การพัฒนาบุคลากร
และถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์

การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรให้เป็นผู้มีศักยภาพ และมีสมรรถนะตรงตามงานที่รับผิดชอบ เป็นหัวใจของ การดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จ สทน. จึงมุ่งมั่นในการสร้างเสริมศักยภาพของบุคลากรด้านนิวเคลียร์และรังสีของประเทศ โดยการจัดหลักสูตรฝึกอบรม สัมมนา ประชุมวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์ แบ่งออกเป็นหลักสูตรสำหรับบุคลากร ภายในสถาบัน และหลักสูตรสำหรับบุคลากรภายนอก อาทิ การจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี การเตรียมความพร้อม กรณีฉุกเฉินทางรังสี การป้องกันรังสี การใช้ประโยชน์ของรังสี การใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์เฉพาะทาง และความรู้ในสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ในปี 2551 หน่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายใน สทน. จัดหลักสูตรสำหรับพัฒนาบุคลากร ภายในสถาบัน รวม 11 หลักสูตร มีบุคลากรของสถาบันที่ได้รับการพัฒนา รวม 636 คน (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 1) จัดหลักสูตรสำหรับพัฒนาบุคลากรภายนอกในระดับประเทศและระดับนานาชาติ รวม 23 หลักสูตร มีบุคลากรที่ได้รับการพัฒนา รวม 2 , 062 คน (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 2) รวมบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถทางนิวเคลียร์์และรังสี ทั้งหมด 2, 698 คน

ตารางที่ 1 หลักสูตรเพื่อการพัฒนาบุคลากรภายในสถาบัน ปี 2551

หลักสูตรสำหรับบุคลากรภายใน สทน.

จำนวนรวม (คน)

หมายเหตุ

การประเมิน การติดตาม และการวัดผลการปฏิบัติงานเพื่อการปรับเปลี่ยน

50

 

การฟื้นฟูความรู้ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานปฏิบัติการทางรังสี (ตามกฎหมาย) รวม 3 ครั้ง

345

 

การตรวจสอบความถูกต้อง (Validation) ในระบบประกันคุณภาพ

18

 

การทบทวนความรู้เรื่อง เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย ปปว.-1/1

15

 

การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เดินเครื่องฉายรังสีแกมมา

25

 

การใช้งานระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์

27

 

Nuclear and Radiological Emergency Preparedness สำหรับคณะทำงานฉุกเฉินทางรังสีของ สทน.

29

หลักสูตรภายใต้ความร่วมมือ กับประเทศญี่ปุ่น

การปฏิบัติงานของศูนย์ฉายรังสีภายใต้ระบบ ISO9001:2000 และการตรวจติดตามคุณภาพภายใน

37

 

Micro Controller for Research Reactor

10

 

การสร้างทีมทำงานอย่างมุ่งผลสัมฤทธิ์

60

 

การรักษาสุขอนามัยในการปฏิบัติงานของศูนย์ฉายรังสี

20

 

รวม 11 หลักสูตร (13 ครั้ง)

636 คน

 

 

ตารางที่ 2 หลักสูตรระดับประเทศและระดับนานาชาติ เพื่อการพัฒนาบุคลากร ปี 2551

หลักสูตรสำหรับบุคลากรภายนอก

จำนวนรวม (คน)

หมายเหตุ

การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 1 (รวม 8 ครั้ง)

477

 

การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 2

42

 

การพัฒนาผลิตผลเกษตรเชิงอินทรีย์ (รวม 7 ครั้ง)

700

 

เทคโนโลยีรังสีกับแมลง รวม 6 ครั้ง

351

 

Skill-up Course on Radiation Safety Management 6 หลักสูตร (รวม 6 ครั้ง)

66

หลักสูตรภายใต้ความร่วมมือ กับประเทศญี่ปุ่น

การตรวจสอบโดยไม่ทำลาย 3 หลักสูตร (รวม 4 ครั้ง)

63

 

การถ่ายทอดเทคโนโลยีการฉายรังสีอาหารหมักพื้นบ้าน

42

 

การประยุกต์ใช้ไอโซโทปเทคนิคในงานด้านอุทกวิทยา

30

หลักสูตรภายใต้ความร่วมมือกับ IAEA

การวิเคราะห์ธาตุโดยเทคนิคนิวตรอนแอคติเวชัน ร่วมกับกระบวนการแยกทางเคมี

25

หลักสูตรภายใต้ความร่วมมือกับ IAEA

Nuclear and Radiological Emergency Preparedness สำหรับเจ้าหน้าที่บรรเทาสาธารณภัย จ.นครนายก

29

หลักสูตรภายใต้ความร่วมมือ กับประเทศญี่ปุ่น

Mini Instructor Training Program for the Skill-up Course on Radiation Safety Management

19

หลักสูตรภายใต้ความร่วมมือ กับประเทศญี่ปุ่น

การสัมมนาพบผู้ใช้บริการและพบปะผู้ได้รับใบอนุญาตฉายรังสี ีเพื่อสร้างเครือข่าย

105

 

การสัมมนาเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง การปรับปรุงคุณภาพและยืดอายุการเก็บรักษาปลาส้มฟัก ด้วยการฉายรังสี

40

 

การจัดการกากกัมมันตรังสีและการชำระล้าง ความเปรอะเปื้อนทางรังสี

40

 

FNCA 2007 Workshop on Radioactive Waste Management

27

การประชุมความร่วมมือ ทางนิวเคลียร์ในเอเซีย

Group Fellowship Training on Identification and Trouble Shooting of Nuclear Instruments : Test Procedures for Quality Control in Maintenance and Refurbishment of Nuclear Instruments

6

การฝึกอบรมนานาชาติร่วมกับ IAEA-RAS/4/027

รวม 23 หลักสูตร (42 ครั้ง)

2 , 062 คน

 


นอกจากนี้ สทน. ยังได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ไปเป็นวิทยากร อาจารย์พิเศษ อาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท-เอก รับนิสิต-นักศึกษาเข้าฝึกงานในหน่วยงานต่าง ๆ ภายใน สทน. รวม 66 ครั้ง มีบุคลากรที่ได้รับการพัฒนา รวม 2,439 คน ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรในระดับต่าง ๆ ของประเทศได้รับการพัฒนาศักยภาพ และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านพลังงานนิวเคลียร์และรังสีให้กับบุคลากรรุ่นใหม่ของประเทศ

1. TINT-OAP/JAEA Joint Training Course on Nuclear and Radiological Emergency Preparedness for First Responders

2. ฝึกซ้อมการแต่งกายและการใช้อุปกรณ์ กรณีฉุกเฉิน

3. ฝึกอบรม “ คณะทำงานฉุกเฉินทางรังสี สทน.”

4. Radioactive Contamination and Decontamination

5. GRS : Pulse Observation and Characterization

6. Radiation Measurement and Shielding

7. Calibration of Radiation Monitors

8. Indirect Measurement of Smeared Paper

9. Air Concentration in Emergency Situation

10. OAP-TINT/JAEA : Mini Instructor Training Program

11. เทคโนโลยีการฉายรังสีอาหารหมักพื้นบ้าน

12. TINT/IAEA : Isotope Technique in Hydrology

13. OAP-TINT/JAEA : Mini Instructor Training Program

14. การเลือกใช้เครื่องมือวัดรังสีและ Pocket Dosimeter

15. TINT/IAEA : Neutron Activation Analysis

16. Radioactive Counting of Filter Paper

หลักสูตรการฟื้นฟูความรู้ทางรังสีของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานปฏิบัติการทางรังสี ครั้งที่ 1 – 3

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34