STKC 2553

การพัฒนาบุคลากรทางนิวเคลียร์และรังสี (ภายในสถาบันฯ) ปีงบประมาณ 2553

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มณฑา ปุณณชัยยะ
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

การพัฒนาบุคลากรเป็นกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่ต้องการให้บุคลากรในแต่ละองค์กรมีประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานมากขึ้น ช่วยพัฒนาความรู้ความสามารถ เพิ่มทักษะความชำนาญในการทำงาน ช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติของ บุคลากรทุกระดับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ องค์กรมีความคล่องตัว และก้าวทันโลกของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยมีจุดมุ่งหมายสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของ องค์กร การพัฒนาบุคลากรจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะเอื้อประโยชน์โดยตรงทั้งต่อองค์กรและบุคลากรขององค์กรนั้น ๆ ใน แต่ละองค์กรจึงควรจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ ในการพัฒนาบุคลากรจำเป็นต้องวิเคราะห์ ความต้องการที่จะพัฒนา โดยพิจารณาจากลักษณะของงานที่ทำเป็นหลัก เมื่อบุคลากรได้รับการพัฒนาแล้วจะต้องมี การประเมินและติดตามผล เพื่อให้รับทราบถึงข้อบกพร่องของการพัฒนา และนำมาปรับปรุงการพัฒนาบุคลากรของ องค์กรในครั้งต่อ ๆ ไป

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากร จึงจัดให้มีการพัฒนาบุคลากร ภายในสถาบันขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปีงบประมาณ 2553 หน่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ร่วมกับศูนย์/กลุ่มงาน/ หน่วยต่าง ๆ จัดให้มีการพัฒนาบุคลากรทางนิวเคลียร์และรังสีของสถาบัน จำนวน 9 หลักสูตร รวม 11 ครั้ง มี รายละเอียดแสดงในตารางที่ 1 ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน่วยถ่ายทอดฯ โทรศัพท์ 02-5967600 ต่อ 3220 หรือทาง www.tint.or.th หน้างานฝึกอบรม

การฝึกซ้อมเพื่อป้องกัน และระงับอัคคีภัย

การป้องกันและระงับอัคคีภัย ในสถานปฏิบัติการทางรังสี

การสร้างเสริมความชำนาญเฉพาะด้าน เพื่อการระงับอุบัติเหตุทางรังสี

     

เครื่องมือวัดรังสีชนิดต่าง ๆ การตรวจสอบและการเลือกใช้งาน

เครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคล และการเลือกใช้งาน

การเตรียมความพร้อมของ คณะทำงานฉุกเฉินทางรังสี สทน.

 

ตารางที่ 1 หลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรภายในสถาบัน

การประชุม สัมมนา และฝึกอบรมภายในสถาบันฯ

หลักสูตร/กำหนดการจัดหลักสูตร

จำนวน/ครั้ง

จำนวน ครั้งที่จัด

รวม (คน)

ผลที่ได้รับ

และคาดว่าจะได้รับ

คน

วัน

 

 

 

1. การฝึกอบรมเรื่อง การประกันคุณภาพ ตามหลัก วิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) : การฟื้นฟูและ เพิ่มพูนความรู้ความ สามารถทางคุณภาพ/วันที่ 10, 12 ธันวาคม 2552 และปลายเดือนพฤษภาคม 2553

30

2

2

60

เพื่อให้บุคลากรด้านไอโซโทปรังสี ได้รับการฝึกอบรมเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการที่ดีในการผลิต ยาทั้ง ภาคทฤษฎี-ปฏิบัติ ได้รับการฝึกอบรม ในงานที่ได้รับ มอบหมายจนสามารถ ปฏิบัติงานได้ดีมี ความรู้ มีเทคโนโลยี ที่ทันสมัย มีความตื่นตัว และตระหนัก ในการรักษาคุณภาพดีอย่างสม่ำเสมอ เป็นการสร้าง ความร่วมมือและ เครือข่ายในการปฏิบัติงานกับผู้ที่ เกี่ยวข้อง

2. การฝึกอบรมระบบคุณภาพ ISO9001:2008 และการตรวจติดตาม/ วันที่ 15-17 มกราคม 2553

40

2

1

40

เพื่อสร้างความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ของ ศูนย์ฉายรังสี เรื่องภาพรวมของระบบ คุณภาพการปฏิบัติงานและการทำงาน ของศูนย์ฯ ภายใต้ระบบคุณภาพ ISO9001:2008 พัฒนาเจ้าหน้าที่ของ ศูนย์ฯ ในการเป็นผู้ตรวจติดตาม (Auditor) และผู้ถูกตรวจที่ดีในการ ตรวจ ติดตามคุณภาพภายใน (Internal Audit)

3. การฝึกอบรม เรื่อง การใช้ประโยชน์ จากเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนบีม / วันที่ 10-16 มีนาคม 2553

15

5

1

15

เพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาความรู้ ความสามารถของเจ้าหน้าที่ สทน. และ ผู้สนใจในการปฏิบัติงานด้าน การฉายรังสีด้วยเครื่องเร่งอนุภาค อิเล็กตรอนบีม ให้มีความปลอดภัย ถูกต้อง และเป็นไป ตามกฎหมาย พรบ. และ กฎกระทรวงที่ กำหนดไว้

