Nuclear Science
STKC 2555

รังสีมีผลต่อมนุษย์อย่างไร ?
How Does Radiation Affect Humans?

โกมล อังกุรรัตน์
ศูนย์ ไอโซโทปรังสี
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

          การแผ่รังสีที่มีผลกระทบต่อมนุษย์ อาจมีแหล่งกำเนิดมาจากภายนอก เช่น จากเครื่องเอกซเรย์ หรือมาจาก แหล่งกำเนิดภายใน เช่น การฉีดไอโซโทปรังสีเข้าสู่ร่างกาย ผลกระทบของการแผ่รังสีที่มีต่อเนื้อเยื่อร่างกายค่อนข้าง ซับซ้อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของการแผ่รังสี และความหลากหลายของเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ ผลกระทบของการแผ่รังสี จะไม่ง่าย เสมอไป ที่จะแยกแยะจากสาเหตุจากผลกระทบอื่น ๆ ซึ่งเป็นการท้าทายตลอดเวลาของนักวิทยาศาสตร์ ทั้งหลาย ที่จะแยกความแตกต่างถึงผลกระทบนี้ ในภาพรวมอาจจะช่วยอธิบายเกี่ยวกับผลกระทบไม่เพียงแต่การแผ่รังสี แต่เป็นแรงจูงใจในการศึกษาถึงผลกระทบต่าง ๆ นี้ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบและการวิจัยอีกมาก

รังสีชนิดก่อไอออนมีผลอะไรต่อพันธะเคมี ? (What effect can ionizing radiation have on chemical bonds?)
          การทำหน้าที่ต่าง ๆ ของเนื้อเยื่อจะดำเนินการโดยโมเลกุล ซึ่งประกอบขึ้นด้วยอะตอมชนิดต่างกัน ที่ยึดเหนี่ยวกัน ด้วยพันธะทางเคมี บางโมเลกุลจะใหญ่มาก การทำหน้าที่อย่างเหมาะสมของโมเลกุลเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ และโครงสร้าง รูปร่าง การเปลี่ยนแปลงพันธะทางเคมี อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบและโครงสร้าง ซึ่งรังสีชนิดก่อไอออน มีประสิทธิภาพพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ ดังตัวอย่างเช่นบางชนิดของการทำให้เกิด ไอออน สามารถที่จะทำให้เกิดการปลดปล่อยพลังงานมากหกถึงเจ็ดเท่า ของพลังงานที่ต้องการใช้ในการทำให้ พันธะทางเคมี ระหว่างอะตอมของคาร์บอนสองอะตอมแยกจากกันได้ ความสามารถในการทำลายพันธะเคมี ซึ่งหมายความว่า รังสีชนิดก่อไอออนจะเน้นผลกระทบ ที่มีอยู่ในพื้นที่ขนาดเล็กมาก แต่เป็นพื้นที่ที่สำคัญ เป็นการกระทบ ที่เหมือนกับ นักคาราเต้ผู้เชี่ยวชาญ ใช้พลังในการเน้นทำลายก้อนอิฐ ในจำนวนเดียวกันของพลังงานรูปแบบอื่น จะมีการกระจายพลังงานในวงกว้างมาก ในรูปของพลังที่ไม่ก่อให้เกิดไอออน ทำให้มีผลกระทบน้อยกว่า ตัวอย่างเช่น ปริมาณของพลังงานที่ทำให้เกิด ปริมาณรังสีถึงตาย ของรังสีชนิดก่อไอออน จะมีปริมาณเท่ากับปริมาณของ พลังงานความร้อน เทียบเท่ากับการจิบกาแฟเพียงครั้งเดียว ความแตกต่างที่สำคัญก็คือ พลังงานความร้อนจาก กาแฟ จะมีการกระจายอย่างกว้างขวาง ในรูแบบของพลังงานความร้อนที่ไม่ก่อให้เกิดไอออน ในขณะที่พลังงานที่เกิดจาก การแผ่รังสี จะมีความเข้มข้นในรูปแบบและทำให้เกิด ไอออน

