STKC 2553

เสวนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ด้านอุตสาหกรรม

บุญสม พรเทพเกษมสันต์
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้จัดงาน “ 1 วันอัศจรรย์กับ นิวเคลียร์” ณ บริเวณชั้นล่าง โซนอีเดน ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯซึ่งในงานนี้ มีทั้งความบันเทิง นิทรรศการ แสดงผลงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีนิวเคลียร์หลากหลายด้านรอบตัวเรา การเสวนาในหลายหัวข้อ และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์เข้าช่วย อาทิ เครื่องประดับบลูโทแพช ผลิตภัณฑ์อาหารฉายรังสี และผลิตภัณฑ์จากผงไหม

สำหรับรายละเอียดการเสวนาในหัวข้อ อัศจรรย์เทคโนโลยีนิวเคลียร์ด้านอุตสาหกรรม ผู้เสวนาได้แก่ คุณธนพล คงชล คุณปิยะวรรณ คงชล บริษัท สยาม บลูโทแพซ แอนด์ มาสเทอพีส เจมส์ จำกัด และคุณอารีรัตน์ คอนดวงแก้ว ผู้จัดการ ศูนย์ฉายรังสีอัญมณี โดยมีคุณสุจิรา อรุณพิพัฒน์และคุณพิชยดล พึ่งพันธุ์ เป็นพิธีกร ผู้ดำเนินรายการ

คุณอารีรัตน์ คอนดวงแก้ว ได้กล่าวถึง อัญมณีฉายรังสีว่า ที่จริงแล้วภูมิปัญญาไทย ได้มีการเพิ่มมูลค่าของพลอยด้วยวิธี หุงพลอยมาตั้งแต่อดีตและคนไทยรู้จักกันดี ในปัจจุบันการฉายรังสีอัญมณีหรือพลอยชนิดต่าง ๆ นั้น ใช้หลักการเดียวกับ การหุงพลอยของไทยด้วยการใช้ความร้อน ความแตกต่างอยู่ที่แหล่งให้ความร้อนเท่านั้น การฉายรังสีโทแพชสีขาว ให้เป็นบลูโทแพช ใช้ความร้อนจากเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู ในส่วนของปฏิกิริยานิวเคลียร์นั้น ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ บนโลกเราด้วย (บริเวณเหมืองยูเรเนียมออกโล ประเทศกาบอง ทวีปแอฟริกา-ผู้เขียน) บนดวงอาทิตย์ด้วย จึงไม่ใช่เรื่อง น่ากลัวแต่อย่างใด

สำหรับอัญมณีที่ฉายรังสีได้ผลดี หรือไม่นั้นขึ้นกับเนื้อของพลอย ที่ได้ผลดีมักเป็นพลอยเนื้ออ่อน เช่น โทแพชสีขาว เมื่อผ่านการฉายรังสีแล้ว สีของโทแพชซึ่งเดิมเป็นสีขาว ไม่ได้ความนิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ จะเปลี่ยนเป็น สีน้ำเงิน ซึ่งสีที่เข้มขึ้นทำให้พลอยที่ผ่านการเจียรนัยมีความงดงามและเป็นที่นิยมมากขึ้น พลอยบลูโทแพช สีคงเดิม จะไม่มีการเปลี่ยนสีหรือสีซีดจาง และรับรองว่าไม่มีรังสีในเนื้อพลอยอย่างแน่นอน

ในส่วนของคุณธนพล คงชล ได้เปิดเผยว่า ตนได้สนใจเทคโนโลยีสมัยใหม่และคอยติดตามความก้าวหน้าอยู่เสมอ และได้เดินทางไปติดต่อเกี่ยวกับการฉายรังสีอัญมณีที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสหพันธรัฐเยอรมันมาก่อน แต่ต่างประเทศยังไม่ยอมให้ชาติอื่นใช้เทคโนโลยีนี้อย่างเต็มที่

