นักปรัชญาและนักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ รอเบิร์ต ครีส (Robert Crease) แห่งมหาวิทยาลัยสโตนีย์บรูก (Stony Brook University) ในนิวยอร์ก เห็นด้วยว่า “นักประวัติศาสตร์มักกล่าวว่า แม้ไม่มีไอน์สไตน์ ในไม่ช้า ในแวดวงก็จะเห็นพ้องกับทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษอยู่ดี เพียงแต่เหตุการณ์หลายอย่างผลักดันพวกเขาให้เต้น และร้องแรกแหกกระเชอไปในแนวทางนั้น” ครีสยังกล่าวด้วยว่า บทความของโบฮ์นและรอทแมนแสดงให้เห็นว่า ฮาสเซนเนิร์ลก็เป็นคนหนึ่งที่มุ่งไปในทิศทางนี้
ฮาสเซนเนิร์ลเข้าหาปัญหาด้วยการตั้งคำถามว่า วัตถุดำ (black body) ที่กำลังปล่อยรังสี มีมวลเปลี่ยนแปลงไป เมื่อกำลังเคลื่อนที่สัมพัทธ์กับผู้สังเกต เขาคำนวณได้ว่า การเคลื่อนที่เพิ่มมวลขึ้นเท่ากับ 3/8c2 คูณกับ พลังงานที่ แผ่ออกมา ซึ่งปีถัดมาเขาแก้เป็น 3/4c2
บทความวิทยาศาสตร์ในลีลาที่แตกต่าง
อย่างไรก็ดี โบฮ์นและรอทแมนอ้างว่า ไม่มีใครศึกษาที่มาที่ไปสมการของฮาสเซนเนิร์ลอย่างจริงจัง เพื่อจะ ทำความเข้าใจเหตุผลหรือว่าทำไมตัวประกอบข้างหน้า (prefactor) ของฮาสเซนเนิร์ลจึงผิดพลาดไปได้ ทั้งคู่ยอมรับว่า เรื่องนี้ไม่ง่าย “บทความสมัยนั้น ว่าตามมาตรฐานปัจจุบัน ต้องบอกว่า เขียนรุงรังอ่านยาก และมีข้อผิดพลาด อุปสรรค ใหญ่ที่สุดคือเขียนขึ้นจากทรรศนะของโลกที่หมดยุคไปแล้ว ซึ่งมีแต่ทำให้ผู้อ่านสับสนลึกลงในฟิสิกส์สัมพัทธภาพ” แม้แต่เอนรีโก แฟร์มี (Enrico Fermi) เอง ก็เห็นได้ชัดว่า ไม่ได้ตั้งใจอ่านบทความของฮาสเซนเนิร์ลอย่างละเอียด ก่อนที่จะสรุปผิด ๆ ว่า ตัวประกอบข้างหน้า คือ ? มาจากพลังงานของอิเล็กตรอนเองอย่างที่อะบราฮัมพิสูจน์ไว้
รอทแมนเขียนว่า “สิ่งที่ฮาสเซนเนิร์ลพลาดอย่างแท้จริงในการคำนวณของเขาก็คือ แนวคิดที่ว่า หากตัวเปล่งรังสีในโพรงของเขากำลังปล่อยรังสีออกมา จะต้องมีมวลหายไป ทำให้การคำนวณของเขาคลาดเคลื่อน แต่เขาก็ถูกต้องอยู่ครึ่งหนึ่ง และถ้าเพียงเขาจะเขียนว่า E เป็นสัดส่วนกับ m บางทีประวัติศาสตร์จะกรุแก่เขากว่านี้"ถ้าเป็นอย่างที่ว่ามา บางคนอาจข้องใจว่า แล้ว “ทฤษฎีสัมพัทธภาพ” เข้ามาเกี่ยวข้องได้อย่างไร ? ที่จริงก็คืออาจจะ "ไม่เกี่ยว” เมื่อตอนที่ไอน์สไตน์ฉลองความสำเร็จบทความปี 1905 “ว่าด้วยพลศาสตร์ไฟฟ้าของวัตถุเคลื่อนที่” ของเขานั้น เท่ากับได้วางรากฐานให้กับทฤษฎีสัมพัทธภาพด้วยการโละทิ้ง “อีเทอร์” และยังทำให้ความเร็วแสง “ไม่แปรเปลี่ยน” (invariant) จากสมมติฐานการคำนวณสมการ E = mc2 รอทแมนกล่าวว่า ไม่ว่าใครก็พิสูจน์สมการนี้ ได้ถูกต้องด้วยวิธีฟิสิกส์แบบฉบับหรือแบบคลาสสิก (classical physics) ที่ยังมีตัวกลางอีเทอร์ และคำนวณด้วย c ที่อาจจะ “คงที่” หรือไม่ก็ด้วย “ความเร็วที่จำกัด” กรณีของไอน์สไตน์ก็คือ “แม้ตอนต้นเขาจะเริ่มด้วยทฤษฎีสัมพัทธภาพ แต่เขาใช้ค่าประมาณทั้งหมดกับทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสัมพัทธภาพ แล้วที่เหลือก็จะเป็นการคำนวณพื้นฐานแบบคลาสสิก อย่างหนึ่งเท่านั้น”
ประเด็นโต้แย้ง
บทความต้นร่างของโบฮ์นและรอทแมนครั้งนี้ดูจะเป็นของร้อนพอควร นักประวัติศาสตร์หลายคนกระอักกระอ่วน ที่จะให้ความเห็น ยกตัวอย่างนักฟิสิกส์ผู้เชี่ยวชาญด้านสัมพัทธภาพชื่อ คลิฟฟอร์ด วิลล์ (Clifford Will) แห่ง มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เมืองเซนต์หลุยส์ กล่าวถึงบทความนี้ว่า “น่าสนใจ ทั้งคู่เป็นนักฟิสิกส์ที่เป็นที่ยอมรับ พวกเขาจึงมีแนวโน้มที่จะเชื่อมั่นในบทวิเคระห์ของตัวเอง”
กับคำถามที่ว่า ไอน์สไตน์รู้เกี่ยวกับผลงานของฮาสเซนเนิร์ลหรือไม่ ? รอทแมนตอบว่า แม้เขาจะพิสูจน์ไม่ได้ แต่เขามีเหตุผลที่จะเชื่อได้ว่าไอน์สไตน์ต้องรู้ต้องเห็นอย่างแน่นอน และก็ตัดสินใจว่าจะต้องทำให้ผลงานนี้ดีขึ้น ไม่ว่าเมื่อใดก็ตาม ไอน์สไตน์ก็จะอ้างสิทธิ์สมการมวล-พลังงานว่าเขาคิดขึ้นก่อน เมื่อถูกโยฮันส์ ชตาร์ค (Johannes Stark) ท้าทาย (ด้วยการให้เครดิตแก่มักซ์ พลังค์เมื่อปี 1907) ทั้งฮาสเซนเนิร์ลและไอน์สไตน์ต่างก็ไปปรากฏตัว ในการประชุมที่โด่งดังมากคือ การประชุมโซลเวย์ครั้งที่ 1 เมื่อปี 1911 (Solvay conference) เคียงข้างกับนักฟิสิกส์ เรืองนามอื่น ๆ ซึ่งโบฮ์นและรอทแมนกล่าวว่า “คุณน่าจะเดาได้นะว่าพวกเขาคุยกันเรื่องอะไร”
รอทแมนบอกกับฟิสิกส์เวิร์ลด์ว่า เขาอ่านพบชื่อฮาสเซนเนิร์ลบ่อยมาก แต่ไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนว่า เขาทำ ผลงานใดไว้ “ครั้งหนึ่งอาจารย์ผู้มีอาวุโสสูงของผมคนหนึ่ง คือ ศาสตราจารย์ E C G Sudarshan พูดว่าท่านให้เครดิต การค้นพบสมการมวล-พลังงานแก่ฮาสเซนเนิร์ล ดังนั้น เมื่อตอนช่วงคริสต์มาสปีก่อน เมื่อผมพบสตีฟ (สตีเฟน โบฮ์น) จึงได้พูดกับเขาว่า ‘ทำไมเราไม่หาเวลาสักวันหนึ่ง มานั่งคุยกันหลังมื้อเที่ยงสักสองชั่วโมง เพื่อช่วยกันดูบทความของ ฮาสเซนเนิร์ลว่าเขาทำผิดพลาดอะไร’ แต่แล้วสองชั่วโมงกลับกลายเป็น 8 เดือน เพราะกลับพบว่าโจทย์ข้อนี้ยากสุด ๆ"
จากเรื่อง : Did Einstein discover E = mc2? (http://physicsworld.com/cws/article/news/46941#comments)
เขียนโดย :Philip Ball นักเขียนบทความวิทยาศาสตร์ (ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษ) |