วงจรชีวิตของแมลงวันผลไม้,
Bactrocera dorsalis (Hendel) |
ประพนธ์ ปราณโสภณ
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ |
แมลงวันผลไม้ชนิดทำลายมะม่วง Bactrocera dorsalis (Hendel)
|
|
แมลงวันผลไม้ชนิดทำลายมะม่วงแพร่กระจายทั่วประเทศไทย มีพืชอาศัยมากกว่า 50 ชนิดในเขตภาคกลาง คือ มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ ละมุด พุทรา น้อยหน่า มะละกอ ฯลฯ
วงจรชีวิตของแมลงวันผลไม้
การเจริญเติบโตของแมลงวันผลไม้โดยทั่วๆ ไป แบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ
ไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ไข่ มีรูปร่างคล้ายผลกล้วยขนาดกว้าง 0.2 มิลลิเมตร ยาว 0.4 มิลลิเมตร สีขาวขุ่น ผิวเป็นมัน สะท้อนแสง ที่อุณหภูมิ 28-32 องศาเซลเซียส ระยะไข่ 2 วัน |
รูปที่ 1. แมลงวันผลไม้ชนิดทำลายมะม่วง |
|
หนอน เป็นระยะที่ทำลายผลไม้ ลักษณะตัวยาวรี หัวแหลม ท้ายป้าน ไม่มีขา สีขาว หรือมีสีใกล้เคียงกับผลไม้ที่เป็นพืชอาศัย ตัวหนอนที่โตเกือบเต็มที่เคลื่อนที่โดยการดีดตัว ซึ่งแต่ละครั้งจะดีดตัวไปได้ไกลประมาณ 30 เซนติเมตร หนอนโตเต็มที่มีขนาดลำตัวกว้าง 2 มิลลิเมตร ยาว 10 มิลลิเมตร ระยะหนอนประมาณ 8-12 วัน |
|
|
รูปที่ 2. ไข่แมลงวันผลไม้ |
รูปที่ 3. หนอนแมลงวันผลไม้ |
|
ดักแด้ ลักษณะกลมรีคล้ายถังเบียร์ ขนาดกว้าง 2 มิลลิเมตร ยาว 4 มิลลิเมตร สีน้ำตาล เห็นปล้องตามแนวขวางชัดเจน เป็นระยะที่แมลงจะอยู่เฉย ๆ ไม่เคลื่อนไหว และอาศัยในดินลึกประมาณ 2-5 เซนติเมตร ระยะดักแด้ประมาณ 10-12 วัน
ตัวเต็มวัย เป็นแมลงวันที่มีสีน้ำตาลปนดำ บางชนิดมีสีน้ำตาลอมแดง และมักมีแถบสีเหลืองที่ส่วนอกของแมลง ปีกบางใสสะท้อนแสง ระยะตัวเต็มวัยไม่ทำลายพืชผล ตัวเต็มวัยหลังออกจากดักแด้ประมาณ 10 วัน จึงเริ่มผสมพันธุ์ และวางไข่ในผลไม้ที่อาศัย ตัวเต็มวัยระยะแรกต้องการอาหารที่มีโปรตีนสูง เพื่อไปพัฒนาอวัยวะสืบพันธุ์และการวางไข่ ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เวลากลางวันประมาณ 1,000-3,000 ฟองต่อตัว มีอายุเฉลี่ย 1-3 เดือน |
|
|
รูปที่ 4. ดักแด้แมลงวันผลไม้ |
รูปที่ 5. ตัวเต็มวัยแมลงวันผลไม้ |
|
|