เครื่องสำรวจรังสีของเอ็นบีเอสในยุคแรก ๆ |
สุรศักดิ์ พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) |
เอ็นบีเอส คือ สำนักงานมาตรฐานแห่งชาติ (National Bureau of Standards: NBS) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
ลอว์ริสตัน เทเลอร์ (Lauriston Taylor) แห่งเอ็นบีเอส เป็นคนแรกที่ผลิต เครื่องสำรวจรังสีแบบเคลื่อนย้ายได้ (portable survey meter) เมื่อปี 1929 อุปกรณ์นี้สามารถสับเปลี่ยน ห้องก่อไอออน (ionization chamber) ได้หลายขนาด ตามแต่ พิสัยของเอกซ์โเชอร์ (exposure range) ที่แตกต่างกัน |
 |
เครื่องสำรวจรังสีของลอว์ริสตัน เทเลอร์ ผลิตเมื่อปี 1931 |
|
อย่างช้าก็ตั้งแต่ปี 1933 ที่ ดอกเตอร์ แอล.เอฟ. เคอร์ติสส์ (L.F. Curtiss) แห่งเอ็นบีเอส ได้พัฒนาเครื่องตรวจหาด้วยวิธีห้องก่อไอออนแบบเคลื่อนย้ายได้ สำหรับการค้นหาต้นกำเนิดรังสีเรเดียมที่สูญหายไป โดยห้องก่อไออนแบบภายนอก (external ionization chamber) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว และหนัก 18 ปอนด์ ทำงานได้ด้วยแบตเตอรี่ อุปกรณ์นี้ได้ชื่อว่า เครื่องตรวจหาเรเดียมแบบเคอร์ติสส์ (Curtiss Radium Detector) ซึ่งใช้งานง่ายแม้กับบุคลากรที่ไม่ผ่านการฝึกอบรมการใช้มาก่อน อุปกรณ์นี้มีสายสะพายบ่า และมีสายต่อหัววัดขนาดยาวสำหรับตรวจไปได้ทั่ว ๆ ภาชนะต่าง ๆและตามพื้นของโรงพยาบาล ในหัววัดเป็นห้องก่อไอออนที่สมามารถวัดเรเดียมขนาด 25 มิลลิกรัม ได้ดีถ้าอยู่ในระยะไม่เกิน 7.5 ฟุต บริษัทที่นำออกสู่ตลาดคือ American Instrument Company โดยมีหมายเลขตามแคตาลอก (catalog No.) คือ 2100-01 และจำหน่ายในราคา 180 ดอลลาร์อเมริกัน |
 |
เครื่องตรวจหาเรเดียมแบบเคอร์ติสส์ ปี 1933 |
|
ต่อมาในปี 1938 เคอร์ติสส์ได้ผลิตไกเกอร์เคาน์เตอร์แบบเคลื่อนย้ายได้ ที่มีไฟแฟลชะนีออนเป็นตัวชี้ ทำงานด้วยกำลังไฟฟ้าต่ำ ๆ ขนาด 450-650 โวลต์ ต่างกับเครื่องที่ผลิตกันมาก่อนหน้านี้ที่กินไฟราว 1200 โวลต์ ไกเกอร์เคาน์เตอร์นี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 - 6 ซม. ใช้แก๊สผสมไฮโดรเจนและอาร์กอนที่ความดัน 6 - 7 ซม. สำหรับตัวนับรังสีเป็นแบบ Cenco counter ติดตั้งไว้ที่ด้านปลายสุดสำหรับการอ่านค่า และกระบอกที่มีน้ำหนักเบาของไกเกอร์เคาน์เตอร์นี้มีที่ติดตั้งอยู่ข้างบนตัวเครื่องข้างใต้มือจับ |
 |
ไกเกอร์เคาน์เตอร์แบบเคลื่อนย้ายได้โดยเคอร์ติสส์ ปี 1938 |
|
อิเล็กโทรสโคปของลอว์ริสตัน เป็นเครื่องสำรวจรังสีแบบเคลื่อนย้ายได้ที่มีขนาดปานกลาง ใช้สำหรับวัดรังสีบีตาและรังสีแกมมา ส่วนที่บุด้วยตะกั่ว (lead lined unit) ใช้เปรียบเทียบ มาตรฐานของรังสีเอกซ์ (x-ray standard) ระหว่างประเทศ อุปกรณ์นี้มี ห้องไอออน (ion chamber) ที่เมื่อเกิดประจุแล้ว จะปล่อยประจุ (discharge) เป็นสัดส่วนกับรังสีที่วัดได้ ผิวด้านในของ ห้องก่อไอออน (ionization chamber) อาจฉาบด้วยโบรอนสำหรับใช้วัดฟลักซ์ของ เทอร์มัลนิวตรอน (thermal neutron) สามารถวัดได้ถึงช่วง 1000 มิลลิเรินต์เกนต่อชั่วโมง (mR/h) ซึ่งวัดทั้งรังสีบีตาและรังสีแกมมารวมกัน ตัวเครื่องมีขนาด 8 x 3 x 14 และหนัก 8 ปอนด์ เฉพาะห้องไอออนมีขนาด 2.25 x 2.75 อุปกรณ์นี้มี อิเล็กโทรสโคปแบบเฮนสัน (Henson electroscope) ติดตั้งในกล่องไม้อัด เมื่อเปิดกล่องออกจะมีสภาพไวที่ใช้วัด รังสีบีตาพลังงานสูง (hard beta radiation) ได้ด้วย การอ่านค่าอ่านผ่านกล้องจุทรรศน์และใช้ต้องใช้นาฬิกาจับเวลาร่วมด้วย ต่อมาในปี 1952 ลอว์ริสตันยังผลิตเครื่องวัดรังสีแบบเคลื่อนย้ายได้ไว้อีกหลายแบบ |
 |
อิเล็กโทรสโคปของลอว์ริสตัน เทเลอร์ ปี 1947 |
|
 |
อิเล็กโทรมิเตอร์ของลอว์ริสตัน ปี 1948 |
|
 |
อิเล็กโทรสโคปของลอว์ริสตัน ช่วงทศวรรษ 1940 |
|
เอส.อาร์. กิลฟอร์ด (S.R. Gilford) และ เอส. ไซโตะ (S. Saito) ช่วยกันพัฒนาเครื่องวัดรังสีเคลื่อนย้ายได้ แบบมือหิ้ว (hand portable) ซึ่งไม่ต้องใช้ไมโครมิเตอร์ เนื่องจากใช้การอ่านระดับรังสีจาก หน้าปัดโพเทนชิออมิเตอร์ (potentiometer dial) โดยเมื่อผู้ใช้งานหมุนหน้าปัดจน คลื่นสมมาตรช่วงคลื่นเสียง (audio oscillation) เริ่มเกิดขึ้น ซึ่งรู้ได้ด้วยหูฟัง (earphones) เครื่องนี้ใช้ท่อแบบจีเอ็ม (GM type tube) ชนิดบรรจุด้วยแก๊สแฮโลเจน และทำงานด้วยแบตเตอรี่ไฟฉายธรรมดา ๆ |
 |
เครื่องสำรวจรังสีแบบของกิลฟอร์ดและไซโตะ |
|
เอเอ็น/พีดีอาร์-37 (เอกซ์เอ็น-1) [AN/PDR-37 (XN-1)] คือ เครื่องวัดรังสีชนิด เรดิแอกไกเกอร์เคาน์เตอร์ (radiac geiger counter โดย RADIAC ย่อมาจาก Radiation Detection, Indication And Computation) สำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการทดลอง ที่ได้รับการตรวจสอบและประเมินโดย Navy Bureau of Ships ของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1952 เครื่องนี้ได้รับการออกแบบให้เป็น มิเตอร์เลสส์ (meter less) สำหรับเป็นเครื่องสำรวจรังสี อุปกรณ์นี้มีขนาดกะทัดรัดโดยประกอบไว้ในกระบอกแบบเดียวกับไฟฉาย การวัดปริมาณรังสีแกมมา การวัดทำโดยวัดเป็นมุม ซึ่งพอเทนชิออมิเตอร์แบบวงกลมจะต้องหมุน จนกระทั่งเกิดเสียงที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งสามารถได้ยินผ่านหูฟัง เมื่อระดับรังสีต่ำ ก็ไม่ได้ยินเสียง เมื่อระดับรังสีเพิ่มขึ้นสูกกว่าค่าที่ตั้งไว้ ก็จะได้ยินเสียง ระบบนี้มักเรียกกันว่า ระบบ โก หรือ โนโก (ทำนอง ผ่านหรือไม่ผ่าน หรือ มีรังสีหรือไม่มีรังสี) ผลการตรวจสอบและประเมินสรุปว่า เรดิแอกมิเตอร์เลสส์ นี้ มีขีดจำกัดสำคัญบางประการเกินกว่าระบบการวัดในปัจจุบัน ในปี 1951 เอ็นบีเอสเรียกอุปกรณ์ชิ้นนี้ว่า เครื่องสำรวจรังสีแกมมาโมเดล 1 (Model 1 Gamma Survey Equipment) |
 |
เครื่องสำรวจรังสี AN/PDR-37 (XN-1) ปี 1952 |
|
จาก http://national-radiation-instrument-catalog.com/new_page_120.htm
โพสต์เมื่อ : 19 เมษายน 2555 |
|