนสำคัญคือ “ทอร์ชันบาร์” (torsion bar) เป็นแท่งไม้ (m ในรูปเล็ก) ยาว 6 ฟุต (1.8 เมตร) ที่มี ปลายสองข้างถ่วงด้วยลูกบอลตะกั่วเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว (51 มิลลิเมตร) และมีน้ำหนัก 1.61 ปอนด์ (x ในรูปเล็ก) ผูกแขวนอยู่ในโครงรูปตัวทีกลับหัว (AEFFEA ในรูปใหญ่) ให้อยู่ในสมดุลด้วยลวดเส้นเล็ก ๆ ทำให้ทอร์ชันบาร์บิดตัวหมุน ได้เล็กน้อยโดยไม่เสียสมดุล ชิ้นส่วนสำคัญถัดมาคือลูกบอลตะกั่วขนาดใหญ่ น้ำหนัก 350 ปอนด์ (159 กก.) 2 ลูก (W) แขวนอย่างสมดุลกันด้วยโครงรูปตัวยูคว่ำ (RrPrR ในรูปใหญ่) ที่แขวนไว้เหนือทอร์ชันบาร์โดยมีจุดที่แขวนอยู่ในแนวดิ่ง ตรงกันพอดี

 
(รูป : wikipedia)
อุปกรณ์นี้ทำงานโดยการหมุนโครงรูปตัวยูให้ลูกบอลตะกั่วหมุนเข้าหาลูกบอลที่ถ่วงไว้ที่ปลายของทอร์ชันบาร์ ซึ่งตาม ทฤษฎีของนิวตัน ลูกบอลตะกั่วทั้งสองขนาดนี้จะมีแรงดึงดูดระหว่างกัน แต่เนื่องจากลูกบอลที่ทอร์ชันบาร์เบากว่า จึงถูก ดูดเข้าไปหา ซึ่งทำให้ทอร์ชันบาร์หมุน และลวดที่ผูกแขวนทอร์ชันบาร์เอาไว้เกิด “การบิด” (torsion) อุปกรณ์นี้จึงมีชื่อ เรียกว่า “ทอร์ชันแบลันซ์” (torsion balance หรือน่าจะเรียกว่า “อุปกรณ์การบิดภายใต้สมดุล”) แต่เนื่องจาก แรงดึงดูดกันระหว่างลูกบอลนี้มีน้อยมาก คือ 1.47 x 10–7 นิวตันเท่านั้น ทอร์ชันบาร์จึงบิดไปได้เพียงเล็กน้อยเป็นมุม เล็กมาก ดังนั้นเพื่อป้องกันความผิดพลาด เช่น จากลมพัด คาเวนดิชจึงติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดไว้ในห้องก่ออิฐ ติดตั้ง กลไกควบคุมการหมุนโครงรูปตัวยูกลับหัวมาด้านนอก และสังเกตมุมการบิดโดยส่องด้วยกล้องที่สอดไว้ในกำแพง

ภาพวาดนี้จิตรกรได้จินตนาการโดยตัดกำแพงออกให้เห็นภายใน (http://www.juliantrubin.com/bigten/cavendishg.html)

ในขณะทดลองนี้ เส้นลวดซึ่งถูกบิดจนตึงก็จะเกิดแรงบิดต้าน และดึงให้ทอร์ชันบาร์บิดกลับสู่ตำแหน่งเดิม โดยแรง ดึงดูดกันระหว่างลูกบอลมีค่าเท่ากับแรงบิดของเส้นลวด ซึ่งก็คือทอร์กที่เกิดกับทอร์ชันบาร์ ซึ่งสามารถคำนวณได้ เมื่อทราบค่าของมุมที่ทอร์ชันบาร์หมุนไปจากตำแหน่งเดิม
(รูป : wikipedia)
เมื่อได้แรงดึงดูดกันระหว่างลูกบอล และคาเวนดิชสามารถหาแรงดึงดูดจากความโน้มถ่วงของโลกที่เกิดกับบอลลูกเล็ก ได้จากน้ำหนักของลูกบอลนั่นเอง (Fg = mg) จากนั้นเขาก็คำนวณน้ำหนักของโลกได้แค่เพียงจับแรงทั้งสองนี้มาหารกัน เพื่อดูว่าแรงความโน้มถ่วงมากเป็นกี่เท่าของแรงดึงดูดของบอลลูกใหญ่ต่อบอลลูกเล็ก ซึ่งก็จะได้ว่าน้ำหนักของโลก มากกว่าน้ำหนักบอลลูกใหญ่เป็นจำนวนเท่าเดียวกันนั้นเอง

http://csep10.phys.utk.edu/astr161/lect/history/newtongrav.html
ความงดงามของการทดลองนี้จัดอยู่ในอันดับที่หก