Nuclear Science
STKC 2555

การผลิตนิวไคลด์กัมมันตรังสี&ไอโซโทปกัมมันตรังสี
Radioisotope &Radionuclide Production

โกมล อังกุรรัตน์
ศูนย์ไอโซโทปรังสี
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

          การผลิตนิวไคลด์กัมมันตรังสีจริง ๆ แล้ว ก็คือหลักของการเล่นแร่แปรธาตุนั่นเอง คือการเปลี่ยนอะตอมของธาตุหนึ่ง ให้เปลี่ยนไปเป็นอะตอมอีกธาตุหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงนี้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนจำนวนของโปรตอน และ/หรือนิวตรอน ในนิวเคลียสเป้าหมาย ถ้ามีการเพิ่มจำนวนนิวตรอนเข้าไป โดยไม่มีการปลดปล่อยโปรตอนออกมา ผลของนิวไคลด์ที่ได้มา จะมีสมบัติทางเคมีเหมือนกับสารเป้าหมายตั้งต้น จะแตกต่างกันในแง่ของมวลเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ถ้านิวเคลียสเป้าหมายถูกระดมยิงหรือการอาบรังสี (bombarded) ด้วยอนุภาคที่มีประจุ ตัวอย่างเช่น โปรตอน จะได้เป็นนิวเคลียสที่แตกต่างออกไปเป็นธาตุอื่น ชนิดของปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่แน่นอนที่กำหนดเป้าหมาย ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างเช่นชนิดของอนุภาคที่จะนำมาเป็นตัวกระสุนยิง และพลังงานของตัวที่มาทำเป็นกระสุน

          พลังงานยึดเหนี่ยวของนิวคลีออน (องค์ประกอบของนิวเคลียส หมายถึง โปรตอนหรือนิวตรอน) ในนิวเคลียสมีค่าในระดับ 8 MeV ดังนั้น ถ้ากระสุนที่ใช้ยิงมีพลังงานมากกว่า ผลของปฏิกิริยาจะทำให้เกิดอนุภาคอื่น ถูกผลักดันออกจากตัวนิวเคลียสของธาตุที่นำมาเป็นเป้า โดยการพิจารณาอย่างรอบคอบ ในการเลือกนิวเคลียสของตัวที่จะนำมาเป็นเป้า อนุภาคที่จะนำมาเป็นกระสุนยิง และพลังงานของกระสุน มันจึงเป็นไปได้ที่จะผลิตนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่จำเพาะเจาะจงได้

การผลิตไอโซโทปด้วยเครื่องเร่งอนุภาคไซโคลทรอน (Producing Isotopes with Cyclotrons)
          เหมือนเป็นการประชดประชัน ที่ได้มีการคิดประดิษฐ์นิวไคลด์กัมมันตรังสีขึ้นครั้งแรก ด้วยไซโคลทรอนของลอว์เรนซ์ (Lawrence’s cyclotrons) (Lawrence 1932, Lawrence 1940) แต่ต้องใช้ระยะเวลาถึงอีกสามสิบปีต่อมา กว่าที่นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่ผลิตจากเครื่องเร่งอนุภาค จึงจะเริ่มมีบทบาทที่สำคัญ ในการผลิตเป็นสารเภสัชภัณฑ์รังสีที่สำคัญทางการแพทย์ วิธีการที่มีความได้เปรียบของการใช้เครื่องเร่งอนุภาค มาใช้ผลิตนิวไคลด์กัมมันตรังสีก็คือ ได้กัมมันตภาพจำเพาะที่สูง (high specific activities) ที่ได้จากปฏิกริยานิวเคลียร์แบบ (p,xn) และ (p,a) ที่ทำให้ได้ผลผลิตที่เป็นธาตุแตกต่างไป จากธาตุที่นำมาเป็นตัวเป้าหมายตั้งต้น และมีข้อประโยชน์อื่นที่สำคัญก็คือ มีปริมาณกากกัมมันตรังสีที่น้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการผลิตนิวไคลด์กัมมันตรังสี จากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

