Nuclear Science
STKC 2555

การขโมยลูกระเบิดนิวเคลียร์ง่ายเพียงใด ?

How easy is it to steal a nuclear bomb?

โกมล อังกุรรัตน์
อดีตผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ไอโซโทปรังสี (เกษียณ)
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)




นักวิทยาศาสตร์จากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ กำลังหิ้วถังที่โรงงานนิวเคลียร์ Tuwaitha ใกล้แบกแดด ที่ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ และอยู่ภายใต้การปกป้องความปลอดภัยก่อนสงคราม

          นับตั้งแต่การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ และตามมาด้วยการแข่งขันทางด้านอาวุธนิวเคลียร์ ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของอาวุธนิวเคลียร์ยังคงสร้างความคลางแคลงให้เรา ความคิดที่ว่าใครก็ได้ ได้ขโมยอาวุธอันตรายนี้ แล้วนำไปทำลายเป้าหมายเหมือนกับในนวนิยาย ที่ทำให้เรามีใจจดจ่อมานับไม่ถ้วน ทั้งภาพยนต์และโทรทัศน์ที่แสดงให้เห็นเรื่องราวอันเป็นที่คุ้นเคย วายร้ายโขมยลูกระเบิดนิวเคลียร์ และก็ถึงบทบาทของพระเอกที่จะจับโขมยและกู้ระเบิด มากกว่าหนึ่งฤดูกาลของรายการโทรทัศน์ยอดนิยม เรื่อง "24 (ชั่วโมง)" มุ่งจุดสำคัญไปที่เรื่องการโขมยวัสดุนิวเคลียร์ ที่เราเห็นมันตลอดเวลาในวัฒนธรรมที่เป็นที่นิยมชมชอบ แต่ในโลกของความเป็นจริงแล้ว มันง่ายแค่ไหนที่ใครบางคนจะโขมยอาวุธนิวเคลียร์

          เมื่อยุคสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซียได้สิ้นสุดลงเมื่อต้นทศวรรษ 1990 ภัยจากภัยพิบัตินิวเคลียร์ปรากฏว่าจางหายไป แต่เหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เมื่อกลุ่มของผู้ก่อการร้ายได้ปฏิบัติการจี้เครื่องบิน 4 ลำ และสองในสี่ลำนี้ ได้ทำลายตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในกรุงนิวยอร์ก ความกลัวจึงเพิ่มมากขึ้นถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการโขมยวัสดุนิวเคลียร์ และนำมาใช้เพื่อการโจมตีทำลายล้างในอนาคต

          ข่าวกรองแสดงให้เห็นว่าความกลัวนี้จะค่อนข้างที่จะมีเค้ามูล เจ้าหน้าที่ในรัสเซีย ประเทศเทศที่มีคลังแสงขนาดใหญ่ของอาวุธนิวเคลียร์ และวัสดุที่ใช้สำหรับสร้างลูกระเบิดนิวเคลียร์ ได้รายงานว่า ได้มีเหตุความพยายามนับร้อยครั้งที่จะลักลอบนับตั้งแต่เหตุการณ์กันยายน 2001 เจ้าหน้าที่สหรัฐและซีไอเอยอมรับและเปิดโปงถึงแผนการก่อการร้าย เพื่อที่จะได้มาถึงข้อมูทางด้านนิวเคลียร์

          การที่มีการพยายามที่จะโขมยวัสดุนิวเคลียร์นี้มีสำคัญหรือรุนแรงขนาดไหน ใครบางคนจะโขมยลูกระเบิดทั้งลูก หรือมันง่ายดายแค่ไหนที่จะขโมยชิ้นส่วนต่าง ๆ แล้วนำมาประกอบเป็นลูกระเบิดที่สมบูรณ์ภายหลัง แล้วเกี่ยวกับอาวุธที่สูญหายไปเป็นอย่างไร เราจะต้องกังวลกับมันแค่ไหนเกี่ยวกับระเบิด หรือมีอาวุธชนิดอื่น ๆ ที่ไครบางคนอาจนำมาใช้งานหรือไม่ ในบทความนี้ จะดูถึงความปลอดภัยของคลังแสงอาวุธนิวเคลียร์ของโลก ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่า มันมีความไกล้เคียงกับที่เราเห็นในภาพยนตร์อย่างไร


ประชาชนชาวปากีสถานชมขีปนาวุธยิงระยะไกล Shaheen II บนฐานยิงหัวรบนิวเคลียร์ ระหว่างการสวนสนามวันชาติ ในกรุงอิสลามาบัด เมื่อ 23 มีนาคม 2005

