เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย (Research Reactor)

นายโกมล อังกรุรัตน์
ศูนย์ไอโซโทปรังสี
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่มีอยู่ในปัจจุบันมากมายจะใช้ประโยชน์สำหรับงานวิจัย ฝึกอบรม ทดสอบด้านวัสดุศาสตร์ (materials testing) หรือใช้ในการผลิตสารไอโซโทปรังสีสำหรับทางการแพทย์ และทางอุตสาหกรรม

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยจะมีขนาดเล็กกว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง (power reactors) หรือเล็กกว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้ขับเคลื่อนเรือเดินสมุทร หรือเรือดำน้ำ และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยนี้ส่วนมากจะมีอยู่ในศูนย์การศึกษาของมหาวิทยาลัย

จะมีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยที่ปฏิบัติงานเดินเครื่องอยู่ประมาณ 280 เครื่อง ใน 56 ประเทศ บางส่วนของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยจะใช้เชื้อเพลิงยูเรเนียมที่เปอร์เซ็นต์เสริมสมรรถนะสูง ๆ (high-enriched uranium fuel) ขณะที่สากลทั่วไปพยายามผลักดันที่จะทดแทนเชื้อเพลิงยูเรเนียมชนิดนี้ให้เป็นแบบเปอร์เซ็นต์เสริมสมรรถนะต่ำ ๆ (low–enriched uranium fuel: LEU)

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยที่มีอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบันทั้งในหน่วยงานของรัฐ หรือทางการค้าของเอกชนโดยทั่ว ๆ ไปจะไม่ใช่เป็นแหล่งต้นกำเนิดพลังงาน จุดประสงค์หลักของเครื่องปฏิกรณ์วิจัยคือเป็นเครื่องให้กำเนิดนิวตรอนขนาดใหญ่เพื่องานวิจัย หรือจุดประสงค์อื่น ๆ ลำของนิวตรอน (neutron beam) ที่ให้ออกมาจะมีรูปแบบแตกต่างกันไปขึ้นกับจุดประสงค์ในการใช้งาน เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยจะมีกำลังน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลังที่จุดประสงค์หลัก คือ เป็นตัวผลิตความร้อนเพื่อเอาไปขับเคลื่อนชุดกำเนิดพลังงานไฟฟ้าโดยขนาดกำลังจะแสดงบอกในหน่วยของ เมกะวัตต์หรือกิโลวัตต์ความร้อน (MWth or MWt) แต่โดยทั่วไปจะใช้ง่าย ๆ ในรูป MW หรือ kW ช่วงของกำลังของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยอาจสูงถึง 100 MW เปรียบเทียบกับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลังซึ่งสูงถึง 3000 MW (i.e 1000 MWe) ในความเป็นจริงถ้ารวมกำลังของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยทั้งหมดทั่วโลก 283 เครื่อง จะมีกำลังได้มากกว่า 3000 MW เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยจะมีรูปแบบง่าย ๆ ธรรมดา เมื่อเทียบกับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลังและจะเดินเครื่องที่อุณหภูมิต่ำกว่า ใช้เชื้อเพลิงยูเรเนียมที่น้อยกว่าและเกิดผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียส (fission products) น้อยกว่าในเชื้อเพลิงที่ใช้แล้ว แต่ในทำนองเดียวกัน จะต้องการเชื้อเพลิงที่มีเปอร์เซ็นต์การเสริมสมรรถนะของยูเรเนียมที่มากกว่า อาจมากกว่า 20% U-235 หรือเครื่องชนิดเก่า ๆ ใช้ถึง 93% U-235 จึงทำให้ในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยมีความหนาแน่นของกำลังสูง (very high power density in the core) จึงต้องมีการออกแบบลักษณะรูปแบบที่พิเศษ จะเหมือนกับเครื่องปฏิกรณ์กำลังคือภายในแกนเครื่องต้องมีระบบระบายความร้อน (cooling) และปกติต้องการตัวหน่วงนิวตรอน (moderator) เพื่อทำให้พลังงานของนิวตรอนลดลงและทำให้เกิดการยกระดับในการเกิดปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียสของยูเรเนียม (fission) โดยที่ต้องใช้เป็นตัวกำเนิดนิวตรอนเป็นจุดประสงค์หลัก เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยส่วนมากจะมีการติดตั้งตัวสะท้อนนิวตรอน (reflector) เพื่อเป็นตัวลดการสูญเสียของนิวตรอนจากแกนเครื่อง

ชนิดของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย (types of research reactors)