ดีเอ็นเอคืออะไร ? (What is DNA?)
          จากโมเลกุลทั้งหมดในร่างกาย ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ ดีเอ็นเอ (deoxyribose nucleic acid) จะเป็นพิมพ์เขียว พื้นฐาน สำหรับทุกโครงสร้างของร่างกาย พิมพ์เขียวของดีเอ็นเอ จะถูกเข้ารหัสในแต่ละเซลล์ เรียงกันเป็นลำดับ ที่ยาวของโมเลกุลเล็ก ๆ เชื่อมโยงเข้าด้วยกันเป็นห่วงโซ่ เหมื่อนกับตัวอักษรในโทรเลข ดีเอ็นเอ (DNA) สามารถ ทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลทาง พันธุุกรรม (heredity) ของสิ่งมีชีวิตได้ โดยอาศัยการเก็บในรูปของ รหัสพันธุกรรม (genetic code) ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่เซลล์ต้องการแบ่งตัวนั้น ส่วนของดีเอ็นเอก็จะมีการ จำลองตัวเอง (replication) โมเลกุลของดีเอ็นเอจะเป็นห่วงโซ่ยาวมโหฬารของอะตอม ม้วนรอบโปรตีน และอัดแน่นในโครงสร้างที่เรียกว่า โครโมโซม ภายในนิวเคลียสของเซลล์ เมื่อนำเอาดีเอ็นเอในเซลล์มนุษย์เพียงหนึ่งเซลล์มาคลายเกลียวออก อาจจะวัดความยาวได้มากกว่า 2 เมตร โดยปกติจะมี โครโมโซม 23 คู่ อัดแน่นอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 10 ไมโครเมตร (0.000001 เมตร) ในเวลาใดเวลาหนึ่ง ของการสร้างโมเลกุลที่เฉพาะ จะใช้เพียงส่วนเล็ก ๆ ของดีเอ็นเอ เพื่อมาจำลองตัวในแต่ละเซลล์ จะมีการจำลองตัวอย่างต่อเนื่อง ของส่วนต่าง ๆ ของดีเอ็นเอของตัวเอง สร้างโมเลกุลที่สดใหม่ เพื่อทำหน้าที่ดำเนินงานที่หลากหลาย เป็นความทรงจำที่เลวร้าย ที่โครงสร้างของดีเอ็นเอ ยังไม่มีความชัดเจนจนกระทั่งปี 1953 ขณะนี้มีภาพที่ชัดเจนมากขึ้นจากสิ่งที่เกิดขึ้นในเซลล์ ได้มากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินการในปี 1944

รังสีชนิดก่อไอออนมีผลใดต่อดีเอ็นเอ ? (What effect can ionizing radiation have on DNA?)
          รังสีชนิดก่อไอออนโดยนิยาม “ionizes” คือการที่ไปผลักดันอิเล็กตรอน ให้หลุดออกมาจากวงโคจรของมัน ที่วิ่งรอบนิวเคลียสของอะตออม ทำให้เกิดประจุขึ้นที่อะตออมหรือโมเลกุล ถ้าอิเล็กตรอนนั้นหลุดออกมาจากตัวของ ดีเอ็นเอเอง หรือหลุดออกมาจากโมเลกุลข้างเคียง แล้วไปชนกับโมเลกุลของดีเอ็นเอโดยตรง มีผลทำให้สายดีเอ็นเอ แตกจากกัน ผลอันนี้เรียก ว่า “การกระทำโดยตรง” การเริ่มต้นของการก่อไอออนใช้เวลารวดเร็วมาก ประมาณ 0.000000000000001 วินาทีเท่านั้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันประมาณว่า สองในสามของสาเหตุที่ทำให้เกิด ความเสียหายนี้ มีผลมาจากรังสีเอกซ์อันเป็นผล “การกระทำทางอ้อม” ที่เกิดจาก อิเล็กตรอน ที่ถูกปลดปล่อยออกมา จะไม่ไปชนกับ ดีเอ็นเอ โดยตรง แต่จะไปชนกับโมเลกุลของน้ำธรรมดา ทำให้เกิดไอออนของโมเลกุลของน้ำ ทำให้ เกิดผลที่เรียกว่า “อนุมูลอิสระ (free radical)” ตัวอนุมูลอิสระจะทำให้เกิด ปฏิกิริยา ที่รุนแรงมากกับโมเลกุลอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ตัวมันเองมีอิเล็กตรอนที่ครบ และอยู่ในสภาพที่เสถียร  อนุมูลอิสระจะมีเวลาในการคงตัว ที่นานกว่า การเริ่มต้นของการก่อไอออน มากกว่า 10,000,000,000 เท่า (แต่ก็ยังเป็นเวลาที่สั้นมากประมาณ 0.00001 วินาที) จึงทำให้โอกาสที่จะ ทำความเสียหาย ให้ ดีเอ็นเอที่สำคัญ เพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ก็เพิ่มความเป็นไปได้ ที่จะลดความเสียหาย ที่อาจจะเกิดจากอนุมูลนี้ โดยการเพิ่มเติมสารอื่น ๆ เข้าไป เพื่อทำให้ตัวอนุมูลอิสระมีความเป็นกลางคงตัว
          นิวตรอนจะมีผลกระทำที่แตกต่างออกไป “นิวตรอนเร็ว (fast neutron)” จะวิ่งผ่านวงโคจรของอิเล็กตรอน ไปชนกับนิวเคลียสของอะตอมโดยตรง ไปกระแทกให้อนุภาคขนาดใหญ่หลุดออกมา เช่น อนุภาคแอลฟา โปรตอน หรือ ชิ้นส่วนขนาดใหญ่ของนิวเคลียส โดยปกติทั่วไป การชนจะเกิดกับนิวเคลียสของ คาร์บอน หรือ ออกซิเจน  อนุภาคที่เกิดขึ้นนี้ก็จะไปทำให้เกิด ไอออน กับ อิเล็กตรอนข้างเคียง  “นิวตรอนช้า (slow neutron)” เมื่อไปชนกับ นิวเคลียส จะไม่มีพลังงานเพียงพอ ที่จะไปกระแทกให้อนุภาคขนาดใหญ่หลุดออกมาได้ การชนของนิวตรอนช้ากับ นิวเคลียส เหมือนกับการชนกันของ ลูกบิลเลียด คือนิวตรอนจะถ่ายโอนพลังงานให้กับนิวเคลียส ทำให้ตัวเองมีความเร็ว ลดลง แต่นิวเคลียสจะมีความเร็วเพิ่มขึ้น การชนกันแบบนี้ที่รู้กันอย่างดีก็คือ การชนของ นิวตรอนช้า กับ นิวเคลียสของไฮโดรเจน ทำให้เกิด โปรตอน ที่สามารถไปกระตุ้น หรือทำให้เกิดไอออน กับอิเล็กตรอนในอะตอม ข้างเคียง

