Nuclear Science
STKC 2554

ภาพรวมของการพัฒนาบุคลากรและ
ถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ปีงบประมาณ 2553

หน่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรให้เป็นผู้มีศักยภาพ และมีสมรรถนะตรงตามงานที่รับผิดชอบ เป็นหัวใจของการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย สทน. มุ่งมั่นในการสร้างเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านนิวเคลียร์และรังสีของประเทศ โดยมีการจัดหลักสูตรฝึกอบรม สัมมนา ประชุมวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์ แบ่งออกเป็นหลักสูตรระดับประเทศสำหรับบุคคลภายนอก และหลักสูตรสำหรับบุคลากรภายในสถาบัน อาทิ การจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี การเตรียมความพร้อมกรณีฉุกเฉินทางรังสี การป้องกันอันตรายจากรังสี การใช้ประโยชน์ของรังสีในทางการแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรม และศึกษาวิจัย รวมถึงการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์เฉพาะทาง และการถ่ายทอดความรู้ในสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ปีงบประมาณ 2553 หน่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในสถาบัน จัดหลักสูตรฝึกอบรม สัมมนา ประชุม และถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เพื่อพัฒนาบุคลากรภายนอกในระดับประเทศ จำนวน 24 หลักสูตร รวม 32 ครั้ง มีบุคลากรที่ได้รับการพัฒนา รวม 1,201 คน ดังมีรายละเอียดแสดงในตารางที่ 1 และจัดหลักสูตรสำหรับพัฒนาบุคลากรภายในสถาบัน จำนวน 7 หลักสูตร รวม 10 ครั้ง มีบุคลากรที่ได้รับการพัฒนา รวม 521 คน ดังมีรายละเอียดแสดงในตารางที่ 2 จากการจัดหลักสูตรทั้งหมดรวม 31 หลักสูตร จำนวน 42 ครั้ง มีบุคลากรภายในประเทศได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถทางนิวเคลียร์และรังสี รวม 1,722 คน นอกจากนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรในระดับต่าง ๆ ของประเทศ มีการพัฒนาศักยภาพ และสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านพลังงานนิวเคลียร์ สทน. ยังได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ออกไปปฏิบัติงานพิเศษทางนิวเคลียร์และรังสี อาทิ การเป็นวิทยากรพิเศษ อาจารย์พิเศษ อาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท-เอก เป็น Invited Speakers และเป็น International Lecturers รวม 73 ครั้ง มีบุคลากรภายในประเทศที่ได้รับการพัฒนา รวม 2,898 คน

จากการดำเนินงานพัฒนาบุคลากรและถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ในปีงบประมาณ 2553 มีบุคลากรภายในประเทศที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ สร้างเสริมความรู้ความสามารถ และฝึกทักษะในการปฏิบัติงานทางรังสี รวมทั้งสิ้น 4,620 คน

ตารางที่ 1 หลักสูตรด้านนิวเคลียร์และรังสี เพื่อพัฒนาบุคลากรระดับประเทศ

ชื่อหลักสูตร

จำนวนรวม

ครั้ง

คน

การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 1

7

381

การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 2

1

33

การตรวจสอบโดยไม่ทำลาย เรื่อง การถ่ายภาพด้วยรังสี ระดับ 1

2

44

การตรวจสอบโดยไม่ทำลาย เรื่อง การตรวจสอบด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ระดับ 1

2

39

การสัมมนาพบผู้ใช้บริการและพบปะผู้ได้รับใบอนุญาตการฉายรังสีเพื่อสร้างเครือข่าย

1

67

โครงการฝึกอบรมเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาชีพ จังหวัดนครนายก รุ่นที่ 4 (โครงการต้นกล้าอาชีพ) : การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ดฟาง จากการปรับปรุงเชื้อจุลินทรีย์ด้วยรังสี

1

50

การใช้ประโยชน์จากเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนบีม

1

27

การฝึกอบรมนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโครงการค่ายนิวเคลียร์ (ภาคฤดูร้อน) :
การใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีนิวเคลียร์

1

80

การสร้างเสริมความชำนาญเฉพาะด้านสำหรับการจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี :
การตรวจวัดการฟุ้งกระจายของสารกัมมันตรังสีในอากาศ

