Nuclear Science
STKC 2555
บทความปี
l
l
l
l
l
  R&D Group  
หน้า
31.
10 ลำดับอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากรังสีอันเป็นที่กล่าวขวัญ
ลำดับที่ : 10 เซซิล เคลลีย์ (Cecil Kelley)

เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 1958 เกิดอุบัติเหตุขึ้นในโรงงานแปรสภาพพลูโทเนียมที่ ลอสอะลาโมส (Los Alamos) โดยเกิดกับ เซซิล เคลลีย์ (Cecil Kelley) พนักงานด้านเคมีผู้มีประสบการณ์สูง ขณะกำลังทำงานกับถังผสมขนาดใหญ่ ตามปกติภายในถังน่าจะเป็นสารละลาย “เจือจาง” กล่าวคือ มีพลูโทเนียมต่ำกว่า 0.1 กรัมต่อลิตร
32.

10 ลำดับอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากรังสีอันเป็นที่กล่าวขวัญ
ลำดับที่ : 9 แฮร์รี เค. แด็กเลียน จูเนียร์ (Harry K. Daghlian, Jr.)
แฮร์รี เค. แด็กเลียน จูเนียร์ (Harry K. Daghlian Jr. หรือ Haroutune Krikor Daghlian, Jr.) ชาวอเมริกัน มีเชื้อสายชาวอาร์เมเนีย เป็นนักฟิสิกส์ใน โครงการแมนแฮตตัน (Manhattan Project) ซึ่งเป็นโครงการสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อสร้าง ลูกระเบิดอะตอม (atomic bomb)

33. 10 ลำดับอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากรังสีอันเป็นที่กล่าวขวัญ
ลำดับที่ : 8 หลุยส์ สโลติน (Louis Slotin)
หลุยส์ สโลติน (Louis Slotin) เป็นนักฟิสิกส์และนักเคมีชาวแคนาดา ที่ได้ร่วมงานใน โครงการแมนแฮตตัน (Manhattan Project) อันเป็นโครงการทางทหารเพื่อสร้าง ลูกระเบิดอะตอม (atomic bomb) สำหรับการรบกับฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่ 2
34. 10 ลำดับอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากรังสีอันเป็นที่กล่าวขวัญ
ลำดับที่ : 7 เอเบน แม็กเบอร์นีย์ ไบเออส์ (Eben McBurney Byers)
เอเบน แม็กเบอร์นีย์ ไบเออส์ (Eben McBurney Byers) เป็นชนชั้นสูง นักกีฬา (กอล์ฟ) และนักอุตสาหกรรม ชาวอเมริกันผู้ร่ำรวย เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 1927 ขณะไบเออส์เดินทางกลับด้วยรถไฟเที่ยวพิเศษ จากการชมการแข่งขัน อเมริกันฟุตบอลประเพณีประจำปี ระหว่างมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกับมหาวิทยาลัยเยล (เก่าแก่เป็นอันดับที่สอง) วันนั้นเขาตกจากชั้นนอนและได้รับบาดเจ็บที่แขน
35. 10 ลำดับอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากรังสีอันเป็นที่กล่าวขวัญ
ลำดับที่ : 6 ฮิโระชิ โคจิ (Hiroshi Couchi)
อุบัติเหตุรังสีนิวเคลียร์ครั้งเลวร้ายที่สุดของญี่ปุ่นเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 1999 ที่ โรงงานแปรสภาพซ้ำ (reprocessing facility) เชื้อเพลิงยูเรเนียมใช้แล้ว ที่ โทไคมุระ (Tokaimura) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ กรุงโตเกียว
36. 10 ลำดับอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากรังสีอันเป็นที่กล่าวขวัญ
ลำดับที่ : 5 มารี กูรี (Marie Curie)
มารี สคลอดอฟสกา กูรี (Marie Sklodowska Curie) เป็นนักฟิสิกส์ นักเคมี และเป็นผู้บุกเบิกในสาขา กัมมันตภาพรังสี (radioactivity) อันที่จริง แม้ว่า อองรี แบ็กเกอแรล (Henri Becquerel) จะเป็นผู้ค้นพบ ปรากฏการณ์นี้จากธาตุกัมมันตรังสี ยูเรเนียม (uranium) เมื่อปี 1896 แต่อีกหลายปีต่อมา มารี กูรี นี่เอง ที่เป็นผู้บัญญัติชื่อปรากฏการณ์ กัมมันตภาพรังสี ขึ้นมา
37. 10 ลำดับอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากรังสีอันเป็นที่กล่าวขวัญ
ลำดับที่ : 4 อะเล็กซานเดอร์ ลิตวิเนนโค (Alexander Litvinenko)
อะเล็กซานเดอร์ ลิตวิเนนโค (Alexander Litvinenko) เดิมเป็นเจ้าหน้าที่เคจีบี (KGB ย่อมาจาก Komitet gosudarstvennoy bezopasnosti ในภาษาอังกฤษคือ Committee for State Security) ปลายปี 2000 เขาได้หลบหนี การฟ้องคดี (prosecution) ออกจากประเทศรัสเซีย มายังประเทศสหราชอาณาจักร และได้รับ ที่ลี้ภัยทางการเมือง (political asylum) ในปีถัดมา
38. 10 ลำดับอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากรังสีอันเป็นที่กล่าวขวัญ
ลำดับที่ : 3 เรือดำน้ำโซเวียต เค-19 (Soviet Submarine K-19)
เค-19 เป็นเรือดำน้ำขับเคลื่อนด้วยพลังนิวเคลียร์ และเป็นหนึ่งในสองลำแรกของรัสเซีย ที่ติดตั้ง ขีปนาวุธนิวเคลียร์ ในระหว่างก่อสร้างทำให้มีผู้เสียชีวิตไปหลายคน ในหมู่กลาสีและนายทหารเรือจึงให้ฉายาแก่เรือลำนี้ ว่า “ฮิโรชิมา” หมายถึง “เรือแห่งวันพิพากษาโทษ”
39. 10 ลำดับอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากรังสีอันเป็นที่กล่าวขวัญ
ลำดับที่ : 2 เชอร์โนบิล (Chernobyl)
วันที่ 26 เมษายน 1986 ได้เกิด อุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ (nuclear accident) กับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หมายเลข 4 ที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เชอร์โนบิล (Chernobyl) ใน ยูเครน (Ukraine) เหตุเกิดจากเจ้าหน้าที่ โรงไฟฟ้า ได้วางแผนการทดสอบ โดยต้องการหาว่า ในกรณีที่เกิดไฟดับจากตัวจ่ายไฟฟ้าหลักไม่จ่ายไฟ กังหันไอน้ำยังจะหมุนและป้อนไฟฟ้าให้กับปั๊มน้ำหมุนเวียนได้อีกนานเท่าใด
40. 10 ลำดับอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากรังสีอันเป็นที่กล่าวขวัญ
ลำดับที่ : 1 ฮิโรชิมาและนางาซากิ (Hiroshima and Nagasaki)
ลูกระเบิดอะตอม (atomic bomb) จำนวน 2 ลูก ถูกกองทัพสหรัฐอเมริกา ทิ้งลงที่เมือง ฮิโรชิมา (Hiroshima) และ นางาซากิ (Nagasaki) ของประเทศญี่ปุ่น อันเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ลงนั้น นับเป็นครั้งเดียวใน ประวัติศาสตร์ ที่มีการใช้อาวุธชนิดนี้โดยตรงกับมนุษยชาติ