อะไรคือผลกระทบทันทีของรังสีชนิดก่อไออนที่มีต่อเซลล์ ? (What immediate effects can ionizing radiation have on living cells?)
          ทั้งหมดของการชนและการก่อไออนใช้เวลาเร็วมาก (น้อยกว่าหนึ่งวินาที) แต่การแสดงผล ถึงผลที่จะเกิดขึ้น ทางชีววิทยา จะใช้เวลาที่นานกว่า ถ้าความเสียหายนั้นเพียงพอที่จะฆ่าเซลล์ จะสังเกตเห็นผลได้ภายในหนึ่งชั่วโมง หรือหนึ่งวัน การตายของเซลล์แบ่งได้เป็นสองแบบ คือ ผลแบบแรก เซลล์ไม่สามารถที่จะคงสถานะหน้าที่ของตัวเองได้ อันเป็นผลมาจากเกิดการก่อไออนภายใน ผลอันนี้ต้องได้รับ อัตราปริมาณรังสี ประมาณ 100 เกรย์ (gray) (10,000 แร็ด (rad)) (เกรย์เป็นหน่วยวัด ปริมาณรังสีดูดกลืน โดย 1 เกรย์ มีค่าเท่ากับ 1 จูลต่อกิโลกรัม มวลสาร) ผลแบบที่ 2 คือ การตายของเซลล์สืบพันธุ์ (mitotic inhibition) ที่อาจเกิดขึ้น เมื่อเซลล์ไม่สามารถจำลองแบบตัวเองได้อีก แต่ยังคงสถานะหน้าที่อื่น ๆ ได้ ผลอันนี้ต้องได้รับ อัตราปริมาณรังสี 2 เกรย์ (200 rad) ซึ่งสามารถทำให้เซลล์สืบพันธุ์ ตายได้ครึ่งหนึ่ง ของจำนวนเซลล์ที่ไดรับรังสี (ปริมาณรังสีขนาดนี้เรียกว่า อัตราเฉลี่ยปริมาณรังสีถึงตาย) วันนี้เรา ยังขาดข้อมูลเพียงพอ ที่จะเลือกระหว่างแบบอย่างต่าง ๆ ที่มีการนำเสนอ ในการอธิบายการตายของเซลล์ ในแง่ของ สิ่งที่เกิดในระดับอะตอมและโมเลกุล ภายในเซลล์ ถ้าอัตราปริมาณรังสีเพียงพอทำให้เซลล์ที่สำคัญ ๆ ในร่างกายหยุด ทำหน้าที่ทั้งหมด ผลเป็นอันตรายถึงตาย การตายอาจเป็นผลมาจาก การที่เซลล์หยุดการสร้างเสริมเซลล์ใหม่ขึ้นมา ทดแทนในส่วนของร่างกาย โดยที่เซลล์นั้นต้องมีการสร้างเสริมขึ้นมาทดแทนในอัตราที่สูง เช่นเนื้อเยื่อเซลล์สร้าง เม็ดเลือด และเยื่อบุทางเดินลำไส้ อัตราปริมาณรังสี สูง 100 เกรย์ (1,000 rad) ถ้าได้รับทั่วร่างกาย จะทำให้เสียชีวิต ได้ใน 24 ชั่วโมง ถึง 48 ชั่วโมง ถ้าได้รับ อัตราปริมาณรังสีทั่วร่างกาย 2.5 ถึง 5 เกรย์ (250 ถึง 500 rad) จะทำให้เสียชีวิตภายในสองถึงสามสัปดาห์ ถ้าอัตราที่ต่ำกว่านี้ หรือได้รับอัตราปริมาณรังสีเฉพาะที่ จะมีผลไม่ถึงกับ เสียชีวิต แต่จะเกิดอาการเพราะเนื่องจาก มีการสูญเสียเซลล์ไปเป็นจำนวนมาก ผล อันนี้ครั้งหนึ่งเรียกว่า nonstochastic แต่ปัจจุบันเรียกว่า deterministic การไหม้ของผิวหนัง อันเป็นผลจากการได้รับรังสีบีตา คือตัวอย่าง ของ deterministic

