l
l
l
l
l
l
l

  กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
 
l

โครงการวิจัย ปีงบประมาณ 2550

ปีงบประมาณ
 
 
 

จำนวนโครงการวิจัย 47 โครงการ

ลำดับที่
ชื่อโครงการวิจัย/
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ระยะเวลา (ปี)
  ด้านทรัพยากรธรรมชาต  
1

การประเมินคุณภาพน้ำบาดาลโดยใช้ไอโซโทปและเคมีเทคนิค เพื่อใช้ในการจัดการน้ำบาดาลในแอ่งเชียงใหม่ /

  • สามารถนำข้อมูลและแบบจำลองที่ได้ ไปใช้ในการทำนายการไหลของน้ำบาดาลในแอ่งเชียงใหม่ เพื่อนำไปใช้ในการจัดการและดูแลระบบน้ำบาดาลในแอ่งเชียงใหม่
2
  ด้านสิ่งแวดล้อม
2

การศึกษาจลนพลศาสตร์การรับเข้าและส่งออกโลหะหนัก และสารกัมมันตรังสี โดยหอยสองฝาบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง โดยเทคนิคติดตามรอยรังสี

  • ผลการวิจัยที่ได้ สามารถนำไปใช้ในการประเมินความปลอดภัยของสถานีวิจัยนิวเคลียร์ กำหนดเกณฑ์ในการระบายทิ้งกากของเหลวอุตสาหกรรม และกากกัมมันตรังสีสู่สภาพแวดล้อมชายฝั่ง และเพื่อใช้ในมาตรการ การตรวจติดตามและการจัดการสภาพแวดล้อมชายฝั่ง
3
3

การพัฒนาศักยภาพการวิเคราะห์สารพิษชีวภาพ (พิษอัมพาตจากหอย ) โดยเทคนิคเชิงนิวเคลียร์

  • เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ในกรณีที่การผลักดันวิธีนี้เข้าในมาตรฐานของ AOAC ได้เป็นผลสำเร็จ นอกจากนั้นการพัฒนาศักยภาพให้กับห้องปฏิบัติการระดับท้องถิ่น จะช่วยส่งเสริมแผนงานเฝ้าระวัง การเกิดปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี โดยแพลงค์ตอนพืชที่เป็นพิษ
2
4

การพัฒนาชุดตรวจวิเคราะห์ซาสิทอกซิน(Saxitoxin) ด้วยเทคนิค Receptor Binding Assay

  • เนื่องจากสารติดฉลากดังกล่าว ไม่มีขายในท้องตลาดในขณะนี้ ดังนั้นการเตรียมสารติดฉลากนี้ขึ้น
  1. เพื่อให้บริการแก่ผู้ที่ต้องการใช้สารติดตามนี้ในราคาที่เหมาะสม
  2. สามารถให้บริการตรวจหาปริมาณสารพิษ ในตัวอย่างอาหารทะเล หรือตัวอย่างอื่นๆที่ต้องสงสัย โดยเทคนิค Receptor Binding Assay
  3. สามารถผลิตสารติดฉลากได้ตามวัตถุประสงค์ (high specific activity) และมีปัจจัยที่เหมาะสม อาจเพิ่มขนาดการผลิต จนสามารถรองรับความต้องการใช้สารติดฉลากดังกล่าวในภูมิภาค
  4. เป็นแนวทางเพื่อพัฒนาเทคนิคการติดฉลากสารพิษ หรือสารอินทรีย์อื่นๆ กับสารไอโซโทปรังสีที่ เหมาะสมเพื่อใช้วิเคราะห์สารพิษอื่นๆในตัวอย่างต่อไป
3
5

