Nuclear Science
STKC 2555

วิกฤตนิวเคลียร์ญี่ปุ่นเป็นอย่างไร ?

How Japan’s nuclear Crisis works ?

โกมล อังกุรรัตน์
อดีตผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ไอโซโทปรังสี (เกษียณ)
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟุกุชิมะ II ไดนิ หลังจากแผ่นดินไหวขนาด 8.9 และคลื่นสึนามิที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อ 11 มีนาคม 2011

          แต่ละคนต่างมีความคิดเห็นต่างกันเกี่ยวกับอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์ บางคนเห็นว่า พลังงานนิวเคลียร์เป็นเทคโนโลยีสีเขียวที่สำคัญ ที่ไม่มีการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ในขณะที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้จำนวนมหาศาล เป็นที่น่าเชื่อถือได้ โดยชี้ไปที่บันทึกความปลอดภัยที่ครอบคลุมชื่นชมมากว่าสองทศวรรษ

          ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งมองเห็นพลังงานนิวเคลียร์ว่า เป็นเทคโนโลยีที่เป็นอันตรายอย่างมหันต์ เป็นภัยคุกคามต่อชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยชี้ไปที่อุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทรีไมล์ไอแลนด์ และการระเบิดที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล เป็นสิ่งพิสูจน์ถึงสิ่งเลวร้าย ที่ว่ามันเป็นไปในทางที่ผิดว่าเป็นอย่างไร

          แต่ในทั้งสองกรณีต้องยอมรับว่า เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการพาณิชย์ คือความจริงของการดำรงชีพในหล่ายส่วนของการพัฒนาโลกให้ดีขึ้น ทั้งนี้เพราะมีการใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานกัมมันตรังสี เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถูกออกแบบและสร้าง ด้วยมาตราฐานสูงสุดของวิชาชีพทางวิศวกรรม ที่มีความสามารถรับรู้การจัดการกับสิ่งที่ธรรมชาติหรือมนุษย์จะดำเนินการได้ แผ่นดินไหว ? ไม่มีปัญหา พายุเฮอริเคน ? ไม่มีปัญหา เครื่องบินไอพ่นจัมโบ้เจ็ตพุ่งชนโดยตรง ? ไม่มีปัญหา การถูกโจมตีโดยผู้ก่อการร้าย ? ไม่มีปัญหา ด้วยโครงสร้างที่แข็งแรงและมีชั้นต่าง ๆ ก่อนถึงชั้นแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่มากมาย นั่นหมายถึงความสามารถที่จะจัดการกับสิ่งผิดปกติใด ๆ ได้ ในการดำเนินงาน

          เพียงเวลาไม่นานหลังจากเกิดแผ่นดินไหวโจมตีญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2011 อย่างไรก็ตาม ความรับรู้ทางด้านความปลอดภัยก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เหตุการณ์การระเบิดได้โยกคลอนสถานะที่แตกต่างกัน ของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลายเครื่องในญี่ปุ่น แม้ว่ารายงานเบื้องต้นระบุว่า ไม่มีปัญหาใด ๆ กระทบจากแผ่นดินไหว ไฟไหม้เกิดขึ้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โอนางาวะ (Onagawa) และมีการระเบิดที่โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ (Fukushima Daiichi)

          อะไรคือสิ่งผิดพลาด สิ่งที่ไดรับการออกแบบที่ดีเยี่ยม มีระบบสำรองต่าง ๆ ที่ทดแทนเพียงพอกรณีที่ระบบไดระบบหนึ่งไม่ทำงาน แต่ระบบล้มเหลวทำให้เกิดหายนะ มาดูกันว่ามันเกิดอะไรขึ้น ?

