Nuclear Science
STKC 2554

การพัฒนาบุคลากรและถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์
ระดับประเทศสำหรับบุคลากรภายนอก ปีงบประมาณ 2554

หน่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

การพัฒนาบุคลากร เป็นกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่ต้องการให้บุคลากรภายในองค์กรมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมากขึ้น ช่วยเพิ่มทักษะความชำนาญในการทำงาน ปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากรทุกระดับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ องค์กรมีความคล่องตัว ก้าวทันโลกของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยมีจุดมุ่งหมายสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร การพัฒนาบุคลากรจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะเอื้อประโยชน์โดยตรงทั้งต่อองค์กร และบุคลากรขององค์กรนั้น ๆ แต่ละองค์กรจึงควรจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การพัฒนาบุคลากรสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การฝึกอบรม ปฐมนิเทศ ศึกษาต่อ ดูงาน ประชุม สัมมนาทั้งในและนอกสถานที่ เป็นต้น การพัฒนาบุคลากรของแต่ละองค์กรจำเป็นต้องวิเคราะห์ความต้องการที่จะพัฒนา โดยพิจารณาจากลักษณะของงานที่ทำเป็นหลัก เมื่อบุคลากรได้รับการพัฒนาแล้ว จะต้องมีการประเมินและติดตามผล เพื่อนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงการพัฒนาบุคลากรครั้งต่อ ๆ ไป

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านนิวเคลียร์และรังสีในหน่วยงานต่าง ๆ ของประเทศ โดย สทน. มุ่งหวังให้หน่วยงานที่มีการใช้ประโยชน์จากรังสีและสารกัมมันตรังสี สามารถดำเนินงานของตนได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อผู้ปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อม และประชาชน สทน. จึงจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรระดับประเทศขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปีงบประมาณ 2554 หน่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ร่วมกับกลุ่ม/ศูนย์/หน่วยของสถาบัน จัดให้มีการพัฒนาบุคลากรระดับประเทศ จำนวน 23 หลักสูตร รวม 38 ครั้ง มีรายละเอียดแสดงในตารางที่ 1 ทั้งนี้ สทน. คาดว่าจะมีบุคลากรด้านนิวเคลียร์และรังสีภายในประเทศได้รับการพัฒนารวมประมาณ 1,540 คน ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน่วยถ่ายทอดฯ โทรศัพท์ 02-5967600 ต่อ 3220 หรือทาง www.tint.or.th หน้างานฝึกอบรม

การพัฒนาบุคลากรและถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์ : ระดับประเทศ
การสร้างเสริมความชำนาญของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
การตรวจสอบโดยใช้คลื่นเสียง ความถี่สูง
การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 1
การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 2
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสีในพื้นที่จังหวัดนครนายก
การจัดการกากกัมมันตรังสี
ตารางที่ 1 หลักสูตรเพื่อการพัฒนาบุคลากรระดับประเทศ

การประชุม สัมมนา และฝึกอบรมระดับประเทศ ปีงบประมาณ 2554

หลักสูตร/ กำหนดการจัด/
ผู้อำนวยการหลักสูตร

จำนวน/ครั้ง

จำนวน
ครั้งที่จัด

รวม (คน)

ผลที่ได้รับและคาดว่าจะได้รับ

คน

วัน

1.-9. การฝึกอบรมเรื่อง การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 1/วันที่ 1-5 พฤศจิกายน 2553, วันที่ 13-17 ธันวาคม 2553, วันที่ 17-21 มกราคม 2554, วันที่ 28 กุมภาพันธ์-4 มีนาคม 2554, วันที่ 25-29 เมษายน 2554, วันที่ 30 พฤษภาคม-3 มิถุนายน 2554, วันที่ 4-8 กรกฎาคม 2554, วันที่ 15-19 สิงหาคม 2554 และ วันที่ 19-23 กันยายน 2554/ดร.จารุณีย์ ทองผาสุก  

