Nuclear Science
STKC 2555

ตำนานจากยุคอะตอม
ตำนานสี่เรื่องของจอร์จ เดอเฮเวชี : เรื่องที่ 2 เฮเวชีกับเจ้าบ้านสตรี

โดย พอล เฟรม

ตำนานทั้งสี่เรื่องนี้เล่าไว้ครั้งแรกในจดหมายข่าวสมาคมนักฟิสิกส์สุขภาพ

สุรศักดิ์ พงศ์พันธุ์สุข
ฝ่ายจัดการองค์ความรู้
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

          ในระหว่างเฮเวชีกำลังหาประสบการณ์อยู่ที่แมนเชสเตอร์ เห็นได้ชัดว่าเฮเวชีค่อย ๆ ไม่มีความสุขกับบ้านพักที่เขาอาศัยอยู่ (เป็นเรื่องช่วยไม่ได้ เพราะสถานที่นี้รัทเทอร์ฟอร์ดเป็นคนแนะนำ) บางทีอาการอาหารไม่ย่อยบ่อย ๆ ของเขา ทำให้เขาช่างเลือกในการกินมากกว่าเคย (Badash 1969) ในหลาย ๆ เหตุการณ์ ทำให้เขาเชื่อว่าเจ้าของบ้านสตรีของเขามีนิสัยน่ารังเกียจประการหนึ่งคือ เธอชอบเก็บอาหารเก่ากลับมาหมุนเวียนทำอาหารมื้อต่อ ๆ มา เฮเวชีเคยบอกให้เธอเตรียมอาหารประเภทเนื้อที่เตรียมสดใหม่ ให้มากกว่าสัปดาห์ละครั้ง แต่เขากลับต้องอารมณ์เสีย เพราะเธอยืนยันว่า เขาบังอาจมากล่าวหาเธอได้อย่างไร ว่าไม่ได้เตรียมอาหารด้วยเครื่องปรุงสดใหม่มาให้กิน ซึ่งเฮเวชีทำใจเชื่อไม่ลง ดังนั้น เขาจึงหาจังหวะเหมาะที่จะจับผิด ดังนั้น ในวันอาทิตย์ที่มาถึงนั้นเอง เฮเวชีก็แอบใส่สารกัมมันตรังสีลงในอาหารที่เขาเหลือไว้ในจานอาหารของเขา


"สัปดาห์ก่อนผมไม่ชอบกินไอ้นี่ สัปดาห์นี้ทำไม่ผมต้องชอบกินไอ้นี่ด้วย" (UIC)

          หลายวันต่อมา เครื่องวัดไฟฟ้าที่เรียกว่า อิเล็กโทรสโคป ที่เขาแอบนำเข้าไปในห้องอาหาร ก็เผยความจริงออกมาว่าในจานอาหารของเขามีตัวแกะรอยอยู่—เนื้อบดกัมมันตรังสีราดน้ำเกรวี ว้าว ! เมื่อเจ้าบ้านสตรีเผชิญกับหลักฐานที่เถียงไม่ขึ้นเช่นนี้ สิ่งที่เธอทำได้ก็เพียงการพูดแก้ขวยว่า “นี่ยังกับเล่นกลแน่ะ !” การตรวจสอบด้วยตัวแกะรอยครั้งแรกประสบความสำเร็จ ในการติดตามเนื้อที่กินไม่หมดเมื่อมื้อวันอาทิตย์ ไปยังเครื่องบดเนื้อในครัว ลงไปในหม้อปรุงเนื้อบด และย้อนกลับมาบนโต๊ะในห้องอาหาร (Brecher and Brecher 1969, Myers 1979)


(http://cwx.prenhall.com/bookbind/pubbooks/walker2/chapter32/essay2/deluxe-content.html)

          จนถึงทุกวันนี้ ยังน่าสงสัยว่า จะมีการศึกษาด้วยตัวแกะรอยกัมมันตรังสีครั้งใด ที่ตอบสนองความพอใจส่วนตัวได้มากกว่าครั้งนี้บ้างหรือไม่ !

หมายเหตุ
          จอร์จ เดอเฮเวชี ชาวฮังการี เกิดเมื่อปี 1885 เป็นนักฟิสิกส์และนักเคมี และได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีเมื่อปี 1943 จากผลงานการใช้ไอโซโทปหลายชนิด เป็นตัวแกะรอยสำหรับศึกษากระบวนการทางเคมี เขาเป็นบุคคลแรกที่ใช้เทคนิคตัวแกะรอยกัมมันตรังสีในทางชีววิทยา และต่อมาก็ใช้กับการวิจัยทางการแพทย์ นอกจากนี้เฮเวชียังค้นพบการวิเคราะห์โดยการเรืองรังสีเอกซ์ (X-ray fluorescence analysis) และร่วมค้นพบธาตุลำดับที่ 72 ในตารางพีริออดิก อันได้แก่ แฮฟเนียม (hafnium) เฮเวชีถึงแก่กรรมเมื่อปี 1966

 

จากเรื่องชุด

— Tales from the Atomic Age —

เรื่อง

—Second Story: Hevesy and the Landlady

เขียนโดย

—  Paul W. Frame

เอกสารอ้างอิง

  • Badash, L. Rutherford and Boltwood, letters on radioactivity. Yale University Press, New Haven; 1969.
  • Brecher, R.; Brecher, E. The rays - A history of radiology in the United States and Canada. Baltimore, MD: Williams and Wilkins Company; 1969.
  • Myers, W.G. Georg de Hevesy: The father of nuclear medicine. J. Nuc. Med. 20 (6): 590-594; 1979.
โพสต์เมื่อ : 21 กันยายน 2555