จะมีการออกแบบที่หลากหลายมากมายของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย เมื่อเทียบกับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลังซึ่ง 80% ของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลังจะมี 2 รูปแบบคล้าย ๆ กันเท่านั้น การเดินเครื่องแบบวิจัยก็จะมีรูปแบบที่แตกต่างกว่า เช่น ในรูปแบบที่ให้กำลังคงที่หรือแบบทวีกำลัง (steady or pulsed) รูปแบบธรรมดาจะออกแบบเป็นชนิดสระน้ำ (67 units) โดยที่แกนเครื่องที่มีแท่งเชื้อเพลิงจะติดตั้งอยู่ในสระน้ำขนาดใหญ่ ระหว่างแท่งเชื้อเพลิงจะเป็นแท่งควบคุม (control rods) และจะมีช่องว่างต่าง ๆ เพื่อใช้ในการทดลองเกี่ยวกับวัสดุต่าง ๆ ในแต่ละแท่งของเชื้อเพลิงอาจจัดเป็นแบบแผ่นอะลูมิเนียมโค้ง ๆ ห่อหุ้มเนื้อยูเรเนียมเรียงกันเป็นแนวตั้งรูปกล่องอาจเป็นเรียงกัน 18 แผ่น เป็นต้น น้ำจะใช้ได้ทั้งเป็นตัวระบายความร้อนและตัวหน่วงนิวตรอน และแกรไฟต์หรือเบริลเลียม (graphite or beryllium) จะใช้เป็นตัวสะท้อนนิวตรอน ทั้งนี้อาจจะใช้วัสดุชนิดอื่นก็ได้ ช่องต่าง ๆ ที่จะใช้งานเกี่ยวกับลำของนิวตรอนจะติดตั้งไว้ที่ผนังของบ่อ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยแบบถัง (tank type) ก็จะมีรูปแบบคล้าย ๆ กับแบบสระน้ำ จะแตกต่างกันที่ระบบระบายความร้อนของแบบถังจะต้องมีประสิทธิภาพมากกว่า

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยแบบ TRIGA (Training Research Isotope Production General Atomic) ก็เป็นเครื่องรูปแบบหนึ่งที่มีการออกแบบง่าย ๆ ธรรมดา (40 Units) ในแกนเครื่องจะประกอบด้วยแท่งเชื้อเพลิงทรงกระบอกเส้นผ่าศูนย์กลาง 36 mm จำนวน 60-100 แท่ง โดยมีอะลูมิเนียมเป็นตัวห่อหุ้มส่วนผสมของเนื้อเชื้อเพลิงยูเรเนียมและเซอร์โคเนียมไฮไดรด์ (zirconium hydride) ตัวเซอร์โคเนียมไฮไดรด์ยังทำหน้าที่เป็นตัวหน่วงนิวตรอนอีกด้วย โดยแกนเครื่องวางอยู่ในสระน้ำ โดยทั่ว ๆ ไปใช้แกรไฟต์หรือเบริลเลียมเป็นตัวสะท้อนนิวตรอน โดยเครื่องแบบนี้สามารถเดินเครื่องแบบทวีกำลังได้สูง ๆ ภายในเสี้ยววินาทีสั้น ๆ เช่น 25,000 MW เชื้อเพลิงแบบของเครื่องแบบ TRIGA มีข้อดีคือสัมประสิทธิ์อุณหภูมิเป็นค่าลบ (negative temperature coefficient) ที่ดีและถ้ามีกำลังของเครื่องเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก็จะถูกลดลงได้อย่างรวดเร็วของค่า negative reactivity ซึ่งเป็นผลมาจากการหน่วงของไฮโดรด์ (hydride moderator)

การออกแบบอื่น ๆ โดยใช้น้ำมวลหนัก (heavy water) หรือแกรไฟต์เป็นตัวหน่วงนิวตรอน (12 Unit) โดยมี 2 ถึง 3 เครื่องเป็นแบบ fast reactors ซึ่งไม่ต้องมีตัวหน่วงนิวตรอนสามารถใช้ส่วนผสมของยูเรเนียมและพลูโทเนียมเป็นเชื้อเพลิงได้ เครื่องแบบ homogenous แกนเครื่องจะเป็นสารละลายของเกลือยูเรเนียมเป็นของเหลวบรรจุในถังขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 300 มิลลิเมตรด้วยรูปแบบการออกแบบที่ง่าย ๆ ทำให้เครื่องแบบนี้เป็นที่นิยมกันในช่วงแรก ๆ แต่ปัจจุบันมีอยู่เพียง 5 เครื่องเท่านั้นที่ใช้งานอยู่