          เครื่องเร่งอนุภาคไซโคลทรอน ใช้เพื่อการผลิตนิวไคลด์กัมมันตรังสีทางการแพทย์ เริ่มต้นได้รับการออกแบบมาสำหรับการทดลองทางฟิสิกส์และใช้เฉพาะบางเวลา ส่วนหนึ่งสำหรับการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เครื่องเร่งอนุภาคไซโคลทรอนเหล่านี้ มีศักยภาพในการเร่งความเร็วของโปรตอน ดิวเทอรอน (นิวเคลียสของดิวเทอเรียม)  3He+2 และอนุภาคแอลฟา (นิวเคลียสของ 4He) นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่สลายให้โพซิตรอน ถูกผลิตขึ้นมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ของโปรตอน หรือไม่ก็ดิวเทอรอน ในยุคเริ่มต้นของทศวรรษ 80 จะมีเฉพาะเครื่องเร่งอนุภาคไซโคลทรอนขนาดเล็กกระทัดรัดเท่านั้นที่ใช้งาน และมีความเฉพาะเจาะจงในการออกแบบ มาเพื่อการผลิตนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่สลายให้โพซิตรอน ติดตั้งใช้งานอยู่ในโรงพยาบาลสองหรือสามแห่งเท่านั้น

          หลัการของเครื่องเร่งอนุภาคไซโคลทรอนขึ้นอยู่กับ การประยุกต์ใช้การเร่งแรงดันไฟฟ้าขนาดน้อย ๆ ซ้ำกันไป โดยมีโพรงกลวง (hollow cavities) คู่หนึ่ง เรียกว่า “ดีส์” (dees) เพราะแต่ละโพรงมีรูปร่างคล้ายตัวอักษร D ทำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้าสำหรับการเร่งความเร็ว คลื่นวิทยุจากเครื่องกำเนิดจะถูกเชื่อมต่อกับ “ดีส์” คู่ดังกล่าว ที่มีศักยภาพทางไฟฟ้าบน “ดีส์” ที่สามารถเปลี่ยนเป็น “บวก” หรือ “ลบ” ได้ตามลำดับสลับกัน โดยการวาง “ดีส์” ระหว่างขั้วของแม่เหล็กความเข้มสูง ดังนั้นสนามแม่เหล็กก็จะตั้งฉากกับระนาบการเคลื่อนที่ ประจุอนุภาคที่อยู่ในสภาพการเร่งความเร็ว จะเคลื่อนที่เป็นเส้นทางวงกลม ขณะที่อนุภาคได้รับพลังงาน มันจะเคลื่อนที่วนออกมาจากศูนย์กลาง กับแหล่งกำเนิดของไออนประจุลบ อยู่ที่จุดกึ่งกลางของของเครื่องเร่งอนุภาคไซโคลทรอน  “ดี” ในขณะที่มีสถานะเป็นบวกก็จะเร่งความเร็วของไออนให้วิ่งไปที่ “ดี” ด้วยสนามแม่เหล็ก ก็จะเป็นแรงผลักดันบังคับให้ไออนวิ่งเป็นทางโค้ง ในขณะที่ภายในโพรง (cavity) อนุภาคไม่มีแรงทางไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในทางวิ่งเป็นวงกลม อนุภาคจะวิ่งออกจาก “ดี” ตัวแรก และเข้าไปที่ช่องว่างระหว่าง “ดีส์” ที่ซึ่ง “ดี” ตัวที่สอง ได้เปลี่ยนศักยภาพของอนุภาคให้เป็นแรงดูด เร่งความเร็วของอนุภาควิ่งมาที่ “ดี”  “ดีส์”ทั้งสองก็จะเปลี่ยนกลับศักย์ทางไฟฟ้าเมื่ออนุภาคอยู่ภายใน “ดีส์” ดังนั้น แต่ละครั้งที่มีการข้ามช่องว่าง ก็จะมีการเพิ่มพลังงานในช่วง 20-30 keV ลอว์เรนซ์ได้คิดค้นสมการกำหนดหลักการของการดำเนินการในปี 1929 และได้สร้างเครื่องเร่งอนุภาคไซโคลทรอนเครื่องแรกในปี 1931

