STKC 2553

:

สุรศักดิ์  พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

รังสีคือพลังงานที่ได้จากการสลายของสารกัมมันตรังสี (radioactive substance) เนื่องจากมีการจัดตัวของนิวเคลียสใหม่เพื่อให้มีความเสถียร การเปลี่ยนแปลงในนิวเคลียสนี้เอง อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสนี้อาจจะมีผลให้รังสีชนิดต่าง ๆ ออกมา เช่น รังสีแอลฟา รังสีบีตา และ รังสีแกมมา โดยรังสีอาจจะอยู่ในรูปของอนุภาค หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าก็ได้

ชนิดของรังสี

สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม

1.
กลุ่มที่เป็นอนุภาค (particle) ได้แก่
  • โปรตอน แอลฟา และ บีตา เป็นอนุภาคที่มีประจุ สามารถทำให้ตัวกลางที่มันวิ่งผ่าน เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้โดยตรง (direct ionization)
  • นิวตรอน เป็นอนุภาคที่ไม่มีประจุ จึงไม่สามารถทำให้ตัวกลางที่มันผ่านเกิดการแตกตัวเป็นไอออนโดยตรง แต่สามารถทำปฏิกิริยานิวเคลียร์กับนิวเคลียสของตัวกลาง ทำให้ตัวกลางเกิดการแตกตัวเป็นไอออนทางอ้อม (indirectly ionization)
2.

กลุ่มที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic wave) ได้แก่ รังสีเอกซ์ และแกมมา ไม่มีมวลและประจุ จึงไม่สามารถทำให้ตัวกลางที่มันผ่านเกิดการแตกตัวเป็นไอออนโดยตรง (direct ionization)

 

ชนิดของรังสีที่อนุญาตให้ใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร
  1. รังสีแกมมาจากสารกัมมันตรังสี เช่น โคบอลต์-60 (Co-60) หรือ ซีเซียม-137 (Cs-137)
  2. รังสีเอกซ์จากเครื่องผลิตรังสีเอกซ์ ที่ทำงานด้วยระบบพลังงานที่ไม่สูงกว่า 5 MeV
  3. อิเล็กตรอนจากเครื่องเร่งอิเล็กตรอน ที่ทำงานด้วยระดับพลังงานไม่สูงกว่า 10 MeV
 
ข้อจำกัดของการใช้รังสี
  1. ไม่สามารถใช้กับอาหารทุกชนิดได้ โดยเฉพาะอาหารที่มีโปรตีนสูงและน้ำมาก เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม ไม่เหมาะสมที่จะนำมาฉายรังสี เพราะทำให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์
  2. อาจทำให้เนื้อสัมผัสของผลไม้ และสีของเนื้อสัตว์บางชนิดเปลี่ยนไป ทำให้ปริมาณรังสีที่เหมาะสมในการใช้มีช่วงค่อนข้างจำกัด
  3. ไม่สามารถทำลายสารพิษที่มีอยู่ในอาหารได้
  4. จำเป็นต้องใช้ความเย็นหรือความร้อนร่วมด้วยในบางกรณี เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ข้อมูล :

  • ศูนย์ฉายรังสี
  • กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
  • หน่วยประชาสัมพันธ์