Nuclear Science
STKC 2555

วาทะของรัทเทอร์ฟอร์ด

สุรศักดิ์ พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ไคม์ ไวส์มันน์ (Chaim Weizmann) เป็นยิวที่เกิดในรัสเซีย (บริเวณที่ปัจจุบันคือประเทศ เบลารุส) เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์และย้ายไปตั้งหลักที่ประเทศอังกฤษ โดยสอนวิชาเคมีที่ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ บั้นปลายของชีวิตเขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศอิสราเอล ไวส์มันน์ เป็นเพื่อนกับ รัทเทอร์ฟอร์ด และรู้จัก ไอน์สไตน์ เป็นการส่วนตัว เขาเคยเปรียบเทียบ ยอดอัจฉริยะ ทางวิทยาศาสตร์ทั้งสองคนนี้เอาไว้ และกล่าวถึงรัทเทอร์ฟอร์ดว่า (ที่จริงพูดไว้ยาว แต่ตัเอามาบางส่วน)

“As scientists the two men were contrasting types—Einstein all calculation, Rutherford all experiment ... There was no doubt that as an experimenter Rutherford was a genius, one of the greatest. He worked by intuition and everything he touched turned to gold. He had a sixth sense.”

(ในความเป็นนักวิทยาศาสตร์ ทั้งสองคนเป็นแบบที่ขัดแย้งกัน ไอน์สไตน์ทำแต่การคำนวณ และรัทเทอร์ฟอร์ด ทำแต่การทดลอง ... ไม่มีข้อสงสัยว่าในฐานะนักทำการทดลอง รัทเทอร์ฟอร์ดคืออัจฉริยะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง เขาทำงานอย่างมีไหวพริบ และทุกสิ่งเขาแตะกลายเป็นทองคำ เขาคือคนที่มีสัมผัสที่หก)

          รัทเทอร์ฟอร์ดจะยอดเยี่ยมอย่างที่ไวส์มันน์ว่าไว้หรือไม่ ย่อมสะท้อนได้จากวาทะที่เขากล่าวไว้มากมาย ตลอดชีวิตของเขา ซึ่งได้คัดบางส่วนที่สะท้อนบุคลิก หรือเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์มาไว้ ณ ที่นี้ ทั้งนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่ง ของการเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบหนึ่งศตวรรษของการค้นพบนิวเคลียสของอะตอมของเขา
          วาทะของเขามีการบันทึกจดจำกันไว้หลายคนหลายที่ ซึ่งหลายครั้งที่วาทะเดียวกัน ต่างคนต่างจำกันมา หลายครั้งที่วาทะเดียวกันกลายเป็นหลายสำนวน

  • When we have found how the nucleus of atoms is built up we shall have found the greatest secret of all — except life.

(เมื่อใดที่เราค้นพบได้ว่า นิวเคลียสของอะตอมเกิดขึ้นจากอะไร เราก็จะค้นพบความลับที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของทุกสรรพสิ่ง---ยกเว้นความลับของชีวิต)

          นี่เป็นอีกสำนวนหนึ่งที่คล้าย ๆ กัน

  • We shall have found the basis of everything — of the earth we walk on, of the air we breathe, of the sunshine, of our physical body itself, of everything in the world, however great or however small — except life.

(เราจะค้นพบพื้นฐานของทุกสิ่ง—คือ ของโลกที่เราย่ำอยู่ ของอากาศที่เราหายใจ ของแสงแดด ของร่างกายของเราเอง ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ไม่ว่าจะใหญ่โตแค่ไหน หรือเล็กเพียงใด — เว้นแต่ชีวิต)

          สามสำนวนต่อไปนี้คือวาทะเดียวกัน

  • If you can't explain your physics to a barmaid it is probably not very good physics.
  • A theory that you can't explain to a bartender is probably no damn good.
  • An alleged scientific discovery has no merit unless it can be explained to a barmaid.

(สิ่งที่อ้างว่าเป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ จะไม่มีคุณค่าอะไร ถ้าอธิบายให้บาร์เทนเดอร์ฟังแล้วเขาไม่รู้เรื่อง)

          รัทเทอร์ฟอร์ดถือว่าตัวเองเป็นนักฟิสิกส์ เห็นได้ชัดจากสามวาทะต่อไปนี้ เริ่มที่วาทะที่มีชื่อเสียงมากที่สุด
         

          วาทะที่ 1 (3 สำนวน)

  • All science is either physics or stamp collecting.

