เลขผามายา 1
เกมทายจัตุรัสกล และเลขกล |
สุรศักดิ์ พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) |
เลขผามายา หรือ เลขกล หรือ แมจิกนัมเบอร์ (magic number) ที่น่าจะเคยถูกทายกันมาแทบทุกคนก็คือ เลขกล ใน จัตุรัสกล หรือ Magic Squares
เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้ ถ้าได้เคยเข้าเรียนหนังสือในโรงเรียน ก็จะต้องเคยถูกเพื่อน ๆ เอา จัตุรัสกล มาทาย เพื่อทดสอบสมองประลองเชาวน์กันทุกคน โจทย์ก็คือ มีจัตุรัส 3 x 3 ซึ่งมีช่องว่างอยู่ 9 ช่อง ให้บรรจุตัวเลขจำนวนเต็ม 9 จำนวน ตั้งแต่ 1 ถึง 9 ลงในช่องว่าง โดยตัวเลขต้องรวมกันได้ 15 ทั้งหมดทั้งแนวนอน แนวตั้ง และแนวทแยง
คำตอบที่ถูกต้องเป็นไปตามตารางด้านล่างนี้ |
|
จัตุรัสกล 3 x 3 นี้เล่ากันว่ามีกำเนิดมานานกว่า 2,600 ปีแล้ว โดยครั้งนั้นประเทศจีนเกิดน้ำท่วมใหญ่ ก็มีเต่าลอย ขึ้นมา และบนกระดองเต่าที่เป็นช่องตารางปรากฏจุดกลม ๆ เป็นจำนวนตามจัตุรัสกลนี้ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Lo Shu Square (Lo คือชื่อของแม่น้ำที่เกิดน้ำท่วม)
ที่ประเทศอินเดียก็มีจัตุรัสกลเช่นกัน เกิดมีขึ้นราวหนึ่งพันปีก่อนในวัดนิกายเชนแห่งหนึ่งที่เมือง Khajuraho ใน มัธยมประเทศ โดยเป็นจัตุรัส 4 x 4 ที่มีช่องว่าง 16 ช่อง ซึ่งกลก็คือ ให้บรรจุตัวเลขจำนวนเต็ม 16 จำนวน ตั้งแต่ 1 ถึง 16 ลงในช่องว่าง โดยตัวเลขต้องรวมกันได้ 34 ทั้งหมดทั้งแนวนอน แนวตั้ง และแนวทแยง (ดังรูป) |
7 |
12 |
1 |
14 |
2 |
13 |
8 |
11 |
16 |
3 |
10 |
5 |
9 |
6 |
15 |
4 |
|
ความพิสดารของจัตุรัสกลนี้ที่เหลือเชื่อก็คือ เนื่องจากเป็นการรวมตัวเลข 4 จำนวนให้ได้เท่ากับ 34 ดังนี้ ถ้าดูเฉพาะ จัตุรัสย่อย 2 x 2 ใด ๆ ไม่ว่าตรงไหนของจัตุรัสกลใหญ่ เลขทั้ง 4 จำนวนก็ล้วนรวมกันได้ 34 ทั้งสิ้น รวม 9 แบบ (ตามรูปด้านล่างให้ตัวอย่างไว้ 4 แบบ) |
|
นอกจากนี้ ผลรวมของตัวเลข 4 จำนวนที่อยู่ตรงกลางของสองแถวด้านนอกทั้งของแนวตั้งด้วยกัน และของแนวนอนด้วยกัน ก็รวมกันได้ 34 เช่นกัน (ดูรูป) |
|
ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีผลรวมของตัวเลข 4 จำนวนที่สมมาตรกันในแนวแทยงอีก 2 จำนวน ที่รวมกันได้ 34 ด้วย ตามในรูปด้านล่าง |
|
จากจัตุรัสกล คราวนี้ก็มาทายกันต่อเรื่อง กล ทายตัวเลขกัน
กลทายตัวเลขนี้มีการทายได้ตั้งแต่ วันเกิด บ้านเลขที่ อายุ ไปจนถึงเลขที่คิดตั้งขึ้นมาเฉย ๆ จะขอยกตัวอย่าง สักตัวอย่างหนึ่ง สมมติว่า จะทายอายุพร้อมกับบ้านเลขที่ของเพื่อน กลนี้ต้องใช้เครื่องคิดเลขกับกระดาษทดเลขด้วย แล้วให้ดำเนินการตามรายละเอียดในตารางข้างล่างนี้
สมมติว่า เพื่อนของคุณมีอายุ 33 ปี และอยู่บ้านเลขที่ 87 |
ขั้นตอนที่ |
วิธีดำเนินการ |
ผลลัพธ์ |
1 |
เขียนบ้านเลขที่ลงบนกระดาษทด |
87 |
2 |
คูณด้วย 2 |
174 |
3 |
