STKC 2553

: 15

สุรศักดิ์  พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ศูนย์ไอโซโทปรังสี สังกัด สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เดิมมีฐานะเป็นกองผลิต- ไอโซโทป ถือกำเนิดพร้อมกับการสถาปนาสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ และเริ่มทดลองผลิตสารไอโซโทปรังสี โดยใช้เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูตั้งแต่ พ.ศ. 2507 ในตอนแรกทดลองผลิตไอโอดีน–131 ส่งให้แพทย์ทดลองใช้ นอกจากนี้ก็ยังผลิตสารไอโซโทปที่มีครึ่งชีวิตสั้นอื่น ๆ เช่น ทองคำ-198 โซเดียม–24 เทคนีเชียม–99 เอ็ม เป็นต้น ตลอดเวลา 40 ปีที่ผ่านมากองผลิตไอโซโทปได้มีการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพสารไอโซโทปและวิจัยสารไอโซโทป ชนิดใหม่ ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ขอรับบริการ โดยมีเป้าหมายหลักดังนี้
  • เพื่อเป็นบริการของภาครัฐให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะผู้ป่วยให้ได้รับการบำบัดรักษา และ/หรือการตรวจวินิจฉัย ด้วยสารไอโซโทปอย่างทั่วถึง
  • ช่วยลดการขาดดุลการค้าและการสูญเสียเงินตราให้กับต่างประเทศ เนื่องจากสารไอโซโทปที่ผลิตขึ้นเอง ในประเทศ จะมีราคาถูกกว่าที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ
  • ช่วยเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์งานผลิตไอโซโทป ให้แก่นักวิทยาศาสตร์ในประเทศ
  • สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย ให้ได้ใช้สารไอโซโทปได้ทันท่วงที เนื่องจากสารไอโซโทปมี ครึ่งชีวิตสั้น การผลิตได้เองสามารถยืดหยุ่นปริมาณความต้องการได้

นอกจากการบริการจะมุ่งเน้นทางการแพทย์เป็นส่วนใหญ่แล้ว ยังมีการผลิตสารไอโซโทปที่ใช้ในกิจการอื่น ๆ อีกบ้าง เช่น ทางด้านการเกษตร การศึกษาวิจัย และการอุตสาหกรรม สารไอโซโทปที่ผลิตนั้นจะต้องผ่านการควบคุมคุณภาพ โดยอ้างอิงตามมาตรฐานสากลของทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา (European Pharmacopoeia และ United State Pharmacopoeia)

นับตั้งแต่ปี 2507 เป็นเวลามากกว่า 40 ปีกองผลิตไอโซโทปรังสี ซึ่งเคยสังกัดอยู่ในสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างในปี 2545 เพื่อเตรียมปรับบทบาทและภารกิจกองผลิตไอโซโทป ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “โครงการผลิตไอโซโทป” สังกัดสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และในวันที่ 25 ธันวาคม 2549 ภารกิจของกลุ่มงาน ปฏิบัติการวิจัยและพัฒนา และกลุ่มงานด้านการให้บริการเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ได้ถูกแยกออกมาจากสำนักงานปรมาณู- เพื่อสันติ มาเป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายใต้ชื่อ “สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ แห่งชาติ (องค์การมหาชน)” โครงการผลิตไอโซโทปได้ถูกเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและเปลี่ยนชื่อมาเป็น “ศูนย์ไอโซโทปรังส"

 

ข้อมูล :

  • ศูนย์ไอโซโทปรังสี
  • กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
  • หน่วยประชาสัมพันธ์