ตัวดูดซับโลหะชนิดใหม่เตรียมโดยการใช้ลำอิเล็กตรอนเหนี่ยวนำปฏิกิริยา การเกิดพอลิเมอร์แบบต่อกิ่ง |
พิริยาธร สุวรรณมาลา1 เกศินี เหมวิเชียร1 Hiroyuki Hoshina2 Noriaki Seko2 และ Masao Tamada2
1กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
2Environment and industrial materials division, quantum Beam Science Directorate, JAEA, Japan
|
ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหามลพิษทางน้ำซึ่งเกิดจากการปนเปื้อนของโลหะเช่น แคดเมียม ปรอท ตะกั่ว อะลูมิเนียม และทองแดง ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกปล่อยออกจากโรงงานอุตสาหกรรม การปนเปื้อนของโลหะหนักจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ยาฆ่าแมลงในการเกษตรกรรม ทำให้เกิดสารตกค้างในดิน เมื่อถูกชะล้างลงสู่แม่น้ำลำคลองทำให้เกิดปัญหาสารพิษตกค้างในสัตว์และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ นอกจากนี้การปนเปื้อนของโลหะหนักจากการทำเมืองแร่ เช่นกรณีการปนเปื้อนของโลหะแคดเมียมที่ห้วยแม่ตาว อ. แม่สอด จ. ตาก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนซึ่งบริโภคสัตว์และน้ำเป็นอาหาร
กระบวนการทางรังสี (radiation processing) ถูกนำมาใช้ในการสังเคราะห์พอลิเมอร์ที่มีสมบัติเด่นเฉพาะทางกายภาพและทางเคมี พอลิเมอร์เมื่อได้รับรังสีจะเกิดปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบต่อกิ่ง (graft polymerization) การเกิดพอลิเมอร์แบบเชื่อมโยงข้าม (crosslinking) หรือการทำให้แตกสลาย(degradation) ขึ้นอยู่กับชนิดของพอลิเมอร์และปริมาณรังสี ข้อดีของการใช้รังสีเหนี่ยวนำให้ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบต่อกิ่ง คือ หมู่ทำหน้าที่ (functional group) ที่มีสมบัติเฉพาะสามารถเกิดปฏิกิริยาการต่อกิ่ง (grafting) กับพอลิเมอร์ซึ่งเป็นสายโซ่หลัก ที่มีรูปแบบหลากหลายเช่น เส้นใย ฟิล์ม เยื่อ หลังการเกิดปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบต่อกิ่ง พอลิเมอร์หลักยังคงมีสมบัติคงเดิม การกระจายของหมู่ทำหน้าที่ที่มีสมบัติเฉพาะบนสายโซ่พอลิเมอร์หลัก สามารถควบคุมได้ง่าย โดยการเลือกสภาวะในการทำปฏิกิริยาที่เหมาะสม เช่น ปริมาณรังสีรวม (total dose) และอัตราปริมาณรังสี (dose rate) รังสีมีพลังงานสูงพอที่จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระบนสายโซ่พอลิเมอร์หลัก ซึ่งสามารถเกิดปฏิกิริยากับมอนอเมอร์ ทำให้ไม่ต้องใช้สารเริ่มปฏิกิริยา (initiator) ช่วยลดปัญหาการปนเปื้อนของสารเริ่มปฏิกิริยา และลดขั้นตอนการกำจัดสารเริ่มปฏิกิริยาหลังการเกิดปฏิกิริยา กระบวนการทางรังสีถูกนำมาใช้ในการสังเคราะห์ตัวดูดซับโลหะ ที่มีสมบัติเฉพาะเจาะจง ในการดูดซับโลหะชนิดต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ1, 2