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย มีประโยชน์ใช้งานได้อย่างกว้างขวางรวมทั้งงานวิเคราะห์ งานวิจัย. งานทดสอบทางวัสดุศาสตร์ และใช้ผลิตสารไอโซโทปรังสีต่าง ๆ โดยศักยภาพสามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลายประโยชน์ใช้งานในวงการอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ รวมทั้งงานวิจัยทางด้านการหลอมนิวเคลียส (fusion) ทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม การพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านวัสดุศาสตร์ การพัฒนาออกแบบยารักษาโรคและทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (nuclear medicine)

ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) ได้จัดแบ่งชนิดของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยอย่างคร่าว ๆ โดยรวบรวมได้ดังนี้ คือ 60 เครื่องที่อยู่ในช่วง critical assemblies (usually zero power) 23 เครื่องเป็นเครื่องที่ใช้ในงานทดสอบ (test reactors) 37 เครื่องใช้ในการฝึกอบรม (training facilities) เป็นเครื่องต้นแบบ (prototypes) 2 เครื่อง และมีอยู่ 7 เครื่องใช้ผลิตไฟฟ้าแต่ส่วนมาก 160 เครื่องใช้ในงานวิจัยและผลิตไอโซโทปรังสี ราคาของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยจะเป็นเครื่องมือที่มีราคาสูง การออกแบบจึงไม่เฉพาะเจาะจงจึงออกมาในรูปของการใช้งานแบบเอนกประสงค์ (multi-purpose) และส่วนมากจะใช้งานมากกว่า 30 ปีขึ้นไป

รัสเซียมีเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยมากที่สุด 62 เครื่องตามมาด้วยสหรัฐสหรัฐอเมริกา 54 เครื่อง ญี่ปุ่น 18 เครื่อง ฝรั่งเศส 15 เครื่อง เยอรมนี 14 เครื่อง และจีน 13 เครื่อง ในประเทศเล็ก ๆ และประเทศกำลังพัฒนาก็มีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเช่นกัน รวมทั้งบังคลาเทศ แอลจีเรีย โคลัมเบีย กานา จาไมกา ลิเบีย ไทย และเวียดนาม ประมาณ 20 เครื่อง หรืออาจมากกว่า กำลังมีโครงการก่อสร้างหรือกำลังก่อสร้างและจำนวน 361 เครื่อง ยุติการเดินเครื่องและปลดประจำการไปแล้ว (decommissioned) ในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งอยู่ในสหรัฐสหรัฐอเมริกา เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยส่วนมากจะสร้างในปี ค.ศ. 1960-1969 และ 1970–1979 จำนวนสูงสุดที่เดินเครื่อง คือ ปี ค.ศ. 1975 จำนวน 373 เครื่องใน 55 ประเทศ

การใช้ประโยชน์ (uses)

ลำนิวตรอนเป็นอะไรที่เฉพาะตัวเพื่อศึกษาโครงสร้างและการเคลื่อนไหวของวัสดุที่ชั้นต่าง ๆ ของอะตอม การก่อกัมมันตภาพรังสีด้วยนิวตรอน (neutron activation) ใช้ตรวจสอบสารตัวอย่างภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ กัน เช่นการสั่นไหวภายใต้ความกดดันสุญญากาศภายใต้อุณหภูมิสูงหรือต่ำ และภายใต้สนามแม่เหล็ก ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งภายใต้เงื่อนไขความเป็นจริงต่าง ๆ

การใช้วิธีการวิเคราะห์แบบการวิเคราะห์เชิงก่อกัมมันตภาพรังสีด้วยนิวตรอน (neutron activation analysis) ใช้วิเคราะห์ปริมาณธาตุในสารตัวอย่าง โดยอะตอมของธาตุต่าง ๆ ในสารตัวอย่างจะถูกทำให้เป็นสารไอโซโทปรังสีโดยการนำไปอาบนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ด้วยการแพร่พลังงานของสารกัมมันตรังสีของธาตุแต่ละชนิดจะเป็นสมบัติเฉพาะตัว จึงสามารถวัดได้ และบอกว่าเป็นธาตุชนิดใดปริมาณเท่าใด