ธนูหัก (Broken Arrow)
          กองทัพเรือสหรัฐมีชื่อของหน่วยงานของตัวเองสำหรับ “การจับ การโขมยหรือการสูญหาย ของอาวุธนิวเคลียร์หรือส่วนประกอบต่าง ๆ” ที่เรียกว่า “ธนูหัก” (Broken Arrow) (ผู้ที่เคยชมภาพยนต์ของ จอห์น วู ในปี 1996 ที่แสดงนำโดย จอห์น ทราโวตา อาจรู้จักดี) จะสังเกตเห็นว่า คำนิยามของกองทัพเรือกล่าวถึงทั้งอาวุธนิวเคลียร์ และส่วนประกอบของอาวุธนิวเคลียร์ ทำไมมันจึงมีความสำคัญ ที่จะกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างชิ้นส่วนของลูกระเบิดกับลูกระเบิดทั้งลูก

          มันเป็นไปได้ที่ไครจะโขมยลูกระเบิดนิวเคลียร์ทั้งลูก แต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้อย่างมาก ๆ ดังจากที่ได้เห็นในบทความนี้ อาวุธนิวเคลียร์ที่สมบูรณ์ไม่เหมือนของบางอย่างที่จะซุกเก็บในกะเป๋าได้ หรือนำมาวิ่งได้บนถนน มันเป็นขนาดชิ้นที่ใหญ่และเป็นที่สังเกตได้ง่าย และระบบรักษาความปลอดภัยของคลังอาวุธ ก็คงโง่เขลาหละหลวมสิ้นดี ที่ปล่อยให้ลูกระเบิดหลุดลอดผ่านออกมาได้

          สถานการณ์อาจมีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับคนหรือบุคคลหลายคน ที่ขโมยส่วนประกอบต่าง ๆ กัน ที่จำเป็นสำหรับทำลูกระเบิด และนำมาประกอบกันเป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำงานได้ ด้วยข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อ งและวัสดุระเบิดที่แตกต่างกันทางด้านประสิทธิภาพ สามารถที่จะสร้างขึ้นได้ ดังตัวอย่างการละเมิดความปลอดภัยล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน 2006 ที่ Los Alamos National Laboratory ทำให้เจ้าหน้าที่มีความกังวลว่า พนักงานได้มีการผ่านข้อมูลเกี่ยวกับระบบควบคุมพิเศษ ที่ทำให้สามารถเข้าถึงระบบการควบคุมการจุดระเบิดของลูกระเบิด มันไม่ได้เป็นอุปกรณ์ทั้งหมด แต่มันเป็นชิ้นส่วนปริศนาที่สำคัญ (จากแหล่งข่าว CBS)

          ธาตุที่สำคัญที่ผู้ก่อการร้ายต้องการอย่างมากก็คือ ส่วนผสมหลักที่จะทำลูกระเบิดนิวเคลียร์ ได้แก่ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะสูง (HEU) หรือพลูโทเนียม (หรือทั้งสองชนิด) เหมือนกับลูกระเบิดนิวเคลียร์ที่สมบูรณ์ ซึ่งธาตุทั้งสองนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่สามารถขโมยได้ง่าย ๆ เพราะว่าทั้ง HEU หรือพลูโทเนียม ไม่ได้มีปรากฏอยู่ตามธรรมชาติ แต่มีราคาที่แพงมาก ๆ และมีกระบวนการผลิตที่ยากมากที่จะได้มา อย่างไรก็ตาม สำหรับทั้งอเมริกาและรัสเซีย ได้ครอบครองพลูโทเนียมเป็นจำนวนมหาศาล โดยเป็นของที่ได้จากการถอดรื้ออาวุธอะตอม และทั้งสองประเทศยังมีปริมาณส่วนเกินของ HEU มากมาย จากจำนวนปริมาณมหาศาลของวัสดุนิวเคลียร์ จะนำมาใช้หรือวางแผนเพื่อใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือศูนย์การวิจัย ทำให้มีความเสี่ยงที่จะมีการโขมยข้อมูลหรือวัสดุนิวเคลียร์มีเพิ่มมากขึ้น ถ้าการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมไม่มีการบังคับใช้


ทหารอเมริกันยืนเฝ้าระวังการขนส่งยูเรเนียม ขณะที่มีการขนออกมาที่ฟอร์ดสมิธ แคนาดา

          เพื่อที่จะให้พลูโทเนียมหรือยูเรเนียมมีปริมาณถึง ภาวะมวลวิกฤตยวดยิ่ง (supercritical mass คือ มวลที่วัสดุมีการถูกบีบอัดเพียงพอทำให้เกิดปฏิกริยานิวเคลียร์ที่ควบคุมไม่ได้) จำเป็นต้องใช้วัตถุระเบิดธรรมดา ๆ อาทิเช่น ระเบิดทีเอ็นที ปริมาณหนึ่ง ซึ่งในการสร้างลูกระเบิดนิวเคลียร์ ระเบิดทีเอ็นทีกับอุปกรณ์สำหรับเป็นตัวจุดระเบิดทีเอ็นที อาจจะเป็นส่วนที่ง่ายที่สุดที่จะหาได้ ถัดมาคือการสร้างหรือประกอบโครงโลหะสำหรับส่วนภายในของระเบิด ที่น่าจะเป็นขั้นตอนพื้นฐานขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญ

          ถึงแม้ว่าในบางระดับ มันเป็นไปได้สำหรับทุกขั้นตอนเหล่านี้ รวมถึงขั้นตอนที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมากอื่น ๆ ที่อาจมาบรรลุรวมกันได้ได้ แต่อันที่จริง ไครก็ตามที่มีความตั้งใจที่จะได้มาซึ่งลูกระเบิด หรือบางส่วนของลูกระเบิด ต้องมีอำนาจอิทธิพลสูงเป็นอย่างยิ่ง ทั้งต้องมีความรู้และทักษะ ที่จะทำสิ่งโลดโผนขนาดนี้ได้ เพราะมันไม่อาจเป็นไปได้ที่จะกระทำการเพียงคนเดียวได้ แต่ต้องอาศัยทีมงานช่างเทคนิคที่จำเป็น เพื่อรวมเอาทุกสิ่งมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นลูกระเบิด มันไม่ใช่เรื่องที่ได้อย่างง่ายดายเหมือนในภาพยนตร์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันมีความยากเป็นอย่างยิ่ง (และไม่ใช่สิ่งที่จะแนะนำให้พยายาม)

ว่าด้วยความมั่นคงเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Weapon Security)


ป้ายสัญลักษ์เตือนรอบ ๆ บริเวณทางเทคนิคที่สำคํญ ที่ Los Alamos national Laboratory ให้ข้อมูลแก่ผู้เยี่ยมชม เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย

          คราวนี้ก็มาว่ากันถึงระบบสำหรับความมั่นคงของอาวุธนิวเคลียร์ว่าดีแค่ไหน ยกตัวอย่างของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็น ซึ่งโดยปกติจะใช้ “แนวรั้วกั้น การยืนยาม การเฝ้าตรวจติดตามโดยกล้อง อุปกรณ์การตรวจจับความเคลื่อนไหว และการตรวจค้นบุคคล” ในทุก ๆ สถานการณ์ที่มีคลังแสงอาวุธ ข้อผิดพลาดของบุคคล หรือกรณีการคอร์รัปชัน อาจมีโอกาสเกิดขึ้นได้ แน่นอนว่าต้องไม่ให้มีข้อควรระวังเหล่านี้มีความผิดพลาดเกิดขึ้น

          อาวุธนิวเคลียร์ด้วยตัวของมันเอง ก็ถูกเฝ้าระวังด้วยมาตรการรักษาความปลอดภัยหลายอย่าง หนึ่งในนั้นที่เป็นข้อควรระวังที่สำคัญคือ ระบบอิเล็กทรอนิกส์อันละเอียดอ่อน ที่เรียกว่า permissive action link ที่รหัสที่ถูกต้องสองรหัส จะต้องถูกใส่เข้าไปเพื่อที่จะเข้าครองลูกระเบิดได้ กล่าวคือ ใช้หลักการของกฎสองบุคคล (two man rule) ทำให้เกือบจะไม่มีความเป็นไปได้สำหรับคนคนเดียว ที่จะจุดระเบิดอาวุธได้ด้วยตัวเองคนเดียว

          สำหรับประเทศอื่น ๆ อาจจะไม่มีการรักษาความปลอดภัยในระดับสุดยอด ก็จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะมีการขโมยวัสดุต่าง ๆ ได้ โดยรัสเซียจะถูกอ้างถึงอย่างต่อเนื่องของความพยายามในการรักษาความปลอดภัยที่มีพิรุธไม่น่าไว้วางใจ และการสิ้นสุดของสงครามเย็นและการล่มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้เรื่องซับซ้อนยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีการจดเก็บบันทึกอย่างเหมาะสม เจ้าหน้าที่รู้กันว่า ได้มีการดำเนินการกับยามรักษาความปลอดภัยและเจ้าหน้าพนักงานอื่น ๆ ที่สถานที่เกี่ยวกับอาวุธ ด้วยการจ่ายค่าตอบแทนที่ไม่ตรงต่อเวลา แทนที่จะได้กลับบ้านอย่างมีความสุขพร้อมกับเช็คเงินสด คนงานก็อาจจะหาทางที่จะให้ได้เงินมาอย่างรวดเร็วด้วยการขายข้อมูลลับสุดยอด หรือไม่ก็ลักลอบขนวัสดุอันตรายไปขาย สหรัฐอเมริกาเองก็มีข้อมูลที่จำกัดเกี่ยวกับอุปกรณ์ความปลอดภัยภายในอาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซียเอง ดังนั้นจึงยังไม่มีความชัดเจนว่า ขั้นตอนเกี่ยวกับการพิทักษ์การจุดระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ โดยนักพัฒนาอาวุธของรัสเซียเป็นอย่างไร