การประเมินการปนเปื้อนของอะทราซีนในสิ่งแวดล้อม ด้วยเทคนิคเรดิโออิมมูโนเอสเสย์

  • การวิจัยนี้เป็นการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ นอกเหนือจากงานด้านการแพทย์ ที่โครงการผลิตไอโซโทปรังสี กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากใช้หลักการวิเคราะห์คล้ายคลึงกัน เป็นการต่อยอดความรู้ของนักวิจัย และการใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น โดยปัจจุบัน การดูแลและเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารพิษในสิ่งแวดล้อม กำลังได้รับความสนใจจากหน่วยงานของภาครัฐ ดังนั้นการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ที่สะดวก รวดเร็ว และได้ผลถูกต้อง แม่นยำ จะช่วยให้การเฝ้าระวังมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งนี้ จะเริ่มที่การวัดการปนเปื้อนของอะทราซีน ซึ่งเป็นสารกำจัดวัชพืช ที่มีการใช้มากในประเทศ และมีรายงานจากต่างประเทศว่า มีความเป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง หากได้รับสารตกค้างชนิดนี้จากแหล่งน้ำและดินที่มีการปนเปื้อน ดังนั้น การสำรวจเบื้องต้นในการวิจัยนี้ จะช่วยประเมินความเสี่ยงของประชาชน ในพื้นที่ที่มีการใช้อะทราซีนในการเกษตรได้ หากการวิจัยได้ผลดี จะได้นำเทคนิคดังกล่าว ไปเผยแพร่แก่หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปใช้ในทุกพื้นที่ของประเทศ และสามารถขยายผลการวิจัย ไปสู่การผลิตชุดน้ำยาตรวจวิเคราะห์ สารกำจัดวัชพืช และสารกำจัดแมลง ชนิดอื่นๆ ต่อไปในอนาคต
1
6

การศึกษาส่วนของดีเอ็นเอที่ควบคุมการแสดงออกของยีน (promoter) ของแบคทีเรียที่ตอบสนองต่อสารตกค้างในสิ่งแวดล้อม

  • ได้ promoter ของแบคทีเรียที่ตอบสนองต่อการมีสารตกค้าง จำพวกไซยาไนด์ หรือสารกัมมันตรังสีในสภาวะแวดล้อม
  • สามารถพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้ ไปเป็นต้นแบบของชุดตรวจสอบสารตกค้างเชิงชีวภาพ ที่ใช้งานได้ในภาคสนาม
3
  ด้านความปลอดภัย
7

การศึกษาพลาสติกที่ใช้ในการเก็บกักกากกัมมันตรังสี

  • สามารถผลิตภาชนะเก็บกักกากกัมมันตรังสีที่ทำจากพลาสติกใหม่  ให้โครงการจัดการกากกัมมันตรังสี นำไปใช้ในงานเก็บกักกากกัมมันตรังสี
2
8

การป้องกันการเสียหายทางเศรษฐกิจและการป้องกันอันตรายจากรังสี ที่เกิดจากการหลอมเศษโลหะนำเข้าที่ปนเปื้อนรังสี

  • ข้อมูลและความรู้ที่ได้จากโครงการวิจัยทั้งสองโครงการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติจะนำข้อมูลเหล่านี้ใช้ในการกำกับดูแล การใช้ประโยชน์และการป้องกันอันตรายจากรังสี  รวมถึงสามารถนำข้อมูลที่ได้ เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของรังสี ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ของประชาชนและผู้ปฏิบัติงาน ส่วนผู้ประกอบการ จะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการบำบัดกากและเปลี่ยนเตาหลอม 
3
9

การประเมินปริมาณรังสีในผลิตภัณฑ์ซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างในประเทศไทย

  • สามารถตอบคำถามว่า มีปริมาณสารรังสีอยู่ในในผลิตภัณฑ์ซีเมนต์ และวัสดุก่อสร้างในประเทศไทย มากน้อยเท่าไร มีอันตรายหรือไม่ และเป็นแนวทางให้แก่ผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์ซีเมนต์ และวัสดุก่อสร้าง ที่ไม่เป็นอันตรายต่อประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดมาตรฐานของประเทศ ในด้านนี้ต่อไป 
3
  ด้านโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาคุณภาพ
10

โครงการจัดทำฐานข้อมูลด้านพลังงานนิวเคลียร์

  • เป็นแหล่งข้อมูลอันเป็นประโยชน์ ต่อการวางแผนและจัดการ ด้านพลังงานของประเทศ
    สำหรับการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ด้านพลังงานนิวเคลียร์
2
11