อะไรคือผลกระทบระยะยาวของการได้รับรังสี ? (What long-term effects can radiation have?)
          ผลของรังสีอาจจะไม่สามารถฆ่าเซลล์ให้ตายได้ แต่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน รหัสของดีเอ็นเอ โดยที่ เซลล์ยังมีชีวิตอยู่ แต่จะมี ความผิดพลาดอยู่ในพิมพ์เขียวดีเอ็นเอ ผลของการกลายพันธุ์นี้ จะขึ้นอยู่กับลักษณะ ข้อผิดพลาด และเมื่อมีการอ่านพิมพ์เขียวดีเอ็นเอ เพื่อจำลองตังเองเนื่องจากอันนี้เป็นกระบวนการสุ่มเลือก ผล อันนี้ ปัจจุบันจึงเรียกว่า stochastic ผลกระทบ 2 อย่างที่สำคัญของ stochastic ของการแผ่รังสีคือ มะเร็งอันเป็นผลมาจาก การกลายพันธุ์ของเซลล์ ที่ไม่ใช่เซลล์สืบพันธุ์ หรือ เซลล์ร่างกาย ทั่วไป และการสืบทอดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกิดจาก การกลายพันธุ์ของ เซลล์สืบพันธุ์ เช่น ไข่ และ อสุจิ