          ความกังวลอีกอย่างคือ ตลาดมืดของวัสดุนิวเคลียร์ ที่ซึ่งได้มีการลักลอบนำพลูโทเนียมและยูเรเนียมเกรดต่ำออกมาขาย โอกาสในการที่จะนำวัสดุเหล่านี้ มาทำลูกระเบิดนิวเคลียร์ที่มีประสิทธิภาพ มีน้อยมาก ๆ นอกจากจะเรียกว่า “ขยะนิวเคลียร์” (nuclear junk) แต่วัสดุเหล่านี้สามารถใช้ในการทำ “ระเบิดเดอร์ตีบอมบ์” (dirty bomb) ได้ ซึ่งเป็นวัตถุระเบิดทั่วไปที่จะแพร่กระจายกัมมันตภาพรังสีที่เป็นอันตราย ทำให้มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีได้เมื่อเกิดการระเบิด

อุบัติการณ์อันตรายเฉียดฉิว (Close Calls)
ประวัติศาสตร์อันยืดยาวของอุบัติเหตุที่เกือบทำให้เกิดหายนะจากอาวุธนิวเคลียร์ ทำให้มีข้อสงสัยในบางอย่างว่า อะไรที่เราควรกังวลมากมากกว่ากัน ระหว่างพวกที่โขมยอาวุธนิวเคลียร์ หรือพวกที่นำมันมาหย่อนทิ้งอย่างหน้าตาเฉย ศูนย์ข่าวกรองของกลาโหม (The Center for Defense Information) ได้บันทึกถึงข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุยังเป็นที่คลุมเครือ แม้ว่ากระทรวงกลาโหมก็ตระหนักดีว่า “อย่างน้อยปีละครั้งจะมีอุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงเกิดขึ้น” นับตั้งแต่ยุคปรมาณูเริ่มต้นเป็นต้นมา (แหล่งที่มา CDI)

          ดังตัวอย่างในปี 1965 เครื่องบินบรรทุกอาวุธนิวเคลียร์ที่เกี่ยวไว้ไม่แน่น ได้ไถลออกจากเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Ticonderoga และจมลงในมหาสมุทรลึก 16,000 ฟุต นอกชายฝั่งของญี่ปุ่น ในอุบัติเหตุทางทะเลอีกครั้งในปี 1981 ลูกระเบิดนิวเคลียร์ถูกนำออกมาจากเรือดำน้ำและตกลงมา 17 ฟุต จนเกือบสร้างหายนะให้กับเรือ USS Holland ระบบเบรกฉุกเฉินทำให้แค่ตกอยู่เหนือลำเรือ แต่ที่แคโรไลนาดูจะโชคร้ายเหมือนกัน โดยเครื่องบินทิ้งระเบิด B-47 ที่บินอยู่เหนือ Mars Bluff มลรัฐเซาท์แคโรไลนาในปี 1958 เกิดอุบัติเหตุทำให้ลูกระเบิดนิวเคลียร์ตกลงมา เกิดเป็นหลุมคล้ายปากปล่องภูเขาไฟกว้าง 75 ฟุต และลึก 35 ฟุต แต่ไม่เกิดการระเบิด ซึ่งเหตุการณ์นี้แม้จะมีความเสียหายน้อยมาก แต่ก็สร้างความน่ากลัวถ้าเกิดระเบิดขึ้นมา หลังจากนั้นสามปีต่อมา เครื่องบินทิ้งระเบิด B-52 บรรทุกระเบิดไฮโดรเจนสองลูก ขนาดลูกละ 24 เมกะตัน ตกที่ เมือง Goldsboro มลรัฐนอร์ทแคโรไลนา เคราะห์ดีที่ไม่มีลูกระเบิดลูกใดเกิดการระเบิด มีเพียงหนึ่งในหกของอุปกรณ์ความปลอดภัยเกิดทำงานในระเบิดลูกหนึ่ง ซึ่งถ้าเกิดการระเบิดขึ้น ก็จะเป็นภัยพิบัติที่ร้ายแรงมากกว่าถึง 1,800 เท่า เมื่อเทียบกับระเบิดที่ฮิโรชิมา (แหล่งที่มา Nuclear Files)

ถอดความจาก http://science.howstuffworks.com/steal-nuclear-bomb.htmHowStuffWorks

โพสต์เมื่อ : 31 กรกฎาคม 2555