วิธีการ neutron activation ก็เป็นวิธีการเช่นเดียวกันที่ใช้ในการผลิตสารไอโซโทปรังสีเพื่อใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมและทางการแพทย์ โดยนำสารตั้งต้นมาอาบนิวตรอน ตัวอย่าง เช่น ไมโครสเฟียร์อิตเทรียม-90 (yttrium-90 microspheres) ที่ใช้ในการบำบัดรักษามะเร็งตับก็ผลิตมาจากการนำเอา yttrium-89 มาอาบนิวตรอน ไอโซโทปรังสีอีกชนิดหนึ่งที่มีการใช้ประโยชน์อยู่อย่างกว้างขวางในเวชศาสตร์นิวเคลียร์ก็คือเทคนีเชียม-99 (technetium-99) โดยเกิดจากการสลายกัมมันตรังสีของโมลิบดีนัม-99 (molybdenum-99) ซึ่งเป็นผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียส (fission products) สามารถผลิตโดยใช้โลหะแผ่นบางยูเรเนียม-235 (U-235 foil) มาอาบนิวตรอนแล้วนำมาแยกเอา molybdenum-99 ออกจาก fission products อื่น ๆ ในฮอตเซลล์ (hot cell) ซึ่งเป็นตู้ระบบผลิตสารไอโซโทปรังสี

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยก็สามารถนำมาใช้ในกระบวนการของอุตสาหกรรมได้ เช่น การใช้วิธีการโดปิงเพื่อให้เกิดการแปรธาตุด้วยนิวตรอน (neutron transmutation doping) มาทำให้ผลึกซิลิกอน (silicon) มีสภาพการนำไฟฟ้าสูงขึ้นเพื่อนำมาใช้เป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์ ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้ในการทดสอบวัสดุต่าง ๆ ก็ใช้วัสดุที่จะทดสอบมาอาบนิวตรอนเพื่อทดสอบการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น โลหะบางชนิดจะเกิดการเปราะแตกง่ายหรือไม่ หรือพวกโลหะผสมต่าง ๆ ที่ทนต่อการแตกหักง่ายเพื่อศึกษานำมาใช้เป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

เช่นเดียวกับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของทบวงการปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) โดยมีการตรวจสอบความปลอดภัย (safety inspections) และพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ (safeguards) ทั้งนี้เพราะเครื่องปรมาณูวิจัยมีศักยภาพพอที่จะพัฒนาไปทำอาวุธนิวเคลียร์ได้ การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ของอินเดียปี 1974 ก็เป็นผลมาจากการใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยขนาดใหญ่ ๆ ในการผลิตพลูโทเนียม โดยที่ไม่ได้มีการควบคุมจากนานาชาติ

เชื้อเพลิงของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย (fuels)

การประกอบเชื้อเพลิงจะเป็นชนิดแผ่น หรือทรงกระบอก ของโลหะผสมของยูเรเนียมกับอะลูมิเนียม (U-Al) ห่อหุ้มด้วยอะลูมิเนียมบริสุทธิ์ จะแตกต่างออกไปก็จะเป็นเม็ดเซรามิกของยูเรเนียมออกไซด์ (UO2) บรรจุห่อหุ้มอยู่ในโลหะผสมเซอร์โคเนียม (zircaloy) ซึ่งใช้อยู่ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง สำหรับในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยจะมีเนื้อยูเรเนียมเป็นเชื้อเพลิงอยู่ประมาณ 2-3 กิโลกรัมเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะมีเปอร์เซ็นต์การเสริมสมรรถนะของยูเรเนียมที่สูงกว่า โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลังแล้ว บางแห่งอาจมียูเรเนียมเป็นเชื้อเพลิงถึง 100 ตัน

เชื้อเพลิงชนิดเปอร์เซ็นต์การเสริมสมรรถนะของยูเรเนียมสูง [highly-enriched uranium (HEU->20% U-235)] จะทำให้แกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กะทัดรัดมีความเข้มข้นของจำนวนนิวตรอนสูง (high neutron fluxes) และมีระยะเวลาการเดินเครื่องนาน กว่าจะเติมเชื้อเพลิงยูเรเนียมใหม่ครั้งหนึ่ง โดยเชื้อเพลิง HEU นี้จะใช้กันมากจนถึงปี ค.ศ. 1970-1979 และถึงปี 2004 ก็มีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยยังใช้อยู่มากกว่า 60 เครื่อง

ตั้งแต่เริ่มต้นปี ค.ศ. 1970-1979 เป็นต้นมา ได้มีการตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัยความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยจำนวนมาก ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานพลเรือนต่าง ๆ ซึ่งมีระบบรักษาความปลอดภัยน้อยกว่าสถานที่ตั้งหน่วยอาวุธของทหารที่ซึ่งมีปริมาณของ HEU อยู่เป็นปริมาณมาก