การพัฒนากระบวนการเตรียมและประกันคุณภาพของเภสัชรังสี เพื่อการใช้งานทางคลีนิก

  1. ได้กระบวนการที่ดีในการเตรียมเภสัชรังสีมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และห้องปฏิบัติการทางด้านเภสัชรังสีที่ได้มาตรฐานสากล
  2. นักวิจัยได้รับการฝึกให้มีความรู้ความชำนาญ ทางด้านการผลิตสารเภสัชรังสีแนวใหม่  และมีทักษะในงานวิจัยระดับสูงขึ้นได้
  3. ได้สารรังสีชนิดใหม่ที่มีความจำเพาะ ความไวสูงกว่าเดิม โดยมีราคาเหมาะสม สำหรับผู้ป่วยทั่วไปในการใช้ยาชนิดนี้
  4. ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายน้อยลง
  5. ผลิตสารเภสัชรังสีเป็นสินค้าส่งออกได้ในอนาคต
3
12

การพัฒนาห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางนิวเคลียร์ เพื่อสนับสนุนงานด้านมาตรวิทยาเคมีในประเทศไทย

  • ผลสำเร็จของโครงการวิจัย จะช่วยจัดระบบการดำเนินการวิเคราะห์ ของห้องปฏิบัติการนิวเคลียร์ ซึ่งปัจจุบันได้ให้บริการวิเคราะห์ แก่ภาครัฐ และเอกชนที่ขอบริการมาโดยตลอด แก้ปัญหาในการดำเนินงานของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารมาตรฐานข้าวเจ้า เพื่อการวิจัยที่ต่อเนื่อง และสามารถพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์เคมี ซึ่งสามารถเปรียบเทียบกับห้องปฏิบัติการอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ และเพื่อการให้บริการวิเคราะห์ โดยเทคนิคเชิงนิวเคลียร์ ที่สามารถอ้างอิงสู่มาตรฐานสากลได้ ทั้งนี้สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ได้สร้างเครือข่ายห้องปฏิบัติการเคมี และทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่ได้ สู่ผู้สนใจต่อไป 
4
13

การศึกษาธาตุองค์ประกอบทางโภชนาการ และธาตุที่เป็นพิษในอาหารไทย โดยเทคนิคเชิงนิวเคลียร์

  • ข้อมูลและความรู้ที่ได้จากโครงการวิจัยนี้ สถาบันวิจัยโภชนาการ องค์การอาหารและยา สำนักงานมาตรฐานอาหาร และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรแห่งชาติ หรือ FAO/WHO จะสามารถนำข้อมูลที่ได้เพื่อจำแนก และกำหนดค่ามาตรฐานของอาหาร หรือนำไปเพื่อเป็นข้อมูล สำหรับการส่งเสริมการบริโภคอาหารไทย เพื่อสนับสนุนนโยบาย "ครัวของโลก" เป็นต้น  
4
14

การศึกษาองค์ประกอบธาตุในฝุ่นละอองอากาศ แหล่งกำเนิด และแนวโน้ม มลภาวะทางอากาศในประเทศไทย

  • ผลการวิจัยที่ได้สามารถนำไปใช้ในการศึกษาคุณภาพอากาศ ประเมินสภาวะ แหล่งและผลกระทบของมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน
3
15

การพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการ ในการวิเคราะห์ยูเรเนียมและทอเรียมโดยเทคนิค ICP

  • ได้วิธีการวิเคราะห์ธาตุยูเรเนียมและทอเรียมที่มีมาตรฐาน และห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ ผลวิเคราะห์ได้รับความเชื่อถือและยอมรับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ สนับสนุนการศึกษาวิจัยทางนิวเคลียร์ และอุตสาหกรรมเหมืองแร่
2
การแพทย์และสาธารณสุข
16

