Nuclear Science
STKC 2554

นักมาตรวิทยาพีระมิด

สุรศักดิ์ พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ในบทความคราวก่อนเรื่อง ลาทีกิโลกรัม หรือ Au Revoir, Kilogram (http://www.tint.or.th/nkc/nkc54/content-01/nstkc54-012.html) รอเบิร์ต พี. ครีส ได้เล่าถึงการจะเลิกใช้ แท่งมาตรฐานแพลทินัม-อิริเดียมที่กำหนดค่าของ 1 กิโลกรัม เปลี่ยนมาใช้ มาตรฐานทางธรรมชาติ มาคราวนี้ ครีส จะได้สะท้อนเสียงของ ขบวนการต่อต้านการปฏิรูป ยุคใหม่ (modern anti-reform movements) มาให้ฟังกัน ในความเพียรพยายามอย่างใหญ่เพื่อ ต่อต้านระบบเมตริก (anti-metric) เมื่อร้อยกว่าปีก่อน (เหตุการณ์ตอนปลายศตวรรษที่ 19) ที่จะใช้ พีระมิดใหญ่แห่งกีซา (Great Pyramid of Giza) ของอียิปต์ มาใช้เป็นฐานของระบบการวัด

โจรปล้นสุสาน (Tomb raiders)

พีระมิด เป็นหนึ่งใน สิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ดโลกของโบราณ (Seven Wonders of the Ancient World) และเป็นเพียง หนึ่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ โดยนานนับพันปีที่พีระมิดได้ติดตรึงอยู่ในจินตนาการของผู้ที่ได้มาเยือน อะเล็กซานเดอร์ มหาราช ได้มาเยือนที่นี่ เช่นกับ นโปเลียน ก็มาเยือนเช่นกัน อย่างไรก็ดี ในปลายศตวรรษที่ 19 พีระมิดใหญ่ก็ได้สวม บทบาทใหม่ คือเป็นตัวสนับสนุน ขบวนการต่อต้านระบบเมตริก (anti-metric movement) ในบทบาทดังกล่าว เป็นไปได้ ว่า สิ่งก่อสร้างโบราณของชาวอียิปต์นี้ จะกลายเป็นตัวอย่างที่ตรึงใจที่สุดเท่าที่เคยมีมา ในฐานะของวัตถุที่ได้รับ การเสนอให้เป็น มาตรฐานทางมาตรวิทยา (metrological standard)

ข้อเท็จจริงที่พูดกันก็คือ สภาพของแข็งและความถาวรของพีระมิดเป็นสมบัติที่มาตรฐานใด ๆ พึงมี หนึ่งใน “นักมาตร วิทยาพีระมิด” (pyramid metrologist) ยุคแรก ๆ ได้แก่ จอห์น เทเลอร์ (John Taylor) โดยเป็นผู้ร่วมงานที่ประจำอยู่ ในสำนักพิมพ์หนึ่งที่กรุงลอนดอน ซึ่ง (แม้เทเลอร์จะไม่เคยเห็นพีระมิด) เขาเชื่อว่า ขนาดกว้าง-ยาว-สูง หรือ มิติ (dimensions) ของพีระมิด จะไขรหัสความรู้อันเร้นลับ อันรวมถึงขนาดของหน่วยโบราณต่าง ๆ ในทรรศนะของเขา ความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ของพีระมิด พูดง่าย ๆ ก็ได้ว่า มีความซับซ้อนเกินกว่าชาวอียิปต์โบราณจะคิดคำนวณได้ โดยตัวอย่างที่เขายกขึ้นมาถก ได้แก่ อัตราส่วนของด้านสองด้านของฐานพีระมิดต่อความสูงของพีระมิดที่เท่ากับ ? (หรือ พาย ซึ่งก็คือ อัตราส่วนของเส้นรอบวงของวงกลมใด ๆ ต่อเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมนั้น) ซึ่งเป็น จำนวน อตรรกยะ (irrational number) อันยังไม่เป็นที่รู้จักกันในยุคที่กำลังสร้างพีระมิด

