STKC

ชื่อนี้มีที่มา (5)
คิวทีพาย (cutie pie)

สุรศักดิ์  พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

คิวทีพาย (cutie pie) เป็นเครื่องสำรวจรังสี (survey meter) แบบแรกที่ออกแบบมือจับแบบด้ามปืน มีทำออกมาใช้กันหลายรุ่น และพบว่ามีใช้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1944 ทั้งที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติโอกริดจ์ หรือ โออาร์เอ็นแอล (Oak Ridge National Laboratory หรือ ORNL ชื่อนี้เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นภายหลัง โดยชื่อที่รู้จักกันขณะนั้นคือ Clinton Laboratory หรือ ห้องปฏิบัติการ คลินตัน) และที่แฮนฟอร์ด ( Hanford เป็นอีกที่ตั้งหนึ่งในโครงการแมนแฮตตัน โดยเป็นหน่วยผลิตพลูโทเนียม) ทั้งนี้ เอ็ม.จี. สเตบิน (M.G. Stabin) เขียนไว้ใน Health Physics Society’s Newsletter ฉบับเดือนกรกฎาคม ปี 1998 เรื่อง A Window into Health Physics History ว่า เค.แซด. มอร์แกน (K.Z. Morgan) เคยเล่าว่า เขาเห็นคิวทีพายเป็นครั้งแรกราวสองเดือน หลังจากที่เขาเริ่มเข้าทำงานที่โออาร์เอ็นแอล ส่วนที่แฮนฟอร์ด คิวทีพายเครื่องแรกออกแบบและผลิตขึ้นใช้ราวต้นปี 1944 แต่หาข้ออ้างอิงใด ๆ ไม่ได้ โดยทั้งสองแห่งนี้นำคิวทีพายมาใช้ครั้งแรกสำหรับตรวจวัดความแรงรังสีรอบ ๆ เครื่องปฏิกรณ์-นิวเคลียร์

ที่ตั้งหน่วยงานในโครงการแมนแฮตตัน โอกริดจ์อยู่ด้านขวา และแฮนฟอร์ดอยู่ที่มุมบนซ้าย

เรื่องที่เล่ากันแพร่หลายเรื่องหนึ่งอ้างว่าชื่อคิวทีพายมาจากสูตร Qt p ตรงตัว โดย Q คือ ประจุรวม ภายในแชมเบอร และ t p มาจาก “two pi” หรือ 2 p โดย p หมายถึง มุมตัน (solid angle) เล็งจากเครื่องวัด หรือบางที t อาจหมายถึง “time” ก็ได้ ซึ่งเรื่องที่เล่านี้ดูจะฝันเฟื่องไปสักหน่อย

อีกเรื่องหนึ่งเล่าว่าชื่อนี้ใช้ตามรูปแบบ “พยัญชนะ- ตัวเลข” ที่ใช้แพร่หลายในเอกสารของโครงการแมนแฮตตัน เช่น CP-XXX ซึ่งหมายถึง “Chicago Pile” เท่านั้นเท่านี้ ที่อ้างว่าแผลงมาเป็น “Cutie Pie”

อย่างไรก็ดี หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดย่อมได้แก่เอกสารข้อมูลร่วมสมัย ในกรณีนี้ก็คือรายงานที่ยกเลิกชั้นความลับแล้วของ มณฑลทหารแมนแฮตตัน (Manhattan District) รหัส MDDC-997 “Cutie Pie, A Portable Radiation Instrument” เขียนขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 1945 โดย ซี.โอ. บอลลู (C.O. Ballou) พนักงานคนหนึ่งที่ห้องปฏิบัติการคลินตัน ซึ่งได้บรรยาย อย่างละเอียดถึงเหตุผล ของการพัฒนาคิวทีพายขึ้นมา เหตุผลประการหนึ่งคือ เครื่องมือนี้ต้องไม่เพี้ยนไปจาก “มาตรฐานที่ ี่เทียบไว้ และเข็มชี้ที่ เลขศูนย์เสมอไม่ว่าความชื้นในอากาศจะแตกต่างกันเพียงใด” ซึ่งบอลลูหมายเหตุไว้ว่า “ที่คลินตัน พอตกกลางคืนความชื้นจะถึงจุดอิ่มตัวได้”

ที่มหัศจรรย์มากและไม่ว่าใครก็คงคิดไม่ถึงก็คือ บอลลูยังได้ให้อรรถาธิบายถึงชื่อคิวทีพายไว้ด้วย “อุปกรณ์นี้เรียกว่า “คิวทีพาย” เนื่องจากมีขนาดกะทัดรัด “เครื่องสำรวจรังสีส่วนใหญ่ที่มีใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีขนาดใหญ่และมี น้ำหนักมาก ทั้งนี้สาเหตุหลักมาจากน้ำหนักของแบตเตอรี่ที่ใช้ แต่คิวทีพายหนักเพียงสี่ปอนด์ รู้สึกได้แต่แรกที่ลองหิ้วขึ้นมาว่า ”เฮ่ย นี่มัน “คิวทีพาย” จริง ๆ เลยนะ ! ” วลีนี้ติดปากเวลาจะพูดถึงสิ่งที่เนี๊ยบสุด ๆ

นอกจากนี้ในรายงานของมณฑลทหารแมนแฮตตันอีกชิ้นหนึ่ง คือ MDDC-1059 เมื่อปี 1947 รายงานโดย เอช.ยู. ฟิชเชอร์ (H.U. Fisher) ยังมีรูปของคิวทีพายไว้ด้วย และระบุว่า “อุปกรณ์นี้พัฒนาขึ้นที่ห้องปฏิบัติการคลินตันและเพิ่งยกเลิกชั้น ความลับ”

 

คิวทีพายต้นแบบ 1944

คิวทีพายยุคคริสต์ทศวรรษ 1940

เรียบเรียงจาก The Origin of Selected Radiological and Nuclear Terms: Cutie Pie โดย Paul W. Frame (Oak Ridge Associated Universities )

(เผยแพร่ : 22 เมษายน 2552)