Nuclear Science
STKC 2555

10 ลำดับอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากรังสีอันเป็นที่กล่าวขวัญ

ลำดับที่ :

3

เรือดำน้ำโซเวียต เค-19 (Soviet Submarine K-19)

สุรศักดิ์ พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

          เค-19 เป็นเรือดำน้ำขับเคลื่อนด้วยพลังนิวเคลียร์ และเป็นหนึ่งในสองลำแรกของรัสเซีย ที่ติดตั้ง ขีปนาวุธนิวเคลียร์ ในระหว่างก่อสร้างทำให้มีผู้เสียชีวิตไปหลายคน ในหมู่กลาสีและนายทหารเรือจึงให้ฉายาแก่เรือลำนี้ ว่า “ฮิโรชิมา” หมายถึง “เรือแห่งวันพิพากษาโทษ”

          ณ ใต้ทะเลบริเวณขั้วโลกเหนือ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1961 ภายใต้บังคับการของกัปตันเรือ นาวาเอก นิโคไล วลาดิมีโรวิช ซาเตเยฟ (Nikolai Vladimirovich Zateyev) ระบบระบายความร้อน (coolant system) ของเรือดำน้ำเค-19 เกิดรอยรั่วขนาดใหญ่ ทำให้อุณหภูมิของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้ขับเคลื่อนเรือ สูงขึ้นมากในระดับอันตรายคือ อุณหภูมิสูงถึง 800 องศาเซลเซียส เนื่องจากระบบออกแบบไว้ไม่ดีพอ ผนวกกับไม่มีระบบระบายน้ำสำรอง ทั้งที่ได้เคยร้องขอมาก่อนแล้ว ดังนั้น กัปตันซาเตเยฟจึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากสั่งการให้เจ้าหน้าที่วิศวกรรมจำนวน 7 นาย ลงมือซ่อมแซมรอยรั่ว ทั้งที่อัตราปริมาณรังสีที่ได้รับสูงถึงในระดับที่ทำให้เสียชีวิต

          การอุดรอยรั่วประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ดี ลูกเรือทั้ง 7 คนนี้ ได้เสียชีวิตภายใน 1 สัปดาห์ เหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้สารกัมมันตรังสีเปรอะเปื้อนเรือไปตลอดทั้งลำ และเชื่อว่ารังสีที่รั่วไหลในเหตุการณ์นี้ ทำให้ลูกเรืออีก 20 นาย เสียชีวิตในอีกหลายปีต่อมา

          กองทัพเรือโซเวียตต้องซ่อมใหญ่เรือลำนี้ จนต่อมาก็สามารถกลับมาปฏิบัติการได้ อย่างไรก็ดี เรือนี้เกิดอุบัติเหตุน่าขนหัวลุกต่อเนื่องมาอีกหลายครั้ง รวมถึงการชนกับเรือของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1969 และการเกิดไฟไหม้ในปี 1972 ซึ่งคร่าชีวิตลูกเรือไป 28 นาย ดีที่เรือถูกปลดระวางไปเมื่อปี 1991

          อุบัติเหตุครั้งนี้ถูกปกปิดไว้นานถึง 30 ปี รัสเซียสดุดีวีรกรรมของลูกเรือเป็นอย่างสูง โดยระบุว่า หากการบังคับการ ไม่ดีและลูกเรือไม่สละชีวิต เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์จะระเบิดอย่างรุนแรง และปลดปล่อยสารกัมมันตรังสีออกมามหาศาล เป็นอันตรายต่อภูมิภาค และเนื่องจากเป็นยุคสงครามเย็น (cold war) การปล่อยให้เกิดระเบิดอาจนำไปสู่สงครามโลก ครั้งที่ 3 ได้

กัปตัน นิโคไล วลาดิมีโรวิช ซาเตเยฟ แผ่นโฆษณาภาพยนตร์แสดงนำโดย แฮริสัน ฟอร์ด
          ปี 2002 อุบัติเหตุที่เกิดกับเรือเค-19 ถูกนำโครงเรื่องไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อ “เค-19 : วิโดว์เมเกอร์” (K-19: The Widowmaker) คงเพราะเป็นเรือที่ทำให้ลูกเรือตายไป ทำให้ภรรยาต้องเป็นม่าย (widow) นำแสดงโดย แฮริสัน ฟอร์ด (Harrison Ford) ที่มีโครงหน้าคล้ายกัปตันเซเตเยฟมาก ผู้แสดงนำอีกคนคือดาราดัง เลียม นีสัน (Liam Neeson)
เค-19 (K-19)

ขึ้นระวาง

30 เมษายน 1960

ปลดระวาง

19 เมษายน 1990

ฉายา

วิโดว์เมเกอร์ (Widowmaker)/ฮิโรชิมา

ชั้นและแบบ

ชั้นโฮเทล (Hotel-class)

ระวาง

4,030 ตัน (ลอง) (4,095 ตัน) (ผิวน้ำ)
5,000 ตัน (ลอง) (5,080 ตัน) (ดำน้ำ)

ความยาว

114 เมตร (374 ฟุต 0 นิ้ว)

เพลา

9.2 เมตร (30 ฟุต 2 นิ้ว)

หัวเรือ

7.1 เมตร (23 ฟุต 4 นิ้ว)

ใบพัด

2 ? 70 เมกะวัตต์/เครื่องปฏิกรณ์ VM-A/เทอร์ไบน์แบบ 2 เกียร์/2 แกน/39,200 แรงม้าที่เพลา (shp) (29 เมกะวัตต์)

อัตราเร็ว

15 น็อต (28 กิโลเมตร/ชั่วโมง 17 ไมล์ต่อชั่วโมง) (ผิวน้ำ)
26 น็อต (48 กิโลเมตร/ชั่วโมง 30 ไมล์ต่อชั่วโมง) (ดำน้ำ)

พิสัย

35,700 ไมล์ (57,500 กิโลเมตร) ที่ 26 น็อต (30 ไมล์ต่อชั่วโมง 48 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
32,200 ไมล์ (51,800 กิโลเมตร) ที่ 24 น็อต (28 ไมล์ต่อชั่วโมง 44 กิโลเมตร/ชั่วโมง) (ที่กำลัง 80%)

ดำน้ำ

60 วัน (ถูกจำกัดด้วยอาหาร และสภาพร่างกาย)

จาก

โพสต์เมื่อ : 21 กุมภาพันธ์ 2555