45

5

9

405

เพื่อพัฒนาศักยภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับ การใช้ประโยชน์ของต้นกำเนิดรังสี ชนิดปิดผนึก และเครื่องกำเนิดรังสี รวมทั้งสร้างเสริม ให้บุคลากรทางรังสี ของประเทศ ให้มีความตระหนัก ถึงการปฏิบัติงาน กับสารกัมมันตรังสี อย่างถูกต้อง มีความปลอดภัยต่อตนเอง ผู้ที่เกี่ยวข้อง และสิ่งแวดล้อม

10. ถึง 11. การถ่ายภาพด้วยรังสี ระดับ 1/วันที่ 10 - 15 มกราคม 2554 และวันที่ 25 - 30 เมษายน 2554 /นายสมยศ ปรุงเมือง

20

6

2

40

เพื่อพัฒนา และเพิ่มประสิทธิภาพ ของบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชน ในการปฏิบัติงาน ด้านการตรวจสอบ โดยวิธีถ่ายภาพด้วยรังสี (ระดับพื้นฐาน) ให้สามารถนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับ ไปพัฒนา ปรับปรุง และประยุกต์ใช้ กับงานในหน่วยงานของตน ได้อย่างถูกต้อง  และปลอดภัย

12. ถึง 14. การอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี การฉายรังสีอาหาร และผลิตผลการเกษตร/ วันที่ 18 มกราคม 2554 วันที่ 19 พฤษภาคม 2554 และวันที่ 17 สิงหาคม 2554 /นางเสาวพงศ์ เจริญ

40

1

3

120

เพื่อให้ผู้เข้าการอบรมได้รับความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ จากรังสีกับอาหาร และผลิตผลการเกษตร ได้รับความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายอาหารฉายรังสี ข้อควรปฏิบัติ ก่อนการใช้เทคโนโลยีการฉายรังสี และขั้นตอนการปฏิบัติ ในการขอฉลากอาหารฉายรังสี จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ด้านอาหารฉายรังสี ที่ได้ทำสำเร็จแล้ว และให้คำแนะนำ ในการฉายรังสีอาหารเฉพาะอย่าง ตามความต้องการของผู้ผลิตและ /หรือผู้ประกอบการ ด้านอาหารในแต่ละท้องถิ่น

15. ถึง 16. การตรวจสอบ โดยวิธีใช้คลื่นเสียง ความถี่สูง ระดับ 1/วันที่ 7-12 กุมภาพันธ์ 2554 และวันที่ 23 - 28 พฤษภาคม 2554 /นายสมยศ ปรุงเมือง

20

6

2

40

เพื่อพัฒนา และเพิ่มประสิทธิภาพ ของบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชน ในการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบ โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (ระดับพื้นฐาน) ให้สามารถนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับ ไปพัฒนา ปรับปรุง และประยุกต์ใช้ กับงานในหน่วยงานของตน ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

หลักสูตร/ กำหนดการจัด/
ผู้อำนวยการหลักสูตร

จำนวน/ครั้ง

จำนวน
ครั้งที่จัด

รวม (คน)

ผลที่ได้รับและคาดว่าจะได้รับ

คน

วัน

17. การฝึกอบรมเรื่อง การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 2/วันที่ 7-18 มีนาคม 2554/ดร.จารุณีย์ ทองผาสุก

40

10

1

40

เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของบุคลากร ภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ ของต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึก และชนิดปิดผนึก ที่มีระดับรังสีต่าง ๆ กัน รวมทั้งสร้างเสริมให้บุคลากรทางรังสี ของประเทศ มีความตระหนัก ถึงการปฏิบัติงาน กับสารกัมมันตรังสีอย่างถูกต้อง มีความปลอดภัยต่อตนเอง ผู้ที่เกี่ยวข้อง และสิ่งแวดล้อม

18. การอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตเห็ดฟาง จากเชื้อที่ปรับปรุงพันธุ์ด้วยรังสี /วันที่ 15 - 18 มีนาคม 2554 /นางงามนิจ เสริมเกียรติพงศ์