เรซินที่เป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์ ซึ่งมีหมู่กรดไฮดรอกซามิก ถูกนำมาใช้ในการแยกและการสกัดไอออนโลหะ เนื่องจากหมู่กรดไฮดรอกซามิก สามารถเกิดสารประกอบกับไอออนโลหะหลากหลายชนิด เช่น Cd2+ V5+ Fe2+ Fe3+ Zn2+ Pb2+ Ni2+ Hg2+ Au+ Cu2+ Co2+ Cr3+ และ UO22+.3-5 เรซินพอลิไฮดรอกซามิกที่เตรียมจากพอลิเมอร์ร่วม (copolymer) ของสไตรีนและกรดมาลิอิก เชื่อมโยงข้ามด้วยไดไวนิลเบนซีน4 สามารถใช้ในการแยก Cu2+ Ni2+ Co2+ Mn2+ Cr3+ V5+ และ Fe3+ ไฟเบอร์พอลิอะมีดออกไซม์/กรดพอลิไฮดรอกซามิก [poly(amidoxime)/poly(hydroxamic acid)] ที่สังเคราะห์จากการทำปฎิกิริยาออกซิเมชัน (oximation) ของไฟเบอร์พอลิอะครีโลไนทริล (polyacrylonitrile) สามารถดูดซับยูเรเนียมจากน้ำทะเล6 นอกจากนี้ เรซินที่สังเคราะห์จากการต่อกิ่งเมทิลอะครีเลตบนแป้งสาคูด้วยวิธีทางเคมี มีความสามารถดูดซับไอออนโลหะหลายชนิดเช่น Cu2+ Fe3+ Cr3+ Ni2+ Co2+ Zn2+ Cd2+ As3+ และ Pb2+ โดยความสามารถในการดูดซับไอออนโลหะขึ้นอยู่กับความเป็นกรดด่าง5
งานวิจัยนี้ได้ทำการสังเคราะห์ตัวดูดซับไอออนโลหะชนิดใหม่จากพอลิเมอร์ โดยการต่อกิ่งเมทิลอะครีเลตบนแผ่น Nonwoven ซึ่งประกอบด้วยพอลิเอทิลีนเคลือบบนเส้นใยพอลิโพรพิลีนด้วยลำอิเล็กตรอน โดยปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบต่อกิ่งเกิดในอิมัลชันเมทิลอะครีเลต (methylacrylate emulsion) ซึ่งมีโซเดียมโดดีซิลซัลเฟต [sodium dodecyl sulfate, (SDS)] เป็นตัวกระทำอิมัลชัน (emulsifier) และมีน้ำเป็นตัวทำละลาย การเกิดปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบต่อกิ่งโดยวิธีดังกล่าว เป็นวิธีการใหม่สำหรับใช้ในการสังเคราะห์ตัวดูดซับโลหะ เนื่องจากใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย ซึ่งไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะที่การต่อกิ่งด้วยวิธีอื่น ใช้สารละลายอินทรีย์ซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังใช้ปริมาณมอนอเมอร์เมทิลอะครีเลตร้อยละ 2 ปริมาณโซเดียมโดดีซิลซัลเฟตร้อยละ 0.1 ซึ่งน้อยกว่าการสังเคราะห์โดยวิธีอื่น รวมถึงการทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิที่ต่ำกว่า ปริมาณโฮโมพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นน้อยกว่า และให้ร้อยละการต่อกิ่ง (% grafting) ที่สูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการสังเคราะห์โดยวิธีอื่นโดยใช้มอนอเมอร์ในปริมาณที่เท่ากัน จากนั้นทำการดัดแปรด้วยวิธีทางเคมี โดยการเปลี่ยนหมู่เอสเตอร์ของพอลิเมอร์ต่อกิ่งร่วมเป็นหมู่กรดไฮดรอกซามิก โดยการทำปฎิกิริยากับสารละลายแอลคาไล (แผนภาพ 1) ทำให้พอลิเมอร์ร่วมที่สังเคราะห์ได้มีความสามารถดูดซับไอออนโลหะ |
