STKC

10 อันดับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่งดงามที่สุด (5)
นิวตันทดลองแยกแสงอาทิตย์ด้วยปริซึม
Newton's decomposition of sunlight with a prism (1665-1666)

สุรศักดิ์  พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) เกิดในวันคริสต์มาสที่เมืองวูลสทอร์ปเมื่อ ค.ศ. 1642 อันเป็นปีที่กาลิเลโอถึงแก่กรรม เขาจบการศึกษาจากทรินิตีคอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เมื่อ ค.ศ. 1665 แล้วก็จมอยู่กับบ้านแม่ที่วูลสทอร์ปเป็นเวลา สองปี รอให้โรคระบาดซาลง แต่เขาไม่มีปัญหาในการทำตัวให้ไม่ว่าง โดยนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าในสวนผลไม้ที่ วูลสทอร์ปในสองปีนี้นี่แหละ ที่นิวตันมองดูผลแอปเปิลหล่นจากต้นและเกิดประกายความคิดเรื่อง “ความโน้มถ่วง” รวมทั้งการทดลองเกี่ยวกับ “แสง” ก็ประสบความสำเร็จในช่วงสองปีนี้ คือในปี 1966

ไอแซก นิวตัน ( http://www.virtualmuseum.ca/Exhibitions/Annodomini/THEME_15/EN/theme15-3.html)
คนทั่วไปรู้กันว่าแสงสีขาวเป็นแสงที่บริสุทธิ์ที่สุด (ความรู้จากอาริสโตเติลอีกนั่นเอง) และดังนั้น แสงที่เป็นสีก็ต้อง เพราะว่าแสงสีขาวเกิดการเปลี่ยนแปลงไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งกลายไปเป็นแสงสีต่าง ๆ ที่ซับซ้อน (complex) เพื่อพิสูจน์สมมติฐานข้อนี้ นิวตันใช้วิธีฉายลำแสงอาทิตย์ผ่านแท่งแก้วปริซึมและแสดงให้เห็นว่าแสงถูกแยกเป็น เสปกตรัม เห็นเป็นแถบแสงหลายสีทับทาบลงบนผนัง แบบเดียวกับสีของรุ้งกินน้ำ

แน่นอนว่าเราทุกคนเคยเห็นรุ้งกินน้ำกันมาก่อน แต่ก็คงคิดกันว่ารุ้งกินน้ำก็คงเป็นเพียงสิ่งสวย ๆ งาม ๆ อย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งการทดลองนี้นิวตันสรุปว่า แท้จริงแล้วสีเหล่านี้อันได้แก่ สีแดง ส้มหรือแสด เหลือง เขียว น้ำเงิน คราม และสีน้ำเงิน รวมทั้งเฉดสีอื่น ๆ ที่แทรกอยู่ เหล่านี้ต่างหากที่เป็น “สีหลักมูล” (fundamental colours) ซึ่งทุกสีเหล่านี้มารวมกันเป็น แสงสีขาว ดังนั้นแสงสีขาวจึงเป็น “สีเชิงซ้อน” (complex colour) อันแท้จริง

http://honolulu.hawaii.edu/distance/sci122/Programs/p27/prism.jpg

ความงดงามของการทดลองนี้จัดอยู่ในอันดับที่สี่