Nuclear Science
STKC 2554

ทานตะวันแทบไม่ช่วยในการขจัดการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี
Sunflowers next to useless for nuclear decontamination

โกมล อังกุรรรัตน์
ศูนย์ไอโซโทปรังสี
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

(18 กันยายน 2011)
การวิจัยของ "กระทรวงนา" ประเทศญี่ปุ่นทำลายความหวังที่ว่า เมล็ดทานตะวันที่นำมาปลูกอยู่รอบ ๆ บริเวณ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ โรงที่ 1 จะช่วยในการขจัดการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีได้
เมล็ดทานตะวันที่ถูกหว่านในบริเวณพื้นที่การอพยพด้วยเชื่อว่า จะช่วยในการชำระล้างวัสดุกัมมันตรังสีได้ แต่กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ได้รายงานเมื่อ 14 กันยายน 2554 ว่า ทานตะวัน สามารถดูดซับการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีซีเซียม ในพื้นที่การปนเปื้อนได้เพียง 0.05% เท่านั้น
 
 

ต้นทานตะวันในนาข้าวหมู่บ้านอีทะเทะ (Iitate) จังหวัดฟุกุชิมะ (Fukushima) เมื่อเดือนกรกฎาคม
(ภาพ : The Asahi Shimbun)

         กระบวนการโดยการใช้แรงงานมาลอกเอาผิวหน้าของดินออก กลับเป็นวิธีการขจัดการปนเปื้อนที่มี ประสิทธิภาพ กว่ากันมาก
ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ที่ทางกระทรวงได้ทำการศึกษาการขจัดการปนเปื้อนพื้นที่การเกษตรบริเวณสถานที่ 6 แห่งใน หมู่บ้านอีทะเทะ (Iitate) และ เมืองคะวะมะตะ (Kawamata)
กระทรวงพบว่าการลอกหน้าดินออก 3 เซ็นติเมตรพร้อมกับหญ้าที่หยั่งรากตื้น เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการขจัดการปนเปื้อน สามารถลดปริมาณของสารกัมมมันตรังสีซีเซียมได้ถึง 97%
การลอกหน้าดินที่ไม่มีหญ้าคลุมดินออกไป 4 เซ็นติเมตร สามารถขจัดการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีซีเซียมได้ 75%
การลอกหน้าดินออกหลังจากเติมตัวทำให้ผิวดินแข็งตัว จะขจัดการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีซีเซียม ได้ 82%
วิธีการทดสอบอื่น ๆ เช่น การเติมน้ำเข้าไปในนาข้าวแล้วพรวน และกวนดิน หลังจากนั้นระบายน้ำออกไป จะลดปริมาณสารกัมมันตรังสีซีเซียมได้ 36%
เมื่อเปรียบเทียบแล้ว การปลูกทานตะวันจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการลดการปนเปื้อน โดยจะมีการดูดซับซีเซียมได้เพียง 1 ใน 2000 (0.05%) เท่านั้น
รายงานของกระทรวงยังระบุว่า 95% ของซีเซียมจะสะสมอยู่บนผิวหน้าดินลึกไม่เกิน 2.5 เซนติเมตร แต่รากของทานตะวันจะอยู่ลึกลงไปมากกว่า 1 เมตร จึงเป็นการยากที่จะมีการดูดซับซีเซียมที่ชั้นผิวดิน
แต่เนื่องจากไม่มีพืชทางเลือกอื่น ๆ ที่มีการดูดซับได้ดีไปกว่าทานตะวันอีกแล้ว จากมุมมองนี้ จึงไม่สามารถที่จะพึ่งพาพืชสำหรับการขจัดการปนเปื้อนได้
เมื่อระยะเวลายิ่งผ่านไป ซีเซียมจะมีการรวมตัวกับแร่ธาตุต่าง ๆ ในดินเหนียว จะยิ่งเพิ่มความยากยิ่งขึ้น สำหรับพืชที่จะดูดซับซีเซียม วิธีการที่ดีที่สุดก็คือการขุดลอกชั้นหน้าดินที่มีการปนเปื้อนซีเซียม

บทความนี้มาจากรายงานของ เคอิจิโระ อิโนะอุเอะ (Keiichiro Inoue) และ ทะกะชิ สุงิโมะโตะ (Takashi Sugimoto)

ถอดความ/แปล จาก http://ajw.asahi.com/article/0311disaster/fukushima/AJ2011091710916

โพสต์เมื่อ : 21 กันยายน 2554