ดังนั้น เทเลอร์จึงเสนอความเห็นว่า สถาปนิกที่สร้างพีระมิดจะต้องเป็น ชนชาติโบราณที่อาศัยอยู่ในอิสราเอล (Israelite) ซึ่งเชื่อฟังตามที่พระผู้เป็นเจ้าบอกให้ทำ เพราะจากมิติของพีระมิด เราสามารถพบเห็นหน่วยความยาวของพระผู้เป็นเจ้า เอง อาทิเช่น “คิวบิตศักสิทธิ์” (sacred cubit ประมาณ 25 นิ้ว) ตลอดจน น้ำหนัก และ ความจุ (จากกำปั่นที่อยู่ใน โถงแห่งกษัตริย์ (King's Chamber)) กล่าวคือ พีระมิดได้เผยขนาดอันแท้จริงของสิ่งต่าง ๆ ทั้งยุคโบราณและยุคใหม่ ซึ่งทรรศนะของเทเลอร์เห็นว่า ระบบศักดิ์สิทธิ์โบราณที่วัดจากธรรมชาติ เหนือกว่า ระบบประดิษฐ์สมัยใหม่อย่างเมตริก นี่เป็นประเด็นที่เขาสะท้อนไว้ในหนังสือของเขา The Battle of the Standards ตีพิมพ์เมื่อปี 1864

มาตราเมตริกถูกหยามหยัน

หนังสือของเทเลอร์สร้างแรงบรรดาลใจให้แก่ นักดาราศาสตร์ราชสำนักสกอตแลนด์ (Astronomer Royal for Scotland ชื่อนี้เป็นชื่อบรรดาศักดิ์ของผู้อำนวยการ หอดูดาวหลวงเอดินเบิร์ก (The Royal Observatory, Edinburgh (ROE)) ชื่อว่า ชาร์ลส์ เพียสซี สมิท (Charles Piazzi Smyth) และเขาเป็น นักอียิปต์วิทยา (Egyptologist) สมัครเล่น สมิทเชื่อตามเทเลอร์โดยเขาเขียนเอาไว้ในหนังสือความหนา 664 หน้า ชื่อ Our Inheritance in the Great Pyramid ว่า “พีระมิดใหญ่นั้น นอกจากจะใช้เป็นสุสานแล้ว วัตถุประสงค์ดั้งเดิมของการสร้างและออกแบบ พูดได้ว่าน่าจะเป็น อนุสาวรีย์ทางมาตรวิทยาขนานแท้” ซึ่งในหนังสือนี้ยังมีการกล่าวอ้างทาง เลขศาสตร์ (numerology) อื่น ๆ ไว้ด้วย

หน่วยมูลฐานของพีระมิดไม่ใช่คิวบิต แต่เป็น 1 ใน 25 ของคิวบิต ที่เรียกว่า “นิ้วระบบพีระมิด” (pyramid inch) ซึ่งสมิท บอกว่าเท่ากับ 1 ใน 500,000,000 ของแกนการหมุนของโลก พอดิบพอดี จึงเป็น มาตรฐานทางธรรมชาติ ขนานแท้ ยิ่งกว่าความยาวเมตร สมิทกล่าวว่า การวัดทั้งหลายที่เกี่ยวกับพีระมิดล้วน “มีความสัมพันธ์ขนานแท้กับจักรวาลอยู่ใน หน่วยดั้งเดิม” ดังนั้นพีระมิดจึงเป็น “ไบเบิลหิน-อนุสาวรีย์แห่งวิทยาศาสตร์และศาสนาที่ไม่มีวันหย่าขาดจากัน”

สมิทหยามหยันระบบเมตริก ผู้คนที่เป็นตัวตั้งตัวตที่ประดิษฐ์คิดค้นระบบเมตริก (ชาวฝรั่งเศส) และหยามหยันไปถึงหน่วย ชั้นเอกของระบบเมตริก สำหรับสมิทแล้ว ชาวแองโกล-แซกซันสิ ที่ได้แผ้วถางอย่างชาญฉลาดจนพบการวัด “นิ้วระบบ พีระมิด” ซึ่งแตกต่างกับ “นิ้วระบบจักรภพ” (imperial inch) ไปเพียงเศษส่วนเล็กน้อยที่ไม่มีนัยสำคัญ “พร้อมกันกับที่ กำลังยกยอระบบเมตริกกันในปารีส” สมิทโพล่ง“ชนชาติฝรั่งเศสก็กำลังทำเพื่อตนเอง โดยยกเลิกศาสนาคริสต์อย่างเป็น ทางการ เผาพระคัมภีร์ไบเบิลทิ้ง ประกาศว่าพระเจ้าไม่มีจริง การสรรสร้างเป็นของพวกพระ และสถาปนาศรัทธาแห่ง มนุษยชาติ หรือก็คือตัวพวกเขาเอง”

