บทนำ
การใช้ประโยชน์ของแหล่งน้ำในประเทศไทย อยู่ในลักษณะผสมผสานระหว่างการใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ จนยากที่จะแบ่งแยกได้เด็ดขาด ลำคลองสายต่าง ๆ นับเป็นแหล่งน้ำสำคัญแหล่งหนึ่งของประเทศ ที่มีการนำมาใช้ประโยชน์หลายประการ อาทิ การอุปโภค บริโภค การเกษตร การประมงน้ำจืด การคมนาคมและการขนส่งทางน้ำ การพักผ่อนหย่อนใจและกิจการการท่องเที่ยวทางน้ำ
นอกจากนี้ยังเป็นทางระบายน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชน โรงงาน และรับน้ำฝนที่ไหลชะล้างสิ่งสกปรก ดินทรายจากถนนและพื้นดินก่อนไหลลงสู่แม่น้ำ ดังนั้นการปนเปื้อนด้วยเชื้อโรค จุลินทรีย์ ธาตุโลหะหนัก สารพิษ หรือสารกัมมันตรังสี จึงนับว่าเป็นสาเหตุความเดือดร้อนต่อการนำน้ำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ และอาจมีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน อนึ่ง สาเหตุจากพิษของสารรังสีเรเดียม-226 และความนิยมบริโภคผักบุ้งของประชาชนไทย จึงกำหนดการศึกษาครั้งนี้ที่เรเดียม-226 และผักบุ้ง
เรเดียม-226 เป็นสารกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นเองบนเปลือกโลก พบปะปนในหิน ดิน และสินแร่ มีความเป็นพิษค่อนข้างสูง เป็นสาเหตุหนึ่งของโพรงกระดูกส่วนสร้างเม็ดเลือดถูกทำลาย มะเร็งในเม็ดเลือดและมะเร็งกระดูก เมื่อเคลื่อนย้ายเข้าสู่สิ่งแวดล้อม จะไปสะสมในน้ำ ดิน พืช สัตว์ ตะกอนและส่วนอื่น ๆ ของระบบ จากนั้นเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารและร่างกายมนุษย์ในที่สุด
ผักบุ้ง เป็นพืชผักอย่างหนึ่งที่สามารถเพาะปลูกได้ง่ายในแหล่งน้ำไหลเวียน เช่น ลำคลองต่าง ๆ อีกทั้งผักบุ้งเป็นผักที่ประชาชนสามารถจัดซื้อมาบริโภคได้ตลอดปี มีราคาย่อมเยาและเป็นที่นิยมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จึงนับเป็นพืชผักอาหารหลักอย่างหนึ่งของประชาชนไทยที่น่าสนใจในแง่คุณลักษณะการปนเปื้อนสารพิษ สารอันตรายหรือสารกัมมันตรังสีจากแหล่งเพาะปลูก
การประเมินผลกระทบด้านกัมมันตรังสีต่อระบบนิเวศ จำเป็นต้องเข้าใจถึงกลไกการส่งผ่านสารรังสีในแต่ละหน่วยย่อย (component) ของระบบนิเวศนั้น ๆ ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้ค่าปัจจัยความเข้มข้น (Concentration factor: CF) สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการอธิบายกลไกการส่งผ่านเรเดียม-226 จากน้ำไปผักบุ้ง
จุดประสงค์ |