STKC 2553

การพัฒนาบุคลากรระดับประเทศ ปีงบประมาณ 2553

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มณฑา ปุณณชัยยะ
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

การพัฒนาบุคลากร เป็นกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องการให้บุคลากรภายในองค์กรมีประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานมากขึ้น ช่วยเพิ่มทักษะความชำนาญในการทำงาน ปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากรทุกระดับให้เป็นไปใน ทิศทางเดียวกัน ทำให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ องค์กรมีความคล่องตัว ก้าวทันโลกของเทคโนโลยีใน ปัจจุบันที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยมีจุดมุ่งหมายสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร การพัฒนาบุคลากรจึงเป็น สิ่งจำเป็นที่จะเอื้อประโยชน์โดยตรงทั้งต่อองค์กร และบุคลากรขององค์กรนั้น ๆ แต่ละองค์กรจึงควรจัดให้มีการพัฒนา บุคลากรอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การพัฒนาบุคลากรสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การฝึกอบรม ปฐมนิเทศ ศึกษาต่อ ดูงาน ประชุม สัมมนาทั้งในและนอกสถานที่ เป็นต้น ในการพัฒนาบุคลากรของแต่ละองค์กรจำป็นต้องวิเคราะห์ความ ต้องการที่จะพัฒนา โดยพิจารณาจากลักษณะของงานที่ทำเป็นหลัก เมื่อบุคลากรได้รับการพัฒนาแล้ว จะต้องมีการ ประเมินและติดตามผล เพื่อนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงการพัฒนาบุคลากรครั้งต่อ ๆ ไป

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากร ที่ปฏิบัติงานด้านนิวเคลียร์ และรังสีในหน่วยงานต่าง ๆ ของประเทศ โดย สทน. มุ่งหวังให้หน่วยงานที่มีการใช้ประโยชน์จากรังสีและสารกัมมันตรังสี สามารถดำเนินงานของตนได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อผู้ปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อม และประชาชน สทน.จึงจัดให้มีการพัฒนา บุคลากรระดับประเทศขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปีงบประมาณ 2553 หน่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ร่วมกับศูนย์/ กลุ่มงาน/หน่วยของสถาบัน จัดให้มีการพัฒนาบุคลากรระดับประเทศ จำนวน 18 หลักสูตร รวม 26 ครั้ง มีรายละเอียด แสดงในตารางที่ 1 ทั้งนี้สทน. คาดว่าจะมีบุคลากรด้านนิวเคลียร์และรังสีของประเทศได้รับการพัฒนา รวมประมาณ 870 คน ขอข้อมูลเพิ่มเติมที่หน่วยถ่ายทอดฯ โทรศัพท์ 02-5967600 ต่อ 3220 หรือทาง www.tint.or.th หน้างานฝึกอบรม

การวิเคราะห์ด้วยเทคนิค NAA

การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 1

ความปลอดภัยทางรังสีกับชุมชนองครักษ์

     

การฝึกซ้อมฉุกเฉินทางรังสี

การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 2

การตรวจวัดความเปรอะเปื้อนทางรังสี

ตารางที่ 1 หลักสูตรเพื่อการพัฒนาบุคลากรระดับประเทศ

การประชุม สัมมนา และฝึกอบรมระดับประเทศ ปีงบประมาณ 2553

หลักสูตร/กำหนดการจัด

จำนวน/ครั้ง

จำนวน ครั้งที่จัด

รวม (คน)

ผลที่ได้รับและคาดว่าจะได้รับ

คน

วัน

1. การฝึกอบรมเรื่อง การป้องกัน อันตรายจากรังสี ระดับ 1/ วันที่ 16-20 พฤศจิกายน 2552, วันที่ 11-15 มกราคม 2553, วันที่ 22-26 กุมภาพันธ์ 2553, วันที่ 19-23 เมษายน 2553, วันที่ 17-21 พฤษภาคม 2553, วันที่ 28 มิถุนายน-2 กรกฎาคม 2553 และ วันที่ 16-20 สิงหาคม 2553

50

5

7

350

เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพใน การปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ของต้นกำเนิด รังสีชนิดปิดผนึก และเครื่องกำเนิดรังสี รวมทั้ง สร้างเสริมให้บุคลากรทางรังสีของประเทศให้มี ความตระหนักถึงการปฏิบัติงานกับสาร กัมมันตรังสีอย่างถูกต้อง มีความปลอดภัยต่อ ตนเอง ผู้ที่เกี่ยวข้อง และสิ่งแวดล้อม

2-6. การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความ ปลอดภัยทางรังสีระดับสูง เรื่อง การสร้างเสริมความชำนาญ เฉพาะด้านสำหรับการจัดการด้าน ความปลอดภัยทางรังสี/ระหว่าง วันที่ 22-26 มีนาคม 2553