ดังนั้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 ต่อมา จะมีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเครื่องเดียว คือ FRM-II ที่ Garching ในประเทศเยอรมนีที่สร้างโดยใช้เชื้อเพลิง HEU ในขณะที่ 21 เครื่องที่ประจำการอยู่ใน 16 ประเทศเป็นแบบที่ใช้เชื้อเพลิง LEU

ประเด็นเรื่องปริมาณเปอร์เซ็นต์การเสริมสมรรถนะของเชื้อเพลิงยูเรเนียมที่ใช้ จึงเป็นจุดสนใจหลักของหน่วยงานภายใต้การสนับสนุนของสหประชาชาติ คือ Nuclear Fuel Cycle Evaluation ในปี ค.ศ. 1980 จึงได้ข้อสรุปว่าเพื่อป้องกันการแพร่ขยายในการนำเอา HEU ที่ใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยมาทำอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นจึงให้ลดเปอร์เซ็นต์การเสริมสมรรถนะของยูเรเนียม-235 ที่จะนำมาใช้เหลือน้อยกว่า 20% ในส่วนนี้จะเหมือนกับการเริ่มของสหรัฐสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1978 เมื่อได้เริ่มใช้โครงการลดเปอร์เซ็นต์การเสริมสมรรถนะของเชื้อเพลิงยูเรเนียม ที่นำมาใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งแบบวิจัยและแบบทดสอบ (Reduced Enrichment for Research and Test Reactors) (RERTR)

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยส่วนมากที่ใช้เชื้อเพลิง HEU ซึ่งจะมาจากสหรัฐสหรัฐอเมริกาและรัสเซียซึ่งเป็นจุดต้นเหตุของปัญหา โครงการ RERTR ะมุ่งจุดสนใจไปที่เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่มีกำลังเกินกว่า 1 MW ซึ่งต้องการเชื้อเพลิงมาก โดยวางเป้าหมายไว้ในปี ค.ศ. 2007 คือจากจำนวน 207 เครื่องที่ใช้ HEU จะเปลี่ยนมาเป็น LEU ให้ได้มากกกว่า 129 เครื่อง จำนวนเครื่องที่นอกเหนือจากนี้ปฏิเสธที่จะดำเนินการเปลี่ยนด้วยเหตุผลต่าง ๆ กัน โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องในรัสเซีย

โครงการ RERTR จะมีการพัฒนาและวางข้อคุณสมบัติใหม่ของเชื้อเพลิง โดยมีการเพิ่มความหนาแน่นของเชื้อเพลิง (high density) ลดเปอร์เซ็นต์การเสริมสมรรถนะของยูเรเนียมที่ใช้ลง โดยเริ่มแรกความหนาแน่นของเชื้อเพลิงประมาณ 1.3-1.7 g/cm3 uranium. การลดเปอร์เซ็นต์การเสริมสมรรถนะของยูเรเนียมลงก็หมายถึงต้องเพิ่มความหนาแน่นของยูเรเนียมให้มากขึ้น โดยเริ่มที่ 2.3-3.2 g/cm3 โดยเน้นเชื้อเพลิงชนิด U-Al

ช่วงเริ่มปี ค.ศ. 2007 จำนวน 48 เครื่องที่ได้เปลี่ยนมาใช้เป็น LEU silicide (ในจำนวนนี้รวมจากสหรัฐสหรัฐอเมริกา 13 เครื่อง) อีก 53 เครื่องดัดแปลงใช้เชื้อเพลิงเท่าที่มีอยู่ และ 28 เครื่อง ซึ่งส่วนมากอยู่ในรัสเซียกำลังออกแบบใช้เป็นเชื้อเพลิงที่มีความหนาแน่นของเนื้อเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่แล้วเสร็จ จุดหมายคือต้องมีการเปลี่ยนให้ใช้เป็น LEU ให้ได้จำนวน 105 เครื่องภายในปี ค.ศ. 2013 บางเครื่องที่ใช้ HEU ก็คาดหวังว่าจะปิดการเดินเครื่อง สหรัฐสหรัฐอเมริกาส่งออกเชื้อเพลิง HEU ลดลงจาก 700 กก./ปี ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1970-1979 จนเกือบถึงระดับไม่มีการส่งออกเลยในปี ค.ศ. 1993

