ลำดับที่ |
ประเภทงาน / ชื่อโครงการวิจัย |
ปีงบประมาณ |
การนำผลงานไปใช้ประโยชน์ |
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ |
|
|
1 |
การศึกษาและทํานายผลของพลังงาน ฟิวชันในเครื่องโทคาแมค ITER |
2551-2552 |
องค์ความรู้ต่างๆที่ได้ จะสามารถนําไปพัฒนาสร้างโรงงานไฟฟ้า พลังงานฟิวชัน ที่สามารถผลิตพลังงานได้ ในราคาถูกและมีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหา ด้านพลังงานในอนาคตได้อย่างยั่งยืน |
2 |
การเพิ่มศักยภาพในการผลิตอัญมณีฉายรังสี เพื่อการส่งออกด้วยเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย ของประเทศไทย |
2549-2550 |
เพื่อขยายการให้บริการฉายรังสีอัญมณี ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าอัญมณี ให้เต็มศักยภาพแก่ผู้ประกอบการ |
3 |
การเตรียมอนุภาคฟังชันนัลพอลิเมอร์ ขนาดนาโนเมตร โดยใช้รังสีแกมมา และการพัฒนาชุดแผ่นทดสอบ สำหรับใช้ตรวจวิเคราะห์ สารชีวะโมเลกุลขนาดเล็ก จากอนุภาคฟังชันนัลพอลิเมอร์ที่เตรียมได้ |
2549-2550 |
เพื่อเตรียมอนุภาคพอลิเมอร์ขนาดนาโนเมตรที่มี functional group ต่างๆ ที่เหมาะสมโดยใช้รังสีแกมมา เพื่อพัฒนาเป็นชุดทดสอบการเป็นสัด และการตั้งท้องของแม่วัวขึ้นใช้เองภายในประเทศ ลดการนำเข้าชุดทดสอบ ที่มีราคาแพงจากต่างประเทศ |
4 |
การศึกษาแก๊สเรดอน ตามแนวรอยเลื่อนองครักษ์ บริเวณศูนย์วิจัยนิวเคลียร์แห่งชาติ |
2549-2550 |
- ได้อุปกรณ์และระบบต้นแบบ การวัดปริมาณแก๊สเรดอน ในบริเวณรอยเลื่อนแบบเคลื่อนย้ายได้ ซึ่งอาจใช้เป็นระบบทางเลือก สำหรับการเฝ้าระวังการเตือนภัย การเกิดแผนดินไหว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ
- อุปกรณ์และระบบต้นแบบ สามารถประยุกต์ใช้กับงานการตรวจวัด ในลักษณะอื่นได้
|
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
|
|
5 |
การเตรียมไอโอดีน-131 แอนติ-ซีดี20 ระดับการบำบัด และการตรวจประเมินคุณภาพ ก่อนการใช้ งานทางคลินิก |
2551-2552 |
สามารถนำไอโอดีน-131-แอนติ-ซีดี 20 ที่เตรียมได้ ไปใช้ในการบำบัดผู้ป่วย โรคมะเร็ง ชนิด Non-Hodgins Lymphoma อย่างได้ผล |
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
|
|
6 |
ผลของรังสีต่อสารสำคัญในสมุนไพรไทย |
2551-2552 |
ทราบผลของรังสีต่อสารสำคัญของสมุนไพร |
7 |
การศึกษาองค์ประกอบธาตุ ในฝุ่นละอองอากาศ แหล่งกำเนิด และแนวโน้มมลภาวะทางอากาศ ในประเทศไทย |
2550-2552 |
ได้ฐานข้อมูลระยะยาวเพื่อตรวจสอบ และเปรียบเทียบคุณภาพอากาศ รวมทั้งศึกษาแนวโน้มของมลภาวะทางอากาศ และการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (receptor model) กับฐานข้อมูลเหล่านั้นในการตรวจหา หรือบ่งชี้แหล่งที่มาของฝุ่นละออง ทั้งที่เกิดตามธรรมชาติ และที่เกิดจากกิจกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น |
8 |
การพัฒนาศักยภาพการวิเคราะห์สารชีวพิษ (พิษอัมพาตจากหอย) โดยเทคนิคเชิงเคลียร์ |
2550-2552 |
- เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ในกรณีที่การผลักดันวิธีนี้ เข้าในมาตรฐานของ AOAC ได้เป็นผลสำเร็จ