25

4

1

25

เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้เบื้องต้น ในภาพรวมของเห็ดฟาง ได้แก่ ต้นทุนการเพาะเห็ดฟาง ผลตอบแทน การตลาดเห็ดฟาง สภาพแวดล้อมที่มีผล ต่อการเจริญและการออกดอก ของเห็ดฟาง การผลิตหัวเชื้อเห็ดฟาง จากเชื้อที่ผ่านการฉายรังสี และคัดเลือกพันธุ์ที่ดีแล้ว เรียนรู้เทคนิคการเพาะเห็ดฟาง ศัตรูเห็ดฟาง ได้เรียนรู้ทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ในการทำหัวเชื้อเห็ดฟาง ได้เรียนรู้ทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ในการเพาะเห็ดฟาง

19. การตรวจสอบสิ่งบกพร่อง ที่พื้นผิว ระดับ 1 /วันที่ 21 - 26 มีนาคม 2554 /นายสมยศ ปรุงเมือง

20

6

1

20

เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ ของบุคลากร ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบ สิ่งบกพร่องที่พื้นผิว ให้สามารถนำความรู้และประสบการณ์ ที่ได้รับไปพัฒนา ปรับปรุง และประยุกต์ใช้กับงาน ในหน่วยงานของตน ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

20. การวิเคราะห์ปริมาณรังสี และประเมินผล ด้วยเครื่องลิควิดซินทิลเลชัน /วันที่ 22 - 23 มีนาคม 2554 /นางอังคนันท์ อังกุรรัตน์

15

2

1

15

เพื่อสร้างเสริมความรู้ความชำนาญ เรื่อง “การวิเคราะห์ปริมาณรังสี และประเมินผลด้วยเครื่องลิควิด ซินติเลชัน” ให้กับผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ด้านการวิเคราะห์ ด้วยเครื่องลิควิคซินติเลชัน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี เจ้าหน้าที่กำกับดูแลและควบคุม ความปลอดภัยทางรังสี ผู้ที่ประสงค์ จะเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี หรือผู้ที่ต้องการสร้างเสริมความชำนาญ และผู้สนใจ ในด้านการตรวจวัด และประเมินผลวิเคราะห์ ด้วยเครื่องมือวัดรังสีชนิดนี้ ด้านการสุ่มตัวอย่าง เตรียมตัวอย่างที่ถูกต้อง เพื่อนำส่งวิเคราะห์ การประเมินผลการวิเคราะห์ โดยสามารถติดตามที่มาของผลวิเคราะห์ และตรวจสอบความถูกต้อง รวมทั้งสามารถตัดสินใจ บริหารจัดการค่าที่วิเคราะห์ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย อันเป็นการเพิ่มศักยภาพ ในการกำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสีใ นสถานปฏิบัติการของตน โดยผู้ปฏิบัติงานไม่จำเป็น ต้องมีเครื่องวัดนี้ในหน่วยงาน

หลักสูตร/ กำหนดการจัด/
ผู้อำนวยการหลักสูตร

จำนวน/ครั้ง

จำนวน
ครั้งที่จัด

รวม (คน)

ผลที่ได้รับและคาดว่าจะได้รับ

คน

วัน

21. การสัมมนาเพื่อพบปะผู้ใช้บริการ ฉายรังสีและเครือข่ายผู้ให้ บริการฉายรังสี/วันที่ 23 มีนาคม 2554/นางสาวอรรจยา มาลากรอง

80 ถึง 100

1

1

80

เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ใช้บริการฉายรังสี เกี่ยวกับประโยชน์ของการฉายรังสีแกมมา ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ความรู้ทั่วไปของการฉายรังสี กฎระเบียบการขอรับบริการ รวมทั้งเป็นการพบผู้ประกอบการ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ ทิศทางอุตสาหกรรมการฉายรังสีแกมมา ในประเทศไทย

22. การวิเคราะห์ปริมาณรังสีและ ประเมินผลด้วยเครื่องแกมมา สเปคโตรมิเตอร์/วันที่ 24 - 25 มีนาคม 2554/นางสาวอุทัยวรรณ อินทร์เจริญ

