STKC 2553

:

สุรศักดิ์  พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

นอกเหนือจากรังสีแกมมาจากโคบอลต์-60 แล้ว ลำอิเล็กตรอน (electron beam) เป็นรังสีอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในการทำ ไร้เชื้อด้วยรังสี (radiation sterilization) ได้ ลำอิเล็กตรอนคือกระแสของอนุภาคอิเล็กตรอนที่มีความเข้มข้น ผลิตจาก เครื่องเร่งอนุภาค (accelerator) จนเกิดเป็นลำอิเล็กตรอน โดยจะให้เกิดเป็นช่วง (pulse) หรือเกิดต่อเนื่อง (continuous) ก็ได้

ในการทำไร้เชื้อ ผลิตภัณฑ์จะถูกผ่านไปด้านหน้าของลำอิเล็กตรอน และจะดูดกลืนพลังงานจากอิเล็กตรอน ซึ่งจะไป ทำลายเซลล์สืบพันธุ์ที่โซ่ดีเอ็นเอของจุลินทรีย์ อันเป็นผลเช่นเดียวกันกับการฉายด้วยรังสีแกมมา

ข้อได้เปรียบของการทำไร้เชื้อด้วยลำอิเล็กตรอนคือ ใช้เวลาเพียงในระดับ “วินาที” และเนื่องจากการทำงานของ เครื่องเร่งอนุภาคเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในผลิตภัณฑ์ที่ต้องการปริมาณรังสีที่แตกต่างกัน เช่น ต้องเปลี่ยนจาก 18 เป็น 25 กิโลเกรย์ ก็ไม่จำเป็นต้องปรับอุปกรณ์ใด ๆ เป็นเพียงแต่การกดปุ่มที่ห้องควบคุมเท่านั้น โดยวิธีการทำไร้เชื้อด้วย วิธีการดั้งเดิมคือการใช้แก๊สเอทิลีนออกไซด์ อาจใช้เวลาถึง 20 วัน การใช้รังสีแกมมาอาจใช้เวลาหลายชั่วโมงถึง หลายวัน (ต้องแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ปริมาณรังเท่า ๆ กัน เข้าฉายรังสีพร้อม ๆ กัน) แต่สำหรับลำอิเล็กตรอน ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที

 
 

ข้อมูล :

  • ศูนย์ไอโซโทปรังสี
  • กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
  • หน่วยประชาสัมพันธ์