|
|
|
แผนภาพ 1. การสังเคราะห์ตัวดูดซับโลหะที่มีหมู่กรดไฮดรอกซามิก โดยการใช้ลำอิเล็กตรอนเหนี่ยวนำการเกิดพอลิเมอร์แบบต่อกิ่ง |
|
ทำการวิเคราะห์ลักษณะสมบัติของพอลิเมอร์ร่วมที่สังเคราะห์ได้โดยใช้ FTIR (Fourier Transform Infrared Spectroscopy) (รูปที่ 1) FTIR spectrum ของ trunk polymer (nonwoven ) แสดงแถบดูดกลืน (absorption band) ที่ 2850 และ 2917 cm-1 เนื่องจาก C-H stretching ของ aliphatic carbon และ CH2 และ แถบการดูดกลืนอื่นที่ 1377 และ 1464 cm-1 สำหรับ CH3 deformation ขณะที่ FTIR spectrum ของ พอลิเมอร์ต่อกิ่งร่วมก่อนการดัดแปรแสดงพีคการดูดกลืนใหม่ของหมู่เอสเตอร์ที่ 1725 cm-1 เนื่องจาก C=O stretching mode นอกเหนือจากแถบดูดกลืนของ trunk polymer FTIR spectrum ของพอลิเมอร์ต่อกิ่งร่วมหลังการดัดแปรแสดงแถบดูดกลืนลักษณะเฉพาะ (characteristic adsorption band)ของ กรดไฮดรอกซามิก (C=O) และอะไมด์ ที่ 1629 cm-1 ข้อมูลจากการวิเคราะห์สมบัติโดย FTIR ยืนยันการมีหมู่กรดไฮดรอกซามิกในพอลิเมอร์ร่วมที่ได้รับการดัดแปร |
|
|
|
รูปที่ 1. FTIR spectra ของ (a) trunk polymer, (b) พอลิเมอร์ต่อกิ่งร่วม (c) พอลิเมอร์ต่อกิ่งร่วมที่ได้รับการดัดแปร |
|
นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาลักษณะสมบัติของพอลิเมอร์ร่วมที่สังเคราะห์โดยใช้ scanning electron microscope (SEM) (รูปที่ 2) เพื่อเปรียบเทียบเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใย เส้นผ่านศูนย์กลางของ trunk polymer และตัวดูดซับโลหะเท่ากับ 15 และ 20 ไมโครเมตรตามลำดับ ยืนยันว่ามีการเกิดพอลิเมอร์ต่อกิ่งร่วมเกิดขึ้น ทำให้เส้นผ่านศูนย์กลางเพิ่มขึ้น และตัวดูดซับโลหะไม่ได้ถูกทำลายทางกายภาพ (physical damage) ด้วยรังสี |
|
|
(a) |
(b) |
รูปที่ 2. SEM photograph of (a) trunk polymer and (b) ตัวดูดซับ (adsorbent) |
|
ทำการศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับโลหะชนิดต่างๆ ของตัวดูดซับโลหะที่สังเคราะห์ได้โดยวิธี batch adsorption การมีหมู่ที่ให้อิเล็กตรอนในตัวดูดซับโลหะ ซึ่งมีหมู่กรดไฮดรอกซามิก ทำให้หมู่ดังกล่าวสามารถเกิด polycomplexes กับไอออนโลหะ จากการศึกษาพบว่า ตัวดูดซับโลหะที่มีหมู่กรดไฮดรอกซามิก สามารถดูดซับไอออนโลหะได้หลายชนิด โดยที่แต่ละไอออนโลหะจะมีความเป็นกรด-เบส (pH) ค่าเฉพาะที่ให้เปอร์เซ็นต์การดูดซับไอออนสูงสุดดังแสดงในรูปที่ 3 |
|
|
|
รูปที่ 3. การดูดซับโลหะชนิดต่าง ๆ ของตัวดูดซับโลหะที่มีหมู่กรดไฮดรอกซามิก |
|