12

1

1 ครั้ง/ 1หลักสูตร

รวม 5 ครั้ง

60

เพื่อสร้างเสริมความเชี่ยวชาญในงานรับผิดชอบ ของเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลความปลอดภัยทาง รังสีของภาครัฐและเอกชน ผู้ที่ประสงค์จะเป็น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี หรือผู้ที่ ประสงค์จะสร้างเสริมความเชี่ยวชาญในการ จัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี รวม 5 หลักสูตรย่อย ประกอบด้วย 1. การปรับเทียบ เครื่องมือวัดรังสี การตรวจวัดอัตราปริมาณรังสี 2. การสำรวจ การตรวจวัดความเปรอะเปื้อน ทางรังสีและการชำระล้าง 3. การปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย กับสารกัมมันตรังสีชนิดไม่ปิด ผนึก 4. การตรวจวัดและประเมินผลความ เปรอะเปื้อนของสารกัมมันตรังสีในอากาศ 5. การตรวจวัดและประเมินผลเพื่อการปล่อยทิ้ง กากของเหลวกัมมันตรังสีด้วยเครื่องลิควิดซิน ทิลเลชันและเครื่องแกมมาสเปกโทรมิเตอร์ ทั้งนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ของ หน่วยงานต่างๆ สามารถแก้ไขปัญหาที่อาจ เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. การฝึกอบรม เรื่องการ ตรวจสอบโดยวิธีถ่ายภาพด้วย รังสี ระดับ 1/ วันที่ 25-30 มกราคม 2553 และวันที่ 29 มีนาคม - 3 เมษายน 2553

20

6

2

40

เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากร ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการปฏิบัติงานด้านการ ตรวจสอบโดยวิธีถ่ายภาพด้วยรังสี ให้สามารถ นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปพัฒนา ปรับปรุง และประยุกต์ใช้กับงานในหน่วยงาน ของตนได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

8. การฝึกอบรม เรื่องการ ตรวจสอบโดยวิธีใช้คลื่นเสียง ความถี่สูง ระดับ 1/ วันที่ 15-20 กุมภาพันธ์ 2553 และวันที่ 7-12 มิถุนายน 2553

20

6

2

40

เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากร ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการปฏิบัติงานด้านการ ตรวจสอบโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ให้ สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไป พัฒนา ปรับปรุงและประยุกต์ใช้กับงานใน หน่วยงานของตนได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

9. การฝึกอบรมเรื่อง การป้องกัน อันตรายจากรังสี ระดับ 2/ วันที่ 8-19 มีนาคม 2553

40

10

1

40

เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพใน การปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ของต้นกำเนิด รังสีชนิดไม่ปิดผนึก และชนิดปิดผนึก ที่มีระดับ รังสีต่างๆกัน รวมทั้งสร้างเสริมให้บุคลากรทาง รังสีของประเทศมีความตระหนักถึงการ ปฏิบัติงานกับสารกัมมันตรังสีอย่างถูกต้อง มี ความปลอดภัยต่อตนเอง ผู้ที่เกี่ยวข้อง และสิ่งแวดล้อม

10. การสัมมนาเพื่อพบปะ ผู้ใช้บริการฉายรังสีและเครือข่าย ผู้ให้บริการฉายรังสี/วันที่ 27 มีนาคม 2553

80

1

1

80

เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ใช้บริการฉายรังสีเกี่ยวกับ ประโยชน์ของการฉายรังสีแกมมาในผลิตภัณฑ์ ต่างๆ ความรู้ทั่วไปของการฉายรังสี กฎระเบียบ การขอรับบริการ รวมทั้งเป็นการพบ ผู้ประกอบการเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เกี่ยวกับทิศทางอุตสาหกรรมการฉายรังสี แกมมาในประเทศไทย

11. การฝึกอบรมเรื่อง เทคนิคการ วัดก๊าซเรดอน/วันที่ 17-21 พฤษภาคม 2553

30

5

1

30

เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความ เข้าใจ เกี่ยวกับธรรมชาติ เทคนิคการวัด และ การประยุกต์ใช้ก๊าซเรดอนในธรรมชาติ ตาม หลักวิชาการ สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการ ฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม และ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ใน การทำงานและศึกษาวิจัยระหว่างนักวิจัยจาก หน่วยงานต่าง ๆ

12. การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการฉายรังสี ปลาหมักพื้นบ้าน/วันที่ 25-26 พฤษภาคม 2553

40

2

1

40

เพื่อให้เกษตรกรและผู้ผลิตปลาหมักพื้นบ้าน ได้รับความรู้เบื้องต้นด้านเชื้อจุลินทรีย์ การ ป้องกัน-ควบคุม การลดการปนเปื้อน สุขอนามัยของวัตถุดิบ การกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ การฉายรังสีอาหาร กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา

13. การฝึกอบรม เรื่องกาก กัมมันตรังสีและการจัดการอย่าง ปลอดภัย/วันที่ 14-18 มิถุนายน 2553

60

5

1

60

เพื่อให้ผู้ใช้สารกัมมันตรังสีของประเทศมี ความรู้และเข้าใจกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการ กากกัมมันตรังสี สามารถจัดการกากของตนได้ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถจัดเตรียม ความพร้อมของกากตามแนวปฏิบัติ รู้จักวิธีการ ตรวจสอบความเปรอะเปื้อนทางรังสีบนกาก และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมมีประสบการณ์ ตรงจากการเข้าร่วมปฏิบัติงานจริง ทำให้การใช้ ประโยชน์ของสารกัมมันตรังสีในหน่วยงานมี ความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน ผู้ที่เกี่ยวข้อง ประชาชน และสิ่งแวดล้อม