บวกด้วย 5 |
179 |
4 |
คูณด้วย 50 |
8950 |
5 |
บวกด้วยอายุของเพื่อนคนนั้น |
8983 |
6 |
บวกด้วยจำนวนวันใน 1 ปี คือ 365 |
9348 |
|
ให้เพื่อนบอกผลลัพธ์ซึ่งก็คือ 9348 แล้วคุณก็ทายได้ดังนี้
- ทายอายุจากเลขท้าย 2 หลักคือ 48 นำมาหักลบด้วย 15 จะได้อายุ (48-15) เท่ากับ 33
- ทายบ้านเลขที่จากตัวเลขที่เหลือ (อาจเป็นเลข 3 หลักก็ได้หากบ้านเลขที่ที่ทายเป็นเลข 3 หลัก) คือ 93 หักลบออกด้วย 6 ได้เป็นบ้านเลขที่ (93-6) คือ 87
จัตุรัสกลก็ดี เกมทายเลขกลก็ดี คงเป็นได้แค่เรื่องสนุก ๆ สำหรับให้ ฉงน หรือ อัศจรรย์ใจ ในวัยเรียนหรือยามว่าง แต่ชีวิตจริงคือการต้องทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ และเชื่อหรือไม่ว่าในชีวิตการทำงานก็มี เลขกล หรือ แมจิกนัมเบอร์ ในทุก ๆ คน และในทุก ๆ ศาสตร์
ท่านผู้อ่านเคยรู้สึกบ้างหรือไม่ว่า ตลอดชีวิตไม่ว่าไปแห่งหนใดก็มักจะเจอะเจอกับเลขตัวหนึ่งอยู่เสมอ เช่น ท่านอาจเกิด วันที่ 3 เมื่อเข้าโรงเรียนอาจจะเลขประจำตัวนักเรียนคือ 4312 เมื่อเข้ามหาวิทยาลัยอาจจะมีเลขท้านเลขประจำตัว นิสิต/นักศึกษาเป็น 6563 แล้วพอทำงาน ก็นั่งทำงานบนตึกชั้น 3 ที่ห้อง 303 ก็ เลข 3 นี่แหละที่เป็น แมจิกนัมเบอร์ ของคน ๆ นั้น และอาจยังเป็น เลขนำโชค ด้วย
ต่อไปยกตัวอย่างมายาของเลขกลโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเลข 3 ในทางคณิตศาสตร์ เช่น
- เลข 3 เป็นจำนวนเฉพาะ (prime number) หมายถึงว่า เป็นเลขที่เมื่อนำเลขอื่นมาหารแล้วจะเหลือเศษ นอกจะตัวมันเองและเลข 1 เท่านั้น ที่จะหารได้ลงตัว ได้แก่เลข 1, 2, 3, 5, 7, 11, 13, 17 และ 23......
- จำนวน 153 เมื่อแยกแแต่ละตัวมายกกำลัง 3 แล้วบวกกัน ก็ยังได้ 153
153 |
|
= |
|
13 |
+ |
53 |
+ |
33 |
|
|
= |
|
1 |
+ |
125 |
+ |
27 |
|
|
= |
|
153 |
|
|
|
|
- มายาของจำนวนเฉพาะ 1, 3, และ 5 ประการต่อมา คือ
- มายาของจำนวนเฉพาะ 1, 3, และ 5 อีกประการหนึ่ง ได้แก่
|
มาลองดูเลขผามายาในศาสตร์ทางด้านสังคมกันบ้าง
มีนักจิตวิทยาชื่อว่า George A Miller ทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อปี 1956 เขาตีพิมพ์ผลงานวิจัยเรื่องหนึ่ง ในวารสาร Psychology Review ว่าด้วย ความจำระยะสั้น ของมนุษย์ ซึ่งเขาพบว่าคนเราจะจำเรื่องหรือสิ่งของได้ ในช่วงเวลาหนึ่งเป็นระยะเวลาสั้น ๆ โดยเฉลี่ยคราวละ 7 เรื่องหรือ 7 สิ่ง (+/- 2 แล้วแต่ว่าคนคนนั้นมีความจำดีหรือไม่ดี) พอมีเรื่องใหม่หรือสิ่งใหม่มาให้จำเพิ่มขึ้น ก็จะลืมเรื่องแรก ๆ ไปเรื่องหนึ่งหรือสิ่งหนึ่ง ผลงานนี้ทำให้ เลข 7 กลายเป็น เลขกล หรือ แมจิกนัมเบอร์ ในวงการจิตวิทยามาจนทุกวันนี้ก็กว่า 50 ปีแล้ว
เรื่องของนิวเคลียร์ก็มีเลขกลหรือแมจิกนัมเบอร์ด้วยเช่นกัน ติดตามได้ในตอนต่อไปใน เลขผามายา 2
โพสต์เมื่อ : 21 กุมภาพันธ์ 2554 |
|