รังสีชนิดก่อไอออนทำให้เป็นมะเร็งได้อย่างไร ? (How can ionizing radiation cause cancer?)
          มะเร็ง ถูกก่อให้เกิดขึ้นเนื่องจาก การแผ่รังสีไม่ได้ทำให้เซลล์ตาย แต่ทำให้ เกิดข้อผิดพลาดขึ้นในพิมพ์เขียวดีเอ็นเอ ก่อให้เกิดการสูญเสียในการควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์  เซลล์จะเริ่ม การแบ่งตัวขยายปริมาณไปเรื่อย โดยไม่สามารถที่จะควบคุมได้ ผลอันนี้จะไม่ปรากฎให้เห็นเป็นเวลาหลายปี มะเร็ง ที่ถูกก่อให้เกิดจากการได้รับการแผ่รังสีจะ ไม่มีความแตกต่าง จากมะเร็งที่ถูกก่อจากสาเหตุอื่น ดังนั้น จึงไม่มีวิธีง่าย ๆ ที่จะวัดอัตราการเกิดมะเร็ง อันเนื่องมาจากการแผ่รังสี ได้มีการศึกษา ที่อุทิศให้กับสัตว์ที่ถูกนำมาฉายรังสี และกลุ่มบุคคล ที่ได้รับรังสีในการพัฒนาที่ดีขึ้น ของการประมาณความเสี่ยงของมะเร็งอันเนื่องมาจากรังสี ประเภทของงานวิจัยจะมี ความซับซ้อน โดยความหลากหลายของมะเร็งที่มีความแตกต่างและ ความไวต่อการได้รับรังสี ตัวอย่างเช่น ไขกระดูก จะมีความไวต่อรังสีมากกว่า ผิวหนัง ที่รังสีจะก่อให้เกิดเป็นมะเร็ง
          อัตราปริมาณรังสีขนาดสูง ๆ ที่คนจำนวนมากได้รับ จะเป็นข้อมูลที่ต้องการ เพื่อที่สามารถจะวัดจำนวน การเพิ่มขึ้นของมะเร็ง และเพื่อหาความแตกต่างของความไวต่อรังสีของอวัยวะที่ต่างกัน ในการเกิดมะเร็ง ทั้งนี้เพราะว่า มะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ในชีวิตคนที่ได้รับการแผ่รังสี ซึ่งการศึกษานี้อาจต้องใช้เวลาถึง 70 ปี หรือมากกว่า จึงจะได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น การศึกษาทางระบาดวิทยาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดทางด้านวิทยาศาสตร์ และมีค่ามากที่สุด ของผลกระทบของรังสี ที่ยังมีการศึกษาอยู่อย่างต่อเนื่องของ คนญี่ปุ่นที่มีชีวิตรอดมาจากลูกระเบิดนิวเคลียร์ การศึกษาที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่การศึกษาในคนกลุ่มใหญ่ ที่สัมผัสกับรังสีอันเป็นผลมาจาก การประกอบอาชีพ เช่น คนงานในเหมืองยูเรเนียม หรือเป็นผลมาจาก การรักษาทางการแพทย์