(วิทยาศาสตร์ต้องฟิสิกส์ นอกนั้นก็แค่เล่นสะสมแสตมป์)

  • That which is not measurable is not science. That which is not physics is stamp collecting.

(อะไรที่วัดไม่ได้ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ (ท่อนแรกนี้ ว่ามาจากลอร์ดเคลวิน) วิทยาศาสตร์ที่ไม่ใช่ฟิสิสก์ ก็คือการเล่นสะสมแสตมป์)

  • Physics is the only real science. The rest are just stamp collecting.

          วาทะที่ 2

  • Don't let me catch anyone talking about the universe in my department.

(อย่าให้จับได้ว่า มีใครพูดเรื่องจักรวาลในภาควิชาของผม)

          วาทะที่ 3 (เขาได้พูดถึงรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 1908 ของเขา)

  • I must confess it was very unexpected and I am very startled at my metamorphosis into a chemist.

(ผมต้องสารภาพว่า คาดไม่ถึงจริง ๆ และประหลาดใจอย่างมาก กับการแปลงร่างของผม (จากนักฟิสิกส์) ไปเป็นนักเคมี”)

          ลอร์ดเคลวินเจ้าของที่มาขององศาเคลวิน ที่จริงเขาค้นพบอะไรไว้มากมายจนมีชื่อเสียงมาก เขาแก่มาก แล้วตอนที่รัทเทอร์ฟอร์ดกำลังเป็นดาวรุ่งพุ่งขึ้นมา วาทะต่อไปนี้ รัทเทอร์ฟอร์ดเล่าถึงวันที่เขาขึ้นไปกล่าวสุนทรพจน์ ในราชสมาคม (Royal Institute) เมื่อปี 1905         

  • I came into the room which was half-dark and presently spotted Lord Kelvin in the audience, and realised that I was in for trouble at the last part of my speech dealing with the age of the Earth, where my views conflicted with his.
    To my relief, Kelvin fell fast asleep, but as I came to the important point, I saw the old bird sit up, open an eye and cock a baleful glance at me.

Then a sudden inspiration came, and I said Lord Kelvin had limited the age of the Earth, provided no new source [of heat] was discovered. That prophetic utterance referred to what we are now considering tonight, radium! Behold! The old boy beamed upon me.


          (ผมเดินเข้าไปในห้องที่ดูจะมืดทึม และพอดีเห็นลอร์ดเคลวินนั่งอยู่ด้วยในกลุ่มผู้ฟัง ผมรู้ทันทีว่า ผมต้องลำบากแน่ ในตอนท้ายของการพูดซึ่งผมจะพูดถึงอายุของโลก (ลอร์ดเคลวินเป็นคนหนึ่งที่เสนอการคำนวณ อายุของโลก เอาไว้) ซึ่งความเห็นเราขัดกัน
          ผมโล่งอกที่เห็นเคลวินม่อยหลับไป แต่พลันที่ผมเข้ามาถึงประเด็นที่ว่า ผมก็เห็นนกเฒ่ายืดตัวขึ้น ตาเปิดขึ้นข้างหนึ่งเขม้นมองมาที่ผมอย่างหมายขวัญ
          พลันผมก็เกิดสิ่งดลใจ แล้วผมก็พูดไปว่า ลอร์ดเคลวินได้จำกัดอายุของโลกเอาไว้ดีแล้ว ตราบเท่าที่ไม่มีการค้นพบแหล่งกำเนิด (ความร้อน) ใหม่ ซึ่งคำทำนายนั้นก็คือสิ่งที่เรากำลังพูดถึงกันคืนนี้ นั่นก็คือ ธาตุเรเดียม ! ดูนั่น ! ตาเฒ่ายิ้มกว้างให้ผมด้วย)

          มาลองดูวาทะอื่น ๆ กัน

  • If your experiment needs statistics, you ought to have done a better experiment.

(ถ้าการทดลองของคุณต้องใช้สถิติ (ค่าที่ได้มีความไม่แน่นอน) คุณต้องทำการทดลองให้ดีกว่านี้)

  • You should never bet against anything in science at odds of more than about 10-12 to 1

(คุณอย่าได้พนันอะไรทางวิทยาศาสตร์ ถ้ามีโอกาสแค่มากกว่า 10 ถึง 12 ต่อ 1)

  • The only possible conclusion the social sciences can draw is: some do, some don't.
  • The only possible interpretation of any research whatever in the 'social sciences' is: some do, some don't.

