การสำรวจและการทำเหมืองแร่ยูเรเนียม
(Uranium Ores Exploration and Mining) |
พิพัฒน์ พิเชษฐพงษ์
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) |
|
ในการสำรวจแหล่งแร่ยูเรเนียม สามารถทำได้หลากหลายวิธี ตามขั้นตอนทั่ว ๆ ไป คือ เริ่มตั้งแต่การใช้ภาพถ่ายจาก ดาวเทียม การใช้ภาพถ่ายจากเครื่องบินสำรวจ การสำรวจทางภาคพื้นดินและทางทะเล การขุดเจาะสำรวจ และการ วิเคราะห์ตัวอย่างหินและดิน ซึ่งแต่ละวิธีสามารถให้รายละเอียดข้อมูลในระดับต่าง ๆ ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายแตกต่าง กันออกไป
ภาพถ่ายทางอากาศสามารถใช้ทั้งภาพถ่ายจากแสงปกติ ภาพถ่ายจากเรดาร์ อินฟราเรด และแสงที่ความยาวต่าง ๆ การพิจารณาลักษณะภูมิประเทศสามารถดูจากผิวดิน ตะกอนดิน ตะกอนหินในแม่น้ำ รวมทั้งตัวอย่างน้ำและตัวอย่างพืช โดยดูจากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของตัวอย่าง การวัดปริมาณรังสีและสารรังสีที่เกี่ยวข้องกับยูเรเนียม ในตัวอย่าง |
 |
หลังจากได้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งแร่ยูเรเนียมแล้ว ก่อนการทำเหมืองจะมีปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาความคุ้มในการทำ เหมืองแร่ยูเรเนียม ดังนี้ |
- เกรดของแร่ยูเรเนียม หรือองค์ประกอบของยูเรเนียมในแร่ (uranium grade)
- ปริมาณหรือขนาดของแหล่งแร่ (ore body size)
- โอกาสแยกธาตุพลอยได้อื่น ๆ ที่มีอยู่ในแร่ (possible by-products)
- ความลึกของแร่จากผิวดิน (mining zone depth)
- วิธีการในการทำเหมืองแร่ (mining method)
- ราคาคาดหวังของยูเรเนียมในตลาดโลก (expected selling price)
- การพิจารณาสภาพทางภูมิศาสตร์การเมือง (geopolitical consideration)
- การพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (environment considerations)
|
|
|
เหมืองแร่ยูเรเนียมสามารถแบ่งได้ 2 แบบใหญ่ ๆ คือ เหมืองเปิด (open pit mining) และเหมืองใต้ดิน (underground mining) นอกจากนี้ยังมีเหมืองแร่ที่มีลักษณะพิเศษซึ่งสามารถใช้วิธีการเฉพาะเรียกว่า in situ leaching (ISL) โดยการใช้ สารละลายอัดฉีดเข้าไปชะยูเรเนียมออกมาจากแร่ยูเรเนียมที่อยู่ใต้ดินออกมา ยูเรเนียมบางส่วนก็มีการผลิต ได้มาจาก ผลพลอยได้ (by-product) จากการทำเหมืองแร่อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ยูเรเนียมโดยตรง
เหมืองแร่ยูเรเนียมที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน คือ เหมือง Mc Arthur River ของบริษัท Cameco ในประเทศแคนาดา เป็นแบบ เหมืองใต้ดิน มีความสามารถในการผลิตแร่ยูเรเนียมประมาณ 15 % ของโลก เหมืองแร่ยูเรเนียมที่ใหญ่รอง ลงมา คือ เหมือง Ranger ของบริษัท REA ในประเทศออสเตรเลีย เป็นแบบ เหมืองเปิด มีกำลังผลิตประมาณ 10 % ของโลก |
Top ten uranium mines of the world in 2008 |
Rank |
Mine |
Country |
Main owner |
Geological type |
Production (tU) |
% World product |
1 |
Mc Arthur River |
Canada |
Cameco |
Unconformity Athabasca Basin |
6383 |
15 |
2 |
Ranger |
Australia |
REA |
Unconformity Kombolgie Basin |
4527 |
10 |
3 |
R?ssing |
Namibia |
Rio Tinto |
Alaskitic granitic intrusve |
3449 |
8 |
4 |
Olympic Dam |
Australia |
BHP Billiton |
Cu,Au,Ag Breccia - U by product |
3344 |
8 |
5 |
Kraznokamensk |
Russia |
ARMZ |
Volcanic complex |
3050 |
7 |
6 |
Arlit |
Niger |
Areva/Onarem |
Strato?d ore in sandstones |
1743 |
4 |
7 |
Rabbit Lake |
Canada |
Cameco |
Unconformity Athabasca Basin |
1368 |
3 |
8 |
Akouta |
Niger |
Areva/Onarem |
Conformable ore in sandstones |
1289 |
3 |
9 |
Mc Clean Lake |
Canada |
Areva/Onarem |
Unconformity Athabasca Basin |
1249 |
3 |
10 |
Akdala |
Kazakhstan |
Uranium One |
Roll front in sandstones |
1034 |
2 |
|
แหล่งข้อมูล เอกสารการสัมมนา Nuclear Fuel Cycle 2009 |
|