4. การฝึกอบรม เรื่องการซ่อมบำรุง เครื่องมือวัดทางนิวเคลียร์/เดือนเมษายน - เดือนพฤษภาคม 2553

10

40

1

10

เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มี ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ และ ประสบการณ์ในการซ่อมบำรุง เครื่องมือวัดทางนิวเคลียร์ สามารถนำ เทคโนโลยี ใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ใน การซ่อมบำรุง ดัดแปลง และ ออกแบบสร้างเครื่องมือวัดทาง นิวเคลียร์ได้

5. การฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อม เฉพาะด้านของคณะทำงานฉุกเฉินทาง รังสีของ สทน./รอกำหนดจากหน่วย ความปลอดภัย (อยู่ระหว่างการปรับปรุง คณะทำงานฉุกเฉินทางรังสีของ สทน.)

30

5

1

30

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร ที่รับผิดชอบเรื่องการเตรียมรองรับ และแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินทาง นิวเคลียร์และรังสี ให้บุคลากรได้ฝึก ปฏิบัติจริง หากมีกรณีฉุกเฉินทางรังสี เกิดขึ้น และ เสริมสร้างความร่วมมือ ระหว่างสำนักงานฯ และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง

6. การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เดินเครื่องฉาย รังสีแกมมา/วันที่ 15-26 กุมภาพันธ์ 2553

20

10

1

20

เพื่อพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้าน เทคโนโลยี การฉายรังสี ให้มีความรู้ ความสามารถในการ เดินเครื่องฉาย รังสีแกมมา Model JS8900 (IR- 155 Gamma Irradiator) ได้อย่างถูกต้อง ตามมาตรฐานสากล ให้ผู้เข้ารับการ ฝึกอบรมสามารถซ่อมบำรุงเครื่องฉาย รังสีแกมมา ได้ตามมาตรฐานความ ปลอดภัยทางรังสีของนานาชาติมี ความรู้ทางด้านรังสี การป้องกัน อันตรายจากรังสี การตรวจวัดปริมาณ รังสี และระบบความปลอดภัยของ เครื่องฉายรังสี

7. การฝึกอบรมเรื่อง การฟื้นฟูความรู้ของ บุคลากรที่ปฏิบัติงานทางรังสี (ตาม กฎหมาย)/วันที่ 11-12 พฤษภาคม 2553

125

1

2

250

เพื่อฟื้นฟูความรู้ทางนิวเคลียร์-รังสี ตามมาตรฐานสากลและตามกฎหมาย ทางรังสีของประเทศที่มีและบังคับใช้ ในปัจจุบัน สร้างความรู้ความเข้าใจที่ ถูกต้องในการปฏิบัติงานทางรังสี การ ป้องกันรังสี มาตรการรักษาความ ปลอดภัยทางรังสี การจัดการกาก กัมมันตรังสี และกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง ให้กับบุคลากรเก่า-ใหม่ของ สทน. และให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน เกี่ยวข้องกับรังสีมีความรู้ทางรังสีตาม ข้อกำหนด อันเป็นการพัฒนาบุคลากร ด้านความปลอดภัยทาง รังสี

8. การฝึกอบรมเรื่อง อุบัติเหตุทางรังสี และการแก้ไขสถานการณ์/วันที่ 12-16 กรกฎาคม 2553

30

5

1

30

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร ที่รับผิดชอบเรื่องการเตรียมรองรับ และแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินทาง นิวเคลียร์และรังสี ให้บุคลากรได้ฝึก ปฏิบัติจริงหากมีกรณีฉุกเฉินทางรังสี เกิดขึ้น และเสริมสร้างความร่วมมือ ระหว่างสำนักงานฯ และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง

9. การฝึกอบรมเรื่อง การทดลองด้าน เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู/วันที่ 20-22 กรกฎาคม 2553

15

3

1

15

เพื่อพัฒนาบุคลากรภายในฝ่ายจัดการ เครื่องปฏิกรณ์/กลุ่มปฏิบัติการ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ ในการทดลอง ด้านเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู โดยใช้ เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยเป็น เครื่องมือหลัก

10. การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เดินเครื่อง ปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย 1 ปรับปรุงครั้งที่ 1/ วันที่ 9 สิงหาคม -20 กันยายน 2553

10

30

1

10

เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ เรื่องความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์ ปรมาณูวิจัย มีความรู้ทันกับ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเครื่อง ปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย มีความรู้ ความสามารถด้านความปลอดภัยทาง นิวเคลียร์ตามหลักสากล-ตาม มาตรฐานของ ทบวงการ สามารถ ถ่ายทอดความรู้และทักษะด้านความ ปลอดภัยเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย แก่บุคคลอื่นได้ เป็นการพัฒนาระบบ การศึกษาและพัฒนาระบบการ ฝึกอบรม ทางด้านความปลอดภัย เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย

รวม 10 หลักสูตร

12

480

เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของ บุคลากรด้านนิวเคลียร์และรังสีของ สถาบันฯ