หมูเส้นหอมฉายรังสี Fried crispy pork

ศูนย์ฉายรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
37 หมู่ 3 เทคโนธานี ต. คลองห้า อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 02-5774167-71 โทรสาร 02-5771945 http://www.tint.or.th/tic/HOME.htm
 
วัตถุประสงค์ เพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ปริมาณรังสีที่ใช้ต่ำสุด 2 กิโลเกรย์

หมูเส้นหอม บรรจุในถุงโพลีโพรไพลีน นำมาฉายรังสีที่ปริมาณรังสีต่ำสุด 2 กิโลเกรย์ เพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ ที่ทำให้เกิดโรค โดยนำ หมูเส้นหอม มาวัดการกระจายของรังสีตาม Checking Dose No. C044

การตรวจวิเคราะห์ชนิดและจำนวนของจุลินทรีย ์ผลการตรวจวิเคราะห์จำนวนจุลินทรีย์ ในผลิตภัณฑ์หมูเส้นหอมฉายรังสี ที่ปริมาณรังสีต่ำสุด 2 กิโลเกรย์ และนำไปเก็บรักษาที่ห้องอุณหภูมิประมาณ 18- 20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 เดือน หลังการฉายรังสี โดยการเปรียบเทียบกับมาตรฐานชนิดและจำนวนจุลินทรีย์ ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช . 150/2546- หมูปรุงรสพร้อมบริโภค

ชนิดจุลินทรีย์ที่ตรวจวิเคราะห์ (จำนวนโคโลนี ต่อ ตัวอย่าง 1 กรัม )

หมูเส้นหอม ไม่ผ่านการฉายรังสี

หมูเส้นหอมฉายรังสี

มผช . 150/2546- หมูปรุงรสพร้อมบริโภค

1. จำนวนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งหมด

น้อยกว่า 10

น้อยกว่า 10

ไม่เกิน 1 , 000 โคโลนี ต่อ 1 กรัมตัวอย่าง

2. จำนวนเชื้อราและยีสต์ทั้งหมด

10

10

ไม่เกิน 10 โคโลนี ต่อ 1 กรัมตัวอย่าง

3. Coliform โดยวิธี MPN ต่อ ตัวอย่าง 1 กรัม

น้อยกว่า 3

น้อยกว่า 3

 

4. E. coli

ไม่พบ

ไม่พบ

น้อยกว่า 3 ต่อ ตัวอย่าง 1 กรัม โดยวิธี MPN

5. Staphylococcus aureus

ไม่พบ

ไม่พบ

 

6. Salmonella

ไม่พบ

ไม่พบ

 

7. Clostridium perfringens

ไม่พบ

ไม่พบ

 

การประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัสของหมูเส้นหอม จะดำเนินการให้มีการประเมินเป็นระยะ ๆ โดยผู้ชิม จำนวน 12-16 คน การวิเคราะห์และการคำนวณทางสถิติใช้โปรแกรม MINITAB V.15 ในการคำนวณและประเมินผล แบบทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 การทดสอบความแตกต่างวิธี Triangle test โดยให้ ผู้ทดสอบชิมเลือกตัวอย่าง 1 ตัวอย่าง ที่มีความแตกต่าง จากพวก คือในการทดสอบ มี 1 ตัวอย่างที่เป็นหมูเส้นหอมฉายรังสี และ อีก 2 ตัวอย่างที่เหลือ เป็นตัวอย่างควบคุม คือหมูเส้นหอมที่ไม่ผ่านการฉายรังสี ผลการทดลองพบว่า ผู้ทดสอบชิมประเมินให้หมูเส้นหอมที่ฉายรังสี ไม่แตกต่างจาก หมูเส้นหอมที่ไม่ได้ฉายรังสี ณ 13 วัน หลังฉายรังสี ี

ส่วนที่ 2 การประเมินคุณลักษณะและความชอบ เช่น ลักษณะภายนอก กลิ่น รสชาติ ความชอบโดยรวมเป็นต้น โดยใช้สเกล ตั้งแต่ 5 จุด ถึง 9 จุด โดยระดับคะแนนที่ได้สามารถนำมาใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินคุณภาพระหว่าง การเก็บรักษาได้ ผลการทดลอง พบว่า ผู้ทดสอบชิมประเมินคุณลักษณะและความชอบ ให้มะม่วงกวนที่ฉายรังสี ไม่แตกต่าง จากมะม่วงกวน ที่ไม่ได้ฉายรังสี ณ 2 เดือน หลังฉายรังสี

จากผลการทดลองนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิต หมูเส้นหอม ฉายรังสีและเตรียมเป็นรูปแบบการกระจายของรังสี เพื่อใช้อ้างอิงในการฉายรังสี หมูเส้นหอม ให้กับผู้ประกอบการต่อไป โดยเทคโนโลยีการฉายรังสีสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพ ยืดอายุการเก็บรักษา ทำให้ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและสุขภาพของประชาชน นอกจากนี้สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เผยแพร ่ทั้งในประเทศและส่งออกได้