การผลิต 131I-MIBG แบบไม่เติมแคริเออร์ เพื่อใช้รักษาโรคมะเร็งที่ระบบประสาท

  1. ได้สารเภสัชภัณฑ์รังสีที่ดี  มีประสิทธิผลในการรักษาและไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ หรืออวัยวะปกติ
  2. เป็นการพัฒนางานวิจัยด้านไอโซโทปรังสี เพื่อใช้ในการวินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยมะเร็ง และเป็นความรู้พื้นฐาน ในการเตรียมสารติดฉลาก แบบไม่เติมแคริเออร์ ในการใช้งานด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  3. พัฒนางานด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ของประเทศ  และเผยแพร่ความรู้ สู่บุคลากรทางการแพทย์หรือประชาชนทั่วไป
  4. ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับประเทศหรือระดับนานาชาติ
3
17

การสังเคราะห์ 11 แอลฟา-ไฮดรอกซี โปรเจสเตอโรน กลูคูโรไนด์

  • ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งจะลดต้นทุน สำหรับชุดน้ำยาตรวจวิเคราะห์ ปริมาณโปรเจสเตอโรนในซีรัม และทำให้งานบริการดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
2
18

การติดฉลากและการประเมินผลภาพถ่ายทางรังสีของ แอนติ-ซีดี20-ไอโอดีน-131 เพื่อนำมาใช้รักษามะเร็ง Non-Hodgkin's Lyphomas

  • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ หลังจากผ่านการศึกษา และประเมินผลทางพลีคลินิกแล้ว โครงการผลิตไอโซโทปรังสี จะพิจารณาผลิตสารติดฉลากดังกล่าว เพื่อใช้ในการศึกษาทางคลินิก ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง NHL ต่อไป
2
  ด้านอุตสาหกรรม
19

การเพิ่มศักยภาพในการผลิตอัญมณีฉายรังสี เพื่อการส่งออก ด้วยเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยของประเทศไทย

  • ใช้เป็นเทคโนโลยีในการผลิตโทแพซฉายรังสี โดยใช้นิวตรอนจากเครื่องปฏิกรณ์ ปรมาณูวิจัย โดยสามารถให้บริการแก่ภาคเอกชน ได้มากถึงปีละกว่า 400 กิโลกรัม หรือ 2,000,000 กะรัต
1
20

การทำแผ่นกรองฟิล์มบางแทรคเอตช์โดยใช้ฟิล์มโพลิอิไมด์

  • ใช้เป็นเทคโนโลยีในการผลิตแผ่นกรองฟิล์มบาง โดยใช้อนุภาคจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ทำให้ได้แผ่นกรองฟิล์มบาง ที่มีรูพรุนขนาดสม่ำเสมอ สำหรับใช้ในงานด้านจุลชีววิทยา การแพทย์ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม หรืออุตสาหกรรม
1
21

การเตรียมอนุภาคฟังชันนัลพอลิเมอร์ขนาดนาโนเมตร โดยใช้รังสีแกมมา และการพัฒนาชุดแผ่นทดสอบ สำหรับใช้ตรวจวิเคราะห์ สารชีวะโมเลกุลขนาดเล็ก จากอนุภาคฟังชันนัลพอลิเมอร์ที่เตรียมได้

  1. สามารถตรวจสอบระดับฮอร์โมนในน้ำนมโคได้แม่นยำมากขึ้น
  2. การทดสอบมีความสะดวก รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก เกษตรกร สามารถทำเองได้ที่ฟาร์ม
  3. ลดการนำเข้าของสารที่ใช้เตรียมชุดทดสอบการตั้งท้อง ซึ่งมีราคาแพง
  4. สามารถเพิ่มผลผลิตน้ำนมได้เพิ่มมากขึ้น สนองความต้องการของผู้บริโภค ภายในประเทศ
2
22

การเตรียมไฮโดรเจลจากฟิโบรอินของไหม โดยใช้เทคนิคทางรังสี เพื่อเป็นวัสดุปิดแผลที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