ตนจึงกลับมาประเทศไทยและลองติดต่อกับคุณอารีรัตน์ ซึ่งจากการทดลองในระยะแรกจนถึงปัจจุบันนับได้กว่า 10 ปีแล้ว และฉายรังสีโทแพชได้มากถึงปีละ 50 กิโลกรัม จึงใช้ดำเนินการในลักษณะอุตสาหกรรมการค้าได้

คุณปิยะวรรณ คงชล ผู้รับผิดชอบด้านการออกแบบเครื่องประดับที่นำมาร่วมในงานแฟชันโชว์ บอกกับพิธีกรว่า เธอเป็น ผู้สนใจงานออกแบบ ทั้งที่คุณพ่อให้รับงานด้านการตลาดด้วย เครื่องประดับส่วนใหญ่ของบริษัท เธอเป็นผู้ออกแบบโดย เน้นให้กลุ่มลูกค้าทุกวัย สวมใส่ได้ และนำมาใช้ได้ในทุกโอกาส ทุกช่วงเวลา สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องประดับส่งออก เธอรับว่าลูกค้าพอใจในผลงาน นอกจากนี้พลอยบลูโทแพชซึ่งผ่านการฉายรังสี และเป็นจุดขายก็ได้รับการยอมรับเป็น อย่างดี ในงานนี้ได้นำมาจัดแสดงและจำหน่ายให้ผู้สนใจด้วย

คุณธนพล กล่าวทิ้งท้ายว่า เรื่องอัญมณีฉายรังสีนั้น ทำกันในหลายประเทศทั่วโลก ชาวต่างประเทศเข้าใจดี แต่คนไทย ยังไม่ค่อยเข้าใจกันทั้ง ๆ ที่พลอยหุงของไทยมีกันมานานแล้ว จึงอยากทำความเข้าใจว่า พลอยที่ผ่านการฉายรังสี เป็นพลอยแท้ 100 % และยังมีสีที่สวยขึ้นมาก อีกทั้ง การเจียรนัยพลอยของคนไทยทำได้ละเอียด ฝีมือดี น่าจะซื้อไว้ใช้สวมใส่

ตนอยากกล่าวชื่นชมในเวทีนี้ว่า สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นสถาบันที่ช่วยใsh อุตสาหกรรมอัญมณีของตนแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ เงินในประเทศไม่รั่วไหล ทำให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง และเป็นการเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ไม่ให้เป็นของไร้ค่า ตนอยากให้อุตสาหกรรมประเภทอื่น ลองหันมาใ=h เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในการเพิ่มมูลค่าสินค้าของตนให้มากขึ้นบ้าง

คุณอารีรัตน์สรุปว่า ขณะนี้สถาบันฯ กำลังดำเนินการติดตั้งเครื่องมือฉายรังสีอัญมณีด้วยรังสีแกมมา ซึ่งเครื่องมือouh สามารถใช้เปลี่ยนสีพลอยชนิดอื่นได้ และศูนย์ฉายรังสีอัญมณี โดยสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) มีเป้าหมายที่จะพัฒนางานฉายรังสีอัญมณีให้เป็นศูนย์กลางแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป

หลังจากการเสวนา มีการจับรางวัลรายชื่อผู้มาร่วมงาน ซึ่งรางวัลเป็นเครื่องประดับบลูโทแพช และรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย รวมทั้งมีการสนทนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับผู้เข้าชมงานอย่างเป็นกันเองและสนุกสนาน ก่อนปิดท้าย ด้วยการแสดงแฟชั่

(สำหรับบริษัท สยาม บลู โทแพซ แอนด์ มาสเทอพีส เจมส์ จำกัด เป็นบริษัทแรกที่นำโทแพซสีขาว มาเพิ่มมูลค่าด้วยการฉายรังสี เป็นบลูโทแพซ อัญมณีสีน้ำเงินที่ตลาดโลกให้ความนิยมและตอบรับเป็นอย่างดี )