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (Understanding a Nuclear reactor)
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์จะมีหลักการค่อนข้างง่าย เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ทันสมัยในเชิงพาณิชย์ จะอยู่ในรูปแบบของยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ (enriched uranium) ที่โดยธรรมชาติจะทำให้เกิดผลผลิตความร้อน จากการแยกตัวของอะตอมยูเรเนียมเมื่อถูกชนด้วยนิวตรอน ความร้อนใช้เพื่อการทำให้น้ำเดือดและได้ผลผลิตเป็นไอน้ำ เพื่อนำไอน้ำไปขับเคลื่อนกังหันไอน้ำ ซึ่งไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โรงงานเหล่านี้จะมีขนาดใหญ่ โดยทั่วไปสามารถผลิตไฟฟ้าได้ในขนาดถึงหลักจิกะวัตต์ของกระแสไฟฟ้า เมื่อเดินเครื่องเต็มกำลังผลิต

          เพื่อที่จะให้สามารถปรับแต่งระดับกำลังที่ออกมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ เชื้อเพลิงยูเรเนียมจะถูกทำให้เป็นเม็ดขนาดเท่ากับเม็ดลูกกวาด Tootsie Roll โดนนำเม็ดเชื้อเพลิงมาวางเรียงซ้อนบรรจุในท่อโลหะหะยาวที่เรียกว่า แท่งเชื้อเพลิง แท่งเชื้อเพลิงจะถูกจัดเรียงรวมกันเป็นมัดแท่งเชื้อเพลิง และมัดแท่งเชื้อเพลิง ก็ถูกนำจัดเรียงบรรจุในแกนของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แท่งควบคุมจะถูกจัดวางอย่างพอดีระหว่างแท่งเชื้อเพลิงและสามารถที่จะดูดซับนิวตรอน ถ้าแท่งควบคุมถูกทำให้เคลื่อนที่แทรกอยู่ในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เต็มที่ ก็จะเรียกว่าเครื่องอยุ่ในสภาพถูกปิดการทำงาน (shut down) แต่ยูเรเนียมจะยังคงให้ความร้อนปริมาณที่ต่ำที่สุดอยู่ (ยังคงผลิตความร้อนออกมา) ถ้าแท่งควบคุมถูกดึงออกจากแกนเครื่องให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แกนเครื่องก็จะผลิตความร้อนที่สูงสุด คิดเปรียบเทียบกับความร้อนที่ผลิตออกมาจากหลอดไฟแบบหลอดไส้ 100 วัตต์ หลอดไฟก็จะร้อนขึ้น และร้อนพอที่จะอบเค้กแบบถ้วยเหมือนกับอบด้วยเตาอบได้อย่างง่ายดาย ถ้าลองคิดถึงขนาดหลอดไฟแบบไส้ขนาด 1,000,000,000 วัตต์ มันคือความร้อนชนิดที่ความร้อนออกมาจากแกนเครื่องที่พลังงานสูงสุด นี่คือชนิดของความร้อนที่ออกมาจากแกนเครื่องที่กำลังสูงสุด ของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ล้มเหลวในญี่ปุ่น คือเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำเดือด Mark 1 ที่ออกแบบโดยบริษัท General Electric ในปีทศวรรษ 1960 ที่เป็นหนึ่งในการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เริ่มแรก ที่ซึ่งให้เชื้อเพลิงยูเรเนียมไปทำให้น้ำเดือดและนำไปขับเคลื่อนกังหันไอน้ำโดยตรง การออกแบบแบบนี้ต่อมาได้ถูกแทนที่ด้วยเครื่องปฏกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน (pressurized water reactors) ทั้งนี้เพราะมีความกังวลด้านความปลอดภัยโดยรอบจากการออกแบบ Mark 1 ดังที่เราได้เห็น และตระหนักถึงความปลอดภัยที่ล้มเหลวในประเทศญี่ปุ่น ก็ลองมาดูข้อบกพร่องอย่างร้ายแรงที่นำไปสู่ภัยพิบัติ

ข้อบกพร่องร้ายแรงในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำเดือด (The Fatal Flaw in Boiling Water Reactors)
          เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำเดือดมีข้อบกพร่องร้ายแรงเหมือนกับทหารกล้า อะคีลลีส(Achilles) ที่อยู่ยงคงกระพัน แต่มีจุดอ่อนที่ส้นเท้า ซึ่งจะมองไม่เห็นภายใต้สภาวะปกติในการทำงาน และสภาพของความล้มเหลวส่วนใหญ่ โดยข้อบกพร่องมาจากระบบระบายความร้อน

          เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำเดือดจะทำให้น้ำเดือด นั่นคือความชัดเจนและง่าย นี่เป็นเทคโนโลยีที่ย้อนหลังไปมากกว่าศตวรรษ ในยุคเริ่มต้นของเครื่องจักรไอน้ำ ขณะที่น้ำเดือดจะทำให้เกิดความดันขึ้นอย่างมากมาย ความดันซึ่งจะใช้ไปหมุนกังหันไอน้ำ น้ำเดือดยังช่วยรักษาให้แกนของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มีระดับอุณหภูมิที่ปลอดภัย เมื่อไอน้ำออกมาจากกังหันไอน้ำจะถูกทำให้เย็นลงด้วยเครื่องควบแน่น เพื่อนำมาใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีกในระบบวงจรปิด น้ำจะถูกหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ด้วยระบบใช้เครื่องสูบน้ำไฟฟ้า

          ช่องโหว่ของการออกแบบจะเกิดขึ้น ถ้าปั๊มสูบน้ำสูญเสียระบบไฟฟ้าไป ถ้าปราศจากเสียซึ่งน้ำใหม่อุณภูมต่ำที่จะป้อนเข้ามาในระบบหม้อไอน้ำ น้ำก็ยังคงเดือดอยู่ตลอดและระดับน้ำก็เริ่มลดลง ถ้าน้ำเดือดยังคงเดือดอยู่ตลอด ก็จะทำให้แท่งเชื้อเพลิงพ้นออกมาจากระดับน้ำและอยู่ในขั้นร้อนเกินไป (overheat) ในบางจุดแม้ว่าแท่งคุบคุมจะถูกลดระดับต่ำลงมาต่ำสุดแล้ว ก็ยังมีความร้อนเพียงพอที่จะทำให้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์หลอมละลายได้ และนี่คือที่มาของคำว่า meltdown ยูเรเนียมหลายตันที่หลอมละลาย จะไหลลงไปที่ด้านล่างของถังความดันที่รองรับความกดดันสูง ที่จุดนี้คือจุดหายนะ ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่หลอมเหลวจะแทรกซึมผ่านถังความดันสูง และปลดปล่อยกัมมันตรังสีออกมาสู่สภาพแวดล้อม

          เพราะว่าช่องโหว่ข้อบกพร่องนี้เป็นที่รู้กันดี จึงมีระบบต่าง ๆ เพื่อมาอุดช่องโหว่นี้ เช่น มีระบบสำรองต่าง ๆ อย่างเหลือเฟือรอบ ๆ เครื่องสูบน้ำ และระบบไฟฟ้าที่จะป้อนไฟฟ้าสำรอง มีเครื่องสูบน้ำอย่างเหลือเฟือหลาย ๆ ชุด และระบบป้อนกำลังไฟฟ้าอย่งเหลือเฟือเช่นกัน โดยพลังงานไฟฟ้ามาจากโครงข่ายพลังงาน ถ้าระบบโครงข่ายล้มเหลว ก็จะมีระบบสำรองของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล ถ้าระบบนี้ล้มเหลวอีกก็จะมีระบบแบตเตอรี่สำรอง ด้วยทุกอย่างได้วางระบบสำรองไว้อย่างเหลือเฟือ ก็ดูเหมือนว่าชอ่งโหว่ต่าง ๆ ได้รับการปกป้องคุ้มครองอ่างสมบูรณ์แล้ว ไม่มีทางที่จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายจนแท่งเชื้อเพลิงพ้นระดับน้ำจนเกิดการหลอมเหลวได้

          แต่เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง เพียงระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากเกิดแผ่นดินไหว สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดก็เริ่มที่จะเผยโฉมออกมา