รังสีชนิดก่อไอออนทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้อย่างไร ? (How can ionization radiation produce genetic mutations?)
          การแผ่รังสีอาจทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอ ในเซลล์ใด ๆ ได้ ความเสียหายของ เซลล์และการตาย อันเป็นผลมาจากการกลายพันธุ์ในเซลล์ร่างกาย เกิดขึ้นเฉพาะในสิ่งมีชีวิตที่เกิดการกลายพันธุ์  ดังนั้นจึงเรียกว่า ผลกระทบซลล์ร่างกาย หรือ ไม่มีการสืบทอดการเปลี่ยนแปลง มะเร็งจะมีผลกระทบระยะยาวกับเซลล์ร่างกาย ในทางตรงกันข้าม การกลายพันธุ์จะเกิดขึ้นใน เซลล์สืบพันธุ์ คือ อสุจิและไข่ (sperm and ova) ซึ่งสามารถถ่ายทอด ส่งต่อมีผลไปยังคนรุ่นต่อไป จึงเรียกว่าผลของ ผลกระทบทางพันธุ์กรรม และ การสืบทอด ผลกระทบทางพันธุ์กรรม อาจไม่ปรากฎทันที แต่จะเห็นผลได้ในหลายรุ่นต่อ ๆ มา ผลกระทบทางพันธุ์กรรมของการได้รับการแผ่รังสี ถูกแสดง ให้เห็นเป็นครั้งแรกใน แมลงวันผลไม้ ในปี 1920-1929 การกลายพันธุ์ทางพันธุ์กรรมที่เป็นผลมาจากการแผ่รังสี จะไม่แสดงผลให้เห็นในรูปของ สัตว์ประหลาด อย่างในนิยายวิทยาศาสตร์ มันจะมี ผล และ ความถี่ ที่ใกล้เคียง เหมือนกับการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นไปเองโดยธรรมชาติ เหมือนกับกรณีของมะเร็ง ผลกระทบ ทางกรรมพันธุ์ของการแผ่รังสีจะเป็นไปไม่ได้ ที่จะแยกความแตกต่างจากการ กลายพันธุ์อันเนื่องมาจากสาเหตุอื่น ๆ ปัจจุบันอย่างน้อย เราก็ทราบว่ามีโรคที่เป็นผลจากการกลายพันธุ์ 1300 โรค การกลายพันธุ์บางอย่างอาจเป็นประโยชน์ การสุ่มเลือกการกลายพันธุ์เป็นแรงผลักดันในการวิวัฒนาการ ได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางในหมู่นักวิทยาศาสตร์ ถึงขอบเขตและผลกระทบ ที่จะเกิดภายหลังของ การก่อการกลายพันธุ์อันเนื่องมาจากการแผ่รังสี ในทาง ตรงกันข้ามกับการคาดการณ์ถึงความเสี่ยงโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษาของประชากรมนุษย์ จากการประมาณการความเสี่ยงสืบทอด โดยส่วนใหญ่ศึกษาจากสัตว์ รวมกับการศึกษาจากผู้รอดชีวิตจากระเบิดนิวเคลียร์ ของชาวญี่ปุ่น
          ความเสี่ยงของการกลายพันธุ์จะแสดงในแง่ของ ปริมาณรังสีสองเท่า (doubling dose) ปริมาณรังสีที่จะทำให้ เพิ่มการกลายพันธุ์เท่ากัน ในจำนวนที่เกิดขึ้นในธรรมชาติอยู่แล้วจากทุกสาเหตุ ดังนั้น จึงเป็นอัตราเพิ่มขึ้นสองเท่า ของการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ
          เป็นที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่า อัตราการกลายพันธุ์ขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีเชิงเส้นโดยตรง ไม่มีขอบเขตกำหนด อัตราปริมาณรังสีขั้นต่ำ ถึงการไม่เพิ่มขึ้นของการกลายพันธุ์ การกลายพันธุ์โดยธรรมชาติที่ไม่เกี่ยวข้องกับรังสี เกิดขึ้น ตามธรรมชาติในอัตราประมาณ 1/10,000 ถึง 1/1,000,000 ของหน่วยเซลล์ต่อยีน ที่มีความหลากหลายของยีน จาก 1 ยีน ไปยังยีนอื่น ๆ
          ได้มีการพยายามทำในการประมาณการ ผลของรังสีชนิดก่อไอออน กับ อัตราการกลายพันธุ์ของมนุษย์ โดยการศึกษาลูกหลานของทั้งผู้ที่ได้รับ และไม่ได้รับการแผ่รังสี ของผู้รอดชีวิตจากลูกระเบิดนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น โดยคาดการณ์ทั้งหมดขึ้นอยู่กับ การเปรียบเทียบของอัตราข้อบกพร่องที่เป็นมาแต่กำเนิด และโรคมะเร็งระหว่าง ผู้รอดชีวิตที่ได้รับ และไม่ได้รับการแผ่รังสี เช่นเดียวกันกับการนับโดยตรง ของกลายกลายพันธุ์ของจำนวนส่วนน้อย ของยีน ในที่สุดยังไม่ปรากฏข้อสังเกตที่เด่นชัด ในหมู่ลูกหลานของผู้รอดชีวิตที่ได้รับการแผ่รังสี
          ยังไม่มีหลักฐานอ้างอิงโดยตรง ของการเพิ่มขึ้นของผลกระทบสืบทอดทางกรรมพันธุ์ ของมนุษย์จากการได้รับ การแผ่รังสีใด ๆ  ประมาณการจากความเสี่ยงทางกรรมพันธุ์ในมนุษย์ ได้รับการเปรียบเทียบกับข้อมูลการทดลองที่ได้รับ จากสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ตาม ประมาณการของความเสี่ยงทางพันธุ์กรรมของมนุษย์ มีความแตกต่างอย่างมากกับ จากข้อมูลของสัตว์ ดังตัวอย่าง แมลงวันผลไม้จะมีโครโมโซมที่ใหญ่มาก ที่มีความอ่อนไหวต่อการได้รับการแผ่รังสี อย่างมีเอกลักษณ์ มนุษย์อาจจะมีความอ่อนไหวมากกว่าที่คาดคิดกันก่อนหน้านี้ ทางสถิติได้คำนวณข้อกำหนดขั้นต่ำ ของปริมาณรังสีสองเท่า ซึ่งตรงกันกับข้อมูลของมนุษย์ โดยที่ไม่มีความสามารถที่จะหาข้อมูลถึงผลกระทบในมนุษย์ ข้อกำหนดขั้นต่ำสำหรับทางด้านพันธุ์กรรม ของอัตราปริมาณรังสีสองเท่าของมนุษย์คิดว่าจะน้อยกว่า 100 เร็ม

ถอดความจาก http://hss.energy.gov/healthsafety/ohre/roadmap/achre/intro_9_5.html

โพสต์เมื่อ : 2 มีนาคม 2555