  1. เป็นการใช้ประโยชน์ของนิวเคลียร์เทคนิค เพื่อการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
  2. เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศ ส่งเสริมให้มีการสนับสนุน ในการผลิตวัสดุชีวภาพ ยังผลให้เพิ่มความสามารถต่อประเทศ ในการพึ่งตนเอง ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้า ของผลิตภัณฑ์ชีวภาพได้
2
23

การสังเคราะห์อนุภาคนาโนของซีเรียมออกไซด์ด้วยวิธีไมโครอิมัลชัน

  • สามารถได้เทคโนโลยีในการสังเคราะห์อนุภาคนาโนของซีเรียม ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการสังเคราะห์อนุภาคนาโน ของธาตุหายากอื่นๆ และนำเทคโนโลยีนี้ ไปประยุกต์ใช้ ในการผลิตสารเร่งปฏิกิริยา ที่มีซีเรียมและธาตุหายาก เป็นองค์ประกอบต่อไป ซึ่งหากทำได้สำเร็จ คาดว่าจะสามารถสารเร่งปฏิกิริยา ที่มีราคาถูกลง โดยใช้วัตถุที่มีอยู่ในประเทศ เป็นการลดการนำเข้าได้ด้วย
2
24

การใช้ซีเรียมออกไซด์ในการผลิตสารเร่งปฏิกิริยา สำหรับการฟอกไอเสียรถยนต์

  • สามารถได้เทคโนโลยีในการผลิตสารเร่งปฏิกิริยา ที่ใช้ในการฟอกไอเสียรถยนต์ โดยไม่ต้องใช้โลหะแพลตตินัม ที่มีราคาสูง ด้วยการใช้ประโยชน์จากซีเรียม ซึ่งเป็นธาตุหายากที่พบในประเทศ ผลงานวิจัยนี้ สามารถนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ โดยอุตสาหกรรมผลิตท่อไอเสียรถยนต์
2
25

การผลิตผงไหมที่มีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ด้วยรังสีแกมมาร่วมกับ

  • ในการนี้จะทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมไม่น้อยกว่า 15,000 ราย มีรายได้เพิ่มขึ้น จากการจำหน่ายเศษรังไหมและเศษเส้นไหม และรายได้จากการเพิ่มผลผลิตรังไหม เพื่อส่งให้ผู้ประกอบการ ผลิตผงไหม เกิดธุรกิจขนาดย่อม และใหญ่ขึ้นมาตามลำดับ อันเป็นผลทางเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีผลทางด้านวัฒนธรรม คือ ทำให้อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมไทย คงอยู่คู่แผ่นดินไทยตลอดไป
2
26

การผลิตผงไหมและประยุกต์ใช้ทำผลิตภัณฑ์

  • ทราบคุณสมบัติและส่วนประกอบของผงไหม เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • มีการนำผงไหมไปใช้เพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์อาหาร
  • ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่มีประโยชน์
  • มีการนำผงไหมมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
3
27

การปรับปรุงสายพันธุ์ของยีสต์ที่ใช้ในการผลิตสีโดยการฉายรังสี

  • ได้  Phaffia rhodozyma ที่ผลิตสารสี (แอสทาแซนทิน) ได้สูงมากขึ้น รวมทั้งมีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง  อุตสาหกรรมอาหาร และทางด้านการเกษตร โดยเพิ่มคุณค่าในอาหารสัตว์  มีผลทำให้การนำเข้าสารสีจากต่างประเทศมีมูลค่าลดลง
5
28

การทดลองวางตลาดเครื่องเทศ และสมุนไพรฉายรังสี

  • ผลิตภัณฑ์เครื่องเทศและสมุนไพรฉายรังสี เป็นผลิตภัณฑ์อาหารฉายรังสี ที่สะอาด ถูกสุขอนามัย และ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนูญาตจาก อย. เมื่อได้รับการเผยแพร่ ให้เป็นที่รู้จักของประชาชน ทำให้เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภค ที่นำไปรับประทาน โดยไม่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ ทำให้สุขอนามัยของประชาชนดีขึ้น  ไม่เกิดปัญหาต่อการสาธารณสุขของประเทศ
3
29

การลดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในสมุนไพร

  • ผู้บริโภคใช้ยาสมุนไพรได้อย่างปลอดภัย
  • ความสูญเสียของผู้ประกอบการลดลง
  • สามารถส่งออกได้มากขึ้น
2
30

การปรับปรุงคุณภาพและยืดอายุการเก็บปลาหม่ำและปลาจ่อมด้วยรังสีแกมมา

  • ผลการวิจัยสามารถนำไปแก้ปัญหาการมีเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค ในผลิตภัณฑ์ปลาหม่ำและปลาจ่อม ของกลุ่มผู้ผลิตปลาหม่ำและปลาจ่อม ในจังหวัดสุพรรณบุรีได้
2
31

การฉายรังสีกุ้งจ่อมและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการฉายรังสีอาหาร

  • เมื่อผู้ประกอบการผลิตกุ้งจ่อม ปรับปรุงระบวนการผลิต ให้ถูกสุขลักษณะ และมีการนำไปฉายรังสี จะทำให้กุ้งจ่อมมีความปลอดภัยต่อการบริโภค ช่วยให้ผู้ผลิตกุ้งจ่อม มีโอกาสได้รับการพิจารณา ให้ได้รับใบอนุญาต ใช้ฉลากกุ้งจ่อมฉายรังสีจาก อย. ซึ่งมีผลทำให้ผู้บริโภค มีความเชื่อมั่นต่อผลิตภัณฑ์กุ้งจ่อมเพิ่มขึ้น ทำให้ขายได้มากขึ้น และขายได้ราคาเพิ่มขึ้นด้วย เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกุ้งจ่อม
2
  ด้านการเกษตร
32

การวิจัยพัฒนาชุดน้ำยาตรวจการตั้งครรภ์ของสุกรด้วยเทคนิคอิมมูโนเอสเสย์

  • เป็นการเพิ่มศักยภาพของหน่วยงาน โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคเรดิโออิมมูโนเอสเสย์ ในงานด้านต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง สามารถลดค่าใช้จ่าย ต้นทุน ในการตรวจวิเคราะห์  เนื่องจากไม่ต้องนำเข้าชุดตรวจวิเคราะห์จากต่างประเทศ ที่มีราคาแพง เป็นการประหยัดเงินตราของประเทศ และช่วยให้งานบริการ เป็นไปอย่างยั่งยืน และพึ่งพาตนเอง นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในการที่จะเพิ่มผลผลิตสัตว์เศรษฐกิจ
2
33

การค้นหาเครื่องหมายดีเอ็นเอสำหรับลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง ในข้าวขาวดอกมะลิพันธุ์กลาย

  1. ได้ดีเอ็นเอเครื่องหมายสำหรับลักษณะพันธุ์กลาย ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง และปริมาณไฟเตตต่ำ
  2. สามารถนำไปใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ เพื่อถ่ายทอดลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง หรือลักษณะไฟเตตต่ำไปยังข้าวพันธุ์อื่น ด้วยวิธี marker-assisted selection ทำให้คัดเลือกได้ ในขณะที่ข้าวยังเป็นต้นกล้า ไม่เป็นการทำลายต้นข้าว ทั้งยังช่วยลดพื้นที่ แรงงาน และระยะเวลาในการปลูกทดสอบพันธุ์ต่อไป
  3. เป็นองค์ความรู้ในการทำวิจัยต่อไป
5
34

การค้นหาดีเอ็นเอเครื่องหมายสำหรับลักษณะปริมาณไฟเตตต่ำในข้าวพันธุ์กลาย

  1. ได้ดีเอ็นเอเครื่องหมายสำหรับลักษณะพันธุ์กลาย ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง และปริมาณไฟเตตต่ำ
  2. สามารถนำไปใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ เพื่อถ่ายทอดลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง หรือลักษณะไฟเตตต่ำไปยังข้าวพันธุ์อื่น ด้วยวิธี marker-assisted selection ทำให้คัดเลือกได้ ในขณะที่ข้าวยังเป็นต้นกล้า ไม่เป็นการทำลายต้นข้าว ทั้งยังช่วยลดพื้นที่ แรงงาน และระยะเวลาในการปลูกทดสอบพันธุ์ต่อไป
5
35

