Nuclear STKC
2554
บทความปี 2550 l 2551 l 2552 l 2553
หน้า
l
l
l
l
l
l
l
i
l
21.
ซีทีสแกน
ภายหลังการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วย เคมีบำบัด (chemotherapy) หรือ รังสีรักษา (radiotherapy) นอกจากแพทย์จะ ติดตามผลการรักษาด้วยการเจาะเลือดตรวจการทำงานทั่วไปของร่างกายและระดับ tumor marker ว่าลดลงไปมากน้อย เพียงใดแล้ว ยังส่งผู้ป่วยไปถ่ายภาพทางรังสี การตรวจที่ได้ยินกันบ่อย ๆ คือการทำ ซีทีสแกน (CT scan) เพื่อดูว่ามีก้อน มะเร็งหลงเหลืออยู่ตำแหน่งใดบ้าง
22.
เลขผามายา 1 เกมทายจัตุรัสกล และเลขกล
เลขผามายา หรือ เลขกล หรือ แมจิกนัมเบอร์ (magic number) ที่น่าจะเคยถูกทายกันมาแทบทุกคนก็คือ “เลขกล” ใน จัตุรัสกล หรือ Magic Squares เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้ ถ้าได้เคยเข้าเรียนหนังสือในโรงเรียน ก็จะต้องเคยถูกเพื่อน ๆ เอา “จัตุรัสกล” มาทาย เพื่อทดสอบสมองประลองเชาวน์กันทุกคน โจทย์ก็คือ มีจัตุรัส 3 x 3 ซึ่งมีช่องว่างอยู่ 9 ช่อง ให้บรรจุตัวเลขจำนวนเต็ม 9 จำนวน ตั้งแต่ 1 ถึง 9 ลงในช่องว่าง
23.
เลขผามายา 2 แมจิกนัมเบอร์ทางนิวเคลียร์ (nuclear magic number)
คำว่า “นิวเคลียร์” มักพาให้นึกไปถึงเฉพาะ “พลังงาน(นิวเคลียร์)” แต่อันที่จริง นิวเคลียร์ เป็นคำวิเศษณ์หรือ คุณศัพท์หมายถึง “ซึ่งเกี่ยวข้องกับนิวเคลียสของอะตอม” ดังนั้น เรื่องของ “แมจิกนัมเบอร์ทางนิวเคลียร์” ต่อไปนี้ เป็นเรื่องของ “จำนวนอนุภาคภายในนิวเคลียสของอะตอม” โดยจะไม่กล่าวถึงพลังงานที่ปล่อยออกมาจากนิวเคลียส ของอะตอม
24.
อิเล็กตรอนโวลต์ Electron Volt (eV)
อิเล็กตรอนโวลต์ หรือ electron volt ย่อว่า eV เป็นหน่วยหนึ่งของ พลังงาน (energy) หรือ งาน (work) และเป็น หน่วยที่นิยมใช้หรือใช้ได้สะดวกสำหรับกระบวนการเที่เกี่ยวกับอะตอมหรือนิวเคลียส ว่าโดยนิยาม 1 อิเล็กตรอนโวลต์ หมายถึง พลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ผ่านความต่างศักย์ไฟฟ้าขนาด 1 โวลต์ มีค่าเท่ากับ 1.602 x 10-12เอิร์ก (erg) หรือ 1.602 x 10-19 จูล (J)
25.
โมเดลโครงสร้างของนิวเคลียส
โมเดลนิวเคลียส (nuclear model) ในสมัยแรก ๆ ได้แก่ โมเดลคลัสเตอร์ (cluster model) โมเดลหยดน้ำ (liquid drop model) โมเดลชั้น (shell model) และโมเดลแลตทิซ (lattice model) แต่ปัจจุบันได้มีพัฒนาการมาเรื่อย ๆ จนถึงแบบที่ 7 ซึ่งสรุปได้ดังต่อไปนี้
26.
พลังงานยึดเหนี่ยว Binding Energy
เมื่อตอนเริ่มต้นศตวรรษที่ 20 ในปี 1905 แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ได้เสนอ ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (special theory of relativity) ซึ่งมีสมการหนึ่งอยู่ด้วยเรียกว่า สมการมวล-พลังงาน ซึ่งทำให้ตีความได้ว่า มวลและพลังงานเป็นสิ่งเดียวกัน ที่สามารถแปลงไปมาระหว่างกันได้ และเพราะว่าแสง มีความเร็วสูงมาก ซึ่งตามสมการนี้มวลเพียง 1 กรัมจะกลายเป็นพลังงานได้ถึง 900 ล้านล้านล้านเอิร์ก ซึ่งสามารถทำให้ หลอดไฟขนาด 100 วัตต์ส่องสว่างได้นานถึง 35,000 ปี
27. วิวัฒนาการของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.9 (ต่อมาประกาศเป็นขนาด 9.0) และคลื่นสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 และส่งผลกระทบต่อเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลี่ยร์ของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ซึ่งเป็น เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำเดือด (boiling water reactor หรือ BWR) และจัดเป็น เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่นที่ 2 บทความนี้ขอเสนอวิวัฒนาการของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่นต่าง ๆ
28. ความปลอดภัย ความมั่นคง และการพิทักษ์ทางนิวเคลียร์ Nuclear Safety, Security and Safeguards
ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ด้านความปลอดภัย (safety) เกิดจากการออกแบบและการเดินเครื่องของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เอง ด้านความมั่นคง (security) เกิดจากภาวะคุกคามภายนอกต่อวัสดุหรือโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และการพิทักษ์ทางนิวเคลียร์ (nuclear safeguards) เกิดจากทัศนคติของรัฐที่ครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ ซึ่งทั้งหมดเป็นมุมมองของความปลอดภัยที่แตกต่างกัน
29. อุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ และ มาตราระหว่างประเทศ ว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 เวลา 14:46 ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น มีความรุนแรงขนาด 8.9 ซึ่งมีจุดศูนย์กลางไปทางตะวันออกของชายฝั่งเมือง ซานริกุ (ละติจูด 38 องศาเหนือ ลองจิจูด 142.9 องศาตะวันออก) โดยเกิดที่ความลึกประมาณ 10 กิโลเมตรใต้พื้นดิน
30. ความรับผิดสำหรับความเสียหายทางนิวเคลียร์ Liability for Nuclear Damage
มักกล่าวกันว่า ไม่มีการประกันภัยที่รับคุ้มครองโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และไม่มีบริษัท ประกันภัยรายใดใส่ใจโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ คำกล่าวที่ว่านี้ไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อปี 2006 นายหน้าประกันภัยผู้รับผิดชอบ “กลุ่มรับเสี่ยงภัยด้านนิวเคลียร์” (nuclear insurance pool)