มีกรณีศึกษาเพื่อทดสอบการใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ดในการจำแนกสปีชีส์ทั้งในพืชและสัตว์ Hebert และคณะ (2004) ศึกษาลำดับดีเอ็นเอของยีน COI ในนกของทวีปอเมริกาเหนือ 260 สปีชีส์ พบว่า ทุกสปีชีส์มีลำดับดีเอ็นเอที่แตกต่างกัน โดยมีความแตกต่างเชิงวิวัฒนาการของลำดับดีเอ็นเอโดยเฉลี่ยระหว่างสปีชีส์เป็น7.93% ในขณะที่ความความแตกต่างเฉลี่ย ระหว่างตัวอย่างในสปีชีส์เดียวกัน มีค่า 0.43% Kress และคณะ (2005) ศึกษาลำดับดีเอ็นเออยู่ระหว่างยีน trnH และยีน psbA ในตัวอย่างพืช 19 สปีชีส์ จาก 7 วงศ์ พบว่า มีความแตกต่างเฉลี่ยระหว่างสปีชีส์ 2.81% นอกจากนี้ Lambert และคณะ (2005) ใช้ COI บาร์โค้ดในการจำแนกฟอสซิลของนก moa ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว 26 ตัวอย่าง พบว่าทุกสปีชีส์มี COI บาร์โค้ดซึ่งเป็นเอกลักษณ์ และมีความแตกต่างภายในสปีชีส์ระหว่าง 0 1.24%
ถึงแม้ดีเอ็นเอบาร์โค้ดจะประสบความสำเร็จในการจำแนกสปีชีส์ของพืชและสัตว์ในหลายกรณีศึกษา การประยุกต์ใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ดยังได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วงจากนักอนุกรมวิธาน ซึ่งมีทั้งกลุ่มสนับสนุนและกลุ่มต่อต้าน ทั้งนี้ เพื่อให้นักวิจัยตระหนักว่า ดีเอ็นเอบาร์โค้ด ไม่สามารถให้ข้อมูล ที่น่าเชื่อถือได้ลึกไปกว่าในระดับสปีชีส์ อาจไม่สามารถแยกแยะสปีชีส์ใหม่ ที่เกิดจากการผสมข้ามสปีชีส์ หรือสปีชีส์ใหม่ ที่เพิ่งวิวัฒนาการแยกจากสปีชีส์เดิมได้
ผู้ที่สนใจต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดีเอ็นเอบาร์โค้ดสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ CBOL และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ที่
http://barcoding.si.edu
http://www.barcodinglife.org
http://phe.rockefeller.edu/BarcodeConference/index.html
เอกสารอ้างอิง |