- พัฒนาศักยภาพให้กับห้องปฏิบัติการ ระดับท้องถิ่น จะช่วยส่งเสริมแผนงานเฝ้าระวัง การเกิดปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี โดยแพลงค์ตอนพืชที่เป็นพิษ
|
9 |
การพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการ ในการวิเคราะห์ยูเรเนียมและทอเรียม โดยเทคนิค ICP |
2550-2551 |
ได้วิธีการวิเคราะห์ธาตุยูเรเนียมและทอเรียม ที่มีมาตรฐานและห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ ผลวิเคราะห์ได้รับความเชื่อถือและยอมรับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สนับสนุนการศึกษาวิจัย ทางนิวเคลียร์และอุตสาหกรรม |
10 |
การเตรียมพอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้จากแป้ง โดยใช้รังสีแกมมา |
2551-2552 |
เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมพอลิเมอร์ ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากแป้ง โดยอาศัยเทคนิคการปรับปรุงคุณภาพ ของพอลิเมอร์ด้วยรังสี |
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
|
|
11 |
การศึกษาธาตุองค์ประกอบทางโภชนาการ และธาตุที่เป็นพิษในอาหารไทย โดยเทคนิคเชิงนิวเคลียร์ |
2549-2552 |
เพื่อนำเทคนิคการวิเคราะห์เชิงนิวเคลียร์ ที่มีความไวในการวิเคราะห์ธาตุสูง และหลากหลายชนิด นำมาใช้ในการวิเคราะห์ ธาตุองค์ประกอบ และธาตุที่เป็นพิษในอาหาร รวมทั้งการวิเคราะห์ปริมาณธาตุบางชนิดที่มี รูปแบบทางเคมีต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการดูดซึม เข้าสู่ร่างกายเพื่อใช้ประโยชน์ |
12 |
การตรวจพิสูจน์อาหารฉายรังสี ด้วยวิธีทางฟิสิกส์ |
2551-2552 |
ได้ข้อมูลในการอ้างอิงการตรวจพิสูจน์ อาหารฉายรังสี ให้สอดคล้องกับวิธีที่มีการยอมรับ ในมาตรฐานการค้า ของสหภาพยุโรป และประเทศสมาชิก ในองค์การมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ |
13 |
การค้นหาดีเอ็นเอเครื่องหมาย สำหรับลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง และปริมาณไฟเตตต่ำในข้าวพันธุ์กลาย |
2548-2553 |
ได้พันธุ์ข้าวที่สามารถร่นระยะเวลา และลดพื้นที่ปลูก รวมถึงปรับปรุงพันธุ์ข้าว ให้มีคุณค่าทางอาหารสูงขึ้น |
14 |
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะล ิโดยการฉายรังสีนิวตรอน และการเพาะเลี้ยงอับละอองเกสร |
2549-2553 |
เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิและ สร้างแหล่งผันแปรทางพันธุกรรม ให้ได้สายพันธุ์ข้าวหอมที่มีผลผลิตสูง คุณภาพเมล็ดดี ต้านทานโรคและแมลงศัตรูข้าว |
15 |
การผลิตข้าวอินทรีย์ แตงโมอินทรีย์ และพริกอินทรีย์จังหวัดยโสธร |
2549-2553 |
สามารถสร้างเกษตรกร และสร้างครูเกษตรกร ให้ถ่ายทอดสู่เกษตรกรด้วยกันเอง ซึ่งจะเข้าถึงเกษตรกรด้วยกันเอง มากกว่าหน่วยราชการดำเนินการเองทั้งหมด ทำให้เกษตรกรมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์จริง ในการปลูกพืชอินทรีย์ เช่น ข้าวอินทรีย์ แตงโมอินทรีย์และพริกอินทรีย์ |
16 |
การศึกษาสภาวะที่เหมาะสม ต่อการผลิตแคโรทีนอยด์ของ Xanthophyllomyces dendrorhous สายพันธุ์กลาย |
2550-2553 |
เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิต สารแคโรทีนอยด์ ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง เป็นต้น |