15

2

1

15

เพื่อสร้างเสริมความรู้ความชำนาญ เรื่อง “การวิเคราะห์ปริมาณรังสีและประเมินผล ด้วยเครื่องแกมมาสเปคโตรมิเตอร์” ให้กับผู้ปฏิบัติงานวิเคราะห์รังสี ด้วยเครื่องแกมมาสเปคโตรมิเตอร์ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี เจ้าหน้าที่กำกับดูแล และควบคุมความปลอดภัยทางรังสี ผู้ที่ประสงค์จะเป็น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ทางรังสี หรือผู้ที่ต้องการสร้างเสริมความชำนาญ และผู้สนใจด้านการตรวจวัด และประเมินผลวิเคราะห์ ด้วยเครื่องมือวัดรังสีชนิดนี้ ในด้านการสุ่มและเตรียมตัวอย่างที่ถูกต้อง เพื่อนำส่งวิเคราะห์ การประเมินผล การวิเคราะห์ โดยสามารถติดตามที่มาของผลวิเคราะห์ และตรวจสอบความถูกต้อง รวมทั้งสามารถตัดสินใจ บริหารจัดการค่าที่วิเคราะห์ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการเพื่อเพิ่มศักยภาพ ในการกำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสี ในสถานปฏิบัติการของตน โดยผู้ปฏิบัติงานไม่จำเป็นต้องมีเครื่องวัดนี้ ในหน่วยงาน

23. การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความ ปลอดภัยทางรังสี : การสำรวจ การตรวจวัดความเปรอะเปื้อนทางรังสี และการบริหารจัดการ/ ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 1 เมษายน 2554/ นางมณฑา ปุณณชัยยะ

15

1

1

15

เพื่อสร้างเสริมความเชี่ยวชาญ ในงานรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแล ความปลอดภัยทางรังสี ของภาครัฐและเอกชน ผู้ที่ประสงค์จะเป็น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี หรือ ผู้ที่ประสงค์จะสร้างเสริมความเชี่ยวชาญ ในการจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี เรื่อง การสำรวจ การตรวจวัดความเปรอะเปื้อนทางรังสี และการตัดสินใจบริหารจัดการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

24. การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ความปลอดภัยทางรังสี : การปรับเทียบเครื่องมือวัดรังสี และการตรวจวัดอัตราปริมาณรังสี/ ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 1 เมษายน 2554/ นางมณฑา ปุณณชัยยะ

15

1

1

15

เพื่อสร้างเสริมความเชี่ยวชาญ ในงานรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแล ความปลอดภัยทางรังสี ของภาครัฐและเอกชน ผู้ที่ประสงค์จะเป็น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี หรือ ผู้ที่ประสงค์จะสร้างเสริมความเชี่ยวชาญ ในการจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี เรื่อง การปรับเทียบเครื่องมือวัดรังสี และการตรวจวัดอัตราปริมาณรังสี เพื่อให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสูตร/ กำหนดการจัด/
ผู้อำนวยการหลักสูตร

จำนวน/ครั้ง

จำนวน
ครั้งที่จัด

รวม (คน)

ผลที่ได้รับและคาดว่าจะได้รับ

คน

วัน

21. การสัมมนาเพื่อพบปะผู้ใช้บริการ ฉายรังสีและเครือข่ายผู้ให้ บริการฉายรังสี/วันที่ 23 มีนาคม 2554/นางสาวอรรจยา มาลากรอง

80 ถึง 100

1

1

80

เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ใช้บริการฉายรังสี เกี่ยวกับประโยชน์ของการฉายรังสีแกมมา ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ความรู้ทั่วไปของการฉายรังสี กฎระเบียบการขอรับบริการ รวมทั้งเป็นการพบผู้ประกอบการ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ ทิศทางอุตสาหกรรมการฉายรังสีแกมมา ในประเทศไทย

22. การวิเคราะห์ปริมาณรังสีและ ประเมินผลด้วยเครื่องแกมมา สเปคโตรมิเตอร์/วันที่ 24 - 25 มีนาคม 2554/นางสาวอุทัยวรรณ อินทร์เจริญ

