ตารางนี้เปรียบเทียบอันดับของขนาด (order of magnitude) ของปริมาณรับรังสีจากน้อยไปหามากในหน่วยของ ปริมาณรังสีสมมูล (dose equivalent) คือ มิลลิซีเวิร์ต (millisievert หรือย่อว่า mSv คือ 1 ใน 1,000 ของซีเวิร์ต) สำหรับระยะเวลาของการรับรังสี (duration) กรณีที่ปริมาณรังสีเดียวกันแต่แสดงไว้หลายค่า กรณีนี้สะท้อนสมมติฐาน ฮอร์มีซีสรังสี (radiation hormesis) ที่ว่า การรับรังสีปริมาณเท่า ๆ กันในแบบ เฉียบพลัน (acute) ซึ่งเป็นการรับรังสีทั้งหมดในคราวเดียว จะให้ผลแตกต่างกันกับการรับรังสีทีละน้อย นาน ๆ ซึ่งอาจเป็นคุณต่อการต้านทานรังสีแก่ร่างกาย เช่น ที่ปริมาณรังสี 100 มิลลิซีเวิร์ต ได้แสดงไว้แบบเฉียบพลัน กับแบบต่อเนื่องนาน 5 ปี ซึ่งคาดคะเนผลไว้ผลต่างกัน นอกจากนี้ยังได้เปรียบเทียบปริมาณรังสีต่อชั่วโมงไว้ด้วย ในหน่วย ไมโครซีเวิร์ต (1 ใน 1,000,000 ซีเวิร์ต)
ปริมาณรังสี (มิลลิซีเวิร์ต) |
ระยะเวลา |
เทียบต่อชั่วโมง (ไมโครมิลลิซีเวิร์ต / ชั่วโมง) |
รายละเอียด |
0.001 |
1 ชั่วโมง |
1 |
ปริมาณรังสีจากรังสีคอสมิก เมื่อเดินทางด้วยเครื่องบิน อยู่ระหว่าง 0.001 ถึง 0.01 ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง และระยะของจุดดับบนดวงอาทิตย์ (solar sunspot phase) |
0.01 |
1 วัน |
0.4 |
รังสีพื้นหลังตามธรรมชาติ (natural background radiation) คิดรวมแก๊สเรดอนแล้ว |
0.06 |
เฉียบพลัน |
- |
เอกซเรย์ปอดด้านหน้าและด้านข้าง (AP+Lat) |
0.09 |
เฉียบพลัน |
- |
เอกซเรย์ฟันทั้งปาก (panoramic) |
0.1 |
รอบปี |
0.011 |
ปริมาณรังสีเฉลี่ยจากสินค้าเพื่อการบริโภค (consumer products) ในสหรัฐอเมริกา |
0.15 |
รอบปี |
0.017 |
มาตรฐานการชำระล้าง (cleanup standard) ของ EPA ประเทศสหรัฐอเมริกา (Environmental Protection Agency หรือ US EPA) |
0.25 |
รอบปี |
0.028 |
ระดับปลอดภัยสำหรับแต่ละ ที่ตั้ง / แหล่งกำเนิดรังสี (individual sites/sources]) ตามมาตรฐานของสำนักงานกำกับทางนิวเคลียร์ ของสหรัฐอเมริกา (Nuclear Regulatory Commission หรือ US NRC) |
0.27 |
รอบปี |
0.031 |
ปริมาณรังสีจากรังสีคอสมิกตามธรรมชาติ ในสหรัฐอเมริกา (ที่ราบชายหาด 0.16 และด้านตะวันออกของเขารอกกี 0.63) |
0.28 |
รอบปี |
0.032 |
ปริมาณรังสีจากแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาจากพื้นดินตามธรรมชาติ ในสหรัฐอเมริกา |
0.46 |
เฉียบพลัน |
- |
ปริมาณรังสีสูงสุดประเมิน นอกที่ตั้ง จากอุบัติเหตุทรีไมล์ไอแลนด์ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 1979 |
0.48 |
1 วัน |
20 |
ขีดจำกัดปริมาณรับรังสีในที่สาธารณะ ของสำนักงานกำกับทางนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา |
0.66 |
รอบปี |
0.075 |
ปริมาณรังสีจากแหล่งกำเนิดรังสีมนุษย์ทำขึ้น เฉลี่ยในสหรัฐอเมริกา |
0.7 |
เฉียบพลัน |
- |
การถ่ายภาพรังสีเต้านม (mammogram) |
1 |
รอบปี |
0.11 |
ขีดจำกัดของปริมาณรังสีจากแหล่งกำเนิดรังสีที่มนุษย์ทำขึ้น ต่อบุคคลทั่วไปที่มิใช่ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี (ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา) |
1.1 |
รอบปี |
0.13 |
ปริมาณรับรังสีจากอาชีพของผู้ปฏิบัติงานททางรังสีในสหรัฐอเมริกา โดยเฉลี่ยในช่วงปี 1980 |
1.2 |
เฉียบพลัน |
- |
การเอกซเรย์บริเวณท้อง (abdominal X-ray) |
2 |
รอบปี |
0.23 |
- ปริมาณรังสีทางการแพทย์และรังสีพื้นหลังตามธรรมชาติ เฉลี่ยในสหรัฐอเมริกา
