สเกลความแข็งของโมส์ Mohs scale of hardness

วราวุธ ขจรฤทธิ์
ศูนย์ฉายรังสีอัญมณี
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ปี ค.ศ. 1812 ฟรีดิช โมส์ (Friedrich Mohs) นักเหมืองแร่และธรณีวิทยา ชาวเยอรมัน ได้สร้างมาตราสำหรับเปรียบเทียบความแข็ง เรียกว่า สเกลของโมส์ (Mohs’ scale) โดยการเรียงลำดับความแข็งของแร่สามัญที่พบได้ทั่วไป เพื่อใช้สำหรับพิสูจน์ทราบชนิดของแร่ธาตุเบื้องต้นในภาคสนามได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยสมบัติทางกายภาพแทนการวิเคราะห์ด้วยวิธีทางเคมีในห้องปฏิบัติการ

 
เสกลของโมส์จะเริ่มจาก 1 ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนที่สุด จนถึง 10 ซึ่งเป็นระดับที่แข็งที่สุด ดังนี้

ความแข็ง

ชนิดแร่

1

ทัลก์ (Talc)

2

ยิปซัม (Gypsum)

3

แคลไซต์ (Calcite)

4

ฟลูออไรต์ (Fluorite)

5

อะพาไทต์ (Apatite)

6

ออร์โทเคลส (Orthoclase)

7

ควอตซ์ (Quartz)

8

โทแพซ (Topaz)

9

คอรันดัม (Corundum)

10

เพชร (Diamond)

ตามสเกลของโมส์ ไส้ดินสอจะมีความแข็งประมาณ 1 เล็บมือมนุษย์จะมีความแข็งระหว่าง 2-3 กระจกจะมีความแข็งระหว่าง 6-7 และทับทิมจะมีความแข็งระดับ 9

การที่เสกลของโมส์เป็นสเกลที่ได้มาจากการเปรียบเทียบ ทำให้ความแตกต่างของความแข็งในแต่ละระดับมีค่าไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น เพชรซึ่งมีความแข็งในระดับ 10 จะมีความแข็งมากกว่าคอรันดัมซึ่งมีความแข็งในระดับ 9 ประมาณ 4-5 เท่า ในขณะที่คอรันดัมจะมีความแข็งมากกว่าโทแพซซึ่งมีความแข็งในระดับ 8 ประมาณ 2 เท่า

ถึงแม้ความแตกต่างของระดับความแข็งจะไม่เป็นแบบเชิงเส้น แต่เนื่องจากการใช้วัสดุซึ่งทราบความแข็งทั่ว ๆ ไปในการเปรียบเทียบ ทำให้ง่ายต่อการประมาณค่าความแข็งของวัสดุอื่น ๆ จึงทำให้สเกลความแข็งของโมส์ยังคงได้รับความนิยมใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. http://chemistry.about.com/od/geochemistry/a/mohsscale.htm