15

2

1

15

เพื่อสร้างเสริมความรู้ความชำนาญ เรื่อง “การวิเคราะห์ปริมาณรังสีและประเมินผล ด้วยเครื่องแกมมาสเปคโตรมิเตอร์” ให้กับผู้ปฏิบัติงานวิเคราะห์รังสี ด้วยเครื่องแกมมาสเปคโตรมิเตอร์ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี เจ้าหน้าที่กำกับดูแล และควบคุมความปลอดภัยทางรังสี ผู้ที่ประสงค์จะเป็น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี หรือผู้ที่ต้องการสร้างเสริมความชำนาญ และผู้สนใจด้านการตรวจวัด และประเมินผลวิเคราะห์ ด้วยเครื่องมือวัดรังสีชนิดนี้ ในด้านการสุ่มและเตรียมตัวอย่างที่ถูกต้อง เพื่อนำส่งวิเคราะห์ การประเมินผลการวิเคราะห์ โดยสามารถติดตามที่มาของผลวิเคราะห์ และตรวจสอบความถูกต้อง รวมทั้งสามารถตัดสินใจ บริหารจัดการค่าที่วิเคราะห์ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการเพื่อเพิ่มศักยภาพ ในการกำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสี ในสถานปฏิบัติการของตน โดยผู้ปฏิบัติงานไม่จำเป็นต้องมีเครื่องวัดนี้ ในหน่วยงาน

23. การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความ ปลอดภัยทางรังสี : การสำรวจ การตรวจวัดความเปรอะเปื้อนทางรังสี และการบริหารจัดการ/ ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 1 เมษายน 2554/ นางมณฑา ปุณณชัยยะ

15

1

1

15

เพื่อสร้างเสริมความเชี่ยวชาญ ในงานรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแล ความปลอดภัยทางรังสีของภาครัฐและเอกชน ผู้ที่ประสงค์จะเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี หรือ ผู้ที่ประสงค์จะสร้างเสริมความเชี่ยวชาญ ในการจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี เรื่อง การสำรวจ การตรวจวัดความเปรอะเปื้อนทางรังสี และการตัดสินใจบริหารจัดการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

24. การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ความปลอดภัยทางรังสี : การปรับเทียบเครื่องมือวัดรังสี และการตรวจวัดอัตราปริมาณรังสี/ ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 1 เมษายน 2554/ นางมณฑา ปุณณชัยยะ

15

1

1

15

เพื่อสร้างเสริมความเชี่ยวชาญ ในงานรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแล ความปลอดภัยทางรังสีของภาครัฐและเอกชน ผู้ที่ประสงค์จะเป็น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี หรือ ผู้ที่ประสงค์จะสร้างเสริมความเชี่ยวชาญ ในการจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี เรื่อง การปรับเทียบเครื่องมือวัดรังสี และการตรวจวัดอัตราปริมาณรังสี เพื่อให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสูตร/กำหนดการจัด/
ผู้อำนวยการหลักสูตร

จำนวน/ครั้ง

จำนวน
ครั้งที่จัด

รวม (คน)

ผลที่ได้รับและคาดว่าจะได้รับ

คน

วัน

29. ถึง 32. การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การควบคุมแมลงวันผลไม้ แบบผสมผสาน/วันที่ 18 พฤษภาคม 2554, วันที่ 15 มิถุนายน 2554, วันที่ 20 กรกฎาคม 2554 และวันที่ 18 สิงหาคม 2554/ นายวณิช ลิ่มโอภาสมณี

50

1

4

200

เพื่อสร้างความตระหนัก ในความสำคัญของแมลงวันผลไม้ ให้แก่เกษตรกรและกลุ่มผู้นำชุมชน ส่งเสริมและมุ่งผลสัมฤทธิ์ ที่จะให้มีการบริหารจัดการ ควบคุมแมลงวันผลไม้อย่างเป็นระบบ และใช้หลายวิธีผสมผสาน และช่วยลดการระบาดของแมลงวันผลไม้ ให้อยู่ในระดับต่ำ ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ

33. การถ่ายภาพด้วยรังสี ระดับ 2/วันที่ 13 - 25 มิถุนายน 2554/ นายสมยศ ปรุงเมือง

20

12

1

20

เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ ของบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชน ในการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบ โดยวิธีถ่ายภาพด้วยรังสี (ระดับกลาง) ให้สามารถนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับ ไปพัฒนา ปรับปรุง และประยุกต์ใช้กับงาน ในหน่วยงานของตน ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

34. การประชุมวิชาการ "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์" ครั้งที่ 12/วันที่ 1 - 2 กรกฎาคม 2554/ นายสิริพล เชื้ออินต๊ะ