  Bev
= mv2/r
และ
   r
= mv/Be
 

โดยที่ความเร็วเชิงมุม (angular velocity) ได้แก่ w = v/r (v คือความเร็ว และ r คือรัศมีของวงโคจรของไอออน) ในเมื่อ w = Be/m (B เท่ากับสนามแม่เหล็ก e คือประจุ และm คือมวลของไอออน) ดังนั้นวงโคจรของอนุภาคแปรผันเป็นสัดส่วนตรงกับโมเมนตัมของอนุภาค และคลื่นความถี่วงโคจรคงที่ และเป็นอิสระจากพลังงาน วิธีการนี้คิดว่าภายใต้ผลกระทบความสัมพันธ์ที่ มวล ไม่คงที่

          ในขณะที่องค์ประกอบพื้นฐานของเครื่องเร่งอนุภาคไซโคลทรอนที่ทันสมัย มีหลักการเช่นเดียวกับการออกแบบต้นฉบับเดิม (โพรงคลื่นความถี่วิทยุ [RF cavities] ถังสุญญากาศ แม่เหล็ก ต้นกำเนิดไอออน ระบบการสกัด [extraction system])

          เครื่องเร่งอนุภาคไซโคลทรอนเกือบทั้งหมดที่ทันสมัยในปัจจุบัน ใช้เป็นแบบแหล่งกำเนิดไอออนเป็นลบ ไอออนถูกสร้างขึ้นโดยผ่านแหล่งที่มาของแก๊ส ผ่านสนามไฟฟ้าที่ซึ่งสร้างไอออนประจุบวกและประจุลบ (ตัวอย่างเช่น กรณี H2 จะได้เป็นไอออน H+ หรือได้เป็น โปรตอน และไอออน H- โปรตอนที่ประกอบกับอิเล็กตรอนอีกสองตัว) ประโยชน์ของไออนประจุลบอยู่ที่ สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงพลังงานของเครื่องเร่งอนุภาคไซโคลทรอนได้อย่างง่ายดาย สามารถเกิดการสกัดออกมาได้เกือบ 100% และสามารถที่จะสกัดได้พร้อมกันในหลาย ๆ ลำพลังงานของอนุภาค การออกแบบแหล่งกำเนิดของไออนยังมีการเปลี่ยนแปลง ให้แหล่งกำเนิดไอออนสามารถอยู่ภายในเครื่องเร่งอนุภาคไซโคลทรอน ที่ซึ่งไอออนจะถูกทำให้เกิดขึ้นมาที่ศูนย์กลางของเครื่อง หรือจากภายนอกของเครื่องก็ได้ (external ion source) และต่อมา ก็สามารถฉีดส่งเข้ามาในส่วนตรงศูนย์กลาง เพื่อการเร่งความเร็ว มีข้อดีและข้อเสียที่เห็นได้ชัดของแต่ละวิธีการ ด้วยวิธีการที่แหล่งกำเนิดไออนอยู่ภายนอก ระบบสุญญากาศสามารถดำเนินการที่ระดับความกดดันที่ต่ำมาก และการสูญเสียลำอนุภาคจะน้อยมาก เนื่องจากไออนลบถูก stripping โดยแก๊สที่เหลือ อย่างไรก็ตาม ระบบสุญญากาศต้องมีความสะอาดอย่างมากตลอดเวลา เพื่อที่สามารถคงสภาพการเป็นสุญญากาศสูง ด้วยแหล่งกำเนิดไอออนจากภายนอก การบำรุงรักษาสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องมีการเปิดเครื่อง หรือต้องทำการหยุดการเป็นสุญญากาศ ในทำนองเดียวกัน ในส่วนบริเวณส่วนศูนย์กลาง ก็ไม่ต้องถูกรบกวนดังเช่นกรณีของแหล่งกำเนิดไอออนอยู่ภายใน ที่เป็นส่วนหนึ่งของส่วนศูนย์กลาง

