STKC 2553

เทคโนโลยีนิวเคลียร์กับมะเร็ง ตอนที่ 1

กนกพร บุญศิริชัย และ นิภาวรรณ ปรมาธกุล
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ในงาน 1 วัน อรรศจรรย์กับนิวเคลียร์ ที่ศูนย์การค้าเซนทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2553 นักแสดง/ นางแบบสาว เปิ้ล ภารดี อยู่ผาสุข เปิดใจให้พิธีกร จอย รินลณี ศรีเพ็ญ กับ ภาณุพงศ์ กรรณาธิกรณ์ สัมภาษณ์ เพื่อเล่าประสบการณ์ เกี่ยวกับการเจ็บป่วยของคุณแม่ที่จากไปแล้วด้วยโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสี และให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนให้ห่างไกลจากมะเร็งแก่ผู้ที่มาชมงาน

เปิ้ลเปิดเผยว่า “ ปกติคุณแม่เป็นคนแข็งแรง จึงไม่เคยเอะใจว่าคุณแม่จะล้มป่วยด้วยโรคมะเร็ง วันหนึ่งคุณแม่มีอาการ มือข้างซ้ายอ่อนแรง ปวดศีรษะ ไม่สบาย พูดไม่สะดวก ปากเริ่มเบี้ยวนิดหน่อย จึงคิดว่าอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติ ของสมอง ผลจากการสแกนสมอง คุณหมอตรวจพบก้อนเนื้อสี่ก้อน และสันนิษฐานว่าเป็นก้อนเนื้อที่กระจายมาจาก ส่วนอื่น เมื่อเอกซเรย์ปอดจึงพบว่าคุณแม่ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้าย คุณหมอฉายรังสีให้ที่สมองเพื่อลด อาการบวมของก้อนเนื้อซึ่งจะช่วยให้การทรงตัวของคุณแม่ดีขึ้น คุณแม่รับการฉายรังสีทั้งหมดสิบครั้ง แต่คุณแม่ก็ยัง อ่อนแอเกินกว่าจะรับการฉายรังสีเพื่อทำลายก้อนมะเร็งที่ปอด หลังจากรักษาตัวอยู่นานประมาณ 6-7 เดือน คุณแม่ ก็เสียชีวิต”

มะเร็งเกิดจากสองปัจจัยหลักคือ สิ่งเร้าจากภายนอก เช่น บุหรี่ เหล้า และมลพิษต่าง ๆ และปัจจัยภายในคือ กรรมพันธุ์ และภูมิคุ้มกันของตัวเรา พิธีกรจึงสอบถามว่า เปิ้ลกลัวว่าตัวเองจะเป็นมะเร็งไหมเพราะมีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วย โรคมะเร็ง เปิ้ลตอบว่ากลัวบ้าง แต่ปัจจุบันก็ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากสิ่งเร้า ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตรวจร่างกาย ตามกำหนด พักผ่อนให้เพียงพอ และดูแลสภาพจิตใจให้ดี เปิ้ลกล่าวว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งจะมีชีวิตอยู่ได้นานหรือจะ หายขาด ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับกำลังใจ และยกตัวอย่างคุณยายของตนซึ่งเป็นมะเร็งแต่ยังมีชีวิตอยู่ และคุณยายของเปิ้ล ก็รักษาใจด้วยการนั่งสมาธิสม่ำเสมอ

ในช่วงท้ายของงาน เปิ้ลยังร่วมเดินแบบในการแสดง แฟชั่นโชว์ ชุด “Nuclear New Look For your life” ร่วมกับ นางแบบสาวชื่อดังอื่น ๆ อีกด้วย แฟชั่นโชว์ชุด นี้เน้นการสื่อถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านการรักษาและวินิจฉัยทางการแพทย์