(การวิจัยทางสังคมวิทยา ทำนายได้แค่ : บ้างก็ได้ บ้างก็ไม่ได้)

  • Of all created comforts, God is the lender; you are the borrower, not the owner.

(ความสุขสบายทั้งมวลที่มี พระเจ้าให้ยืมมา โดยคุณเป็นผู้ยืม ไม่ใช่เจ้าเข้าเจ้าของ)

วาทะนี้เป็นข้อความในจดหมายที่รัทเทอร์ฟอร์ดเขียนถึงแม่เมื่อวันที่ 5 มกราคม 1902

  • I have to keep going, as there are always people on my track. I have to publish my present work as rapidly as possible in order to keep in the race. The best sprinters in this road of investigation are Becquerel and the Curies...

(ผมต้องก้าวเดินไปข้างหน้าไม่หยุดยั้ง เพราะมีคนมากมายที่เดินมาทางเดียวกับผม และผมต้องพิมพ์ผลงานล่าสุดให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อให้ผมยังอยู่ในการแข่งขัน และคู่แข่งที่เร็วที่สุดของผมบนถนนสายนี้ก็คือ แบ็กเกอแรลกับสามี-ภรรยากูรี...)

  • I've just finished reading some of my early papers, and you know, when I'd finished I said to myself, 'Rutherford, my boy, you used to be a damned clever fellow.'

(ผมเพิ่งอ่านบทความแรก ๆ ของผมเสร็จ และคุณรู้ไหมว่า ตอนที่อ่านเสร็จผมพูดกับตัวเองว่า ‘รัทเทอร์ฟอร์ด ไอ้หนูเอ๋ย เมื่อก่อนนายนี่มันฉลาดสุด ๆ ไปเลย’ (วาทะเมื่อปี 1911))

          ขอปิดท้ายด้วยสามวาทะที่เกี่ยวกับการค้นพบนิวเคลียสของอะตอมของเขา
            วาทะที่ 1(ผลการทดลองระดมยิงอนุภาคแอลฟาเข้าไปที่แผ่นทองคำเปลว ที่พบว่า อนุภาคแอลฟาส่วนใหญ่ผ่านทะลุไปด้านหลัง ด้านข้างบ้าง แต่มีเล็กน้อยที่กระดอนกลับหลังยังกับไปชนเข้ากับของแข็ง ซึ่งก็คือนิวเคลียสของอะตอมทองคำ)

  • It was quite the most incredible event that has ever happened to me in my life. It was almost as incredible as if you fired a 15-inch shell at a piece of tissue paper and it came back and hit you.

(นี่เป็นเหตุการณ์ที่เหลือเชื่อที่สุดในชีวิตของผม มันไม่น่าเชื่อ เหมือนกับคุณยิงลูกปืนใหญ่ขนาด 15 นิ้วเข้าไปที่แผ่นกระดาษทิชชู่ แล้วลูกปืนนั้นกระดอนกลับมายิงใส่ตัวคุณเอง)


            วาทะที่ 2

  • Now I know what the atom looks like.

(เดี๋ยวนี้ผมรู้แล้วว่าอะตอมหน้าตาเป็นอย่างไร)

            วาทะที่ 3

  • The energy produced by the breaking down of the atom is a very poor kind of thing. Anyone who expects a source of power from transformation of these atoms is talking moonshine.

(พลังงานที่ผลิตออกมาจาการแบ่งแยก (นิวเคลียสของ) อะตอมนั้นเล็กน้อยมาก ใครที่หวังจะหาแหล่งพลังงานจากการแปลงของอะตอมพวกนี้ (พลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์) กำลังพูดเรื่องเหลวใหล)

          วาทะสุดท้ายนี้แสดงให้เห็นว่าอัจฉริยะก็พูดผิดได้ เพราะทุกวันนี้พลังงานนิวเคลียร์คือ แหล่งพลังงาน สำคัญของโลกอย่างหนึ่ง และการพูดผิดนี้ก็ไม่เสียหาย เพราะสมัยของรัทเทอร์ฟอร์ดยังไม่มีคำว่าเทคโนโลยี และเขาไม่มีทางรู้ว่าหลังจากที่เขาตายไปแล้ว จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เป็นตัวเร่งการพัฒนา พลังงานนิวเคลียร์ ให้สำเร็จได้ในเวลาอันสั้น และการที่พูดผิดนี้แหละ วาทะนี้จึงได้โด่งดังนัก

โพสต์เมื่อ : 5 ตุลาคม 2554