          ความเรียบง่ายของการออกแบบไซโคลทรอนสำหรับผลิตโปรตอนเพียงอย่างเดียว เป็นผลมาจากที่เครื่องจะเร่งความเร็ว ไอออน H- ที่สามาถใช้ได้กับสองหรือมากกว่าสองลำอนุภาคได้พร้อมกัน ที่พลังงานและความเข้มที่แตกต่างกัน เครื่องเร่งอนุภาคไซโคลทรอนที่ทันสมัย มีระบบควบคุมที่สมบูรณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ และมีศักยภาพที่จะเดินเครื่องได้หลาย ๆ วัน โดยไม่ต้องเฝ้าดูแลมากมาย อุปสรรคที่สำคัญสำหรับเครื่องเร่งอนุภาคไซโคลทรอนสำหรับโปรตรอน อยู่บนความจริงที่ว่า ในบางกรณีต้องใช้สารตั้งต้นเป้าหมายที่ต้องมีการเสริมสมรรถนะ เพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาเพียงพอ

          โดยไม่คำนึงถึงชนิดของเครื่องเร่งอนุภาคที่ใช้เพื่อการผลิตนิวไคลด์กัมมันตรังสี อัตราผลการผลิตจะขึ้นอยู่กับฟลักซ์ของอนุภาคที่ใช้เป็นกระสุนยิงเป้าหมาย จำนวนนิวเคลียสของตัวที่ใช้เป็นเป้า และโอกาสของการที่จะเกิดปฏิกริยา ก็จะได้สมการของอัตราการเกิดผลผลิต คือ

R = Ist

เมื่อ 
 
 
R คือ อัตราการเกิดนิวเคลียสในหนึ่งวินาที
I คือ ฟลักซ์ของอนุภาคที่ใช้เป็นกระสุนยิงเป้าหมายต่อวินาที
s คือ ภาคตัดขวาง (โอกาสที่จะเกิดปฏิกริยา) มีหน่ายเป็น cm2 และ
t คือ ความหนาของสารตั้งต้นเป้าหมาย แสดงในรูปของ จำนวนนิวเคลียสต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

          มีความน่าสนใจทางประวัติศาสตร์ที่จะต้องทราบว่า หน่วยของค่าภาคตัดขวางคือ บาร์น ซึ่งเทียบเท่ากับ 10-24 cm2 การแสดงความหมายของ บาร์น มาจาก ข้อความจริงที่ว่า โอกาสความเป็นไปได้ ที่นิวตรอนจะเกิดปฏิกริยา หรือมีปฏิสัมพันธ์กับเป้าหมาย เป็นสัดส่วนโดยตรงกับพื้นที่ของนิวเคลียส ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของของนิวตรอนที่เล็กกระจิริดแล้ว พื้นที่ตัดขวางนี้ถือว่ามีขนาดใหญ่กว่ามากราวกับ “บาร์น” (ที่แปลว่า โรงนา)

          อัตราการผลิตเป็นผลจากข้อเท็จจริงจริงที่ว่า ผลที่ได้เป็นสารกัมมันตรังสีซึ่งมีการสลายทางกัมมันตรังสี สำหรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่มีช่วงอายุสั้น จะมีอัตราแข่งขันกันระหว่างอัตราการเกิด ปฏิสัมพันธ์การผลิต และการสลาย ซึ่งจะถึงจุดบรรลุความสมดุล ที่ยืนยาวพอในช่วงที่เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวอนุภาคที่เป็นกระสุนกับตัวเป้า ในเมื่ออัตราของการสลายเป็นสัดส่วนโดยตรง กับปริมาณที่มีอยู่ของนิวไคลด์กัมมันตรังสี จุดสมดุลที่ได้คือจุดอิ่มตัว ความหมายคือ จะไม่เกิดประโยชน์ได้ปริมาณนิวไคลด์กัมมันตรังสีเพิ่มขึ้นอีกแล้ว แม้จะใช้ระยะเวลาในการอาบรังสีที่ยาวนานขึ้นต่อไป ในขณะที่อัตราการผลิตเท่ากับอัตราการสลาย ดังนั้นจะไม่มีผลผลิตเกิดขึ้นอีก ที่ระยะเวลาในการอาบรังสีสั้น ๆสัดส่วนของผลผลิตที่เกิดขึ้น เกี่ยวข้องกับปัจจัยการอิ่มตัวที่กำหนดโดย (1 - e-lt) โดยที่ l คือค่าคงที่การสลายของการสลายของนิวไคลด์ และ t คือเวลาที่ใช้ในการอาบรังสี จะเห็นว่าการอาบรังสีที่เทียบเท่ากับค่าเวลาครึ่งชีวิต (one half-life) จะได้ผลปัจจัยการอิ่มตัว 50% สำหรับเหตุผลในการปฏิบัติการอาบรังสีจะใช้เวลาไม่เกินกว่าสามเท่าของระยะเวลาครึ่งชีวิต (จะได้ประมาณ 90% ของการอิ่มตัว) มีข้อยกเว้นสำหรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่มีอายุสั้น ๆ