- รังสีในร่างกายมนุษย์ (human internal radiation) จากเรดอน ซึ่งแปรตามระดับรังสีจากแก๊สเรดอน
|
2 |
เฉียบพลัน |
- |
ซีทีสแกนบริเวณศีรษะ |
3 |
รอบปี |
0.34 |
ปริมาณรังสีเฉลี่ยในสหรัฐอเมริกา จากทุกแหล่งกำเนิดรังสีตามธรรมชาติ |
3.66 |
รอบปี |
0.42 |
ปริมาณรังสีเฉลี่ยในสหรัฐอเมริกา จากทุกแหล่งกำเนิดรังสี คิดรวมปริมาณรังสีจากการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ |
4 |
ระยะตั้งครรภ์ |
0.6 |
ปริมาณรับรังสีจากอาชีพสูงสุด ของสำนักงานด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์แห่งประเทศแคนาดา (Canadian Nuclear Safety Commission หรือ CNSC) สำหรับหญิงมีครรภ์ที่เป็นผู้ปฏิบัติงานด้านพลังงานนิวเคลียร์ |
5 |
รอบปี |
0.57 |
- ขีดจำกัดการรับรังสีจากอาชีพของ US NRC
สำหรับผู้เยาว์ (10 % ของขีดจำกัดของผู้ใหญ่)
- ขีดจำกัดสำหรับผู้เข้าเยี่ยมชมของ USA NRC
|
5 |
ระยะตั้งครรภ์ |
0.77 |
ขีดจำกัดการรับรังสีจากอาชีพของ USA NRC สำหรับหญิงมีครรภ์ |
6.4 |
รอบปี |
0.73 |
พื้นที่ที่มีรังสีพื้นหลังสูง (High Background Radiation Area: HBRA) ของหยางเจียง (Yangjiang) ประเทศจีน |
7.6 |
รอบปี |
0.87 |
ปริมาณรังสีที่ Fountainhead Rock Place เมืองแซนตาเฟ มลรัฐนิวเม็กซิโก
|
8 |
เฉียบพลัน |
- |
ซีทีสแกนปอด |
10 |
เฉียบพลัน |
- |
- ระดับปริมาณรังสีช่วงเกณฑ์ต่ำ เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ (คำนวณจากช่วง 1 ถึง 5 เร็ม หรือ rem) ที่บุคคลทั่วไปได้รับรังสีถึงในระดับนี้แล้ว ตามแนวทางของ US EPA กำหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องลงมือปฏิบัติการฉุกเฉิน
- ซีทีสแกนช่องท้อง
|
50 |
รอบปี |
5.7 |
ขีดจำกัดการรับรังสีจากอาชีพของ US NRC/CNSC สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านพลังงานนิวเคลียร์ |
100 |
5 ปี |
2.3 |
ขีดจำกัดการรับรังสีจากอาชีพของ CNSC บันทึกตลอดระยะเวลา 5 ปี สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านพลังงานนิวเคลียร์ |
100 |
เฉียบพลัน |
- |
ระดับปริมาณรังสีเฉียบพลันของ US EPA ซึ่งประมาณว่า เพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง 0.8 % |
120 |
30 ปี |
0.46 |
การรับรังสีระยะยาว ขีดจำกัดเกณฑ์ต่ำ และอัตราการตายจากมะเร็งเกณฑ์ต่ำ ที่ได้รับจากพื้นที่ทิ้งสารรังสีทางใต้ของภูเขาอูราล ประเทศรัสเซีย
|
150 |
รอบปี |
17 |
ขีดจำกัดปริมาณรับรังสีจากอาชีพของ US NRC สำหรับเลนส์ตา |
175 |
รอบปี |
20 |
ต้นกำเนิดรังสีตามธรรมชาติที่ชายหาด Guarapari ประเทศบราซิล
|
250 |
2 ชั่วโมง |
125000 (125 mSv) |
ปริมาณรังสีทั่วร่างกาย (whole body dose) รอบเขตหวงห้าม (exclusion zone) ของที่ตั้งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในสหรัฐอเมริกา (แปลงจาก 25 เร็ม) |
250 |
เฉียบพลัน |
- |
ปริมาณรังสีสูงสุดของ US EPA สำหรับอาสาสมัคร เมื่อปฏิบัติการฉุกเฉินที่ไม่มีการช่วยชีวิต |
260 |
รอบปี |
30 |
คำนวณจาก 260 มิลลิเกรย์ / ปี ซึ่งเป็นปริมาณรังสีพื้นหลังตามธรรมชาติสูงที่สุดในโลก ที่เมือง Ramsar อยู่ริมทะเลสาบแคสเปียน ทางตอนเหนือของประเทศอิหร่าน โดยรังสีมาจากน้ำพุร้อน

|
500 |
รอบปี |
57 |
ขีดจำกัดรับรังสีจากอาชีพของ USA NRC ผิวหนังทั่วร่างกาย แขนขา หรืออวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง |
500 |
เฉียบพลัน |
- |
- ขีดจำกัดของ CNSC ประเทศแคนาดา สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านพลังงานนิวเคลียร์ ปฏิบัติหน้าที่เร่งด่วนและจำเป็นระหว่างเหตุฉุกเฉิน
