แมลงวันผลไม้ปัญหาระดับโลก

ประพนธ์ ปราณโสภณ
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency, IAEA) ได้จัดการประชุม National Coordinators Meeting and Workshop on Area-wide Management of Fruit Fly Pests ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่างวันที่ 19-23 พฤศจิกายน 2550  มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก และผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ อิหร่าน อิสราเอล จอร์แดน ปาเลสไตน์ ซาอุดีอาระเบีย ซีเรีย เยเมน บังคลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา พม่า จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และไทย รวมทั้งสิ้น 25 คน  ในการประชุมพบว่า ทุกประเทศประสบปัญหาเรื่องความเสียหายอันเนื่องมาจากแมลงวันผลไม้ทำลายผลิตผล ซึ่งส่งผลกระทบอย่างสูงในเรื่องของการค้าระหว่างประเทศ  แมลงวันผลไม้ที่สำคัญเป็นปัญหาประเทศในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางคือ แมลงวันผลไม้เมดิเตอร์เรเนียน(Mediterranean fruit fly(Ceratitis capitata), Bactrocera zonata และกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้แก่ แมลงวันผลไม้ในกลุ่ม Bactrocera spp ได้แก่ Melon fly (B. cucurbitae), Oriental fruit fly (B. dorsalis), B. carambolae, B. philipinensis เป็นต้น

ในการประชุมมีการหารือแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยนำหลักการของการควบคุมแมลงวันผลไม้แบบพื้นที่กว้างโดยวิธีการผสมผสาน(Area-Wide Integrated Control of Fruit Flies) ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงและประสบความสำเร็จมากมาย (ดูตารางด้านล่าง) มาประยุกต์ใช้แนวทาง เพื่อควบคุมและกำจัด โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากเม็กซิโกและฮาวาย มาบรรยายหลักการและกิจกรรมต่าง ๆ ในประเทศเหล่านั้น ได้แก่ การปล่อยแมลงที่เป็นหมัน การปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติเช่น แตนเบียน การใช้กับดักสารล่อ การใช้เหยื่อพิษ การห่อผล การนำเทคโนโลยีระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GIS&GPS) มากำหนดพื้นที่และจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น

Estimated Costs, Benefits, and Benefit/ Cost Ratio for some Major Fruit Fly AW-IPM Programmes Integrating the SIT

Programme

Parameter used to measure benefit

Avg annual cost (USD million)

Avg annual benefit (USD million)

Benefit/ Cost Ratio

Mediterranean Fruit Fly Containment Programme “Programa Moscamed”

Protection of horticulture industries in Mexico and USA (includes only potential production and market loss)

12

1800

150

Melon Fly Eradication Programme in Okinawa, Japan

Export of fruit commodities (mainly mango and bitter melon)

7.7

41.7

5.4

National Mediterranean Fruit Fly Control Programme in Chile

Export of horticultural products affected by fruit flies

4

1600

400

South Africa Mediterranean Fruit Fly Suppression Programme

Savings in chemical sprays and table-grape rejections during the certification process

0.13

0.37

2.8

Mexico National Fruit Fly Campaign

Savings in direct damage and value of fruit exports from the fly-free areas in north-west Mexico

2

15

7.5

Mediterranean Fruit Fly Preventive Release  Programme in Southern California, USA

Protection of California’s horticulture industry from yield loss in agriculture and home-garden production, increased insecticide used, loss of export markets, and annual quarantine compliance cost

13

1300-1900

100-146

Control of the Mediterranean Fruit Fly in Israel/Jordan

Export of vegetables

0.8

8

10

ที่มา: IAEA. 2005. Sterile Insect Technique Principles and Practice in Area-Wide Integrated Pest Management, 787 pp. Springer Press, Vienna, Austria.