วิกฤตนิวเคลียร์ญี่ปุนในสภาวะสถานการณ์เลวร้ายที่สุด (The Worst-case scenario in Japan’s Nuclear Crisis)


วิกฤตนิวเคลียร์ญี่ปุ่นในสภาวะสถานการณ์เลวร้ายสุดๆ คือการหลอมละลายของแท่งเชื้อเพลิงและปลดปล่อยสารกัมมันตรังสีปริมาณมากมายสุ่สภาพแวดล้อม

          โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นดัรับการออกแบบให้ทนทานต่อสภาพแผ่นดินไหวได้โดยไม่ยากเย็น โรงไฟฟ้า 4 โรง ที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางความสั่นสะเทือนที่สุด ได้ปิดการทำงานตัวเองโดยอัตโนมัติ ความหมายคือ แท่งควบคุมถูกลดระดับลงต่ำสุดในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และระบบหยุดการผลิตพลังงาน นี่เป็นวิธีการขั้นตอนการปฏิบัติงานปกติของโรงงานนิวเคลียร์ แต่นั่นหมายถึงว่า แหล่งชุดแรกของการผลิตไฟฟ้าสำหรับเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายความร้อน ได้หายไปด้วย แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหา ทั้งนี้เพราะโรงงานสามารถที่จะมีกระแสไฟฟ้าจากโครงข่ายภายนอก ที่จะนำมาป้อนให้เครื่องสูบน้ำได้

          อย่างไรก็ตาม พลังงานไฟฟ้าจากโครงข่ายก็เริ่มที่จะไม่มีความเสถียร และในที่สุดก็ต้องปิดตัวเองลงเช่นกัน นั่นหมายถึงแหล่งพลังงานไฟฟ้าแหล่งที่สองที่จะมาป้อนให้เครื่องสูบน้ำ ได้หายไปอีกระบบหนึ่ง ก็จะมาถึงบทบาทของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลที่จะเป็นตัวทำหน้าที่ทดแทน เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ และได้รับการยอมรับด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า ดังนั้นจึงไม่ต้องมีข้อกังงวลอันไดเกี่ยวกับข้อนี้

          แต่แล้วเมื่อเกิดเหตุอุบัติการณ์ถูกโจมตีจากคลื่นสึนามิ และโชคไม่ดีเป็นอย่างยิ่ง ที่คลื่นสึนามิมันมีขนาดที่ใหญ่เกินไปกว่าใครจะวางแผนไว้รับมือ ถ้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลสำรองได้ติดตั้งไว้ให้สูงขึ้นจากระดับพื้นดิน หรือได้รับการออกแบบให้ทำงานได้แม้เมื่อแช่อยู่ใต้น้ำ หรือมีระบบป้องกันเครื่องสูบน้ำจากระดับน้ำลึก ๆ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งแล้ว วิกฤตนี้ก็ถูกปัดเป่าไปได้ เป็นที่น่าเสียดายที่ระดับที่เหนือความคาดหมายจากคลื่นสึนามิ ทำให้ระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลก็ล้มเหลวเช่นกัน

          ที่เหลือเป็นอันดับสุดท้ายของระบบก็คือระบบแบตเตอรี่สำรอง ที่จะนำมาทำให้เครื่องสูบน้ำทำงาน ระบบแบตเตอรี่ทำงานได้ตามที่คาดการณ์ไว้ แต่ก็จะมีกำลังไฟฟ้าจ่ายได้เพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น สมมติฐานเห็นได้ชัดว่ากระแสไฟฟ้าจากแหล่งอื่น ๆ ที่สามารถจะนำมาใช้ได้ ก็จะทำให้ทุกสิ่งดีขึ้นอย่างรวเร็ว