ประเทศโซเวียตยูเนียนเดิมก็มีความพยายามคล้าย ๆ กันคือจากปี ค.ศ. 1978 ผลิตเชื้อเพลิงความหนาแน่น 2.5 g/cm3 โดยลดเปอร์เซ็นต์การเสริมสมรรถนะจาก 90 % เป็น 36 % ทำให้การส่งออกเชื้อเพลิงเสริมสมรรถนะ 90 % หยุดลงในช่วงปี ค.ศ. 1980-1989 แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเครื่องใดเลยของรัสเซียที่เปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิง LEU

เชื้อเพลิง LEU รุ่นแรกจะใช้สารประกอบซิลิไซด์ของยูเรเนียมและซิลิกอนแพร่ในอะลูมิเนียม (U3Si2-Al uranium silicide dispersed in aluminium) มีความหนาแน่น 4.8 g/cm3 ซึ่งประสบผลสำเร็จในการทดสอบด้วยเชื้อเพลิงที่มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นอีก (denser U3Si-Al fuel plates) ซึ่งมีความหนาแน่นได้ถึง 6.1 g/cm3 แต่การพัฒนาเชื้อเพลิง silicide นี้ของสหรัฐสหรัฐอเมริกาได้ถูกยกเลิกไปในปี ค.ศ. 1989 และไม่ได้รับการแนะนำสนับสนุนจนถึงปี ค.ศ. 1996

ปัจจุบันสากลนานาชาติกำลังอยู่ในช่วงพัฒนา วางคุณสมบัติ และการอนุญาตของเชื้อเพลิงชนิดความหนาแน่นสูงแบบโลหะผสมยูเรเนียมและโมลิบดีนัมแพร่ในอะลูมิเนียม (U-Mo alloy dispersed in aluminium) ซึ่งมีความหนาแน่น 6-8 g/cm3 โดยมีหน่วยงานที่ร่วมมือกันคือสหรัฐสหรัฐอเมริกาโดย US RERTR ที่ Argonne National Laboratory (ANL) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996.  ฝรั่งเศสโดย French U-Mo Group (CEA CERCA COGEMA Framatome-ANP and Technicatome) ตั้งแต่ปี 1999 และอาร์เจนตินาโดย Argentine Atomic Energy Commission (CNEA) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 การพัฒนานี้เพื่อที่จะเตรียมการจัดหาเพื่อขยายการใช้ LEU ของเครื่องที่ต้องการความหนาแน่นของเนื้อเชื้อเพลิงที่สูงกว่าชนิด silicide dispersions และเพื่อเตรียมการจัดหาเชื้อเพลิงที่สามารถนำมาผ่านกระบวนการนำมาใช้ใหม่ได้ง่ายกว่าเชื้อเพลิง silicide การรับรองที่จะนำเชื้อเพลิงชนิด U-Mo มาใช้คาดหวังไว้ในปี 2006 แต่ผลการทดสอบตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 ล้มเหลวที่จะยืนยันสมรรถนะการใช้งาน อันเนื่องมาจากความไม่คงตัวของการบวมของเชื้อเพลิงชนิดนี้ภายใต้การแผ่รังสีที่สูง เป้าหมายจึงเลื่อนไปในปี ค.ศ. 2010

ในรัสเซียหน่วยงานโครงการ Russian RERTR ซึ่งได้รับเงินอุดหนุนจาก Russian Ministry of Atomic Energy (MINATOM) และ US RERTR ได้ร่วมงานกันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 เพื่อพัฒนาเชื้อเพลิง U-Mo dispersion ซึ่งมีความหนาแน่น 2-6 g/cm3 สำหรับใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยและทดสอบ ที่ออกแบบโดยรัสเซีย แต่อย่างไรก็ตามความร่วมมือนี้ยังไม่สำเร็จสมบูรณ์ตามคาดหมาย

ในขั้นตอนต่อไปการพัฒนาเชื้อเพลิง U-Mo นี้จะเป็นหัวข้อสำคัญลำดับแรก โดย ANL CEA และ CNEA กำลังทดสอบเชื้อเพลิงชนิด U-Mo fuel in a monolithic form-essentially pure metal ซึ่งจะมาแทนที่
เชื้อเพลิงชนิด dispersion of U-Mo in aluminium โดยเนื้อเชื้อเพลิงมีความหนาแน่น 15.6 g/cm3 ซึ่งสามารถทำให้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยในโลกนี้สามารถเปลี่ยนจาก HEU มาเป็น LEU ได้โดยไม่ต้องสูญเสียสมรรถนะการใช้งานของเครื่องใด ๆ เลย วันกำหนดเป้าหมายที่จะใช้เชื้อเพลิงชนิดนี้ได้จึงถูกขยายออกไปถึงปี ค.ศ. 2013 แต่ก็ยังเป็นข้อสงสัยอยู่ว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ ทั้งนี้เพราะว่าเชื้อเพลิงทั้งหมดที่ใช้อยู่ยังเป็นชนิดแบบห่อหุ้มด้วยอะลูมิเนียม

