Nuclear Science
STKC 2555
บทความปี
l
l
l
l
l
  R&D Group  
หน้า
61.
วัตถุประสงค์ของการใช้น้ำมวลหนักในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์คืออะไร ? What is the purpose of using heavy water in nuclear reactor?
โดยพื้นฐาน น้ำมวลหนักใช้เพื่อเป็น ตัวหน่วงความเร็วนิวตรอน (moderator) ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มันถูกใช้เพื่อลดความเร็วของของนิวตรอน ที่วิ่งตรงไปยังวัสดุที่สามารถเกิดฟิชชันได้ โดยความหมายก็คือ ตามหลักทางฟิสิกส์ โมเลกุลของตัวหน่วงถูกนิวตรอนวิ่งมาชน และมีการดูดซับพลังงานของนิวตรอนบางส่วนไว้ ทำให้นิวตรอนนั้นมีความเร็วลดลง
62.
หลักการพื้นฐานของ เพ็ต/ซีที (PET/CT) Basic Principles of PET/CT
เพ็ต/ซีที (PET/CT) เป็นเครื่องสร้างภาพเสมือนที่ก้าวหน้าทันสมัย
เป็นการรวมเอาเครื่องสร้างภาพสองแบบที่แตกต่างกัน มารวมกันเป็นกระบวนการเพียงหนึ่งเดียว วิธีการของ PET และ CT ร่วมกันสร้างภาพของสิ่งที่เกิดขึ้นในร่างกาย ที่แน่นอนถูกต้องมากขึ้น และได้ดีกว่าการใช้ PET และ CT เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
63. เรเดียม
เรเดียมเป็นธาตุโลหะที่ มีสีขาวแวววาว เรืองแสงได้เอง มีกัมมันตรังสีสูง และมีปริมาณน้อยโดยพบเจือปนในสินแร่ที่มียูเรเนียม เรเดียมมี 13 ไอโซโทป ที่มีเลขมวลระหว่าง 213 และ 230 โดยไอโซโทปที่มากที่สุดคือเรเดียม-226 มีครึ่งชีวิต 1,622 ป
64. มาตรฐานเรเดียมสากล
คณะกรรมการมาตรฐานเรเดียมสากล (The International Radium Standards Committee) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1910 โดยมีภารกิจ 2 ประการ คือ 1. กำหนดปริมาณและหน่วยสำหรับกัมมันตภาพรังสี (quantity and unit for radioactivity) และ 2. จัดสร้าง มาตรฐานเรเดียมสากล (international radium standard)
65. มาดามกูรีกับเรเดียม 1 กรัม
มารี กูรี (Marie Curie) กับสามีคือ ปีแอร์ กูรี (Pierre Curie) ค้นพบธาตุ “พอโลเนียม” (polonium) เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 1898 และในปีเดียวกัน (เดือนธันวาคม) ก็ค้นพบธาตุ “เรเดียม” (radium) ด้วย
66. หน่วย “คูรี” ตั้งตามชื่อของใคร
เห็นทีว่าคงต้องยกโทษให้กับ เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford) เมื่อคำนึงถึงงานหลักของเขา ในฐานะประธานของ คณะกรรมการมาตรฐานเรเดียม (Radium Standards Committee) งานที่ว่าก็คือ การต้องคอยป้อยอเหล่ากรรมการ และดูเหมือนว่าต้องพูดอย่างหนึ่ง ในขณะที่หมายใจไว้อีกอย่างหนึ่ง
67. หลักการพื้นฐานของลูกระเบิดอะตอม The Basic Principle of the Atomic Bomb
การแบ่งแยกนิวเคลียส หรือ ฟิชชัน (fission) ของธาตุ ทำให้เกิดการปลดปล่อยพลังงานออกมาอย่างมหาศาล เมื่อนิวตรอนอิสระวิ่งไปชนกับ วัสดุฟิชไซล์ (fissile material) ซึ่งเป็นวัสดุกัมมันตรังสี เช่น ยูเรเนียม-235 หรือ พลูโทเนียม-239 ก็จะทำให้มีการกระแทกให้นิวเคลียสเกิดการแยกตัว ทำให้มีนิวตรอนอิสระเพิ่มขึ้นสองหรือสามนิวตรอน
68. การผลิตนิวไคลด์กัมมันตรังสี&ไอโซโทปกัมมันตรังสี Radioisotope &Radionuclide Production
การผลิตนิวไคลด์กัมมันตรังสีจริง ๆ แล้ว ก็คือหลักของการเล่นแร่แปรธาตุนั่นเอง คือการเปลี่ยนอะตอมของธาตุหนึ่ง ให้เปลี่ยนไปเป็นอะตอมอีกธาตุหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงนี้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนจำนวนของโปรตอน และ/หรือนิวตรอน ในนิวเคลียสเป้าหมาย
69. หนีร้อนมาพึ่งเย็น (Tuna carry Fukushima radiation to California)
แซนด์วิชปลาทูน่าของคนอเมริกันวันนี้ ไม่เหมือนแซนด์วิชปลาทูน่าเมื่อวันก่อน เพราะปลาทูน่าวันนี้ มีสารรังสีซีเซียม-134 ปนอยู่ด้วย อย่างไรก็ตามปริมาณที่พบยังคงอยู่ภายใต้เกณฑ์ความปลอดภัย ปลาทูน่าดังกล่าว เคยอาศัยว่ายวนเวียนอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณใกล้โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อครั้งที่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ เดือนมีนาคม 2554
70. บันทึกว่าด้วยต้นกำเนิดของคำศัพท์ “บาร์น”
“บาร์น” (barn) คือ หน่วยของภาคตัดขวางเชิงนิวเคลียร์ยังผล มีค่าเท่ากับ 10-24 ตารางเซนติเมตรต่อนิวเคลียส และมีสัญลักษณ์ ‘b’ โดยเป็นค่าที่แสดงโอกาสการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ของอนุภาคหรือรังสีที่พุ่งเข้าไปหานิวเคลียส
ค่าตัวเลข 10-24 ตารางเซนติเมตร