          ถึงแม้ว่าผู้ปฏิบัติงานจะสามารถหาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ใหม่ ก็ไม่สามารถที่จะต่อเข้ากับระบบได้ทันเวลา และแล้วเครื่องสูบน้ำหล่อเย็นจึงไม่มีกระแสไฟฟ้ามาจ่ายให้ นี่คือข้อบกพร่องอย่างร้ายแรงในการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำเดือด ความคิดที่ว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะมีการแพร่กระจายของกัมมันตรังสีผ่านออกมา เนื่องจากมีชั้นป้องกันหลายชั้นอย่างมากมาย อย่างไรก็ตาม แท่งเชื้อเพลิงได้อยู่เหนือระดับน้ำจากการไม่มีระบบนำหล่อเย็น และด้วยเหตุนี้ ในขั้นต่อไปจึงเป็นขั้นตอนถัดไป ที่นำไปสู่กระบวนการภัยพิบัติ

การระเบิดที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์นิวเคลียร์ญี่ปุ่น (Explosions at Japan’s Nuclear Power Plants)
ด้วยแบตเตอรี่ที่หมดกระแสไฟฟ้าที่จะจ่ายได้ ด้วยเครื่องสูบน้ำหล่อเย็นที่ล้มเหลว ด้วยปราศจากน้ำหล่อเย็นที่สดใหม่ที่จะมาหล่อเลี้ยงแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ น้ำที่จะทำให้แกนเครื่องเย็นลงจึงเริ่มเดือด ทำให้ระดับน้ำในแกนเครื่องลดลง และทำให้ส่วนบนของแท่งเชื้อเพลิงอยู่เหนือระดับน้ำ ดังนั้นท่อโลหะที่บรรจุเม็ดยูเรเนียมจึงมีความร้อนสูงเกินระดับและแตกออก รอยแตกนี้ทำให้น้ำสามารถเข้าไปในท่อโลหะได้ และเข้าถึงเม็ดเชื้อเพลิง ที่ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดแก๊สไฮโดรเจนขึ้นมา กระบวนการนี้เรียกว่า Thermolysis ถ้าเราสามารถทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงได้เพียงพอ มันก็จะเกิดการแตกสลาย ได้เป็นองค์ประกอบของมัน คืออะตอมของ ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน
ไฮโดรเจนเป็นแก๊สที่ก่อให้เกิดการระเบิดได้สูง คงจำได้ถึงการระเบิดของเรือเหาะไฮเดลเบิร์ก ทั้งนี้เพราะภายในถูกบรรจุด้วยแก๊สไฮโดรเจน ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น ความดันที่เกิดจากแก๊สไฮโรเจนถูกสร้างสระสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และต้องมีการระบายแก๊สไฮโดนเจนนี้ออกมา แต่เป็นที่น่าเสียดายที่แก๊สไฮดดรเจนในปริมาณมาก ๆ ถูกระบายออกมาอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เกิดการระเบิดขึ้นภายในตัวอาคารเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ อุบัติการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นกับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์สองสามเครื่องที่แตกต่างกัน

          การระเบิดไม่ได้ทำให้ถังความดันที่บรรจุแกนนิวเคลียร์เกิดแตกร้าวหรือเสียหายแต่อย่างใด หรือทำให้มีการรั่วไหลแพ่รกระจายกัมมันภาพตรังสีที่เป็นนัยสำคัญใด ๆ การระเบิดเป็นการระเบิดของไฮโดรเจนธรรมดาทั่วไป ไม่ใช่การระเบิดที่เกิดจากปฏิกริยานิวเคลียร์ การระเบิดทำความเสียหายให้แก่ผนังคอนกรีตและโครงสร้างโลหะ ที่อยู่บริเวณล้อมรอบถังความดัน

          การระเบิดยังเป็นตัวชี้บ่งว่า ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่นอกเหนือที่จะควบคุมได้แล้ว ถ้าน้ำยังคงเดือดอยู่ตลอดเวลาและสูญเสียน้ำไปเรื่อย ๆ ก็แน่นอนที่จะทำให้มั่นใจว่า แท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์จะเกิดการหลอมละลาย