- อาการป่วยจากรังสีตามเกณฑ์ต่ำ จากการรับรังสีระยะสั้น
|
750 |
เฉียบพลัน |
- |
ปริมาณรังสีสูงสุดของ US EPA สำหรับอาสาสมัคร สำหรับงานฉุกเฉินช่วยชีวิต |
1,000 |
1 ชั่วโมง |
1000000 (1000 mSv) |
ระดับที่รายงาน ระหว่างอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ ในบริเวณเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟุกุชิมะ 1
|
3,000 |
เฉียบพลัน |
- |
ปริมาณรังสีสำหรับต่อมไทรอยด์ (เนื่องจากการดูดกลืนไอโอดีน) เกณฑ์สำหรับ exclusion zone ของที่ตั้งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ในสหรัฐอเมริกา (แปลงจาก 300 เร็ม) |
4,800 |
เฉียบพลัน |
- |
ปริมาณรังสีถึงตาย (lethal dose) LD50 (ที่จริงคือ LD50/60 หมายถึง 50 % ของจำนวนผู้ได้รับรังสีระดับนี้ ถึงแก่ความตาย ใน 60 วัน) อันเนื่องมาจากพิษรังสี (radiation poisoning) ต่อมนุษย์ ภายหลังเข้ารับการรักษาทางการแพทย์แล้ว (ประมาณจาก 480 ถึง 540 เร็ม) |
5,000 |
เฉียบพลัน |
- |
คำนวณจากปริมาณรังสีที่ทำให้เสียชีวิต (ประมาณว่า 510 เร็ม) ซึ่ง Harry Daghlian ได้รับเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 1945 ที่ลอสอะลาโมส (Los Alamos)
และปริมาณเกณฑ์ต่ำโดยประมาณ ที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญชาวรัสเซีย เสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 เมษายน 1968 ที่ Chelyabinsk-70 |
5,000 |
|
|
ปริมาณรังสี 5,000 10,000 มิลลิซีเวิร์ต ระดับที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ทนได้ |
21,000 |
เฉียบพลัน |
- |
คำนวณจากปริมาณรังสี (ประมาณว่า 2,100 เร็ม) ซึ่ง Louis Slotin ได้รับเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 1946 ที่ลอสอะลาโมส (Los Alamos)
และปริมาณเกณฑ์ต่ำโดยประมาณ ที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญชาวรัสเซีย เสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 เมษายน 1968 ที่ Chelyabinsk-70 |
48,500 |
เฉียบพลัน |
- |
คำนวณคร่าว ๆ จากปริมาณรังสี (ประมาณ 4,500 + 350 แร็ด) ที่ทำให้นักทำการทดลองชาวรัสเซียเสียชีวิต เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 1997 ที่ Sarov |
60,000 |
เฉียบพลัน |
- |
คำนวณคร่าว ๆ จากปริมาณรังสีระดับต่าง ๆ (ประมาณ 6,000 เร็ม) ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของชาวรัสเซียหลายราย ตั้งแต่ปี 1958 เป็นต้นมา เช่น กรณีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 1971 ที่สถาบันนิวเคลียร์ และระดับเกณฑ์ต่ำโดยประมาณ กรณีการเสียชีวิตที่ลอสอะลาโมสเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 1958 |
100,000 |
เฉียบพลัน |
- |
คำนวณคร่าว ๆ จากปริมาณรังสี (ประมาณ 10,000 แร็ด) สำหรับการเสียชีวิต ที่โรงงานคืนสภาพเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ United Nuclear Fuels Recovery Plant เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 1964 |
200,000 |
1 ชั่วโมง |
170000 นานกว่า 1100 ชั่วโมง (170 มิลลิซีเวิร์ต) |
ปริมาณรับรังสีปริมาณต่าง ๆ ของพนักงานจำนวนหนึ่ง จากเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เชอร์โนบิล |
10,000,000 |
|
|
อุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชนิดทนรังสีส่วนใหญ่ สามารถทนรังสีระดับนี้ได้ |