STKC 2553

:

สุรศักดิ์  พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

การศึกษาการฉายรังสีผลไม้เพื่อการส่งออก

ในขั้นต้นศูนย์ฉายรังสีได้ศึกษาตัวแปรต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการส่งออกผลไม้ทั้ง 6 ชนิด ดังต่อไปนี้

  1. 2. การประเมินโดยคณะผู้ชิม ประเมินการยอมรับได้ของคณะผู้ชิมโดยพิจารณา สี (color) กลิ่น (odor) รส (taste) เนื้อสัมผัสของผลไม้ (texture) ความชุ่มน้ำ (juiciness) สถาพปรากฏโดยรวม (overall appearance) และคุณภาพโดยรวม (overall quality) ของผลไม้ 1 7 14 21 และ 28 วันภายหลังการฉายรังสี สรุปได้ดังนี้
1.
การศึกษาผลของรังสีแกมมาต่อคุณภาพของผลไม้
ประเมินคุณภาพภายหลังการฉายรังสี 1 7 14 21 และ 28 วัน ดังนี้
  • สีเปลือกผลไม้ที่เปลี่ยนแปลงไป (colour change)
  • ความแข็ง (hardness)
  • ความหวาน (%Brix)
  • ความเป็นกรด-เบส (pH)
  • วิตามินซี (%Vitamin C)
พบว่าการฉายรังสีแกมมาไม่มีผลต่อคุณภาพของผลไม้ในแง่ต่าง ๆ ข้างต้นเมื่อ ฉายรังสีมังคุด 100-1000 เกรย์ ลิ้นจี่ 100-600 เกรย์ ลำไย 100-1000 เกรย์
   
2.

การประเมินโดยคณะผู้ชิม

ประเมินการยอมรับได้ของคณะผู้ชิมโดยพิจารณา สี (color) กลิ่น (odor) รส (taste) เนื้อสัมผัสของผลไม้ (texture) ความชุ่มน้ำ (juiciness) สถาพปรากฏโดยรวม (overall appearance) และคุณภาพโดยรวม (overall quality) ของผลไม้ 1 7 14 21 และ 28 วันภายหลังการฉายรังสี สรุปได้ดังนี้

ผลไม้

สี กลิ่น รส และเนื้อสัมผัสของผลไม้ อยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้

อุณหภูมิแช่เย็นหลังการฉายรังสี

จำนวนวันหลังการฉายรังสี

ลิ้นจี่

10  C

9

ลำไย

5  C

28

มะม่วง

18  C

14

มังคุด

13  C

24

   
3.
ศึกษาอายุของผลไม้ที่เหมาะสมกับการฉายรังสี

ชนิดผลไม้

อายุที่เหมาะสมกับการฉายรังสี

มะม่วง (สุก)

มีความสุก 70-80%

มะม่วง (ดิบ)

มะม่วงแก่ที่ยังไม่สุก

ลำไย

ภายใน 2 วันภายหลังการเก็บ

ลิ้นจี่

ภายใน 2 วันภายหลังการเก็บ

เงาะ

มีความสุก 60-70%

สับปะรด

มีความสุก 50%