250 ถึง 300

2

1

250

ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิจัยพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของประเทศ พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็น และประสบการณ์ ในงานศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ทุกสาขา เพิ่มพูนความรู้ด้านพลังงานนิวเคลียร์ และการประยุกต์ใช้งาน ในด้านต่าง ๆ ก่อให้เกิดการประสานงาน ระหว่างบุคลากรและหน่วยงานต่างๆ อันจะทำให้มีการนำพลังงานนิวเคลียร์ ไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง

35. การตรวจสอบโดยวิธีใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ระดับ 2/วันที่ 25 กรกฎาคม - 6 สิงหาคม 2554/ นายสมยศ ปรุงเมือง

20

12

1

20

เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ ของบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชน ในการปฏิบัติงาน ด้านการตรวจสอบ โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (ระดับกลาง) ให้สามารถนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับ ไปพัฒนา ปรับปรุง และประยุกต์ใช้ กับงานในหน่วยงานของตน ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

36. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสี ในพื้นที่จังหวัดนครนายก/ วันที่ 2 - 4 สิงหาคม 2554/ นางสาวแพร นีรนาทรังสรรค์

30

3

1

30

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร ในพื้นที่จังหวัดนครนายก และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง กรณีเกิดภาวะฉุกเฉินทางรังสี (เจ้าหน้าที่ดับเพลิง แพทย์ พยาบาล อปพร. เจ้าหน้าที่บรรเทาสาธารณภัย และผู้ที่เกี่ยวข้อง) ให้สามารถรองรับสถานการณ์ แก้ไขปัญหา และปฏิบัติงานในหน้าที่ ได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบ โดยได้ฝึกปฏิบัติจริง รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือ ระหว่าง สทน. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในจังหวัดนครนายก

หลักสูตร/กำหนดการจัด/
ผู้อำนวยการหลักสูตร

จำนวน/ครั้ง

จำนวน
ครั้งที่จัด

รวม (คน)

ผลที่ได้รับและคาดว่าจะได้รับ

คน

วัน

37. การจัดการกากกัมมันตรังสี ตามกฎหมาย/ วันที่ 22 - 26 สิงหาคม 2554/ นายนิคม ประเสริฐเชี่ยวชาญ

25

5

1

25

เพื่อให้ผู้ใช้สารกัมมันตรังสีของประเทศ มีความรู้และเข้าใจกฎกระทรวง ว่าด้วยการจัดการกากกัมมันตรังสี สามารถจัดการกากในหน่วยงานของตน ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถจัดเตรียมความพร้อมของกาก ตรงตามแนวปฏิบัติ รู้จักวิธีการตรวจสอบ ความเปรอะเปื้อนทางรังสีบนชิ้นกาก และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรม มีประสบการณ์ตรง จากการเข้าร่วมปฏิบัติงานจริง อันจะทำให้การใช้ประโยชน์ ของสารกัมมันตรังสีในหน่วยงาน มีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน ผู้ที่เกี่ยวข้อง ประชาชน และสิ่งแวดล้อม

38. โครงการเสริมสร้างคุณภาพ เภสัชภัณฑ์รังสี/ วันที่ 14 - 15 กันยายน 2554/ นางไขนภา รัตนรุจิกร

100

2

1

100

เพื่อสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจ และสามารถพัฒนา การปฏิบัติงานด้านการเตรียมยา ในโรงพยาบาล เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผน และการปรับปรุงระบบงาน แก่เจ้าหน้าที่เตรียมยา เพื่อส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนทัศนคติ ประสบการณ์ ระหว่างกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเตรียมยา ในโรงพยาบาล และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ โครงการสร้างอาคารยาฉีดเภสัชภัณฑ์รังสี ของศูนย์ไอโซโทปรังสี

รวม 23 หลักสูตร จำนวน 38 ครั้ง (รายการ)

1,540 คน

เพื่อพัฒนาความรู้ และสร้างเสริมศักยภาพ ของบุคลากรด้านนิวเคลียร์และรังสี ของประเทศ

โพสต์เมื่อ : 7 ธันวาคม 2553