ปลายปี 1864 สมิทออกเดินทางสู่อียิปต์เพื่อตรวจสอบสิ่งมหัศจรรย์ทางมาตรวิทยาด้วยตัวเอง โดยได้ไขรหัสจากมิติของ พีระมิดออกมา คือ ระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ ความยาวของเวลา 1 ปี และ เส้นผ่านศูนย์กลางกับความหนาแน่น ของโลก เขายังค้นเจอแม้แต่ มาตราส่วนเกี่ยวกับอุณหภูมิ ก็คือ จุดศูนย์ ซึ่งก็คือจุดเยือกแข็งของน้ำ และมี ขีด 50 องศา เท่ากับอุณหภูมิของ โถงแห่งกษัตริย์

เมื่อสมิทกลับมา ผู้ร่วมงานของเขาที่ ราชสมาคม (Royal Society) ไม่ประทับใจและโจมตี เลขศาสตร์ ของเขา จากการ พบข้อผิดพลาดในผลงานของเขาซึ่งรวมถึงอัตราส่วนเลื่องชื่อด้วยว่า สองเท่าของฐานต่อความสูงของพีระมิดไม่ได้ เท่ากับ ? แต่เท่ากับอัตราส่วนพื้น ๆ 22/7 (ค่าประมาณของ ?) เสียมากกว่า (มาร์ติน การ์ดเนอร์ (Martin Gardner) นักเปิดโปงวิทยาศาสตร์กำมะลอผู้ยิ่งใหญ่ วิเคราะห์ข้อผิดพลาดของสมิทไว้ในหนังสือของเขาชื่อว่า Fads and Fallacies in the Name of Science) เมื่อการโต้แย้งยิ่งร้อนแรงขึ้น ความเชื่อมั่นของสมิทก็ยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย จนถึงจุดที่เขาเริ่ม ทำการเปรียบเทียบอันเหลวใหลหลายประการ เช่น เปรียบเทียบตนเองกับ เคปเลอร์ (Kepler) และเปรียบเทียบฝ่าย ตรงข้ามกับคนที่ไม่รู้อะไรเลยที่เหยียดหยามตัวเขา จนถึงรอบการโต้เถียงสืบเนื่องที่เข้าไปยุ่มย่ามกับ เจมส์ คลาร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell) เขาก็ได้ลาออกจากราชสมาคมเมื่อปี 1874

อย่างไรก็ดี หลายปีต่อมา สมิทก็พบว่ามีผู้ชื่นชอบเขาอย่างออกนอกหน้า อยู่ในกลุ่ม ขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านระบบ เมตริกอย่างสุดลิ่มทิ่มประตูที่สหรัฐอเมริกา ได้แก่ สมาชิกของ สถาบันเพื่อการพิทักษ์น้ำหนักและการวัดและทำให้สมบูรณ์ ระหว่างประเทศ (International Institute for Preserving and Perfecting Weights and Measures) การรณรงค์ส่ง สัญญาณตามแบบฉบับของการเคลื่อนไหวต่อต้านการปฏิรูปในสหรัฐอเมริกาทั้งในขณะนั้นและในบัดนี้ อาทิเช่น วาทะที่ บ้าคลั่ง (rabid rhetoric) การปะติดปะต่อ “ข้อเท็จจริง” (fabrication of "facts") การสร้างภาพใหม่ ๆ ให้แก่ ประวัติศาสตร์ (reimagining history) ทฤษฎีการคบคิดเพื่อทำผิดกฎหมาย (conspiracy theories) และ การเรียกร้อง เพื่อการถนอมความบริสุทธ์แห่งเชื้อชาติ ธรรมชาติ และชาติ (appeals to preserve the purity of race, nature and nation) ส่วนศัตรูก็คือ “พวกอื่น ๆ” อันได้แก่ พวกบ่อนทำลาย (subversives) พวกสังคมนิยม (socialists) พวกต่างชาติ (foreigners) พวกอเทวนิยม (atheism) และ พวกเจ้าเล่ห์ (artifice) และคนดี ๆ ก็คือ พวกรักชาติ(patriots) พวกทุนนิยม (capitalists) ชาวคริสต์ (Christians) และ พวกที่ยึดถือพระเจ้า ประเทศชาติ และธรรมชาติ (adherents to God, country and nature)