          สำหรับกลุ่มนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่มีอายุยาว ปริมาณการผลิตจะแสดงในรูปของค่าปริมาณการบูรณาการ (integrated dose) หรือค่ารวมทั้งหมดของลำฟลักซ์ (total beam flux) ดังตัวอย่างเช่น นิวไคลด์กัมมันตรังสีอายุยาว เช่น 82Sr มีครึ่งชีวิต 25 วัน ปริมาณผลผลิตที่ได้จะเท่ากัน ไม่ว่าจะผลิตจาก 100 mA ใช้เวลา 1ชั่วโมงหรือ 50 mA ใช้เวลา 2 ชั่วโมง (ทั้งสองที่ค่าเท่ากับลำอนุภาค 100 mA-h)

          สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมหาอ่านได้จาก IAEA TecDoc “Theory and Practice of Production of Radioisotopes Using Cyclotrons”,  2007.

          (เอกสารอ้างอิง T.J. Ruth, The uses of radiotracers in the life sciences. Rep. Prog. Phys. 72 016701 (2009).)

การผลิตไอโซโทปด้วยเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอน (Producing Isotopes with Electron Accelerators)
          การผลิตนิวไคลด์กัมมันตรังสีผ่านเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอน ดำเนินการตามแบบเหมือนกับวิธีการดังอธิบายในตอนต้น อาจมีข้อยกเว้นบางประการ ในกรณีนี้ แทนที่จะอาบรังสีด้วยอนุภาคที่มีประจุดังเช่น โปรตอน (หรือนิวตรอนจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์) แต่เปลี่ยนมาใช้เป็น โฟตอน หรือ รังสีแสง โฟตอนจะถูกสร้างโดยตรงจากลำอิเล็กตรอนจากเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนกำลังสูง เร่งให้อิเล็กตรอนวิ่งชนโลหะหนัก เช่น ปรอทเหลว หรือทังสเตน ที่หล่อด้วยน้ำเย็น โดยเรียกส่วนนี้ว่า ตัวแปลง (converter)

ปฏิกริยานิวเคลียร์ที่ใช้ในการผลิต Mo-100 โดยใช้อิเล็กตรอนไปทำให้เกิดโฟตอนพุ่งตรงชนวัสดุเป้าหมาย Mo-100 หรือ U-238

          โฟตอนกำลังสูงที่รู้จักกันว่ามีการแผ่รังสีเบรมส์ชตราลุง (bremsstrahlung) ที่ถูกทำให้เกิดขึ้นจากการที่ลำอิเล็กตรอนวิ่งชนเป้าตัวแปลง (converter) และสูญเสียพลังงานไป โฟตอนนั้นสามารถใช้ในการฉายรังสีตัววัสดุเป้าหมายอื่น ๆ เพียงแค่นำมาวางหลังตัวแปลง ในกรณี Mo-100 เพื่อทำให้ได้ Mo-99 ผ่านทางปฏิกิริยา 100Mo(g,n)99Mo

          การผลิต Mo-99 เพื่อนำมาทำเป็นเครื่องกำเนิด Tc-99m โดยการสลายของ Mo-99 ที่มีครึ่งชีวิตที่ยาวกว่า คือ 66 ชั่วโมง เปรียบเทียบกับ Tc-99m ที่มีครึ่งชีวิต 6 ชั่วโมง

