Nuclear Science
STKC 2554

ลำดับเหตุการณ์เกี่ยวกับอนุภาคทางฟิสิกส์

สุรศักดิ์  พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ศตวรรษที่ 19
  • 1815 – วิลเลียม เพราต์ (William Prout)  ตั้งสมมติฐานว่าสสารทั้งหลายล้วนประกอบขึ้นจากไฮโดรเจน อีกนัยหนึ่งคือโปรตอน
  • 1838 – ริชาร์ด เลมิง (Richard Laming) ตั้งสมมติฐานว่า อนุภาคย่อยกว่าอะตอม (subatomic particle) มีประจุไฟฟ้า
  • 1858 – ยูลีอุส พลือเคอร์ (Julius Pl?cker) ประดิษฐ์หลอดรังสีแคโทด (Cathode rays tube)
  • 1874 – จอร์จ จอหืนสโตน สโตนีย์ (George Johnstone Stoney) ตั้งสมมติฐานหน่วยย่อยที่สุดของประจุไฟฟ้า และในปี 1891 เขาบัญญัติิชื่อ “อิเล็กตรอน” สำหรับหน่วยนี้
  • 1886 – ยูจีน โกลด์สไตน์ (Eugene Goldstein) ค้นพบรังสีบวก (anode rays หรือ canal rays)
  • 1897 – เจ.เจ. ทอมสัน (J. J. Thomson) ค้นพบอนุภาค “อิเล็กตรอน”
  • 1899 – เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford) ค้นพบอนุภาคแอลฟา (alpha particles ) และอนุภาคบีตา (beta particles) ปลดปล่อยออกมาจากยูเรเนียม
  • 1900 – ปอล วียาร์ (Paul Villard) ค้นพบรังสีแกมมา (Gamma rays) จากการสลายกัมมันตรังสีของยูเรเนียม
ศตวรรษที่ 20
  • 1905 – แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับ “โฟตอน” (photon) ใช้อธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก (photoelectric effect)
  • 1919 – เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford) ค้นพบอนุภาคโปรตอน
  • 1928 – พอล ดิแรก (Paul Dirac) ตั้งสมมติฐานจากสมการของดิแรก (Dirac equation) ว่ามี “อนุภาคโพซิตรอน” (positron)
  • 1930 – โวล์ฟกัง เพาลี (Wolfgang Pauli) ตั้งมมติฐานว่ามี “อนุภาคนิวทริโน” ( neutrino) ใช้อธิบายสเปกตัมพลังงานของ “การสลายมัมมันตรังสีให้อนุภาคบีตา” (beta decays)
  • 1932 – เจมส์ แชดวิก (James Chadwick) ค้นพบ “อนุภาคนิวตรอน” (Neutron)
  • 1932 – คาร์ล ดี. แอนเดอร์สัน (Carl D. Anderson) ค้นพบ “โพซิตรอน” (Positron)
  • 1935 – ฮิเดะกิ ยุกะวะ (Hideki Yukawa) ทำนายว่ามี “อนุภาคมีซอน” (mesons) ทำหน้าที่ “ประจุตัวพา” (carrier particles) ของ “แรงนิวเคลียร์ชนิดเข้ม (strong nuclear force)
  • 1936 – คาร์ล ดี. แอนเดอร์สัน (Carl D. Anderson) ค้นพบ “มิวออน” (muon) ขณะศึกษาวิจัยรังสีคอสมิก (cosmic radiation)
  • 1947 – จอร์จ ดิกสัน โรเชสเตอร์ (George Dixon Rochester) และ คลิฟฟอร์ด ชาร์ลส์ บัตเลอร์ (Clifford Charles Butler) ค้นพบ “เคออน” (Kaon) “อนุภาคสเตรนจ์” (strange particle) ชนิดแรก
  • 1947 – เซซิล เพาเวลล์ (Cecil Powell) ซีซาร์ แลตส์ (C?sar Lattes) และ จูเซปเป ออกกีอาลีนี (Giuseppe Occhialini) ค้นพบ “ไพออน” (pion)
  • 1955 – โอเวน แชมเบอร์เลน (Owen Chamberlain) เอมีลีโอ เซแกระ (Emilio Segr?) ไคลด์ วีแกนด์ (Clyde Wiegand) และ โทมัส อิปซีแลนติส (Thomas Ypsilantis) ค้นพบ “แอนติโปรตอน” (Antiproton)
  • 1956 – ไคลด์ โคแวน (Clyde Cowan) และ เฟรเดอริก ไรนส์ (Frederick Reines) ค้นพบ “นิวทริโน”
  • 1957 – บรูโน ปอนเตกอร์โว (Bruno Pontecorvo) ตั้งสมมติฐาน “การสั่นเฟลเวอร์” (flavor oscillation)
  • 1962 – ลีออน เอ็ม. ลีเดอร์แมน (Leon M. Lederman) เมลวิน ชวาร์ตซ์ (Melvin Schwartz) และ แจ็ก สไตน์เบอร์เกอร์ (Jack Steinberger) ค้นพบ “มิวออนนิวทริโน (muon neutrino)
  • 1967 – บรูโน ปอนเตกอร์โว (Bruno Pontecorvo) ตั้งสมมติฐาน “การสั่นนิวทริโน” (Neutrino oscillation)
  • 1974 – เบอร์ตัน ริกเตอร์ (Burton Richter) และ แซมิวเอล ติง (Samuel Ting) ค้นพบอนุภาค J/? particle
  • 1977 – เฟอร์มิแล็ป (Fermilab) ค้นพบ “อนุภาคอัปซีลอน” (Upsilon particle) แสดงให้เห็นว่ามี “ควาร์กชนิดบอตทอม” (bottom quark)
  • 1977 – มาร์ติน ลูวิส เพิร์ล (Martin Lewis Perl) ค้นพบ “ทาวเลปตอน” (Tau lepton) ภายหลังทำการทดลองชุดต่อเนื่อง
  • 1979 – ที่ “เดซีย์” สังเกตพบ “กลูออน” (Gluon) โดยอ้อมจากเหตุการณ์ three jet events
  • 1983 – คาร์โล รับไบอา (Carlo Rubbia) และ ไซมอน แวนเดอร์เมียร์ (Simon van der Meer) ค้นพบ “ดับเบิลยูโบซอนและแซดโบซอน” (W and Z bosons)
  • 1995 – เฟอร์มิแล็ป (Fermilab) ค้นพบ “ควาร์กชนิดท็อป” (Top quark)
  • 2000 – ที่เฟอร์มิแล็ป (Fermilab) พิสูจน์ได้ว่า ทาวนิวทริโนแตกต่างจากนิวทริโนชนิดอื่น ๆ

แปลจาก Timeline of particle physics (Wikipedia, "http://en.wikipedia.org/wiki/Timeline_of_particle_physics"

โพสต์เมื่อ : 20 ธันวาคม 2553