17 |
การควบคุมแมลงวันผลไม้แบบพื้นที่กว้าง โดยเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน ผสมผสานร่วมกับวิธีการอื่น |
2549-2552 |
เพื่อควบคุมการระบาดของแมลงวันผลไม้ ให้อยู่ในระดับต่ำกว่าระดับเศรษฐกิจ เป็นต้นแบบมาตรฐานตามหลักการสากล ของประเทศและพร้อมขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น |
18 |
โครงการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย ของอาหารปลาหมักพื้นบ้านโดยการฉายรังสี |
2551-2552 |
|
19 |
การพัฒนาดีเอ็นเอเครื่องหมาย เพื่อใช้ในการทำ marker-assisted breeding สำหรับลักษณะต้านทานโรคไวรัสเส้นใบเหลือง ในกระเจี๊ยบเขียวพันธุ์กลาย |
2549-2553 |
เพื่อพัฒนาดีเอ็นเอเครื่องหมาย สำหรับลักษณะต้านทานโรค ไวรัสเส้นใบเหลือง ในกระเจี๊ยบเขียวที่จะนำมาใช้ในงาน marker-assisted breeding ได้ |
20 |
การปรับปรุงสายพันธุ์แมลงวันผลไม้ เพื่อสนับสนุนการควบคุม และกำจัดโดยเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน |
2549-2551 |
ลดค่าใช้จ่ายในการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพ แมลงวันผลไม้ โดยใช้หลักทางพันธุกรรม เพื่อสนับสนุนเทคนิคการควบคุมแมลงวันผลไม้ โดยเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน เพื่อให้ประสบความสำเร็จในระยะเวลาที่สั้นขึ้น |
21 |
การผลิตผงไหมและประยุกต์ใช้ทำผลิตภัณฑ์ |
2549-2552 |
ได้กรรมวิธีการผลิตผงไหมที่มีคุณภาพ เหมาะสมและได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ที่ผลิตโดยมีผงไหมเป็นส่วนประกอบสำคัญ อย่างน้อย 2 ชนิด ที่สามารถถ่ายทอด สู่ภาคเอกชน ให้ผลิตในเชิงพาณิชย์ |
22 |
การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในสบู่ดำ ด้วยรังสี |
2549-2554 |
เพื่อสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรม เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่จะทำให้ได้สายพันธุ์ที่มีศักยภาพ ในการเพิ่มผลผลิตได้ |
23 |
การปรับปรุงสายพันธุ์เห็ดฟาง ให้มีผลผลิตสูงหรือมีคุณภาพดี ด้วยรังสีแกมมา |
2549-2552 |
ปรับปรุงสายพันธุ์เห็ดฟาง ให้มีผลผลิตสูงและ/หรือมีคุณภาพ ดีกว่าสายพันธุ์แม่ |
24 |
การศึกษาพันธุ์บัวฉายรังสี |
2549-2554 |
ปรับปรุงบัวให้มีหลากสีสรร หลายรูปทรง ตลอดจนศึกษาความใกล้ชิด ทางพันธุกรรมในพืชตระกูลบัว |
25 |
การทำแผ่นกรองฟิล์มบางแทรคเอตช์ โดยใช้ฟิล์มโพลิอิไมด์ |
2550-2551 |
ใช้เป็นเทคโนโลยีในการผลิตแผ่นกรองฟิล์มบาง โดยใช้อนุภาคจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น ทำให้ได้แผ่นกรองฟิล์มบาง ที่มีรูพรุน ขนาดสม่ำเสมอสำหรับใช้ในงานด้านจุลชีววิทยา การแพทย์และสาธารณสุข สิ่งแวดล้อมหรืออุตสาหกรรม |
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
|
|
26 |
การจัดทำฐานข้อมูลด้านพลังงานนิวเคลียร์ |
2550-2551 |
เพื่อให้มีข้อมูลทางเลือก ด้านพลังงานนิวเคลียร์ ที่ถูกต้องและทันสมัย อันเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และวางแผนจัดการด้านโครงสร้างของพลังงาน ของประเทศ ตลอดจนผู้ต้องการใช้ข้อมูล และประชาชนทั่วไป |