เชื้อเพลิงใช้แล้ว (spent fuel)

เชื้อเพลิง U-Al ที่ใช้แล้วสามารถนำมาผ่านกระบวนการแยกเอายูเรเนียมที่เหลืออยู่มาใช้ใหม่ได้ ปัจจุบันดำเนินการได้ที่ Cogema ในฝรั่งเศสและเชื้อเพลิง U-Mo ก็สามารถนำมาผ่านกระบวนการแยกยูเรเนียมได้ที่นี่เช่นกัน  เชื้อเพลิง U-Si และชนิดของ TRIGA ยังไม่สามารถใช้กระบวนการที่มีอยู่แยกเอายูเรเนียมออกมาจากเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วได้ แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยก็มีผู้ยืนยันว่าเชื้อเพลิง U-Si สามารถนำ มาแยกเอายูเรเนียมมาใช้ใหม่ได้จากโรงงานแยกที่มีอยู่ในปัจจุบัน ถ้ามีการนำเชื้อเพลิง U-Si มาผสมกับเชื้อเพลิง U-Al อย่างเหมาะสม แล้วนำมาผ่านกระบวนการแยกยูเรเนียม

เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดเก็บเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วชั่วคราวจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยทั่วโลก สหรัฐสหรัฐอเมริกาได้ประกาศโครงการที่จะรับคืนเชื้อเพลิงที่ใช้แล้ว ที่มีต้นกำเนิดจากสหรัฐอเมริกา  จากโครงการนี้ทำให้มีการส่งคืนเชื้อเพลิง HEU ที่ใช้แล้วปริมาณเป็นเนื้อยูเรเนียมได้ประมาณครึ่งตัน และโครงการนี้โดยระยะเวลาแล้ว จะสิ้นสุดในปี ค.ศ. 2006 ซึ่งคาดว่าเชื้อเพลิง U-Mo จะพัฒนาจนสำเร็จพร้อมใช้งานแต่เนื่องจากเป้าหมายที่จะได้ใช้เชื้อเพลิง U-Mo ต้องเลื่อนออกไป โครงการที่จะรับคืนเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วที่มีต้นกำเหนิด ากสหรัฐอเมริกาจึงขยายออกไปอีก 10 ปี
กระบวนการจัดการเชื้อเพลิง HEU ใช้แล้ว หรือแม้แต่เชื้อเพลิงชนิด 20% ของการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม ต้องคำนึงถึงปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมา เช่น การรวบรวมเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วไว้ในที่เดียวกัน ต้องคำนึงมวลวิกฤติที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียส (fission) ได้จึงต้องมีตัวดูดซับนิวตรอนป้องกันการเกิด fission หรือไม่ ก็ต้องมีการทำให้เจือจางหรือการแพร่กระจายการจัดเก็บออกไป ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ในรัสเซียมีการร่วมมือของโครงการ 3 ฝ่ายคือ รัสเซีย  IAEA และสหรัฐอเมริกา ด้วยจุดประสงค์ที่จะขนย้ายเชื้อเพลิง HEU ที่ใช้แล้ว 2 ตัน และ LEU 2.5 ตัน ไปที่โรงงานแยกเอายูเรเนียมมาใช้ใหม่ที่ Mayak ใกล้ ๆ Chelyabinsk ตลอด 10 ปีจนถึงปี ค.ศ. 2012 โครงการRussian Reactor Fuel Return Program (RRR FRT) ต้องขนส่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้ว 38  เที่ยว และยังไม่ได้ใช้จาก 10 ประเทศช่วงปี ค.ศ. 2005-2008  ต่อมา 8 เที่ยวขนส่งจาก 6 ประเทศ เพื่อเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิง HEU ใช้แล้วที่เอาออกจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อเปลี่ยนมาเป็นเชื้อเพลิง LEU หรือไม่ก็หยุดเดินเครื่องไปเลย 17 ประเทศที่มีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยจากประเทศรัสเซียและมีจำนวน 25 เครื่องอยู่นอกประเทศรัสเซีย ในจำนวนนี้ 15 เครื่องยังปฏิบัติการเดินเครื่องใช้งานอยู่  ลิเบียได้เข้าร่วมโครงการนี้ด้วยตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 จะมีก็เพียงประเทศเดียว คือ เกาหลีเหนือ ที่ปฏิเสธการเข้าร่วมโครงการนี้