ข้อดีและข้อเสียของการผลิตไอโซโทปที่ใช้ทางการแพทย์ด้วยพื้นฐานของการใช้เครื่องเร่งความเร็วอนุภาค (Advantages & Disadvantages of the Accelerator-based Production of Medical Isotopes)
          มีข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องเร่งอนุภาค เพื่อการผลิตไอโซโทปใช้ทางการแพทย์ บางกรณีสามารถใช้ได้ทั้งเครื่องเร่งอนุภาคไซโคลทรอนและโฟตอน-นิวตรอน ในขณะกรณีอื่น อาจจำเพาะเจาะจงแยกออกไปเป็นแต่ละกรณี

ข้อประโยชน์หลักก็คือ

  • ไม่มีกากของเสีย
  • สถานที่ปฏิบัติการจัดอยู่ในระดับ Class II ในการพิจารณาออกใบอนุญาต CNSC ของแคนาดา และเป็นไปได้ที่สถานที่ตั้งอยูในพื้นที่สีเขียวได้ (การใช้เครื่องเร่งอนุภาคไซโคลทรอนที่มีอยู่แล้ว ไม่ต้องขอใบอนุญาตใหม่ เพราะใช้ที่มีอยู่แล้วได้)
  • สามารถวางแผนงานได้แน่นอนกว่า ราคาและการขอออกใบอนุญาตได้ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
  • ค่าใช้จ่ายในสถานที่ดำเนินการหลัก และประเด็นการออกใบอนุญาต มีเหตุมีผลทางการประเมินความเสี่ยงที่ต่ำ
  • อาคารสถานที่สามารถสร้างได้แบบขนาดเล็ก (เครื่องกำลังต่ำ) หรือขนาดใหญ่ก็ได้
  • เทคโนโลยีมีประโยชน์เท่าเทียมกัน แต่มีประโยชน์ที่สามารถเลือกความหลากหลายของกำลังเครื่องได้

ข้อเสียที่สำคัญของวิธีนี้คือ

  • ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการทำเครื่องกำเนิด Mo-99/Tc-99m ทั้งนี้เพราะสารเป้าหมายตั้งต้นแตกต่างกัน
  • ต้องมีการตรวจพิสูจน์อนุมัติใหม่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพราะเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่
  • ต้นทุนในการผลิต Mo-100 สำหรับเป็นสารเป้าหมายตั้งต้น และต้นทุนในการแยก Mo-100 จากกลุ่มก้อนรวมของ Mo ค่อนข้างสูง ในธรรมชาติจะมี Mo-100 อยู่น้อยกว่า 10% รวมผสมอยู่ใน Mo ทั้งหมด และมูลค่าในการแยกไอโซโทปปัจุบันมีค่าใช้จ่าย 1 ดอลลาร์ต่อมิลลิกรัม

ถอดความจาก http://www.ca/nrcan-nisp/isotope-production
หมายเหตุ บทความนี้มาจาก TRIUMF (TRI-University Meson Facility) เป็นห้องปฏิบัติการแห่งชาติของคานาดา ทางด้านอนุภาคและฟิสิกส์นิวเคลียร์ มีสำนักงานใหญ่ที่ UNIVERSITY OF British Columbia in Vancouver , British Columbia สืบเนื่องมาจากเหตุที่เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ NRU ที่มีอายุมากกว่า 52 ปี ของคานาดา ไม่สามารถเดินเครื่องเพื่อผลิต Mo-99 ซึ่งเป็นไอโซโทปรังสีตัวแม่ สำหรับนำมาผลิตเป็นเครื่องกำเนิด Mo-99/Tc-99m ทำให้เกิดการขาดแคลน Tc-99m ที่เป็นไอโซโทปรังสีสำคัญทางการแพทย์ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก จึงมีการคิดค้นหาวิธีการที่จะผลิต Mo-99จากเครื่องเร่งอนุภาคขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทน

โพสต์เมื่อ : 9 มิถุนายน 2555