การค้นหาดีเอ็นเอเครื่องหมายสำหรับลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง และปริมาณไฟเตตต่ำ ในข้าวพันธุ์กลาย

  1. ได้ดีเอ็นเอเครื่องหมายสำหรับลักษณะพันธุ์กลาย ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง และปริมาณไฟเตตต่ำ
  2. สามารถนำไปใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ เพื่อถ่ายทอดลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง หรือลักษณะไฟเตตต่ำไปยังข้าวพันธุ์อื่น ด้วยวิธี marker-assisted selection ทำให้คัดเลือกได้ ในขณะที่ข้าวยังเป็นต้นกล้า ไม่เป็นการทำลายต้นข้าว ทั้งยังช่วยลดพื้นที่ แรงงาน และระยะเวลาในการปลูกทดสอบพันธุ์ต่อไป
  3. เป็นองค์ความรู้ในการทำวิจัยต่อไป
6
36

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ โดยการฉายรังสีนิวตรอน และการเพาะเลี้ยงอับละอองเกสร

  • ได้สายพันธุ์ข้าวหอมที่มีผลผลิตสูง คุณภาพเมล็ดดี ต้านทานโรคและแมลงศัตรูข้าว ได้แก่โรคไหม้ และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
5
37

การวิเคราะห์การกลายพันธุ์ในบัวโดยสารไอโซโทปรังสี  32P

  1. ได้พันธุ์บัวหลวงหลากสีสรร โดยเฉพาะสีเหลืองซึ่งไม่มีอยู่ในประเทศไทย
  2. ได้พันธุ์บัวสายชนิดใหม่ๆ โดยเฉพาะบัวจงกลนีพันธุ์ใหม่
  3. ได้ทราบถึงความใกล้ชิดทางพันธุกรรมในพืชตระกูลบัว
  4. เพื่อเป็นประโยชน์พื้นฐานในอนาคตในการถ่ายยีน หรือ การเปลี่ยนแปลงยีนในไม้ดอกเศรษฐกิจอื่นๆ ให้เกิดดอกที่ไม่มีเกสร กลีบดอกซ้อน ผลสำเร็จที่ได้รับจะถูกถ่ายทอดให้ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือกรมส่งเสริมการเกษตร
5
38

การศึกษาการกลายพันธุ์ในบัวฉายรังสี

  1. ได้พันธุ์บัวหลวงหลากสีสรร โดยเฉพาะสีเหลืองซึ่งไม่มีอยู่ในประเทศไทย
  2. ได้พันธุ์บัวสายชนิดใหม่ๆ โดยเฉพาะบัวจงกลนีพันธุ์ใหม่
  3. ได้ทราบถึงความใกล้ชิดทางพันธุกรรมในพืชตระกูลบัว
  4. เพื่อเป็นประโยชน์พื้นฐานในอนาคตในการถ่ายยีน หรือ การเปลี่ยนแปลงยีน ในไม้ดอกเศรษฐกิจอื่นๆ ให้เกิดดอกที่ไม่มีเกสร กลีบดอกซ้อน ผลสำเร็จที่ได้รับจะถูกถ่ายทอดให้ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือกรมส่งเสริมการเกษตร
5
39

การศึกษาพันธุ์บัวฉายรังสี

  1. ได้พันธุ์บัวหลวงหลากสีสรร โดยเฉพาะสีเหลืองซึ่งไม่มีอยู่ในประเทศไทย
  2. ได้พันธุ์บัวสายชนิดใหม่ๆ โดยเฉพาะบัวจงกลนีพันธุ์ใหม่
  3. ได้ทราบถึงความใกล้ชิดทางพันธุกรรมในพืชตระกูลบัว
  4. เพื่อเป็นประโยชน์พื้นฐานในอนาคตในการถ่ายยีน หรือ การเปลี่ยนแปลงยีน ในไม้ดอกเศรษฐกิจอื่นๆ ให้เกิดดอกที่ไม่มีเกสร กลีบดอกซ้อน ผลสำเร็จที่ได้รับจะถูกถ่ายทอดให้ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือกรมส่งเสริมการเกษตร
6
40