ตัวดูดซับโลหะที่มีหมู่กรดไฮดรอกซามิกสามารถดูดซับ UO22+ ได้ 99%, V5+ ได้ 97%, Al3+ได้ 96% และ Cd2+ ได้ 97% ที่ pH 5, 4, 4 และ 7 ตามลำดับ เมื่อสัมผัสกับสารละลายโลหะเข้มข้น 100 ในพันล้านส่วนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง (รูปที่ 4) |
|
|
|
รูปที่ 4. ผลของ pH ต่อการดูดซับของ ไอออนโลหะ cadmium, lead, vanadium และ uranium |
|
จากการศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับโลหะ UO2 2+, V5+, Pb2+, และ Cd2+ ของตัวดูดซับโลหะที่สังเคราะห์ได้โดยวิธี Column Adsorption โดยใช้สารละลายผสมของไอออนโลหะ UO2 2+, V5+, Pb2+, และ Cd2+ เข้มข้น 100 ppb pH 5 และความเร็วสามมิติ (space velocity) เท่ากับ 216 h-1 พบว่าความเฉพาะเจาะจงในการดูดซับไอออนโลหะดังนี้ Pb2+ > UO22+> Cd2+>V5+ (รูปที่ 5) |
|
|
|
รูปที่ 5. breakthrough profiles ของ Pb2+ , UO22+, Cd2+ และ V5+ |
|
ผลการศึกษาการดูดซับ Pb2+ โดยใช้สารละลาย Pb2+ เข้มข้น 10 ppm pH 6 และ ความเร็วสามมิติ เท่ากับ 195 h-1 พบว่า ตัวดูดซับไอออนโลหะมีความจุการดูดซับรวม (total capacity of adsorption) ของไอออนโลหะ Pb2+ ทั้งหมดเท่ากับ 2.0 มิลลิโมลต่อกรัมของตัวดูดซับ (รูปที่ 6) |
|
|
|
รูปที่ 6. column mode adsorption ของ Pb2+ |
|
นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาค่าความจุรวมในการดูดซับ Cd2+ โดยใช้สารละลาย Cd2+ เข้มข้น 5 ppm pH 7 และ ความเร็วสามมิติเท่ากับ 217 h-1 พบว่า ตัวดูดซับไอออนโลหะมีความจุการดูดซับรวมของไอออนโลหะ Cd2+ ทั้งหมดเท่ากับ 1.5 มิลลิโมลต่อกรัมของตัวดูดซับ (รูปที่ 7) |
|
|
|
รูปที่ 7. Column mode adsorption ของ Cd2+ |
|
การสังเคราะห์ตัวดูดซับโลหะชนิดใหม่ซึ่งมีความสามารถในการดูดซับโลหะชนิดต่าง ๆ ได้หลายชนิด โดยการใช้ลำอิเล็กตรอนเหนี่ยวนำให้เกิดปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบต่อกิ่ง ร่วมกับการใช้เทคนิคการเกิดพอลิเมอร์แบบอิมัลชัน จะเป็นประโยชน์สำหรับการแยกไอออนของโลหะหนักจากแหล่งน้ำ ซึ่งสามารถช่วยแก้ปัญหาการปนเปื้อนของโลหะหนักในแหล่งน้ำในประเทศไทย
เอกสารอ้างอิง |
- Basuki, F.; Seko, N.; Tamada, M.; Sugo, T.; Kume, T. J. Ion Exchange, 14, 2003, 209-212.
- Seko, N.; Basuki, F.; Tamada, M.; Yoshii, F. Reactive & Function Polymers, 59, 2004, 235-241.
- Yale, H.L.; Chem Rev, 33, 1943, 209.
- Mendez, R.M.; Sivasankara, V.N. Talanta, 37, 1990, 591.
- Lutfor, M.R.; Sidik, S.; Wan Yunus, W.M.Z. Journal of Applied Polymer Science, 79, 2001, 1256.
- Vermon, F.; Shah, T. Reactive Polymers, 1, 1983, 301.
- Suwanmala, P.; Hiroyuki H.; Noriaki S.; Masao T. The Second takasaki Avanced Radiation Research Symposium, Takasaki, Japan, 2007, 131.
|
|