พวกต่อต้านการปฏิรูป (anti-reformists) ในสหรัฐอเมริกามักจะสืบค้นสาเหตุของพวกเขากลับไปว่าเป็นบัญญัติของ พระผู้เป็นเจ้าและยึดติดกับสมบัติบ้านี้ พวกต่อต้านระบบเมตริก (anti-metricists) รับเอาพีระมิดใหญ่เป็นของพวกเขา ตีความมันเหมือนกับที่ตีความใน ตราประจำเมือง (Great Seal) ของสหรัฐอเมริกา ที่พิมพ์ไว้ด้านหลังของธนบัตรทุกใบ องค์กรด้านวรรณกรรมของขบวนการนี้ได้แก่ International Standard ซึ่งเนื้อหาที่ตีพิมพ์ก็พวก การศึกษาเลขศาสตร์ ของพีระมิดใหญ่ โวหารต่อต้านระบบเมตริก โคลงกลอน และแม้แต่ เพลงต่อต้านระบบเมตริก

จุดวิกฤต

สมิทเขียนให้กับ International Standard อยู่เป็นประจำ และพยายามชักจูงสมาชิกของขบวนการให้เข้ามาในโครงการ อย่างเช่น การส่งเขากลับอียิปต์เพื่อทำการวัดต่าง ๆ เพิ่มเติม และยังประกาศให้พีระมิดเป็น อุทยานมาตรวิทยานานาชาติ (international metrological park) เพื่อปกป้องพีระมิดออกจากสงคราม “แผ่นดินที่เป็นกลางภายใต้การพิทักษ์ของ ชนชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษ หรือของชาติคริสเตียนทั้งมวล” หากถามว่า ที่ตัวสมิทเองกับสมาชิกของสถาบัน มารวมได้ ด้วยสาเหตุใดมากกว่ากันระหว่าง การต่อต้านระบบเมตริก หรือ วิทยาพีระมิด (pyramidology) เรื่องนี้ไม่แน่ชัดและไม่ใช่ สาระสำคัญ เพราะทั้งสองอย่างต่างหล่อเลี้ยงกันและกัน ซึ่งในที่สุดสมิทก็หาพบพวกที่ยอมรับเขาในหมู่สมาชิก อย่างน้อยก็นานเท่ากับอายุขององค์การ คือจนถึงปี 1888 เมื่อสมิทถึงแก่กรรมในปี 1900 หลุมศพของเขาประดับด้วย ก้อนหินรูปพีระมิดที่บนยอดเป็นไม้กางเขน

ประวัติศาสตร์มาตรวิทยาประกอบด้วยความพากเพียรมากมายเพื่อยึดโยงหน่วยต่าง ๆ เข้ากับ สิ่งทำขึ้น (artefacts) ปรากฏการณ์ธรรมชาติ (natural phenomena) และ ค่าคงตัวฟิสิกส์ (physical constants) แต่เรื่องที่เล่ามานี้เป็นหนึ่ง ในความพยายามไม่กี่อย่างที่จะทำให้หน่วยโยงยึดเข้ากับ วิวรณ์แห่งพระเป็นเจ้า (divine revelation) เรื่องของ พีระมิดใหญ่คราวนี้จึงช่างน่าตรึงใจในแง่ที่ว่า เรื่องนี้แสดงถึงความหลงใหลคลั่งใคล้ที่ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาจาก การแสวงหาที่สุดแห่งมาตรวิทยา (quest for metrological finality)

แปลจาก : Pyramid metrologists (http://physicsworld.com/cws/article/print/44674)

โพสต์เมื่อ : 25 มกราคม 2554