การยืดอายุการเก็บเห็ดสดด้วยการฉายรังสีแกมมาร่วมกับการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ

  • การฉายรังสีร่วมกับการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำจะชะลอการบาน และเสื่อมคุณภาพของเห็ดสด ทำให้อายุการวางตลาดนานขึ้น  เกษตรกรผู้เพาะเห็ด สามารถเพิ่มกำลังการผลิต และส่งไปจำหน่ายยังที่ห่างไกล เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
2
41

การปรับปรุงสายพันธุ์เห็ดฟางให้มีผลผลิตสูงหรือมีคุณภาพดีด้วยรังสีแกมมา

  • งานวิจัยนี้ทำให้ได้ผลผลิตเห็ดฟางเพิ่มขึ้น 5%  และคาดหวังว่า  มีผู้นำเชื้อเห็ดฟาง สายพันธุ์ใหม่ ไปใช้เพาะในฟาร์มประมาณ 3% ของผู้ผลิตทั้งหมดของประเทศ จากข้อมูลผลผลิตเห็ดฟางในประเทศ 84,000 ตัน/ปี  ดังนั้นคาดว่า  ผลผลิตเห็ดฟางเพิ่มขึ้นเท่ากับ 126 ตัน/ปี เกษตรกรขายเห็ดฟาง แก่พ่อค้าในราคา 40 บาท/กก. คิดเป็นเงินเพิ่มขึ้น 5,040,000 บาท/ปี
4
42

การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในดอกไม้จีนด้วยรังสี

  • ได้พันธุ์ดอกไม้จีนที่มีลักษณะสีสรรหลากหลาย และต้นทรงพุ่ม
5
43

การพัฒนาดีเอ็นเอเครื่องหมายเพื่อใช้ในการทำ marker-assisted breeding สำหรับลักษณะต้านทานโรคไวรัสเส้นใบเหลืองในกระเจี๊ยบเขียวพันธุ์กลาย

  • ได้ดีเอ็นเอเครื่องหมาย สำหรับลักษณะต้านทานโรคเส้นใบเหลือง ในกระเจี๊ยบเขียว ที่จะนำมาใช้ในงาน marker-assisted breeing ได้ เป็นการช่วยร่นระยะเวลา และลดเนื้อที่เพาะปลูก ในการคัดเลือกพันธุ์ที่มาจากการผสมข้ามสายพันธุ์
5
44

การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในสบู่ดำด้วยรังสี

  • ได้พันธุ์สบู่ดำที่มีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิต
6
45

การปรับปรุงสายพันธุ์แมลงวันผลไม้ เพื่อสนับสนุนการควบคุมและกำจัด โดยเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน

  1. ได้ Morphological marker ในดักแด้
  2. ได้ Morphological marker ในตัวเต็มวัย
  3. สัดส่วนการเกิดเพสผู้สูงกว่าเพศเมีย
3
46

การควบคุมแมลงวันผลไม้แบบพื้นที่กว้าง โดยเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน ผสมผสานร่วมกับวิธีการอื่น

  • สามารถลดการระบาดแมลงวันผลไม้ให้อยู่ในระดับต่ำ  ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย ทางเศรษฐกิจ โดยกลุ่มเกษตรกร หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล  จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่อื่นๆได้
4
47

การผลิตข้าวสารอินทรีย์ แตงโมอินทรีย์ และพริกอินทรีย์จังหวัดยโสธร

  1. พันธุ์ปลูกข้าว แตงโม พริกอินทรีย์ 5,000 ไร่
  2. เกษตรกรมีความรู้และทักษะในการปลูกพืชอินทรีย์
  3. ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย
  4. รัฐบาลประหยัดค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็ง จากการบริโภคสารพิษปีละ 45,000 คน
  5. การส่งออกทำรายได้เพิ่ม 10 เท่าตัวของสินค้าที่ใช้สารเคมี
4