Nuclear Science
STKC 2555

10 ลำดับอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากรังสีอันเป็นที่กล่าวขวัญ

ลำดับที่ :

1

ฮิโรชิมาและนางาซากิ (Hiroshima and Nagasaki)

สุรศักดิ์ พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

          ลูกระเบิดอะตอม (atomic bomb) จำนวน 2 ลูก ถูกกองทัพสหรัฐอเมริกา ทิ้งลงที่เมือง ฮิโรชิมา (Hiroshima) และ นางาซากิ (Nagasaki) ของประเทศญี่ปุ่น อันเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ลงนั้น นับเป็นครั้งเดียวใน ประวัติศาสตร์ ที่มีการใช้อาวุธชนิดนี้โดยตรงกับมนุษยชาติ ตั้งแต่นั้นมา ก็มีการถกเถียงกันอย่างหนักถึงการตัดสินใจ ทิ้งลูกระเบิดครั้งนั้น แต่ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ภาพความทรงจำของการทำลายล้างนั้น ก็คือเหตุผลข้อใหญ่ ว่าทำไมจึงไม่มีการใช้ลูกระเบิดอะตอมอีกเลย

          เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 1945 ลูกระเบิดยูเรเนียม (uranium bomb) ที่มีชื่อว่า ลิตเติลบอย (Little Boy) ถูกทิ้งที่เมืองฮิโรชิมา ทำให้ประชากร 70,000-80,000 คนเสียชีวิตในทันที หลังจากนั้น อีก 3 วันต่อมา ลูกระเบิดพลูโทเนียม (plutonium bomb) ชื่อ แฟตแมน (Fat Man) ก็ถูกทิ้งที่เมืองนางาซากิ ซึ่งคร่าชิวิตคนลงในทันทีประมาณ 40,000-75,000 คน พวกที่รอดมาได้จากแรงระเบิดในตอนแรก ซึ่งมีอาการไหม้ทั้งจากความร้อนและรังสี การป่วยจาก การแพ้รังสี (radiation sickness) และจากโรคอื่น ๆ ที่เกิดสืบเนื่องกันมา ทั้งหมดนี้ถูกซ้ำเติมด้วยการขาดแคลนทรัพยากรทางการแพทย์ ประมาณกันว่า ถึงปี 1950 ผลจากการระเบิดที่มีต่อสุขภาพ ทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกราว 200,000 คน

          เหยื่อผู้รอดชีวิตจากการระเบิดมีคำเรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า “ฮิบะคุชะ” (hibakusha) แปลว่า “ผู้รับเคราะห์จากการระเบิด”นับถึงวันที่ 31 มีนาคม 2009 รัฐบาลญี่ปุ่นรับรู้ว่ามีฮิบะคุชะอยู่ 235,569 คน และยังรับรู้ด้วยว่า ในจำนวนนี้มี 1 เปอร์เซ็นต์ที่เจ็บป่วยจาการได้รับรังสี

ฮิโรชิมา
จำนวนผู้เสียชีวิต 90,000–166,000 คน
นางาซากิ
จำนวนผู้เสียชีวิต 60,000–80,000 คน

จาก

โพสต์เมื่อ : 21 กุมภาพันธ์ 2555