1

20

การสร้างเสริมความชำนาญเฉพาะด้านสำหรับการจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี :
การสำรวจ การตรวจวัดความเปรอะเปื้อนทางรังสี และการชำระล้าง

1

21

การสร้างเสริมความชำนาญเฉพาะด้านสำหรับการจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี :
การปรับเทียบเครื่องมือวัดรังสี และการตรวจวัดอัตราปริมาณรังสี

1

20

การสร้างเสริมความชำนาญเฉพาะด้านสำหรับการจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี :
การปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยกับสารกัมมันตรังสีชนิดไม่ปิดผนึก

1

17

การสร้างเสริมความชำนาญเฉพาะด้านสำหรับการจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี :
การตรวจวัดและการประเมินผลเพื่อการปล่อยทิ้งกากของเหลวกัมมันตรังสี ด้วยเครื่องลิควิดซินทิลเลชัน

1

14

การสร้างเสริมความชำนาญเฉพาะด้านสำหรับการจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี :
การตรวจวัดและการประเมินผลเพื่อการปล่อยทิ้งกากของเหลวกัมมันตรังสี ด้วยเครื่องแกมมาสเปคโตรมิเตอร์

1

14

การประยุกต์ใช้ไอโซโทปเทคนิคในการจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อม

1

44

การคำนวณและออกแบบการกำบังรังสี

1

29

การสร้างความรู้ทางนิวเคลียร์และรังสี สำหรับผู้เข้าร่วมประกวดโครงการ “สื่อสร้างสรรค์เทคโนโลยีนิวเคลียร์”

1

70

การใช้วิธีการฉายรังสีเพื่อปรับปรุงคุณภาพไวน์สมุนไพร จังหวัดสกลนคร

1

33

การวิเคราะห์ธาตุโดยเทคนิคนิวตรอนแอคติเวชัน

1

12

การใช้ประโยชน์ การบำรุงรักษา และการควบคุมการทำงานของเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนบีม

1

48

เทคนิคการวัดก๊าซเรดอน

1

22

กากกัมมันตรังสีและการจัดการอย่างปลอดภัย

1

21

การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไคโตซานจากเปลือกกุ้ง

1

75

การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสีในพื้นที่จังหวัดนครนายก

1

20

รวม 24 หลักสูตร

32

1,201

การพัฒนาบุคลากรและถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์ : ระดับประเทศ
การสร้างเสริมความชำนาญของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีระดับสูง
การตรวจสอบโดยใช้คลื่นเสียง ความถี่สูง
การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 1
การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 2
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสีในพื้นที่จังหวัดนครนายก
กากกัมมันตรังสีและการจัดการอย่างปลอดภัย
กการผลิตไคโตซานจากเปลือกกุ้ง
การผลิตเห็ดฟาง จากเชื้อที่ปรับปรุงพันธุ์ด้วยรังสี
ไอโซโทปเทคนิค ในการจัดการคุณภาพน้ำ
ตารางที่ 2 หลักสูตรด้านนิวเคลียร์และรังสี เพื่อพัฒนาบุคลากรภายในสถาบัน

ชื่อหลักสูตร

จำนวนรวม

ครั้ง

คน

ระบบคุณภาพ ISO 9001:2008 และการตรวจติดตาม

1

30

การฟื้นฟูและเพิ่มพูนความรู้ความสามารถทางคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยา

2

60

การอบรมเจ้าหน้าที่เดินเครื่องฉายรังสีแกมมา

1

17

การฟื้นฟูความรู้ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานปฏิบัติการทางรังสี (ตามกฎหมาย)

3

360

การซ่อมเครื่องมือวัดและควบคุมทางนิวเคลียร์

1

10

การทดลองด้านเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย

1

17

การเตรียมความพร้อมเฉพาะด้านของคณะทำงานฉุกเฉินทางรังสี สทน. : การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
และการบัญชาการเหตุการณ์กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสี

1

27

รวม 7 หลักสูตร

10

521

การพัฒนาบุคลากรและถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์ : ภายในสถาบัน
การฟื้นฟูความรู้ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานปฏิบัติการทางรังสี (ตามกฎหมาย)
การทดลองด้านเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย
การบัญชาการเหตุการณ์กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสี
โพสต์เมื่อ : 7 ธันวาคม 2553