Research Reactors with High-enriched Uranium (HEU) Fuel

 

Type

Power (kW)

Enrichment (%)

Source of Fuel

Argentina

pool

500

90

USA

Austria

Triga

250

20-70

USA

 

Argonaut

10

20-90

USA

Belgium

tank

100000

74-93

USA

Canada

pool

5000

93

USA

 

Slowpoke

20 (x 3)

93

USA

Chile

pool

2000

90

France

 

pool

5000

20-45

USA

China

Crit fast

0.05

90

China

 

tank

125000

90

China

 

MNSR

27

90

China

 

pool

5000

90

China

 

MNSR

30-33 (x 3)

90

China

Czech Rep

tank

10000

36 now LEU

Russia

 

pool

5

36

Russia

France

pool

0.1

90-93

USA

 

Tank in pool

0.1

3-93

USA France

 

Crit fast

3

12-25

USA

 

heavy water

58300

93

USA

 

pool

14000

93

USA

 

FBR

563000

22-28

France

 

Argonaut

100

93

USA

 

homogeneous

1

93

USA

Germany

pool

4000

45-93

USA

 

heavy water

23000

80-93

USA

 

pool

10000

20-93

USA

 

tank

0.01

36

Russia

Ghana

MNSR

30

90

China

Greece

pool

5

20-93

USA

Hungary

tank

10000

36

Russia

Israel

pool

5000

93

USA

India

pool

1000

93

UK & France

 

FBR

40000

55-70

India

Iran

MNSR

30

90

China

Italy

Fast source

5

93

USA

Jamaica

Slowpoke

20

93

USA

Japan

Argonaut

0.01

90

USA

 

tank

5000

93

USA

 

Crit fast

2

20-93

USA UK

 

Tank

50000

20-46

USA

 

Crit assembly

0.1

45-93

USA

Korea ?North

pool

8000

36

Russia

Kazakhstan

pool

6000

36

Russia

 

tank

10000

36

Russia

 

tank

60000

90

Russia

Libya

pool

10000

80 now LEU

Russia

Mexico

Triga

1000

20-70

USA

Netherlands

Argonaut

30

90

USA

 

pool

2000

20-93

USA

 

Tank in pool

45000

93

USA

Pakistan

MNSR

30

90

China

Poland

pool

30000

36-80

Russia

Portugal

pool

1000

93

USA

Romania

Triga

14000

20-93

USA

Russia

various

(39 units 12
being over 1 MW)

Various

Russia

South Africa

Tank in pool

20000

87-93

S.Africa

Sweden

pool

1000

93

USA

Switzerland

homogenous

2

90

USA

Syria

MNSR

30

90

China

UK

Fast burst

0.5

37.5

UK

 

Pool

100

80

UK

Ukraine

tank

10000

36

Russia

USA

various

(22 units 13
being 1 MW or more)

Various

USA

Uzbekistan

tank

10000

36

Russia

Vietnam

pool

500

36 now LEU

Russia

Yugoslavia

heavy water

0.001

Up to 80

Russia

Total 38 countries

 

c 130 units

 

 

 

 

 

 

 

Taiwan

pool

30

93

USA

Data from IAEA: Nuclear Research Reactors in the World 2000.
MNSR = miniature neutron source reactor Chinese copy of Slowpoke.
crit fast = very low power critical assembly for fast neutrons.

Sources:
  • IAEA Nuclear Research Reactors in the World reference data series #3 Sept 2000.
  • Research Reactors: an overview by Colin West ANS Nuclear News Oct 1997.
  • IAEA Research Reactor Facility Characteristics 1985.
  • Research reactors under threat by W.Krull Nucl.Eng.Intl. Oct 2000.
  • O.Bukharin 2002 Making fuel less tempting Bull. Atomic Scientists July-Aug 2002.
  • Travelli A 2002 Progress of the RERTR program in 2001.
  • www.td.anl.gov/Programs/RERTR/RERTR.html
  • Travelli A 2002 Status and Progress of the RERTR Program in the Year 2002 RERTR conference November 2002.
  • Snelgrove JL 2003 Qualification and Licensing of U-Mo Fuel RRFM conference March 2003.
  • NuclearFuel 17/3/03 22/11/04 26/3/07.
  • ? World Nuclear Association. All rights reserved
  • 'Promoting the peaceful worldwide use of nuclear power as a sustainable energy resource' Contact WNA

ถอดความจาก

http:// world-nucleear.org/info/inf61.html