          ดังนั้นผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้าจึงได้ตัดสินใจ ที่จะทำให้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์นี้ท่วมท้นด้วยน้ำทะเล ซึ่งเป็นมาตรการเข้าตาจน อันเป็นความพยายามสุดท้ายที่จะควบคุมสถานการณ์ ดังนั้นน้ำทะเลก็ทำให้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ต้องพังเสียหายอย่างสิ้นเชิง แต่ก็ยังดีกว่าที่จะปล่อยให้แท่งเชื้อเพลิงเกิดการหลอมละลาย ในทำนองเดียวกัน น้ำทะเลได้ถูกนำมาสผมด้วยโบรอน ที่จะทำให้เป็นสารละลายที่เป็นเสมือนกับแท่งควบคุมปฏิกริยานิวเคลียร์ โบรอนจะเป็นตัวดูดซับนิวตรอน และเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักในแท่งควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียร์


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Tricastin หนึ่งใน 59 โรง ของฝรั่งเศสที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 75% ของประเทศ

ก้าวต่อไปของวิกฤตนิวเคลียร์ญี่ปุ่น (Next Steps in Japan’s Nuclear Crisis)
          เหตุการณ์นิวเคลียร์ที่บังเกิดขึ้นของญี่ปุ่นมีคำอธิบายว่าอยู่ในระดับ 6 ตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ หรือ INES (International Nuclear and Radiological Event scale) สำหรับเครื่องที่ทรีไมล์ไอแลนด์อยู่ในระดับ 5 และเชอร์โนบิลอยู่ในระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสุงสุดของเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ (แหล่งที่มา Reuters) เห็นได้ชัดเจนว่ามันเป็นสถานการณ์ที่ร้ายแรง

          จากเหตุการณ์นี้ ญี่ปุ่นได้สูญเสียส่วนสำคัญของกำลังการผลิตไฟฟ้า เพราะประมาณหนึ่งในสามของพลังงานไฟฟ้าของญี่ปุ่นมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และประมาณครึ่งหนึ่งของกำลังการผลิตที่มีอยู่ได้สูญเสียไป (ประมาณ 20% ของกำลังผลิตรวมทั้งหมด) (แหล่งที่มา Izzo) กำลังการผลิตจึงต้องหามาทดแทนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

          เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งหลายที่มีอายุถึง 40 ปี ไกล้ถึงระยะเวลาสิ้นสุดการใช้งานเต็มทีตามที่ได้รับการออกแบบมา หนึ่งในทางเลือกง่าย ๆ ก็คือการสร้างโรงงานใหม่ สองปัญหาใหญ่ ๆ ที่ต้องเผชิญก็คือ ระเวลาของกระบวนงานทั้งหมดจะยาวนาน เป็นไปได้ว่าต้องใช้เวลาถึงทศวรรษหรือ มากกว่านั้น และที่สำคัญก็คือ ประชาชนทั่วไปอาจจะไม่อยากได้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกแล้ว ซึ่งคงจะเร็วเกินไปที่บอกได้

          ยังมีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบ Mark 1 ใช้งานอยู่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำลังจะปลดประจำการการใช้งาน หรือเปลี่ยนแปลงไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นบทเรียนที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อื่น ๆ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็น

          อุตสาหกรรมนิวเคลียร์เป็นความหวังสำหรับการฟื้นฟูของพลังงานนิวเคลียร์ในสหรัฐอเมริกา ในขณะนี้เป็นเวลากว่าสามทศวรรษ ผ่านมาแล้วตั้งแต่เหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทรีไมล์ไอแลนด์ ได้หยุดการก่อสร้างโรงงานนิวเคลียร์ใหม่ในสหรัฐอเมริกา เหตุการณ์ในญี่ปุ่นอาจจะทำให้การฟื้นฟูนี้หยุดดำเนินการไป หรือไม่ก็อาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการวิจัยอื่น ๆ ที่มีความปลอดภัยกว่าเทคโนโลยีนิวเคลียร์

ถอดความจาก http://science.howstuffworks.com/japan-nuclear-crisis5.htm

โพสต์เมื่อ : 8 สิงหาคม 2555